ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลทีมชาติไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
Patjaa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 107: บรรทัด 107:
สำหรับการแข่งขัน[[เอเชียนเกมส์]] ทีมชาติไทยยังไม่เคยคว้าแชมป์ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่ [[กรุงปักกิ่ง]] [[ประเทศจีน]] ในปี 2533 เช่นเดียวกับเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ [[กรุงเทพมหานคร]] ในปี 2541 และเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่ [[ปูซาน]] [[ประเทศเกาหลีใต้]] ในปี 2545 และล่าสุดในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่ [[โดฮา]] [[ประเทศกาตาร์]] ในปี 2549 ทีมชาติไทยทำผลงานยอดเยี่ยมด้วยการเป็นทีมเดียวในอาเซียนที่ผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย และยังผ่านเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่ม
สำหรับการแข่งขัน[[เอเชียนเกมส์]] ทีมชาติไทยยังไม่เคยคว้าแชมป์ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่ [[กรุงปักกิ่ง]] [[ประเทศจีน]] ในปี 2533 เช่นเดียวกับเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ [[กรุงเทพมหานคร]] ในปี 2541 และเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่ [[ปูซาน]] [[ประเทศเกาหลีใต้]] ในปี 2545 และล่าสุดในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่ [[โดฮา]] [[ประเทศกาตาร์]] ในปี 2549 ทีมชาติไทยทำผลงานยอดเยี่ยมด้วยการเป็นทีมเดียวในอาเซียนที่ผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย และยังผ่านเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่ม


ในปี 2537 ทีมชาติไทยได้ร่วมก่อตั้ง[[สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน]] (เอเอฟเอฟ) ร่วมกับอีก 9 ประเทศในภูมิภาค[[อาเซียน]] นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลกมาแข่งขันในประเทศไทยหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ [[สโมสรฟุตบอลปอร์โต|เอฟซีปอร์โต]] (2540) [[อินเตอร์มิลาน]] (2540) [[กลุบอัตเลติโกโบกายูนิออร์ส|โบคาจูเนียร์]] (2540) [[สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล|ลิเวอร์พูล]] (2544) [[สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด|นิวคาสเซิลยูไนเต็ด]] (2547) [[สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน|เอฟเวอร์ตัน]] (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) [[สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี|แมนเชสเตอร์ซิตี]] (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่[[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]<ref>[http://www.siamsport.co.th/25501127-058.html บังยีแจงแม้วควักตังค์พาแข้งไทยบินซ้อมที่เรือใบ] ข่าวจากสยามกีฬา</ref>) รวมถึง[[สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด|เรอัลมาดริด]], [[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]], [[สโมสรฟุตบอลเชลซี|เชลซี]] และ[[สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด|แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด]]
ในปี 2537 ทีมชาติไทยได้ร่วมก่อตั้ง[[สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน]] (เอเอฟเอฟ) ร่วมกับอีก 9 ประเทศในภูมิภาค[[อาเซียน]] นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลกมาแข่งขันในประเทศไทยหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ [[สโมสรฟุตบอลปอร์โต|เอฟซีปอร์โต]] (2540) [[อินเตอร์มิลาน]] (2540) [[กลุบอัตเลติโกโบกายูนิออร์ส|โบคาจูเนียร์]] (2540) [[สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล|ลิเวอร์พูล]] (2544) [[สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด|นิวคาสเซิลยูไนเต็ด]] (2547) [[สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน|เอฟเวอร์ตัน]] (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) [[สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี|แมนเชสเตอร์ซิตี]] (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่[[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]<ref>[https://www.siamsport.co.th/football-thailand/thai-national/54424/ ไทม์ไลน์อนาคต ทีมชาติไทย U20 ชุดแห่งความหวัง] ข่าวจากสยามกีฬา</ref>) รวมถึง[[สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด|เรอัลมาดริด]], [[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]], [[สโมสรฟุตบอลเชลซี|เชลซี]] และ[[สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด|แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด]]


ถัดมาในปี 2539 ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของ[[วนัสธนา สัจจกุล|ธวัชชัย สัจจกุล]] ได้มีผู้เล่นชื่อดังหลายคน อาทิ [[เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง]], [[ธชตวัน ศรีปาน|ตะวัน ศรีปาน]], [[ดุสิต เฉลิมแสน]], [[นที ทองสุขแก้ว]], และ [[เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์]] จนได้รับการขนานนามจากสื่อว่าเป็น "ทีมชาติไทยชุดดรีมทีม (Dream Team)"<ref>{{Cite web|title=Asian Nations Cup 1992|url=http://www.rsssf.com/tables/92asch.html|website=www.rsssf.com}}</ref><ref>{{Cite web|date=2017-09-12|title=The Dream Team Era|url=https://charnpipop.wordpress.com/2017/09/12/the-dream-team-era/|website=Charnpipop|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|last=Wilson|first=Simon|title=Flashback: 2000 ASEAN Football Championship|url=https://www.affsuzukicup.com/2020/news/thailand/565-flashback-2000-asean-football-championship|website=www.affsuzukicup.com|language=en-gb}}</ref> โดยมีผลงานโดดเด่นคือการชนะเลิศรายการ [[ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1996|ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน]] (ปัจจุบันคือรายการเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ) ที่[[ประเทศสิงคโปร์]] โดยชนะมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 คว้าแชมป์สมัยแรก
ถัดมาในปี 2539 ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของ[[วนัสธนา สัจจกุล|ธวัชชัย สัจจกุล]] ได้มีผู้เล่นชื่อดังหลายคน อาทิ [[เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง]], [[ธชตวัน ศรีปาน|ตะวัน ศรีปาน]], [[ดุสิต เฉลิมแสน]], [[นที ทองสุขแก้ว]], และ [[เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์]] จนได้รับการขนานนามจากสื่อว่าเป็น "ทีมชาติไทยชุดดรีมทีม (Dream Team)"<ref>{{Cite web|title=Asian Nations Cup 1992|url=http://www.rsssf.com/tables/92asch.html|website=www.rsssf.com}}</ref><ref>{{Cite web|date=2017-09-12|title=The Dream Team Era|url=https://charnpipop.wordpress.com/2017/09/12/the-dream-team-era/|website=Charnpipop|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|last=Wilson|first=Simon|title=Flashback: 2000 ASEAN Football Championship|url=https://www.affsuzukicup.com/2020/news/thailand/565-flashback-2000-asean-football-championship|website=www.affsuzukicup.com|language=en-gb}}</ref> โดยมีผลงานโดดเด่นคือการชนะเลิศรายการ [[ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1996|ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน]] (ปัจจุบันคือรายการเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ) ที่[[ประเทศสิงคโปร์]] โดยชนะมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 คว้าแชมป์สมัยแรก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:22, 18 มิถุนายน 2567

ทีมชาติไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายาช้างศึก
สมาคมสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาพันธ์ย่อยสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (ทวีปเอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนมาซาทาดะ อิชิอิ
กัปตันธีราทร บุญมาทัน
ติดทีมชาติสูงสุดเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (134)
ทำประตูสูงสุดเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (71)
สนามเหย้าราชมังคลากีฬาสถาน
รหัสฟีฟ่าTHA
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 100 เพิ่มขึ้น 1 (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด43 (กันยายน พ.ศ. 2541)
อันดับต่ำสุด165 (ตุลาคม พ.ศ. 2558)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติไทย ไทย 1–6 จีน ธงชาติจีน
(กรุงเทพ ประเทศไทย; 20 สิงหาคม พ.ศ. 2491)[2]
ชนะสูงสุด
ธงชาติไทย ไทย 10–0 บรูไน ธงชาติบรูไน
(กรุงเทพ ประเทศไทย; 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2514)
แพ้สูงสุด
ธงชาติสหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ 9–0 ไทย ธงชาติไทย
(เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย; 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1972)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (1972)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
เข้าร่วม14 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1996, 2000, 2002, 2014, 2016, 2020, 2022)

ฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทีมชาติไทยเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 7 สมัย และซีเกมส์ 9 สมัย (นับเฉพาะทีมชาติชุดใหญ่) ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในทั้งสองรายการ แต่ยังไม่เคยประสบความสำเร็จในระดับทวีปและระดับโลก[3] โดยผลงานที่ดีที่สุดคือการคว้าอันดับสามในรายการเอเชียนคัพ 1972 ในฐานะเจ้าภาพ อันดับสี่ในเอเชียนเกมส์ 2 ครั้ง และเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง อันดับโลกฟีฟ่าที่ดีที่สุดของทีมชาติไทย คือ อันดับที่ 43[4] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก[5] ทีมชาติไทยยังไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย มีผลงานที่ดีที่สุดคือการผ่านเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบที่ 3 ใน พ.ศ. 2545 และ 2561

ประวัติ

ลำดับเหตุการณ์โดยสรุป
พ.ศ. เหตุการณ์
2459 ก่อตั้ง
2468 เข้าร่วมฟีฟ่า
2500 เข้าร่วมเอเอฟซี
2537 เข้าร่วมเอเอฟเอฟ

ก่อตั้งทีม (2458–2482)

ฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2458 ในนาม คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม[6] โดยนักฟุตบอลทีมชาติสยาม 11 คนแรก มีรายชื่อดังนี้ อิน สถิตยวณิช (ผู้รักษาประตู) – แถม ประภาสะวัต, ต๋อ ศุกระศร, ภูหิน สถาวรวณิช (กองหลัง) – ตาด เสตะกสิกร, กิมฮวด วณิชยจินดา (กองกลาง) – หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร, ชอบ หังสสูต, โชติ ยูปานนท์, ศรีนวล มโนหรทัต, จรูญ รัตโนดม (กองหน้า) และลงเล่นในการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรกพบกับทีมสปอร์ตคลับฝ่ายยุโรปซึ่งใช้นักเตะอังกฤษทั้งหมด โดยแข่งขันกันที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม 2458 ซึ่งทีมชาติสยามเอาชนะไปได้ 2–1 จากชัยชนะดังกล่าวทำให้กระแสความสนใจในกีฬาฟุตบอลในสยามประเทศเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ กระทั่งวันที่ 25 เมษายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการพร้อมทั้งตราข้อบังคับสมาคมฯ และแต่งตั้งคณะสภากรรมการชุดแรก ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 7 ท่าน โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการ เป็นนายกสภาฯ[7] และพระราชดรุณรักษ์ เป็นเลขาธิการ[8] ในปีเดียวกันได้ริเริ่มจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่ (ถ้วยพระราชทาน ก) และฟุตบอลถ้วยน้อย (ถ้วยพระราชทาน ข) ขึ้นเป็นครั้งแรก

ทีมชาติสยามได้ลงแข่งขันในเกมระหว่างประเทศครั้งแรกในปี 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยต่อมาชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี 2482 เมื่อรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ประกาศนโยบาย รัฐนิยม ฉบับแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2481[9] ให้เปลี่ยนชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ จาก “สยาม” เป็น “ไทย”[10] จึงเป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนชื่อจากสมาคมฟุตบอลแห่งชาติสยามเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อฟุตบอลทีมชาติสยามเป็นฟุตบอลทีมชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน[11]

การแข่งขันโอลิมปิกและซีเกมส์

ในปี 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นครั้งแรกของทีมชาติไทยที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันครั้งนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก โดยทีมไทยซึ่งมี บุญชู สมุทรโคจร เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก จับฉลากพบกับทีมสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยแพ้ไป 0–9 (นับเป็นความพ่ายแพ้ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์) และตกรอบทันที โดยหนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9–0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีรับสั่งถึงสมาคมฟุตบอลฯ ให้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ หนึ่งในนักฟุตบอลชุดโอลิมปิกไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนี[12] เพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย[13]

จนกระทั่งในปี 2508 ทีมชาติไทยก็สามารถคว้าเหรียญทองแรกในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันคือกีฬาซีเกมส์) ครั้งที่ 3 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้สำเร็จ และหากนับจนถึงปัจจุบันทีมชาติไทยสามารถคว้าแชมป์ซีเกมส์ได้รวม 16 สมัย ถือเป็นสถิติสูงสุด (รวมทั้งทำสถิติคว้าแชมป์ติดต่อกัน 8 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2536–2550) ทีมชาติไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนเป็นครั้งที่สองในปี 2511 ภายใต้การคุมทีมของ พลเอก ประเทียบ เทศวิศาล โดยแพ้บัลแกเรีย 0–7, แพ้กัวเตมาลา 1–4 และแพ้เช็กโกสโลวาเกีย 0–8 ตกรอบแรกในการแข่งขัน และนั่นเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกเป็นครั้งล่าสุดของทีมชาติไทยจนถึงปัจจุบัน

การแข่งขันเอเชียนคัพ, คิงส์คัพ, เอเชียนเกมส์ และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน

ในปี 2515 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการแข่งขันครั้งที่ 5 โดยทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษตัดสินเอาชนะกัมพูชา 5–3 หลังจากเสมอกัน 2–2

ในปี 2519 ทีมชาติไทยได้แชมป์คิงส์คัพเป็นสมัยแรกโดยเป็นแชมป์ร่วมกับทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพรวมทั้งสิ้น 11 ครั้ง

สำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่เคยคว้าแชมป์ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี 2533 เช่นเดียวกับเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ กรุงเทพมหานคร ในปี 2541 และเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2545 และล่าสุดในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่ โดฮา ประเทศกาตาร์ ในปี 2549 ทีมชาติไทยทำผลงานยอดเยี่ยมด้วยการเป็นทีมเดียวในอาเซียนที่ผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย และยังผ่านเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่ม

ในปี 2537 ทีมชาติไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเอฟเอฟ) ร่วมกับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลกมาแข่งขันในประเทศไทยหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[14]) รวมถึงเรอัลมาดริด, บาร์เซโลนา, เชลซี และแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ถัดมาในปี 2539 ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของธวัชชัย สัจจกุล ได้มีผู้เล่นชื่อดังหลายคน อาทิ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ตะวัน ศรีปาน, ดุสิต เฉลิมแสน, นที ทองสุขแก้ว, และ เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ จนได้รับการขนานนามจากสื่อว่าเป็น "ทีมชาติไทยชุดดรีมทีม (Dream Team)"[15][16][17] โดยมีผลงานโดดเด่นคือการชนะเลิศรายการ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน (ปัจจุบันคือรายการเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ) ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยชนะมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 คว้าแชมป์สมัยแรก

ทีมอันดับหนึ่งของอาเซียน (2540–2560)

ต่อมา ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2541 ได้มีเหตุการณ์สำคัญในนัดที่ทีมไทยพบกับอินโดนีเซียในรอบแบ่งกลุ่มนัดสุดท้าย โดยทั้งสองทีมต่างก็ไม่ต้องการชนะ เพื่อจะได้เลี่ยงการพบเจ้าภาพเวียดนามในรอบรองชนะเลิศ เนื่องจากผู้ชนะของกลุ่มต้องเดินทางไกลจากโฮจิมินห์ไปแข่งกับเวียดนามที่ฮานอย ซึ่งก่อนเกมทีมไทยต้องการเล่นเอาผลเสมอเพื่อเข้ารอบเป็นอันดับสอง ในขณะที่อินโดนีเซียซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มต้องการแพ้และให้ทีมไทยเป็นอันดับหนึ่งแทน การแข่งขันจบลงโดยไทยชนะ 3–2[18] โดยผู้เล่นอินโดนีเซียเจตนาทำเข้าประตูตัวเองในช่วงทดเวลา และฟีฟ่าได้ลงโทษทั้งสองทีมโดยปรับเงิน 40,000 ดอลลาร์ และทีมไทยเข้าไปแพ้เวียดนาม 0–3 ก่อนที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในปี 2543 และชนะอินโดนีเซียในรอบชิงชนะเลิศที่ราชมังคลากีฬาสถาน 4–1[19] และป้องกันแชมป์ได้อีกครั้งในปี 2545 ชนะจุดโทษอินโดนีเซียเจ้าภาพร่วมไปได้อีกครั้ง หลังเสมอกัน 2–2 คว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 3[20]

อย่างไรก็ตาม ทีมชาติไทยทำผลงานย่ำแย่ในเอเชียนคัพ ปี 2547 โดยตกรอบแบ่งกลุ่ม และแพ้รวดสามนัดที่พบกับญี่ปุ่น อิหร่าน และโอมาน ถือเป็นผลงานในเอเชียนคัพที่ย่ำแย่ที่สุดของทีม ก่อนจะทำผลงานดีขึ้นในการแข่งขันปี 2550 ในฐานะเจ้าภาพร่วมและมีลุ้นเข้ารอบจนถึงนัดสุดท้าย ด้วยการเสมออิรัก, ชนะโอมาน ก่อนจะแพ้ออสเตรเลีย ซึ่งในรายการนั้นยังเป็นการอำลาทีมชาติของผู้เล่นคนสำคัญ ได้แก่ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ตะวัน ศรีปาน และ พิพัฒน์ ต้นกันยา

โลโก้ทีมชาติไทยปี 2549–2560

ในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกในรอบ 20 ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยมีผลงานคือเสมอ 1 นัด และแพ้ไปถึง 5 นัด ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออก[21] หลังจากนั้น ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะสโมสรเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อ แต่ทีมชาติไทยก็พลาดแชมป์สำคัญในรายการอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2007 โดยแพ้เวียดนามรวมผลประตูสองนัด 2–3 และยังพลาดแชมป์คิงส์คัพโดยดวลจุดโทษแพ้ทีมชาติเดนมาร์ก ทำให้ในเดือนกันยายน 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลด

ในวันที่ 23 กันยายน 2552 ไบรอัน ร็อบสัน ได้เข้ามาทำหน้าที่ผู้ฝึกสอน[22] และในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 ร็อบสันนำทีมชาติไทยคว้าชัยชนะนัดแรกในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือกโดยชนะสิงคโปร์ 3–1[23] แต่ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ร็อบสันนำทีมไทยแพ้นัดแรกต่อสิงคโปร์เช่นกันด้วยผลประตู 0–1 โดยเป็นการแพ้ที่ประเทศไทย ต่อมา ทีมชาติไทยสามารถยันเสมอกับจอร์แดนและอิหร่าน 0–0 ทั้งสองนัดในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ก็ไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายได้

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ร็อบสันนำทีมชาติไทยชนะสิงคโปร์ 1–0 ในการแข่งขันกระชับมิตรที่ประเทศไทย ถัดมา ในเดือนกันยายน ร็อบสันก็นำทีมเอาชนะอินเดียได้ 2–1 ในการแข่งขันกระชับมิตรเช่นกัน แต่ในเดือนธันวาคม ทีมไทยทำผลงานน่าผิดหวังในการตกรอบแบ่งกลุ่มเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 โดยเสมอ 2 นัดกับลาว และ มาเลเซีย และแพ้อินโดนีเซีย ทำให้ร็อบสันถูกยกเลิกสัญญา[24]

ในเดือนมิถุนายน 2554 วินฟรีด เชเฟอร์ อดีตผู้จัดการทีมเฟาเอฟเบชตุทท์การ์ทในบุนเดิสลีกา และอดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติแคเมอรูน ได้เข้ามาเป็นผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย โดยงานแรกคือการนำทีมไทยไปแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก[25] โดยนัดแรก ไทยบุกไปแพ้ออสเตรเลีย 1–2[26] และในนัดต่อมาเอาชนะโอมานได้ 3–0 โดยเป็นชัยชนะนัดที่สองของทีมในการแข่งขันรอบคัดเลือกครั้งนี้ ซึ่งนัดแรกคือการชนะปาเสลสไตน์ 3–2 ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2[27] และยังสามารถยันเสมอกับซาอุดีอาระเบียได้ 0–0 ในนัดถัดมา ก่อนจะแพ้ 3 นัดรวด ยุติเส้นทางการแข่งขันไว้ที่รอบคัดเลือกรอบที่ 3 ถัดมา ในการแข่งขัน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2012 ทีมไทยเข้าชิงชนะเลิศกับสิงคโปร์ โดยในนัดแรก ไทยบุกไปแพ้ 1–3 และในนัดที่สองที่กรีฑาสถานแห่งชาติ ไทยชนะ 1–0 แต่รวมผลประตูสองนัดแพ้ 2–3 ได้แค่รองแชมป์[28] ต่อมา เชเฟอร์นำทีมไปแข่งเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก ก่อนจะแพ้ทั้ง 2 นัด ทำให้เชเฟอร์ยกเลิกสัญญาในเดือนมิถุนายน 2556

ต่อมาทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แต่งตั้งร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อดีตนักฟุตบอลชื่อดังเป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่ โดยให้คุมทีมชุดรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีก่อน ซึ่งนัดแรกของเกียรติศักดิ์ในการคุมทีมชาติไทยคือการแข่งขันกระชับมิตรพบกับทีมชาติจีน โดยทีมชาติไทยบุกไปชนะจีนได้ถึง 5–1[29]

ทีมชาติไทยชนะเลิศรายการ ซูซูกิ คัพในปี 2557 ที่ประเทศมาเลเซีย

ในเดือนสิงหาคม 2556 ทางสมาคมได้แต่งตั้งให้ สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ อดีตนักฟุตบอลชื่อดังเป็นผู้ฝึกสอนและเตรียมทีมชาติไทยชุดใหญ่ไปแข่งกับทีมชาติอิหร่านในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบแบ่งกลุ่ม[30] ก่อนที่เกียรติศักดิ์จะมาคุมทีมชุดใหญ่ต่อ และสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว้าแชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 มาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี โดยเอาชนะมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 4–3 ตามด้วยการคว้ารองแชมป์คิงส์คัพในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถัดมา ในปี 2559 ทีมชาติไทยเป็นแชมป์กลุ่มเอฟในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก รอบที่ 2 ผ่านเข้าสู่รอบที่ 3 ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี และผ่านเข้าไปเล่นเอเชียนคัพ 2019 ได้สำเร็จ ซึ่งยังเป็นการผ่านเข้าไปเล่นเอเชียนคัพได้เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี และยังคว้าแชมป์ได้อีก 2 รายการ คือ คิงส์คัพ ครั้งที่ 44 และเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2016 เอาชนะจอร์แดนและอินโดนีเซียตามลำดับ แต่ในรอบที่ 3 ของฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ทีมไทยทำผลงานย่ำแย่โดยนับจนถึงเดือนมีนาคม 2560 ทำได้เพียงเสมอ 1 นัด และแพ้รวดในนัดที่เหลือ ทำให้เกียรติศักดิ์ลาออก[31][32]

ทีมชาติไทยในการแข่งขัน คิงส์ คัพ ปี 2560
ทีมชาติไทยในการแข่งขันเอเชียน คัพ ปี 2562

ในเดือนพฤษภาคม 2560 มิลอวัน ราเยวัตส์ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติกานาซึ่งพาทีมผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2010 ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน และพาทีมไทยคว้าแชมป์คิงส์คัพ ครั้งที่ 45 โดยชนะจุดโทษเบลารุส แต่ผลงานโดยรวมยังไม่ดีขึ้น โดยแพ้ 8 นัด และเสมออีก 2 นัดรวมทุกรายการ ต่อมา ในปี 2561 ไทยลงแข่งขันคิงส์คัพ ครั้งที่ 46 โดยในนัดแรกเสมอกาบอง 0–0 ก่อนจะชนะจุดโทษ แต่ไปแพ้สโลวาเกีย 2–3 ในรอบชิงชนะเลิศ ตามด้วยการตกรอบรองชนะเลิศเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018 โดยแพ้มาเลเซียด้วยกฎประตูทีมเยือน และในนัดแรกของเอเชียนคัพ 2019 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทยถูกอินเดียถล่ม 1–4 ทำให้ราเยวัตส์ถูกปลด[33]

สมาคมแต่งตั้ง ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย ขึ้นรักษาการเป็นผู้ฝึกสอนชั่วคราว[34] และทีมไทยทำผลงานดีขึ้นกว่าเดิม โดยเอาชนะบาห์เรน 1–0 และเสมอยูเออีเจ้าภาพ 1–1 ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จซึ่งนี่ถือเป็นการผ่านเข้ารอบแพ้คัดออก (Knockout) ในรายการนี้ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2515 ก่อนจะแพ้จีน 1–2 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ต่อมา ในการแข่งขันคิงส์คัพ ครั้งที่ 47 ทีมไทยแพ้เวียดนามและอินเดีย 0–1 ทั้งสองนัด จบเพียงอันดับ 4

สร้างทีมใหม่ (2562–ปัจจุบัน)

อากิระ นิชิโนะ และ อาเลชังดรี ปอลกิง

ทีมชาติไทยแต่งตั้ง อากิระ นิชิโนะ อดีตนักฟุตบอลและผู้ฝึกสอนทีมชาติญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทั้งทีมชาติชุดใหญ่และทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเขาถือเป็นผู้ฝึกสอนชาวเอเชียคนแรก (ที่ไม่ใช่ชาวไทย) ที่ได้เป็นผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย[35] ในวันที่ 24 มกราคม 2563 นิชิโนะได้รับการขยายสัญญาไปถึงปี 2565[36] แต่ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ทีมชาติไทยได้ตัดสินใจยกเลิกสัญญากับนิชิโนะ เนื่องจากผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก[37]

ในวันที่ 29 กันยายน 2564 ทีมชาติไทยแต่งตั้ง อาเลชังดรี ปอลกิง อดีตผู้ฝึกสอนในไทยลีกเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่[38] โดยงานแรกของปอลกิงคือการพาทีมลงแข่งขัน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020 ในเดือนธันวาคม โดยทีมชาติไทยผ่านรอบแบ่งกลุ่มด้วยการชนะ 4 นัดรวด และเอาชนะเวียดนามในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 2–0 ผ่านเข้าไปพบกับอินโดนีเซียในรอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งที่ 4 ในรายการนี้[39] และชนะไปด้วยผลประตูรวมสองนัด 6–2 คว้าแชมป์สมัยที่ 6[40] ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2565 ทีมชาติไทยลงแข่งขันเอเชียนคัพ 2023 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3 และผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งที่แปดจากผลงานชนะสองนัด (พบมัลดีฟส์ และ ศรีลังกา) และแพ้หนึ่งนัด (พบอุซเบกิสถาน) ตามด้วยการแข่งขันคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 ระหว่างวันที่ 22–25 กันยายน 2565 มีผลงานคือการคว้าอันดับสามโดยแพ้มาเลเซียในนัดแรกจากการดวลจุดโทษ หลังจากเสมอกันด้วยผลประตู 1–1 และเอาชนะตรินิแดดและโตเบโกในนัดชิงอันดับสามด้วยผลประตู 2–1

ทีมชาติไทยประสบความสำเร็จในการป้องกันแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 ในเดือนมกราคม 2566 โดยเข้ารอบเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มจากการชนะ 3 นัด และเสมอ 1 นัด ตามด้วยการชนะมาเลเซียในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 3–1 และเอาชนะเวียดนามในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลรวมสองนัด 3–2 คว้าแชมป์สมัยที่ 7 ต่อมา ไทยลงแข่งฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 49 แต่ทำได้เพียงรองแชมป์โดยแพ้การดวลจุดโทษอิรักหลังเสมอกันในเวลาปกติด้วยผลประตู 2–2 ถัดมาในเดือนตุลาคม 2566 ทีมไทยมีโปรแกรมลงแข่งกระชับมิตรที่ทวีปยุโรปสองนัดโดยพบทีมชาติจอร์เจียและทีมชาติเอสโตเนีย โดยปราศจากผู้เล่นตัวหลักหลายรายและต้องใช้ผู้เล่นดาวรุ่ง ในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ทีมชาติไทยต้องพบความพ่ายแพ้ที่มากที่สุดในศตวรรษที่ 21 โดยแพ้จอร์เจียด้วยผลประตู 0–8 ณ เมืองทบิลีซี[41][42] ต่อมา ทีมชาติไทยลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 โดยมีทีมร่วมกลุ่มได้แก่ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน ทีมไทยมีเป้าหมายคือการจบอันดับสองของกลุ่มเพื่อผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 3 แต่พวกเขาลงประเดิมสนามนัดแรกด้วยการเปิดบ้านแพ้จีนด้วยผลประตู 1–2 แม้จะแก้ตัวได้ในนัดต่อมาจากการบุกไปชนะสิงคโปร์ด้วยผลประตู 3–1 และขึ้นไปอยู่อันดับสองของกลุ่มด้วยผลต่างประตูได้–เสียที่ดีกว่าจีน แต่ปอลกิงก็ถูกปลด

มาซาตาดะ อิชิอิ

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยแต่งตั้งมาซาตาดะ อิชิอิ เป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่ โดยอิชิอิถือเป็นผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่นคนที่สองต่อจากนิชิโนะที่ได้คุมทีมชาติไทย เขาพาทีมลงแข่งขันนัดแรกในเกมกระชับมิตรพบทีมชาติญี่ปุ่น และแพ้ไปอย่างขาดลอยด้วยผลประตู 0–5 ตามด้วยเอเชียนคัพ 2023 ที่ประเทศกาตาร์ โดยทีมไทยอยู่ร่วมกลุ่มกับคีร์กีซสถาน, โอมาน และซาอุดีอาระเบีย ทีมชาติไทยลงประเดิมสนามนัดแรกด้วยการเอาชนะคีร์กีซสถานด้วยผลประตู 2–0 ซึ่งถือเป็นชัยชนะในนัดเปิดสนามเป็นครั้งแรกในรายการนี้ ต่อมา ทีมไทยพบกับทีมที่แข็งแกร่งกว่าอย่างโอมานซึ่งคุมทีมโดยบรันกอ อิวานกอวิช ผู้ฝึกสอนชาวโครเอเชีย ผู้มีประสบการณ์ในด้านการคุมทีมในทวีปเอเชีย และไม่เคยแพ้ทีมไทยตลอดอาชีพการคุมทีม และการแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอ 0–0 และในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม ทีมไทยทำผลงานได้ยอดเยี่ยมที่สุดครั้งหนึ่งในการแข่งขันเอเชียนคัพสมัยใหม่ โดยเสมอทีมใหญ่อย่างซาอุดีอาระเบีย 0–0 รวมทั้งรอดพ้นการเสียประตูจากการป้องกันลูกโทษโดยสรานนท์ อนุอินทร์ ยุติการแพ้ซาอุดีอาระเบียอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 อย่างไรก็ตาม ทีมไทยต้องยุติเส้นทางด้วยการแพ้อุซเบกิสถานในรอบ 16 ทีมด้วยผลประตู 1–2[43] แม้จะตกรอบแต่ทีมชุดนี้ก็ได้รับเสียงชื่นชมในด้านวิธีการเล่น และผู้ฝึกสอนอย่างอิชิอิได้รับการยกย่องในด้านการวางรูปแบบการเล่น อิชิอิได้รับสัญญาระยะยาวเพื่อช่วยทีมผ่านเข้ารอบสองรายการสำคัญ ได้แก่ ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก และ เอเชียน คัพ 2027 ก่อนที่ทีมไทยจะตกรอบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 จากการมี 8 คะแนนเท่ากับจีนแต่ไทยมีผลงานการพบกันที่เป็นรอง (เสมอ 1 และ แพ้ 1) แม้ทีมไทยจะเอาชนะสิงคโปร์ในนัดสุดท้ายด้วยผลประตู 3–1

ภาพลักษณ์ทีม

ชุดแข่งขัน

ชุดแข่งขันของทีมชาติไทยในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2511

แต่เดิมชุดแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดที่หนึ่งประกอบด้วย เสื้อสีแดง กางเกงสีแดง และถุงเท้าสีแดง ส่วนชุดที่สองประกอบด้วย เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีน้ำเงิน และ ถุงเท้าสีน้ำเงิน เอฟบีทีเป็นผู้ผลิตชุดแข่งขันตั้งแต่ปี 2545–2550 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ไนกี้ เข้ามาเป็นผู้ผลิตชุดแข่งขันของทีมชาติไทย และในเดือนตุลาคม สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทำเรื่องขอเปลี่ยนชุดที่หนึ่งไปยัง สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เป็นเสื้อสีเหลือง กางเกงสีเหลือง และถุงเท้าสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมกรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีมติให้ทำเรื่องขอเปลี่ยนชุดที่หนึ่งไปยังฟีฟ่า กลับมาเป็นเสื้อสีแดง กางเกงสีแดงและถุงเท้าสีแดงอีกครั้ง

ทีมชาติไทยเซ็นสัญญากับแกรนด์สปอร์ตด้วยสัญญามูลค่า 96 ล้านบาทในการเป็นผู้ผลิตชุดแข่งขันตั้งแต่ปี 2555–2559[44] และในปี 2560 วอริกซ์ สปอร์ตเข้ามาเป็นผู้ผลิตชุดแข่งขันรายล่าสุดจนถึงปัจจุบัน โดยในปีนั้น สมาคมฯ ได้ขอทางฟีฟ่าเปลี่ยนสีเสื้อทั้งเหย้าและเยือนเป็นสีดำและขาว เพื่อเป็นการถวายความอาลัยต่อการสวรรคตของรัชกาลที่ 9 เป็นเวลา 1 ปี[45][46]

ถัดมาในปี 2561 ทีมชาติไทยทำการเปิดตัวชุดแข่งขันทีมเหย้าสีน้ำเงิน, ชุดทีมเยือนสีแดง รวมถึงชุดแข่งขันที่สามซึ่งเป็นสีขาว/ดำ เพื่อใช้ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 รวมถึงฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47[47] และในปีเดียวกันนั้น วอริกซ์ได้เปิดตัวชุดแข่งขันใหม่อีกครั้งเป็นเสื้อสีเหลืองและกางเกงสีขาว เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562.

สัญลักษณ์บนอกเสื้อของนักฟุตบอลทีมชาติอย่าง “โลโก้ช้างศึก” เป็นภาพลักษณ์สำคัญอีกประการหนึ่ง โดยสัญลักษณ์นี้ออกแบบมาด้วยความเรียบง่ายแต่ทันสมัย ตัวช้างศึกมีสัณฐานที่สง่างาม แข็งแรง และน่าเกรงขาม แต่ก่อนที่จะมีโลโก้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ทีมชาติไทยเคยใช้ตราสัญลักษณ์แบบอื่นมาก่อน โลโก้แรกสุดคือ “ตราพระมหามงกุฎ” ที่ได้รับพระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2458 ก่อนจะเปลี่ยนเป็น “ธงไตรรงค์” ในปี พ.ศ. 2475  และก็ได้เปลี่ยนมาใช้สัญลักษณ์ “ช้างศึก (ช้างน้อย)” ในปี พ.ศ. 2545 เพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้นผนวกกับความต้องการให้สื่อถึงประเทศไทยและมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ จากนั้นก็มีการปรับปรุงโลโก้อยู่หลายครั้ง เช่น การเพิ่มงา การปรับแถบสีธงชาติ การปรับตัวอักษร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 ก็มีการออกแบบตราสัญลักษณ์ช้างศึกอันโดดเด่นขึ้นมาใหม่ และด้วยเหตุนี้เองที่นักเตะทุกคนได้รับฉายานามว่าเป็นช้างศึกหรือขุนพลของไทย

นอกจากนี้ทีมชาติไทยยังมีภาพลักษณ์ที่เป็นสีสีนท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดอย่าง “มาสคอตไทยลีก” ซึ่งล่าสุดในปี พ.ศ.[48] 2565 ได้ออกแบบให้มีรูปร่างเป็นช้างน้อยสุดน่ารักสอดคล้องกับฉายาขุนพลช้างศึกที่มีชื่อเล่นว่า “น้องจอมทัพ” โดยจะปรากฏตัวด้วยรอยยิ้มทุกครั้งก่อนนักกีฬาลงสนามเพื่อมอบความสุขให้กับบรรดาแฟน ๆ กีฬาทุกคน มาสคอตตัวนี้กลายเป็นลายเซ็นอันโดดเด่นของฟุตบอลทีมชาติไทยที่คอยมอบบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและสร้างเสียงเชียร์อยู่เบื้องหลัง และจะกลายเป็นตัวแทนจิตวิญญาณอันแข็งแกร่งและความสำเร็จของทีมไทยไม่ต่างจากมาสคอตฟุตบอลโลกที่เป็นตำนานมาแล้ว[49]

ผู้ผลิตชุดแข่งทีมชาติไทย
ปี ผู้ผลิต ชุดแข่ง
2545–2550 ไทย เอฟบีที
  • 2545 (เหย้า–เยือน)
  • 2546–2547 (เหย้า–เยือน)
  • 2547-2548 (เหย้า–เยือน)
  • 2549–2550 (เหย้า–เยือน)
2550–2554 สหรัฐ ไนกี
  • เอเชียนคัพ 2550 (เหย้า–เยือน)
  • 2550 (ชุดที่สาม)
  • 2551–2553 (เหย้า–เยือน)
  • 2553–2555 (เหย้า–เยือน)
2555–2559 ไทย แกรนด์สปอร์ต
  • 2555–2557 (เหย้า–เยือน)
  • 2557–2559 (เหย้า–เยือน)
  • คิงส์คัพ 2559
  • 2559 (เหย้า–เยือน)
2560–2571 ไทย วอริกซ์
  • 2560–2563 (เหย้า–เยือน–ชุดที่สาม)
  • 2564–2571 (เหย้า–เยือน–ชุดที่สาม)

สนามเหย้า

ปัจจุบันทีมชาติไทยใช้ราชมังคลากีฬาสถานเป็นสนามเหย้า ความจุ 49,722 ที่นั่ง เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1998 โดยทีมชาติไทยลงแข่งขัน ณ สนามแห่งนี้เป็นครั้งแรกในนัดที่เสมอกับทีมชาติคาซัคสถาน 1–1 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งในยุคนั้นยังมีการใช้สนามเหย้าทั้งกรีฑาสถานแห่งชาติ และราชมังคลากีฬาสถานสำหรับเกมนานาชาติสลับหมุนเวียนไป ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ราชมังคลากีฬาสถานเป็นสนามเหย้าของทีมชาติไทยในเกมระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการเพียงแห่งเดียว (อาจใช้สนามแห่งอื่นในบางโอกาส)

สนามที่ฟุตบอลทีมชาติไทยเคยใช้งาน
รูปภาพ สนาม ความจุ ที่ตั้ง เกมล่าสุดที่ใช้งาน
ราชมังคลากีฬาสถาน 49,722 เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
(สนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย)
v  ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
(26 มีนาคม 2567; ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2)
สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 25,000 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
(สนามเหย้าของเชียงใหม่)
v ธงชาติอิรัก อิรัก (10 กันยายน 2566; ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 49)
สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต 25,000 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
(สนามเหย้าของทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
v ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม
(16 มกราคม 2566; ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022)
บีจีสเตเดียม 10,114 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
(สนามเหย้าของบีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
v  ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน
(31 พฤษภาคม 2565; เกมกระชับมิตร)
สนามกีฬากลางจังหวัดศรีสะเกษ 9,773 อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

(สนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย)

v   ธงชาติเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน
(27 พฤษภาคม 2565; เกมกระชับมิตร)
ชลบุรี ยูทีเอ สเตเดียม 8,600 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

(สนามเหย้าของ ชลบุรี)

v  ธงชาติเนปาล เนปาล
(24 มีนาคม 2565; เกมกระชับมิตร)
ช้างอารีนา 32,600 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
(สนามเหย้าของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
v  ธงชาติอินเดีย อินเดีย
(8 มิถุนายน 2562; ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47)
สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี 15,000 อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
(สนามเหย้าของสุพรรณบุรี)
v  ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก
(14 ตุลาคม 2561; เกมกระชับมิตร)
ธันเดอร์โดม สเตเดียม 15,000 อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
(สนามเหย้าของเมืองทอง ยูไนเต็ด)
v  ธงชาติเคนยา เคนยา
(8 ตุลาคม 2560; เกมกระชับมิตร)
กรีฑาสถานแห่งชาติ 19,793 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(ภายใต้การดูแลของกรมพลศึกษา)
v  ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
(27 มีนาคม 2559; เกมกระชับมิตร)
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 24,641 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
(สนามเหย้าของนครราชสีมา มาสด้า)
v  ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์
(26 มีนาคม 2558; เกมกระชับมิตร)
สนามสุระกุล 15,000 อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
(สนามเหย้าของ ภูเก็ต)
v  ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย
(10 ธันวาคม 2551; เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008)
สนามกีฬาติณสูลานนท์ 45,000 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
(สนามเหย้าของ สงขลา)
v  ธงชาติจีน จีน
(19 ธันวาคม 2541; เอเชียนเกมส์ 1998)

ศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ

ในปี 2565 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เตรียมการสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ[50]แบบครบวงจรแห่งใหม่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ 300 ไร่ ในโครงการ FIFA Forward 3.0 ต่อ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ภายในจะพื้นที่ศูนย์ฝึกจะประกอบไปด้วยสนามฟุตบอลมาตรฐานระดับฟีฟ่าตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ อาคารที่พัก อาคารสำนักงาน อาคารสำหรับวิจัยวิทยาศาสตร์การกีฬา และพื้นที่สาธารณะให้กับชุมชน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมความสามารถ สนับสนุนกิจกรรมทุกด้าน และเตรียมความพร้อมให้นักฟุตบอลทีมชาติไทยทั้งชายและหญิง นักกีฬาเยาวชน ผู้ฝึกสอน กรรมการผู้ตัดสิน นักกายภาพบำบัด และการฝึกอบรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนากีฬาฟุตบอลในระดับภูมิภาค

คู่แข่งสำคัญ

ทีม ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ผลต่าง เปอร์เซ็นต์ชนะ
ธงชาติจีน จีน 29 5 5 19 25 63 −38 017.24
ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 97 29 31 37 136 140 −4 029.90
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 71 34 19 18 127 84 +43 047.89
ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 63 34 17 12 109 62 +47 053.97
ธงชาติประเทศพม่า พม่า 50 22 14 14 99 62 +37 044.00
ธงชาติเวียดนามใต้ เวียดนามใต้ 27 4 3 20 27 58 −31 014.81
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 11 6 0 5 23 20 +3 054.55
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 26 15 8 3 45 19 +26 057.69

ทีมชาติไทยมีคู่ปรับสำคัญในสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และพม่า

มาเลเซียเป็นชาติที่มีสถิติการพบกับทีมชาติไทยมากที่สุดจำนวน 97 ครั้ง โดยก่อนที่มาเลเซียจะประสบเหตุการณ์อื้อฉาวจากการติดสินบนการแข่งขันภายในประเทศในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งทำให้วงการฟุตบอลมาเลเซียตกต่ำลงนั้น พวกเขาถือเป็นคู่แข่งสำคัญที่ทีมไทยเอาชนะได้ยากที่สุด และไทยไม่สามารถบุกไปชนะที่ประเทศมาเลเซียได้เลยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา และมาเลเซียยังมีสถิติการพบกันในทุกรายการที่เหนือกว่าทีมชาติไทย โดยเอาชนะไปได้ 37 ครั้ง, เสมอ 31 ครั้ง และแพ้ 29 ครั้ง

สิงคโปร์ถือเป็นชาติคู่แข่งของทีมชาติไทยมาหลายทศวรรษเช่นกัน โดยสิงคโปร์เป็นชาติที่ชนะเลิศรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนมากที่สุดเป็นอันดับสอง (4 สมัย) รองจากไทย (7 สมัย) และทั้งคู่ต่างก็เป็นหนึ่งในมหาอำนาจในภูมิภาคตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 ทีมไทยมีสถิติการพบกันที่เหนือกว่า โดยชนะ 39 ครั้ง, เสมอ 18 ครั้ง และแพ้ 11 ครั้ง[51] นโยบายการพัฒนาทีมฟุตบอลของทั้งสองชาตินั้นแตกต่างกันสิ้นเชิง โดยทีมไทยอาศัยการพัฒนาผู้เล่นในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่สิงคโปร์เน้นนโยบายการพึ่งพานักเตะต่างชาติซึ่งโอนสัญชาติ

การแข่งขันฟุตบอลระหว่างไทยกับเวียดนาม ได้ยกระดับความเข้มข้นขึ้นตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ในอดีตตั้งแต่ช่วงที่เวียดนามแยกประเทศ และมีทีมฟุตบอลสองทีมคือเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ไทยมีสถิติการพบกันที่เป็นรองเวียดนามใต้อย่างมาก โดยเอาชนะได้เพียง 4 ครั้งเท่านั้นจาก 27 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ทีมไทยมีสถิติที่เหนือกว่าเวียดนามมากนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเวียดนาม โดยเอาชนะได้ 15 ครั้ง แพ้เพียง 3 ครั้ง แต่เวียดนามก็ถือเป็นชาติที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแย่งความสำเร็จจากทีมชาติไทยในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนได้ รวมทั้งแย่งการเป็นทีมอันดับหนึ่งในภูมิภาคในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชัยชนะที่สำคัญที่เวียดนามมีต่อทีมชาติไทยคือรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008

สงครามพม่า–สยาม ส่งผลให้การแข่งขันระหว่างทีมชาติไทยและพม่ามีความเข้มข้นมาถึงปัจจุบัน[52] พม่าเคยเป็นทีมมหาอำนาจในภูมิภาคในช่วงทศวรรษ 1960–70 ก่อนจะตกต่ำลงจากสถานการณ์ในประเทศในยุคของเนวี่น การพัฒนากีฬาฟุตบอลของพม่าก็ชะงักลง ทำให้ทีมไทยมีผลงานที่เหนือกว่ามากในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของความสำเร็จและผลการแข่งขันระหว่างสองทีม[53]

อินโดนีเซียพบกับทีมชาติไทยในรายการสำคัญหลายครั้ง โดยเฉพาะในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2000, 2002, 2016 และ 2020 ซึ่งทีมชาติไทยสามารถเอาชนะและคว้าแชมป์ไปได้ทั้ง 4 ครั้ง และไทยมีสถิติที่เหนือกว่าในการพบกันทุกรายการ โดยชนะ 34 ครั้ง, เสมอ 19 ครั้ง และแพ้ 18 ครั้ง

จีนกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของทีมชาติไทยหลังหมดยุคทองของทีมชาติจีนในทศวรรษที่ 2000 และหลังจากที่ไทยลีกได้โควตาสัมประสิทธิ์อัตโนมัติในศึกเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในระดับสโมสร จีนกลายเป็นคู่ปรับสำคัญในการแย่งชิงโควตาระดับสโมสรเอเชีย ประกอบกับปัญหาการจัดการภายในของสมาคมฟุตบอลจีน ทำให้ทั้งสองชาติร่นระดับกลายเป็นคู่แข่งที่สูสีกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จีนยังคงมีผลงานที่ดีกว่าในการแข่งขันระดับทางการ แต่ไทยก็สามารถเอาชนะจีนในการแข่งขันฟุตบอลอุ่นเครื่องระดับทางการในวันฟีฟ่าเดย์ได้หลายครั้งเช่นกัน

หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต อุซเบกิสถานกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในด้านฟุตบอลก้าวหน้าได้ไวที่สุดเมื่อเทียบกับทีมฟุตบอลในภูมิภาคเอเชียกลางทั้งหมด พวกเขาได้เหรียญทองในเอเชียนเกมส์ 1994 ที่ฮิโรชิมา[54] ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ทีมชาติไทยก้าวกระโดดขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1990 จึงทำให้อุซเบกิสถานกลายเป็นคู่ปรับกลาย ๆ ต่อกันกับทีมชาติไทย แม้จะไม่มีความขัดแย้งกันทางประวัติศาสตร์ก็ตาม โดยไทยมีสถิติชนะมากกว่าหนึ่งนัด คือชนะ 6 แพ้ 5 เมื่อพบกับอุซเบกิสถาน

บุคลากร

ผู้ฝึกสอนปัจจุบัน

ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2567
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้อำนวยการเทคนิค ไทย ทรงยศ กลิ่นศรีสุข
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ญี่ปุ่น มาซาตาดะ อิชิอิ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ญี่ปุ่น มิซูโอะ คาโตะ
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู บราซิล เซาโล เอเดรียน
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส ญี่ปุ่น มาซายะ ซากิฮาระ
ไทย กฤตพจน์ แดงกุลา
นักวิเคราะห์เกม ไทย นฤเบศ แสงสว่าง
แพทย์ประจำทีม ไทย นพ. ภคภณ อิสรไกรศีล
ไทย นพ. กีรติ สุรการ
นักกายภาพ ญี่ปุ่น โยเฮ ชิรากิ
ไทย สุวิชชา นอรดี
ไทย ภาณุวัฒน์ ชุติโชติลิ่มสกุล
หมอนวด ไทย อำนวย สักเล็บประดู่
ไทย ทรงวุฒิ ขำฟุ้ง
ล่ามแปลภาษา ไทย เฉลิมชัย ชินเชิดพงษ์
เจ้าหน้าที่ทีม ไทย สิริชัย กิโมโต
ไทย สุพัฒน์ พลยุทธภูมิ
ไทย ศุภกิตติ์ วิเศษอนุพงษ์
ไทย ศรายุทธ กล่ำถาวร

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่น 27 คน สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 พบกับ ธงชาติจีน จีน และ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ ในวันที่ 6 และ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567[55]

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567 หลังแข่งขันกับ ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK ปฏิวัติ คำไหม (1994-12-24) 24 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 13 0 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด
20 1GK สรานนท์ อนุอินทร์ (1994-03-24) 24 มีนาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 2 0 ไทย เชียงราย ยูไนเต็ด
1GK สมพร ยศ (1993-06-23) 23 มิถุนายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 0 0 ไทย การท่าเรือ

3 2DF ธีราทร บุญมาทัน (กัปตันทีม) (1990-02-06) 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 (34 ปี) 105 7 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
15 2DF ธนบูรณ์ เกษารัตน์ (1993-09-21) 21 กันยายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 55 1 ไทย การท่าเรือ
21 2DF ศุภนันท์ บุรีรัตน์ (1993-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 22 1 ไทย การท่าเรือ
4 2DF เอเลียส ดอเลาะ (1993-04-24) 24 เมษายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 17 1 อินโดนีเซีย บาหลี ยูไนเต็ด
16 2DF สุพรรณ ทองสงค์ (1994-08-26) 26 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 16 0 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด
19 2DF เฉลิมศักดิ์ อักขี (1994-08-25) 25 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 9 0 ไทย การท่าเรือ
2 2DF สันติภาพ จันทร์หง่อม (1996-09-23) 23 กันยายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 3 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2DF ชัยวัฒน์ บุราณ (1996-10-26) 26 ตุลาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 1 0 ไทย การท่าเรือ

6 3MF สารัช อยู่เย็น (1992-05-30) 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 83 6 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
18 3MF ชนาธิป สรงกระสินธ์ (1993-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 66 12 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
7 3MF สุภโชค สารชาติ (1998-05-22) 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 36 9 ญี่ปุ่น ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ
5 3MF กฤษดา กาแมน (1999-03-18) 18 มีนาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 34 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
22 3MF วีระเทพ ป้อมพันธุ์ (1996-09-19) 19 กันยายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 33 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด
8 3MF พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี (1992-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1992 (32 ปี) 24 2 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
14 3MF ชาญณรงค์ พรมศรีแก้ว (2001-04-17) 17 เมษายน ค.ศ. 2001 (23 ปี) 14 1 ไทย ชลบุรี
13 3MF เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ (1997-05-18) 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 14 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด
12 3MF อิรฟาน ดอเลาะ (2001-01-26) 26 มกราคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 0 0 ไทย อุทัยธานี
3MF อัครพงศ์ พุ่มวิเศษ (1995-11-23) 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 0 0 ไทย ลำพูน วอร์ริเออร์

10 4FW ธีรศิลป์ แดงดา (1988-06-06) 6 มิถุนายน ค.ศ. 1988 (36 ปี) 127 64 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
9 4FW ศุภชัย ใจเด็ด (1998-12-01) 1 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 39 7 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
17 4FW ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา (2002-08-02) 2 สิงหาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 21 7 เบลเยียม โอฮา เลอเฟิน
4FW ปรเมศย์ อาจวิไล (1998-10-20) 20 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 11 1 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด
4FW ธีรศักดิ์ เผยพิมาย (2002-09-21) 21 กันยายน ค.ศ. 2002 (22 ปี) 9 0 ไทย การท่าเรือ
11 4FW อนันต์ ยอดสังวาลย์ (2001-07-09) 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 0 0 ไทย ลำพูน วอร์ริเออร์

ที่เคยถูกเรียกตัว

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทยในรอบ 12 เดือนล่าสุด:

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK บุญเกียรติ วงค์ษาแจ่ม (1994-06-29) 29 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 0 0 ไทย อุทัยธานี v. ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, 26 มีนาคม 2567
GK ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน (1984-04-20) 20 เมษายน ค.ศ. 1984 (40 ปี) 33 0 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เอเชียนคัพ 2023
GK กัมพล ปฐมอรรฆย์กุล (1992-07-29) 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 10 0 ไทย ราชบุรี v. ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์, 21 พฤศจิกายน 2566
GK จิรวัฒน์ วังทะพันธ์ (1998-07-26) 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 0 0 ไทย ขอนแก่น ยูไนเต็ด v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
GK สุเมธี โคกโพธิ์ (1998-11-05) 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (26 ปี) 0 0 ไทย การท่าเรือ v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
GK ฉัตรชัย บุตรพรม (1987-02-04) 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 (37 ปี) 19 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 49

DF พรรษา เหมวิบูลย์ (1990-07-08) 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 (34 ปี) 46 6 ไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด v. ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, 26 มีนาคม 2567
DF นิโคลัส มิคเกลสัน (1999-07-24) 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 12 1 เดนมาร์ก โอเดนเซ v. ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, 26 มีนาคม 2567
DF จักพัน ไพรสุวรรณ (1994-08-16) 16 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 12 1 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด เอเชียนคัพ 2023
DF ทริสตอง โด (1993-01-31) 31 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 51 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด v. ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์, 21 พฤศจิกายน 2566
DF นิติพงษ์ เสลานนท์ (1993-05-25) 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 6 0 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด v. ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์, 21 พฤศจิกายน 2566
DF เควิน ดีรมรัมย์ (1997-09-11) 11 กันยายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 4 0 ไทย การท่าเรือ v. ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์, 21 พฤศจิกายน 2566
DF มานูเอล บีร์ (1993-09-17) 17 กันยายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 20 0 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด v. ธงชาติจีน จีน, 16 พฤศจิกายน 2566
DF เจมส์ เบอร์เรสฟอร์ด (2002-04-17) 17 เมษายน ค.ศ. 2002 (22 ปี) 1 0 ไทย อุทัยธานี v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
DF ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์ (2002-05-09) 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 4 0 ไทย ชลบุรี v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
DF อดิศร พรหมรักษ์ (1993-10-21) 21 ตุลาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 32 0 ไทย ราชบุรี v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
DF พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา (1993-02-04) 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 36 1 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 49

MF ปกเกล้า อนันต์ (1991-03-04) 4 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 47 6 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด v. ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, 26 มีนาคม 2567
MF รุ่งรัฐ ภูมิจันทึก (1992-05-17) 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 7 0 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด v. ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, 26 มีนาคม 2567
MF ปฐมพล เจริญรัตนาภิรมย์ (1994-04-21) 21 เมษายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 24 1 ไทย การท่าเรือ เอเชียนคัพ 2023
MF วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ (1997-08-24) 24 สิงหาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 17 2 ไทย การท่าเรือ เอเชียนคัพ 2023
MF บดินทร์ ผาลา (1994-12-20) 20 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 41 6 ไทย การท่าเรือ v. ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, 26 มีนาคม 2567
MF พิชา อุทรา (1996-01-07) 7 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 9 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด เอเชียนคัพ 2023
MF เอกนิษฐ์ ปัญญา (1999-10-21) 21 ตุลาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 20 1 ญี่ปุ่น อูราวะ เรดไดมอนส์ เอเชียนคัพ 2023WD
MF พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล (1995-02-01) 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 26 0 ไทย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด v. ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น, 1 มกราคม 2567
MF เบน เดวิส (2000-11-24) 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (24 ปี) 1 0 ไทย ชลบุรี v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
MF ชานุกูล ก๋ารินทร์ (1997-04-24) 24 เมษายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 3 0 ไทย การท่าเรือ v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
MF จักรกฤษ ลาภตระกูล (1994-12-02) 2 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 3 0 ไทย พีที ประจวบ v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
MF ปุรเชษฐ์ ทอดสนิท (2001-05-09) 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 1 0 ไทย เมืองทอง ยูไนเต็ด v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
MF อาทิตย์ เบิร์ก (1998-01-11) 11 มกราคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 2 0 ไทย นครปฐม ยูไนเต็ด v. ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย, 17 ตุลาคม 2566
MF ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ (1993-09-01) 1 กันยายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 56 7 ไทย ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 49

FW ยศกร บูรพา (2005-06-08) 8 มิถุนายน ค.ศ. 2005 (19 ปี) 2 0 ไทย ชลบุรี v. ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น, 1 มกราคม 2567

INJ ผู้เล่นที่ถูกเรียกแต่ถอนตัวเนื่องจากอาการบาดเจ็บ
PRE ผู้เล่นชุดเบื้องต้น
RET ผู้เล่นที่เลิกเล่นให้กับทีมชาติ
WD ผู้เล่นที่ถูกเรียกแต่ถอนตัวเนื่องจากปัญหาส่วนตัว

กัปตันทีม

หมายเลขเสื้อ ผู้เล่น ดำรงตำแหน่ง
5 กฤษดา กาแมน พ.ศ. 2566–

ฟุตบอลกระชับมิตร อุ่นเครื่อง ฟีฟ่า เดย์ พบ ทีมชาติจอร์เจีย และ ทีมชาติเอสโตเนีย

18 ชนาธิป สรงกระสินธ์ พ.ศ. 2564 (ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020), พ.ศ. 2565–
10 ธีรศิลป์ แดงดา พ.ศ. 2564 (ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020)
23 ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน พ.ศ. 2562-2564 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
4

เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว

รายการ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018
1 กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ พ.ศ. 2560–2561
10 ธีรศิลป์ แดงดา พ.ศ. 2559–รายการ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2016, พ.ศ. 2562–
3 ธีราทร บุญมาทัน พ.ศ. 2558– ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย
19 อดุลย์ หละโสะ พ.ศ. 2557–2558
18 สินทวีชัย หทัยรัตนกุล พ.ศ. 2556–2557
2 ภานุพงศ์ วงศ์ษา พ.ศ. 2555–2556
6 ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ พ.ศ. 2553–2554
7 ดัสกร ทองเหลา พ.ศ. 2551–2552
10 ตะวัน ศรีปาน พ.ศ. 2550–2551
17 สุธี สุขสมกิจ พ.ศ. 2549
1

5

กิตติศักดิ์ ระวังป่า

นิเวส ศิริวงศ์

พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2551
6 รุ่งโรจน์ สว่างศรี พ.ศ. 2547–2548
8 เทิดศักดิ์ ใจมั่น พ.ศ. 2546
12 สุรชัย จิระศิริโชติ พ.ศ. 2545
13 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง พ.ศ. 2544–พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547, พ.ศ. 2550
5 โชคทวี พรหมรัตน์ พ.ศ. 2542–พ.ศ. 2543, พ.ศ. 2546
7 นที ทองสุขแก้ว พ.ศ. 2539–พ.ศ. 2541
14 วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ พ.ศ. 2538
9 ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน พ.ศ. 2536

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

หัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2499–ปัจจุบัน

ชื่อ สัญชาติ ช่วงเวลา สถิติ ผลงาน
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ Win %
บุญชู สมุทรโคจร ไทย 2499–2507 ? ? ? ? ?
ประเทียบ เทศวิศาล ไทย 2508–2511 ? ? ? ? ?
กึนเทอร์ กลอมบ์ เยอรมนี 2511–2518 ? ? ? ? ? โอลิมปิกฤดูร้อน 1968 - รอบแบ่งกลุ่ม

เอเชียนคัพ 1972 - อันดับ 3

เนาวรัตน์ ปทานนท์ ไทย 2518 ? ? ? ? ?
เพเทอร์ ชนิทเกอร์ เยอรมนี 2519–2521 ? ? ? ? ?
แวร์เนอร์ บิคเคลเฮาพท์ เยอรมนี 2522 ? ? ? ? ?
วิชิต แย้มบุญเรือง ไทย 2522 ? ? ? ? ?
ศุภกิจ มีลาภกิจ ไทย 2523 ? ? ? ? ?
ประวิทย์ ไชยสาม ไทย 2524–2526 ? 2 3 ? ?
ยรรยง ณ หนองคาย ไทย 2526 ? 2 3 ? ?
เสนอ ไชยยงค์ ไทย 2527 ? 2 3 ? ?
บัวร์กฮาร์ด ซีเซอ เยอรมนี 2528–2529 ? ? ? ? ?
เชิดศักดิ์ ชัยบุตร ไทย 2530 ? ? ? ? ?
ประวิทย์ ไชยสาม ไทย 2531–2532 ? ? ? ? ?
การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู บราซิล 2532–2534 ? ? ? ? ? ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 20ชนะเลิศ
เอเชียนเกมส์ 1990 - อันดับ 4
ปีเตอร์ สตัปป์ เยอรมนี 2534–2537 ? 6 2 1 ? เอเชียนคัพ 1992 - รอบแบ่งกลุ่ม
ซีเกมส์ 1993 - ชนะเลิศ
วรวิทย์ สัมปชัญญสถิตย์ ไทย 2537 ? 2 3 ? ?
ชัชชัย พหลแพทย์ ไทย 2537–2538 ? ? ? ? ? ซีเกมส์ 1995 - ชนะเลิศ
ธวัชชัย สัจจกุล ไทย 2539 ? ? ? ? ? ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1996 - ชนะเลิศ
อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ ไทย 2539 15 9 3 3 60.0 เอเชียนคัพ 1996 - รอบแบ่งกลุ่ม
เด็ทมาร์ คราเมอร์ เยอรมนี 2540 ? ? ? ? ?
วิทยา เลาหกุล ไทย 2540–2541 24 10 9 5 41.7 ซีเกมส์ 1997 - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1998 - อันดับ 4
ปีเตอร์ วิธ อังกฤษ 2541–2546 101 46 25 30 45.5 เอเชียนเกมส์ 1998 - อันดับ 4
ซีเกมส์ 1999 - ชนะเลิศ
เอเชียนคัพ 2000 - รอบแบ่งกลุ่ม
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2000 - ชนะเลิศ
คิงส์คัพ 2000 - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2002 - ชนะเลิศ
เอเชียนเกมส์ 2002 - อันดับ 4
การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู บราซิล 2546–2547 13 6 2 5 46.1
ชัชชัย พหลแพทย์ ไทย มิถุนายน – สิงหาคม 2547 8 2 1 5 25.0 เอเชียนคัพ 2004 - รอบแบ่งกลุ่ม
ซีคฟรีท เฮ็ลท์ เยอรมนี สิงหาคม 2547–2548 11 4 4 3 36.4 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004 - รอบแบ่งกลุ่ม
ชาญวิทย์ ผลชีวิน ไทย 2548–มิถุนายน 2551 39 18 11 10 46.1 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 37 - ชนะเลิศ
2006 T&T Cup - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 38 - ชนะเลิศ
เอเชียนคัพ 2007 - รอบแบ่งกลุ่ม
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007- รองชนะเลิศ
ปีเตอร์ รีด อังกฤษ กันยายน 2551–กันยายน 2552 15 8 4 3 53.3 2008 T&T Cup - ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008 - รองชนะเลิศ
ไบรอัน ร็อบสัน อังกฤษ กันยายน 2552–มิถุนายน 2554 18 7 4 7 38.8 ภูเก็ต กะตะกรุ๊ป คัพ 2009 (รายการการแข่งขันกระชับมิตรกับทีมสโมสร)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2010 – รอบแบ่งกลุ่ม
วินฟรีท เชเฟอร์ เยอรมนี กรกฎาคม 2554–มิถุนายน 2556 28 14 6 8 50.0 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 41 – อันดับ 4
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2012 – รองชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 42 – อันดับ 3
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
ไทย กรกฎาคม 2556–31 มีนาคม 2560 42 21 7 14 50.0 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 43 – รองชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016ชนะเลิศ
ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบ 12 ทีม
มิลอวัน ราเยวัตส์
เซอร์เบีย 5 พฤษภาคม 2560–7 มกราคม 2562 20 8 7 5 40.0 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 46 – รองชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 – รอบรองชนะเลิศ
เอเชียนคัพ 2019 (นัดที่ 1)
ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย
ไทย 7 มกราคม 2562–14 มิถุนายน 2562 7 2 1 4 28.0 เอเชียนคัพ 2019 – รอบ 16 ทีม
ไชนาคัพ 2019 – รองชนะเลิศ

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47 – อันดับ 4

อากิระ นิชิโนะ ญี่ปุ่น 17 กรกฎาคม 2562–29 กรกฎาคม 2564 11 2 5 4 18.2 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2
อาเลชังดรี ปอลกิง บราซิล 28 กันยายน 2564–22 พฤศจิกายน 2566 37 21 8 8 56.8 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020ชนะเลิศ

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 – อันดับ 3
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022ชนะเลิศ
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 49 – รองชนะเลิศ

มาซาตาดะ อิชิอิ ญี่ปุ่น 22 พฤศจิกายน 2566– 9 2 4 3 22.2 ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2
เอเชียนคัพ 2023 – รอบ 16 ทีม

การแข่งขัน

ทีมชาติที่เคยแข่งขันพบกับไทย (เน้นสีเขียว)

สถิติการแข่งขันแบบเฮดทูเฮด

ผลการแข่งขันเฮดทูเฮดของทีมชาติไทย
ทีม ตั้งแต่ ถึง ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง สมาพันธ์
ธงชาติอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน 2015 2015 1 1 0 0 2 0 +2 AFC
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1982 2017 7 0 1 6 4 17 −13 AFC
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 1980 2022 9 2 4 3 9 11 −2 AFC
ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ 1973 2012 14 9 3 2 29 11 +18 AFC
ธงชาติเบลารุส เบลารุส 2017 2017 1 0 1 0 0 0 0 UEFA
ธงชาติภูฏาน ภูฏาน 2012 2012 1 1 0 0 5 0 +5 AFC
ธงชาติบราซิล บราซิล 2000 2000 1 0 0 1 0 7 −7 CONMEBOL
ธงชาติบรูไน บรูไน 1971 2022 8 7 1 0 38 5 +33 AFC
ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย 1968 1996 2 0 0 2 0 13 −13 UEFA
ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา 1957 2023 16 9 5 2 39 18 +21 AFC
ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 2015 2015 1 0 0 1 2 3 −1 CAF
ธงชาติจีน จีน 1975 2024 32 6 5 21 28 72 −44 AFC
ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป 1963 2023 11 4 2 5 18 19 −1 AFC
Flag of the Republic of the Congo สาธารณรัฐคองโก 2019 2019 1 0 1 0 1 1 0 CAF
ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย 1968 1968 1 0 0 1 0 8 −8 UEFA
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 2009 2010 2 0 1 1 2 5 −3 UEFA
ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 1998 1998 1 0 1 0 1 1 0 CAF
ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย 2000 2023 3 1 2 0 3 2 +1 UEFA
ธงชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 1996 2000 4 3 1 0 11 3 +8 UEFA
ธงชาติกาบอง กาบอง 2018 2018 1 0 1 0 0 0 0 CAF
ธงชาติประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย 2023 2023 1 0 0 1 0 8 −8 UEFA
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 2004 2004 1 0 0 1 1 5 −4 UEFA
ธงชาติกานา กานา 1982 1983 2 0 0 2 2 6 −4 CAF
ธงชาติประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา 1968 1968 1 0 0 1 1 4 −3 CONCACAF
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 1961 2023 27 10 6 11 40 33 +7 AFC
ธงชาติอินเดีย อินเดีย 1962 2019 23 11 6 6 37 26 +11 AFC
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1957 2022 72 34 20 18 128 85 +43 AFC
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 1972 2013 14 0 3 11 5 32 −27 AFC
ธงชาติอิรัก อิรัก 1972 2023 18 2 6 10 20 47 −27 AFC
ธงชาติอิสราเอล อิสราเอล 1973 1973 1 0 0 1 0 6 −6 UEFA
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1962 2024 30 3 6 21 25 76 −51 AFC
ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 2004 2016 7 1 5 1 4 3 +1 AFC
ธงชาติคาซัคสถาน คาซัคสถาน 1998 2006 4 2 2 0 5 3 +2 UEFA
ธงชาติเคนยา เคนยา 1990 2017 2 2 0 0 3 1 +2 CAF
ธงชาติคูเวต คูเวต 1972 2014 12 4 1 7 18 30 −12 AFC
ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน 2001 2024 2 2 0 0 5 1 +4 AFC
ธงชาติลาว ลาว 1961 2010 14 12 1 1 50 15 +35 AFC
ธงชาติลัตเวีย ลัตเวีย 2005 2005 1 0 1 0 1 1 0 UEFA
ธงชาติเลบานอน เลบานอน 1998 2023 8 4 2 2 14 16 −2 AFC
ธงชาติไลบีเรีย ไลบีเรีย 1984 1984 1 0 0 1 1 2 −1 CAF
ธงชาติลิเบีย ลิเบีย 1977 1977 1 0 1 0 2 2 0 CAF
ธงชาติลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไตน์ 1981 1981 1 1 0 0 2 0 +2 UEFA
ธงชาติลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 1980 1980 1 0 0 1 0 1 −1 UEFA
ธงชาติมาเก๊า มาเก๊า 2007 2007 2 2 0 0 13 2 +11 AFC
ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1959 2023 115 34 38 43 154 163 −9 AFC
Flag of the Maldives มัลดีฟส์ 1996 2022 4 4 0 0 22 0 +22 AFC
ธงชาติมอลตา มอลตา 1981 1981 1 0 0 1 0 2 −2 UEFA
ธงชาติโมร็อกโก โมร็อกโก 1980 1980 1 0 0 1 1 2 −1 CAF
ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1957 2022 50 22 14 14 99 62 +37 AFC
ธงชาติเนปาล เนปาล 1982 2022 4 4 0 0 14 1 +13 AFC
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 2007 2007 1 0 0 1 1 3 −2 UEFA
ธงชาตินิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 1976 2014 5 2 2 1 9 7 +2 OFC
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 1983 1983 1 0 1 0 0 0 0 CAF
ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ 1997 1997 1 0 1 0 0 0 0 UEFA
ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 1978 2017 20 5 4 11 18 32 −14 AFC
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ 1965 2012 2 0 0 2 0 8 −8 UEFA
ธงชาติโอมาน โอมาน 1986 2024 13 5 2 6 11 10 1 AFC
ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน 1960 2001 5 4 0 1 16 7 +9 AFC
ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 2011 2011 2 1 1 0 3 2 +1 AFC
ธงชาติปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี 1984 1984 1 0 0 1 1 4 −3 OFC
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 1971 2022 23 19 2 2 71 11 +60 AFC
ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 2010 2010 1 0 0 1 1 3 −2 UEFA
ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ 1992 2016 11 4 3 4 15 15 0 AFC
ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 1982 2024 17 1 2 14 9 42 −33 AFC
ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1957 2024 68 39 18 11 117 68 +49 AFC
ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย 2004 2018 2 0 1 1 3 4 −1 UEFA
ธงชาติแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 2010 2010 1 0 0 1 0 4 −4 CAF
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1961 2024 63 8 13 42 44 124 −80 AFC
ธงชาติศรีลังกา ศรีลังกา 1979 2022 6 6 0 0 17 2 +15 AFC
ธงชาติซูรินาม ซูรินาม 2022 2022 1 1 0 0 1 0 +1 CONCACAF
ธงชาติสวีเดน สวีเดน 1962 2003 5 0 1 4 4 13 −9 UEFA
ธงชาติซีเรีย ซีเรีย 1978 2023 6 3 2 1 13 10 +3 AFC
ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 2003 2021 3 1 1 1 3 3 0 AFC
ธงชาติติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต 2004 2021 3 3 0 0 17 0 +17 AFC
ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก 2003 2022 3 3 0 0 6 3 +3 CONCACAF
ธงชาติตุรกี ตุรกี 1980 1980 1 0 0 1 0 2 −2 UEFA
ธงชาติเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน 1998 2022 2 1 1 0 4 3 +1 AFC
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1986 2023 13 2 3 8 12 21 −9 AFC
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 1987 1987 1 0 0 1 0 1 −1 CONCACAF
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 2019 2019 1 0 0 1 0 4 −4 CONMEBOL
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 1994 2024 11 6 0 5 23 20 +3 AFC
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 1956 2023 56 20 13 23 76 77 -1 AFC
ธงชาติเยเมน เยเมน 1988 2007 6 2 4 0 9 5 +4 AFC
78 ประเทศ 1948 2024 860 329 200 331 1326 1275 +51 ทั้งหมด
การแข่งขันนัดล่าสุด: พบทีมชาติสิงคโปร์ 11 มิถุนายน 2024

ฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ปี ผล อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อุรุกวัย 1930 -
เม็กซิโก 1970
ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้คัดเลือก
เยอรมนีตะวันตก 1974 ไม่ผ่านเข้ารอบ 4 0 0 4 0 13
อาร์เจนตินา 1978 4 1 0 3 8 12
สเปน 1982 3 0 1 2 3 13
เม็กซิโก 1986 6 1 2 3 4 4
อิตาลี 1990 6 1 0 5 2 14
สหรัฐ 1994 8 4 0 4 13 7
ฝรั่งเศส 1998 4 1 1 2 5 6
เกาหลีใต้ญี่ปุ่น 2002 14 5 5 4 25 20
เยอรมนี 2006 6 2 1 3 9 10
แอฟริกาใต้ 2010 10 3 2 5 20 17
บราซิล 2014 8 2 2 4 7 10
รัสเซีย 2018 16 4 4 8 20 30
ประเทศกาตาร์ 2022 8 2 3 3 9 9
สหรัฐแคนาดาเม็กซิโก 2026 กำลังคัดเลือก - - - - - - - 2 1 0 1 4 3
โมร็อกโกโปรตุเกสสเปน 2030 ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน - - - - - - -
ซาอุดีอาระเบีย 2034 ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน - - - - - - -
รวม - - - - - - - - 99 27 21 51 129 168

โอลิมปิก

(ใช้ทีมชาติอายุไม่เกิน 23 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2535)

สถิติในกีฬาโอลิมปิก
ปี รอบ อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
ฝรั่งเศส 1900 to
ฟินแลนด์ 1952
ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
ออสเตรเลีย 1956 รอบที่ 1 11/11 1 0 0 1 0 9
อิตาลี 1960 ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
ญี่ปุ่น 1964 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - -
เม็กซิโก 1968 รอบที่ 1 16/16 3 0 0 3 1 19
เยอรมนี 1972 ถึง
เกาหลีใต้ 1988
ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - -
รวม 2/19 - 4 0 0 4 1 28
เอเชียนคัพ นัดแข่งขันกับโอมาน ในปี 2550
เอเชียนคัพ นัดแข่งขันกับอินเดีย ในปี 2562
เอเชียนคัพรอบสุดท้าย เอเชียนคัพรอบคัดเลือก
ปี ผลการแข่งขัน อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
ฮ่องกง 1956 ถึง เกาหลีใต้ 1960 ไม่ได้เข้าร่วม
อิสราเอล 1964 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 3 0 1 2 4 9
อิหร่าน 1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 4 2 0 2 5 4
ไทย 1972 อันดับ 3 5 0 3 2 6 9 2 1 0 1 10 1
อิหร่าน 1976 ถอนทีมหลังจากผ่านรอบคัดเลือก 4 3 0 1 8 2
คูเวต 1980 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 5 3 0 2 11 3
สิงคโปร์ 1984 5 3 0 2 9 10
ประเทศกาตาร์ 1988 5 1 2 2 5 12
ญี่ปุ่น 1992 รอบที่ 1 3 0 2 1 1 5 2 2 0 0 3 1
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1996 รอบที่ 1 3 0 0 3 2 13 6 4 2 0 31 5
เลบานอน 2000 รอบที่ 1 3 0 2 1 2 4 6 4 1 1 13 8
จีน 2004 รอบที่ 1 3 0 0 3 1 9 6 3 0 3 10 7
อินโดนีเซียมาเลเซียไทยเวียดนาม 2007 รอบที่ 1 3 1 1 1 3 5 เข้ารอบสุดท้ายในฐานะเจ้าภาพร่วม
ประเทศกาตาร์ 2011 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 6 1 3 2 3 3
ออสเตรเลีย 2015 6 0 0 6 7 21
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2019 รอบ 16 ทีม 4 1 1 2 4 7 6 4 2 0 14 6
ประเทศกาตาร์ 2023 รอบ 16 ทีม 4 1 2 1 3 2 10 4 3 3 14 9
รวม ดีที่สุด: อันดับ 3 28 3 11 14 22 54 78 36 15 27 150 105

เอเชียนเกมส์

(ใช้ทีมชาติอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2545)

เอเชียนเกมส์
ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อินเดีย 1951 ถึง
อินโดนีเซีย 1962
ไม่ได้เข้าร่วม
-
-
-
-
-
-
ไทย 1966
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
1
2
5
8
ไทย 1970
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
2
1
6
6
อิหร่าน 1974
รอบที่ 1
2
0
0
2
2
4
ไทย 1978
รอบที่ 2
5
2
0
3
6
12
อินเดีย 1982
รอบที่ 1
3
1
0
2
3
5
เกาหลีใต้ 1986
รอบที่ 1
4
1
1
2
8
4
จีน 1990
รอบรองชนะเลิศ
6
3
1
2
5
3
ญี่ปุ่น 1994
รอบที่ 1
4
0
1
3
8
12
ไทย 1998
รอบรองชนะเลิศ
8
4
1
3
12
10
รวม
ดีที่สุด: รอบรองชนะเลิศ
43 13 7 23 59 74

การแข่งขันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อไทเกอร์คัพ, เอเอฟเอฟ ซูซูกิคัพ และ เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ

อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
เจ้าภาพ/ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ผลต่าง
สิงคโปร์ 1996
ชนะเลิศ
6
5
1
0
18
3
+15
เวียดนาม 1998
อันดับ 4
5
2
2
1
10
10
0
ไทย 2000
ชนะเลิศ
5
5
0
0
15
3
+12
อินโดนีเซีย สิงคโปร์ 2002
ชนะเลิศ
5
2
2
1
13
7
+6
มาเลเซีย เวียดนาม 2004
รอบแบ่งกลุ่ม
4
2
1
1
13
4
+9
สิงคโปร์ ไทย 2007
รองชนะเลิศ
7
3
3
1
10
4
+6
อินโดนีเซีย ไทย 2008
รองชนะเลิศ
7
5
1
1
16
4
+12
อินโดนีเซีย เวียดนาม 2010
รอบแบ่งกลุ่ม
3
0
2
1
3
4
-1
มาเลเซีย ไทย 2012
รองชนะเลิศ
7
5
1
1
14
6
+8
สิงคโปร์เวียดนาม 2014 ชนะเลิศ 7 5 1 1 14 6 +8
ประเทศพม่าฟิลิปปินส์ 2016 ชนะเลิศ 7 6 0 1 15 4 +11
อาเซียน 2018 รอบรองชนะเลิศ 6 3 3 0 17 5 +12
สิงคโปร์ 2020 ชนะเลิศ 8 6 2 0 18 3 +15
อาเซียน 2022 ชนะเลิศ 8 5 2 1 19 5 +14
รวม
ดีที่สุด: ชนะเลิศ
85
54
21
10
195
68
+127

ซีเกมส์

ใช้ทีมชาติอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 - ค.ศ. 2015 ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 21 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 2017

ซีเกมส์
เจ้าภาพ/ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
ไทย 1959 รองชนะเลิศ 4 2 0 2 9 10
ประเทศพม่า 1961 อันดับ 3 3 1 2 0 7 4
มาเลเซีย 1965 ชนะเลิศ 3 2 1 0 6 3
ไทย 1967 อันดับ 3 4 2 0 2 9 8
ประเทศพม่า 1969 รองชนะเลิศ 3 1 1 1 4 4
มาเลเซีย 1971 อันดับ 3 5 1 2 2 7 8
สิงคโปร์ 1973 รอบที่ 1 2 0 1 1 1 2
ไทย 1975 ชนะเลิศ 3 1 2 0 5 4
มาเลเซีย 1977 รองชนะเลิศ 4 1 1 2 3 6
อินโดนีเซีย 1979 อันดับ 3 5 2 2 1 6 5
ฟิลิปปินส์ 1981 ชนะเลิศ 4 2 2 0 9 6
สิงคโปร์ 1983 ชนะเลิศ 5 3 1 1 10 4
ไทย 1985
ชนะเลิศ
4
3
1
0
17
1
อินโดนีเซีย 1987
อันดับ 3
4
2
1
1
7
3
มาเลเซีย 1989
รอบรองชนะเลิศ
4
1
2
1
5
3
ฟิลิปปินส์ 1991
รองชนะเลิศ
4
2
1
1
10
2
สิงคโปร์ 1993
ชนะเลิศ
6
6
0
0
18
6
ไทย 1995
ชนะเลิศ
6
5
1
0
19
2
อินโดนีเซีย 1997
ชนะเลิศ
6
4
2
0
15
3
บรูไน 1999
ชนะเลิศ
6
5
1
0
24
1
รวม
ดีที่สุด: ชนะเลิศ
127 70 29 19 330 109

เกียรติยศอื่น ๆ

สถิติ

ติดทีมชาติสูงสุด

  •   ผู้เล่นที่ยังลงเล่นให้กับทีมชาติอยู่[56]
ผู้เล่นติดทีมชาติสูงสุด
# ผู้เล่น ลงเล่น ประตู ปีที่ลงเล่น
1 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง 134 71 พ.ศ. 2536–2550
2 ธีรศิลป์ แดงดา 127 64 พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน
3 ธชตวัน ศรีปาน 110 19 พ.ศ. 2536–2552
4 ธีราทร บุญมาทัน 103 7 พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน
5 ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน 100 70 พ.ศ. 2524–2540
ดัสกร ทองเหลา 100 11 พ.ศ. 2546–2560
7 ดุสิต เฉลิมแสน 96 14 พ.ศ. 2537–2547
8 นิเวส ศิริวงศ์ 90 3 พ.ศ. 2538–2555
9 นที ทองสุขแก้ว 87 1 พ.ศ. 2529–2543
10 สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ 86 7 พ.ศ. 2534–2545
11 นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ 85 28 พ.ศ. 2510–2522
อรรถพล บุษปาคม 85 13 พ.ศ. 2528–2541
13 วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ 84 29 พ.ศ. 2528–2538
สถิติปรับปรุงล่าสุดในนัดที่พบกับ  เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567

ผู้ทำประตูสูงสุด

  •   ผู้เล่นที่ยังลงเล่นให้กับทีมชาติอยู่[56]
ผู้ทำประตูสูงสุด
# ผู้เล่น ประตู ลงเล่น ปีที่ลงเล่น ประตูเฉลี่ยต่อนัด
1 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง 71 134 พ.ศ. 2536–2550 0.53
2 ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน 70 100 พ.ศ. 2524–2540 0.70
3 ธีรศิลป์ แดงดา 64 127 พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน 0.50
4 ศรายุทธ ชัยคำดี 31 49 พ.ศ. 2546–2554 0.63
5 วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ 29 84 พ.ศ. 2528–2538 0.35
6 ดาวยศ ดารา 28 70 พ.ศ. 2518–2529 0.40
วรวุฒิ ศรีมะฆะ 28 63 พ.ศ. 2538–2546 0.44
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ 28 85 พ.ศ. 2510–2522 0.33
9 เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง 27 79 พ.ศ. 2514–2524 0.34
10 ชลอ หงษ์ขจร 25 67 พ.ศ. 2522–2530 0.37
เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ 25 55 พ.ศ. 2538–2540 0.45
สุทธา สุดสะอาด 25 51 พ.ศ. 2521–2531 0.49
13 ประพนธ์ ตันติยานนท์ 23 63 พ.ศ. 2514–2523 0.37
14 เทิดศักดิ์ ใจมั่น 22 75 พ.ศ. 2537–2554 0.29
สถิติปรับปรุงล่าสุดในนัดที่พบกับ  เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567

อ้างอิง

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. "Thailand matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Thailand. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  3. Asian Cup 2019: Last Chance for Thailand?, สืบค้นเมื่อ 2021-12-28
  4. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  6. https://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_83.htm
  7. https://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/63-2017-07-30-11-28-45
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  9. https://www.bbc.com/thai/thailand-53399231
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  14. ไทม์ไลน์อนาคต ทีมชาติไทย U20 ชุดแห่งความหวัง ข่าวจากสยามกีฬา
  15. "Asian Nations Cup 1992". www.rsssf.com.
  16. "The Dream Team Era". Charnpipop (ภาษาอังกฤษ). 2017-09-12.
  17. Wilson, Simon. "Flashback: 2000 ASEAN Football Championship". www.affsuzukicup.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  18. https://www.youtube.com/watch?v=9mtfgzVPMMM#t=56s
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  21. https://hilight.kapook.com/view/25731
  22. "Bryan Robson to coach Thailand Bryan Robson has agreed to replace his former England team-mate Peter Reid as coach of Thailand". The Daily Telegraph. London. 23 September 2009. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
  23. Singapore 1–3 Thailand: Sutee Suksomkit gives Bryan Robson crucial win
  24. "Bryan Robson resigns as Thailand manager". BBC Sport. 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 8 June 2011.
  25. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-22. สืบค้นเมื่อ 2019-01-20.
  26. "จิงโจ้เฉือนไทย 2-1 ประเดิมคัดบอลโลก". Manger Online. 2 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  27. "สรุปผล ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย". Siamsport.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "ชนะแต่ไม่เพียงพอ! สิ่งที่เห็นจากสแตนด์ราชมัง ไทย 3-1 สิงคโปร์". Siamsport.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "รู้จัก 23 ขุนพลช้างศึกกับภารกิจล่าแชมป์บอลถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ". Siamsport. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |archive-url= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. "ตั้งโค้ชง้วน คุมทีมชาติชุดใหญ่ประเดิมคัดเอเชียนคัพบุกอิหร่าน". Thairath. 22 August 2013. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  31. https://news.thaipbs.or.th/content/261297
  32. https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_279818
  33. https://www.khaosod.co.th/sports/news_2053936
  34. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (7 มกราคม 2562). "ถ้อยแถลงของนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์". fathailand.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  36. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-22. สืบค้นเมื่อ 2019-01-20.
  37. เปิดสถิติ "นิชิโนะ" คุมทีมชาติไทยในเกมทางการก่อนถูก "ส.ฟุตบอล" ยุติสัญญา - ไทยรัฐ (29 กรกฎาคม 2564)
  38. Limited, Bangkok Post Public Company. "Polking appointed as national coach". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
  39. Limited, Bangkok Post Public Company. "Thailand to face Indonesia in Suzuki Cup final". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
  40. Limited, Bangkok Post Public Company. "Thailand capture sixth Suzuki Cup". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01.
  41. "Thai football fans go on a rant after national team's 8-0 drubbing in Georgia". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-13.
  42. UEFA.com. "Georgia-Thailand | European Qualifiers 2024". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  43. "Loss to Uzbekistan ends Thailand's Asian Cup hopes". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-31.
  44. AFF, Editor (2012-10-19). "ASC2012: Thailand Go With Grand Sport". AFF - The Official Website Of The Asean Football Federation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  45. https://www.facebook.com/warrixofficial/photos/a.1620139491615372.1073741827.1620139098282078/1620139468282041/?type=3&theater
  46. https://football-tribe.com/thailand/2017/10/13/king-rama9-thailand/
  47. "Thailand 2018 Home and Away Kits Released". Footy Headlines.
  48. "History : Logo Thailand National Football Team – Kosin Studio". 2017-11-28.
  49. "6 สิ่งที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับฟุตบอลทีมชาติไทย". JohnnyBet.
  50. THAILAND, FA. "ฟีฟ่า อนุมัติโครงการ FIFA Forward 3.0 ให้สมาคมฯ ก่อสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ ครบวงจร". fathailand.org.
  51. "Thailand national football team: record v Singapore". www.11v11.com.
  52. "The Fall of Siam & the Lost Temples of Ayutthaya". Ex Utopia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-01-25.
  53. Limited, Bangkok Post Public Company. "Confident Thailand take on Myanmar". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-12-16.
  54. https://www.rsssf.org/tablesa/asgames94.html
  55. "#OFFICIAL ประกาศรายชื่อ 27 แข้งช้างศึก ชุดแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง นัดที่ 5 พบ จีน และ นัดที่ 6 พบ สิงคโปร์". Facebook.
  56. 56.0 56.1 Roberto Mamrud. "Thailand – Record International Players". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น