ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พราหมณ์พฤฒิบาศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: thumb|300px|right|จิตรกรรมฝาผนังรูปพราหมณ์พฤฒิบาศกับช้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์จากเรื่อง ''[[มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์หิมพานต์'']] '''พฤฒิบาศ''' หรือ '''พราหมณ์พฤฒิบาศ''' เป็นพราหม...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:13, 31 มีนาคม 2567

จิตรกรรมฝาผนังรูปพราหมณ์พฤฒิบาศกับช้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์จากเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์หิมพานต์

พฤฒิบาศ หรือ พราหมณ์พฤฒิบาศ เป็นพราหมณ์จำพวกหนึ่งประกอบพิธีคชกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับช้างและม้าในราชสำนักไทย[1] สันนิษฐานว่ามีต้นสายมาจากเมืองเขมร[2] เดิมนักบวชเหล่านี้นับถือศาสนาหนึ่งต่างหาก เรียกว่า ศาสนาพระเทพกรรม ดังปรากฏใน จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 2053[3] พวกเขานับถือพระครูประกรรม, เทพกรรม หรือเทวกรรม (คือผีปะกำ) เป็นใหญ่ ซึ่งเป็นเทพพื้นเมืองก่อนการรับอิทธิพลจากศาสนาพุทธหรือฮินดู[4] ศาสนานี้เคยแพร่หลายในไทยและกัมพูชา ตั้งแต่ประชากรชนชั้นสามัญชนไปจนถึงชนชั้นเจ้านาย ดั่งพบว่าเจ้านายเขมรเข้าบวชเป็นหมอช้าง ปรากฏใน พงศาวดารละแวก กล่าวถึงเจ้าพระยาโยม ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชโองการ พระบรมราชารามาธิราชาธิบดี ประสูติแต่นักนางแพง ได้ถือบวชเป็นหมอช้าง ความว่า "...เจ้าพระยาโยม ๆ นั้นเชี่ยวชาญชำนาญรู้ตำราช้างไสยสาตร เป็นครูเถ้าถือบวชเป็นหมอช้าง"[5]

แต่ในกาลต่อมา ศาสนาพระเทพกรรมถูกกลืนเข้ากับศาสนาฮินดูในไทย และอาจเป็นไปได้ว่าพราหมณ์พฤฒิบาศนี้อาจเป็นหมอปะกำหรือครูช้างที่เข้ารีตเป็นพราหมณ์[6] พราหมณ์พฤฒิบาศจึงถูกเกณฑ์ให้ไปนับถือพระนารายณ์ (คือพระวิษณุ) แทน[7] แต่คงพิธีกรรมเซ่นสรวงบูชาพระเทวกรรมไว้โดยแทรกความเป็นฮินดูไปด้วย พระครูประกรรมมีรูปลักษณ์เป็นบุรุษล่ำสัน นุ่งผ้าเกไล เปลือยอก สวมสายธุหร่ำเฉียงทางอังสะซ้าย โคนแขนสวมวลัย นับถือเป็นพระของหมอและควาญช้าง[2] หลังรับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูแล้วจึงสร้างบุคลาธิษฐานด้วยการหยิบยืมรูปลักษณ์ของพระคเณศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าของฮินดูมาใช้ กลายเป็นพระเทวกรรม เทพเจ้าแห่งช้าง และพระโกญจนาเนศวร์ เทพผู้ให้กำเนิดช้าง[8][9]

อ้างอิง

  1. จินตนา ปิ่นเฉลียว. ศรีจุฬาลักษณ์. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น, 2524, หน้า 137
  2. 2.0 2.1 อายัณโฆษณ์ (2558). "เรื่องพระคเณศที่เกี่ยวข้องกับช้าง". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ (2 เมษายน 2563). "ศาสนาผีของพระเทพกรรม ที่ระเบียงคด วัดพระแก้วฯ". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. กรมศิลปากร (2481). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 71 (PDF). พระนคร: กรุงเทพบรรณาคาร. p. 2.
  6. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ (12 ตุลาคม 2560). "ครูช้าง พราหมณ์สยาม : พระคเณศกับปกรณัมแบบไทย ๆ". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (16 พฤศจิกายน 2560). "ไม่มีพระพรหมและพระคเณศในพิธีไหว้ครูโขนละครและดนตรี". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. พสิษฐ์ ไชยวัฒน์ (5 พฤศจิกายน 2561). "สัมภาษณ์ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง: ฮินดู...อีกมุมที่คนไทยไม่รู้จัก". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (พฤษภาคม–สิงหาคม 2561). "เทวนิยมอินเดีย : เส้นทางและปรากฏการณ์ในสังคมไทย". Veridian E-Journal (11:2), หน้า 1592

ดูเพิ่ม