ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานบินตราด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adrich (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล โครงสร้างทางการทหาร | name = ฐานบินตราด | ensign = Roundel of Thailand.svg | ensign_size = 60px | partof = กองทัพอากาศไทย | location = ตราด | coordinates = {{Coord|12.255245|102.518082|name=ฐานบินตราด|display=inline}} | image = | image_size = 300 | caption = | mapframe...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:57, 20 ตุลาคม 2567

ฐานบินตราด
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
ตราด
แผนที่
พิกัด12°15′19″N 102°31′05″E / 12.255245°N 102.518082°E / 12.255245; 102.518082 (ฐานบินตราด)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยฝูงบิน 207 กองบิน 2 (ไม่ปรากฏ–2566)
ฝูงบิน 306 กองบิน 3 (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์ฝูงบิน 306 กองบิน 3
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุICAO: VTBV[1]
ความสูง10 ฟุต (3.0 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
13/34 917.3 เมตร (3,010 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต

ฐานบินตราด[2] (อังกฤษ: Trat Air Force Base) หรือ สนามบินเกาะตะเคียน (Koh Takian Airport) เป็นฐานทัพอากาศและที่ตั้งทางทหารของฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 306 กองทัพอากาศไทย ในอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด อดีตเคยเป็นที่ตั้งของฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 207 กองบิน 2

ประวัติ

ฐานบินตราด เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สนามบินเกาะตะเคียน โดยปรากฏในเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในชื่อของสนามบินเกาะตะเคียน

สนามบินเกาะตะเคียน เกิดจากการประชุมใหญ่กระทรวงกลาโหมในการก่อสร้างสนามบินในมณฑลจันทบุรี ในจังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ประวัติขุนภูมิประศาสตร์ (เชื้อ สิริยานนท์) ได้เลือกสถานที่ในการก่อสร้างในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 ณ บ้านเกาะตะเคียน โดยพื้นที่บางส่วนเป็นของราษฎร โดยเริ่มก่อสร้างขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 โดยมิได้ใช้งบประมาณแผ่นดินและการเกณฑ์แรงงานราษฎรแต่อย่างใด สนามบินก่อสร้างเสร็จสิ้นพร้อมกับอาคาร 2 หลังเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2482 โดยข้าราชการและประชาชนในจังหวัดตราด ร่วมกับทำพิธีเปิด และส่งมอบให้กับกองทัพอากาศใช้งาน[3]

ในช่วงปี พ.ศ. 2483–2484 ระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีน สนามบินเกาะตะเคียนถูกใช้งานเป็นสนามบินสำรอง

จากนั้น พ.ศ. 2520 สนามบินเกาะตะเคียนเป็นที่ตั้งของหมวดบิน 7102 ประจำการเครื่องบิน โอ-1 เบิร์ด ด็อก (บ.ต.2) บนเนื้อที่ 417 ไร่ ถือเป็นฐานบินหน้าของกองทัพอากาศในการปฏิบัติการ มีหน่วยขึ้นตรงในปฏิบัติงานต่าง ๆ รูปแบบเดียวกับกองบิน แต่มีขนาดเล็ก รวมไปถึงทางวิ่งที่มีความยาวเพียง 1,200 ฟุต[4]

นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของหน่วยบินต่าง ๆ ที่มาประจำการส่วนหน้า เช่น

  • หน่วยบิน 2202 จากกองบิน 2 ในช่วงปี พ.ศ. 2529
  • หน่วยบิน 5313 จากกองบิน 5 ในช่วงปี พ.ศ. 2535–2539

ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงคมนาคมได้ประกาศพื้นที่ข้างเคียงสนามบินเกาะตะเคียนในพื้นที่ตำบลห้วยแร้ง ตำบลวังกระแจะ ตำบลเนินทราย ตำบลท่าพริก ตำบลหนองโสน ตำบลหนองเสม็ด ตำบลหนองคันทรง ตำบลห้วยน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด และตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด[5]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2549 ทางจังหวัดตราด ได้ขอใช้พื้นที่ของฐานบินตราดในการพัฒนา โครงการพัฒนาสวนสาธารณะในเขตผังเมืองรวมจังหวัดตราด (ฝูงบิน 207) [6] โดยก่อสร้างสวนสาธารณะ สวนรุกชาติ ตัดถนนและเป็นที่ตั้งของส่วนราชการต่าง ๆ รวมถึงขุดสระน้ำบริเวณข้างทางวิ่งเดิม[7]

บทบาทและปฏิบัติการ

กองทัพอากาศไทย

ฐานบินตราด เป็นที่ตั้งหลักของฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 306[8] ซึ่งเป็นกองบินสำหรับปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับ และเป็นฐานบินสำหรับวางกำลังในสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความมั่นคงระหว่างประเทศตามภารกิจของฝูงบิน 207 เดิม

หน่วยในฐานบิน

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินวัฒนานคร ประกอบไปด้วย

กองทัพอากาศไทย

  • ฝูงบิน 306 กองบิน 3
    • ฝูงบิน 306 – ปัจจุบันไม่มีอากาศยานประจำการถาวร เป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม

สิ่งอำนวยความสะดวก

ฐานบินตราด มีเนื้อที่เดิมประมาณ 417 ไร่[4] ก่อนจะแบ่งพื้นที่ให้กับจังหวัดตราดสร้างสวนสาธารณะ ถนนและสร้างศูนย์ราชการติดกับบริเวณฐานบิน[6]

บ้านพักสวัสดิการกองทัพอากาศ

บ้านพักสวัสดิการกองทัพอากาศ (เกาะตะเคียน) ประกอบด้วยอาคารบ้านพักจำนวน 20 หลัง และอาคารสำนักงานจำนวน 1 หลัง อยู่ภายใต้การดูแลของกรมสวัสดิการทหารอากาศและฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 306[9]

อ้างอิง

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-06-10.
  3. เพจ สนามบินเกาะตะเคียน สืบค้นจาก หนังสือประวัติขุนภูมิประศาสตร์ (เชื้อ สิริยานนท์)
  4. 4.0 4.1 "การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ ฝูงบิน 207 จังหวัดตราด". www.oocities.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินเกาะตะเคียน ในท้องที่อำเภอเขาสมิง และอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. 2535. เล่ม 109 ตอนที่ 39, 20 มีนาคม 2535, ฉบับพิเศษ หน้า 20
  6. 6.0 6.1 "สวนรุกขชาติจังหวัดตราด". www.trat.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ประชุมคณะกรรมาธิการการทหาร ครั้งที่ ๒๐". web.parliament.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม ๓๐๖ (ตราด) ออกหน่วยมิตรประชาช่วยเหลือประชาชน | กองทัพอากาศ". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "ทอ.เปิดบ้านพักเกาะตะเคียน จ.ตราด เป็นศูนย์พักผู้ป่วย COVID-19". Thai PBS.