ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุซุลวีน"
แอนเดอร์สัน (คุย | ส่วนร่วม) หน้าใหม่: {{family name hatnote|lang=Burmese|ซูซูลวีน}} {{Infobox officeholder | name = ซูซูลวีน | native_name = စုစုလွင် | office1 = สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งพม่า | honorific-prefix = | honorific_suffix = MP | image = Su Su Lwin First Lady.jpg | predecessor1 = คีนคีนวี่น | president1 = ทีนจอ | successor1 = ค... |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:51, 20 กรกฎาคม 2567
ซูซูลวีน | |
---|---|
စုစုလွင် | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 พฤษภาคม 2555 | |
ก่อนหน้า | มยีนมอง |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอโต้น-กวะ |
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งพม่า | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม 2559 – 21 มีนาคม 2561 | |
ประธานาธิบดี | ทีนจอ |
ก่อนหน้า | คีนคีนวี่น |
ถัดไป | คีนเตะเท (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2495 ย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า |
พรรคการเมือง | สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย |
คู่สมรส | ทีนจอ (สมรส 2516) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (ศศ.ม.) มหาวิทยาลัยซิดนีย์ สถาบันการศึกษาย่างกุ้ง |
ซูซูลวีน (พม่า: စုစုလွင် [suː suː lwɪ̀ɴ]; เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองหญิงชาวพม่า และเคยเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของพม่า ด้วยเป็นภรรยาของทีนจอ อดีตประธานาธิบดีพม่า[1][2][3][4][5][6] เธอดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอำเภอโต้น-กวะตั้งแต่ พ.ศ. 2555
ประวัติ
ซูซูลวีนเป็นธิดาของอู้ลวีน อดีตทหารผ่านศึก และอดีตรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า และเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย[7][8][9] เธอสืบสันดานจากเจ้าชายมองมองทิน เจ้าชายจากราชวงศ์โก้นบอง และเจ้าชายพระองค์นี้มีพระมารดาสืบสันดานจากเจ้าหญิงเจาะปวาซอ (Kyauk Pwa Saw) เจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา[10]
ซูซูลวีนถูกส่งไปศึกษาที่สหรัฐตั้งแต่ยังเด็ก ก่อนกลับมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่สถาบันการศึกษาย่างกุ้ง (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการศึกษาย่างกุ้ง) ที่ประเทศพม่า จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งจนสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
ซูซูลวีนสมรสกับทีนจอ ซึ่งเป็นชาวพม่าเชื้อสายมอญเมื่อ พ.ศ. 2516 ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน[11]
การทำงาน
วิชาชีพครู
ซูซูลวีนเริ่มเข้าทำงานสำนักงานวิจัยการศึกษาแห่งประเทศพม่าหลังสำเร็จการศึกษา เธอทำงานอยู่ที่นั่นราวสิบปี จึงย้ายไปทำงานกับยูนิเซฟตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2548 ต่อมาเธอทำงานเป็นที่ปรึกษาอิสระให้โครงการศึกษาต่อของพระภิกษุสงฆ์ จากนั้นได้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อว่า นักการศึกษาหงสา (Hantha Educators) เมื่อ พ.ศ. 2549 ด้วยความร่วมมือจากพระภิกษุผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น มุ่งพัฒนาและปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์แบบดั้งเดิม การดูแลเด็กช่วงปฐมวัย เธอยึดมั่นในการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลางและใช้การคิดเชิงวิพากษ์[5]
การเมือง
ซูซูลวีนถูกเลือกให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอำเภอโต้น-กวะ จากการเลือกตั้งซ่อมเมื่อ พ.ศ. 2555 และในช่วงการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2558 เธอมีส่วนในการร่างรัฐบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเกิดประเด็นโต้เถียงอย่างหนัก ตามมาด้วยการประท้วงจากนักเรียนและนักศึกษาทั่วประเทศใน พ.ศ. 2558 นอกจากนี้เธอยังเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎร[5][12]
อ้างอิง
- ↑ "လွှတ်တော်အမတ်များ - ဒေါ်စုစုလွင်". Open Myanmar Initiative. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
- ↑ Aung Hla Tun (10 March 2016). "Presidency beckons for Suu Kyi confidant after two months in party". Reuters News. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ "ပြည်သူ့လွှတ်တော်". www.pyithuhluttaw.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
- ↑ "ဒေါ်စုစုလွင် ပြည်သူ့ လွှတ်တော်".
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Su Su Lwin: Not 'The' Lady, but Rather Burma's Next 'First' Lady". The Irrawaddy.
- ↑ Htoo Thant, Lun Min Mang (1 April 2016). "First Lady to remain an MP". The Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 4 April 2016.
- ↑ Ei Ei Toe Lwin. "Daw Suu eyes foreign minister role".
- ↑ "NLD Dropped a Name List to Lead Its New Government". The Burma Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24.
- ↑ "Myanmar Starts New Parliamentarye Era". The Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 6 March 2016.
- ↑ "ထိုင်းဘုရင်သွေး မကင်းတဲ့ မြန်မာတွေ". BBC News (ภาษาพม่า). 26 October 2017.
- ↑ Ei Ei Toe Lwin. "Who is President U Htin Kyaw?".
- ↑ "Su Su Lwin Concentrates on New Role as Burma's First Lady". The Irrawaddy.