ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวสักกะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปอุปกรณ์เคลื่อนที่
JasperBot (คุย | ส่วนร่วม)
top: แทนที่แม่แบบ, replaced: {{lang-pi| → {{langx|pi| (2)
 
(ไม่แสดง 9 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 8 คน)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= เทพในศาสนาพุทธ|สำหรับ= เทพองค์เดียวกันใน[[ศาสนาฮินดู]]|ดูที่= พระอินทร์}}
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= เทพในศาสนาพุทธ|สำหรับ= เทพองค์เดียวกันใน[[ศาสนาฮินดู]]|ดูที่= พระอินทร์}}
{{พุทธศาสนา}}
{{พุทธศาสนา}}
[[ไฟล์:Ascetic Bodhisatta Gotama with the Group of Five.jpg|thumb|left|เมื่อครั้งที่[[พระโคดมพุทธเจ้า|พระสิทธัตถะ]]ยังบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนจะตรัสรู้เป็น[[พระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] ตามพุทธประวัติกล่าวว่า ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณสามสายเพื่อเตือนสติไม่ให้พระสิทธัตถะทรมานตนจนเกินไป ทำให้พระสิทธัตถะทรงได้พระสติรำลึกขึ้นว่า [[มัชฌิมาปฏิปทา|การดำเนินตามทางสายกลาง]]น่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง]]
[[ไฟล์:Ascetic Bodhisatta Gotama with the Group of Five.jpg|thumb|left|เมื่อครั้งที่[[พระโคดมพุทธเจ้า|พระมหาบุรุษ]]ยังบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนจะตรัสรู้เป็น[[พระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] ตามพุทธประวัติกล่าวว่า ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณสามสายเพื่อเตือนสติไม่ให้ทรมานตนจนเกินไป ทำให้พระสิทธัตถะทรงได้พระสติรำลึกขึ้นว่า [[มัชฌิมาปฏิปทา]]น่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง]]
'''สักกะ''' ({{lang-pi|''สกฺก''}}) หรือ '''ศักระ''' ({{lang-sa|शक्र}} ''ศกฺร''; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของ[[เทพ]]ผู้ปกครองสวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]]ใน[[จักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ]] ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า ''สกฺโก เทวานํ อินฺโท'' ({{lang-sa|शक्रो देवानं इन्द्रः}} ''ศกฺโร เทวานํ อินฺทฺระ'') หมายถึง "สักกะผู้เป็นใหญ่เหนือทวยเทพทั้งหลาย"<ref name=autogenerated1>[http://www.palikanon.com/english/pali_names/sa/sakka.htm Sakka<!-- Bot generated title -->]</ref> ในคัมภีร์ทาง[[ศาสนาพุทธ]] คำว่าสักกะถือว่าเป็น[[วิสามานยนาม]] (นามชี้เฉพาะ) ไม่อาจใช้เป็นชื่อแทนตัวของเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า ''อินฺท'' (ภาษาบาลี) หรือ ''อินฺทฺร'' (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" (ไทยรับมาใช้ในรูปคำว่า [[พระอินทร์]]) จะถูกใช้เป็นคำเรียกแทนตัวท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง เทพสักกะมักถูกกล่าวถึงในชื่อ "ท้าวสักกเทวราช" หรืออาจเรียกเพียงย่อว่า "ท้าวสักกะ"{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
ใน[[จักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ]] '''สักกะ''' ({{langx|pi|सक्क, สกฺก}}) หรือ '''ศักระ''' ({{langx|sa|शक्र}} ''ศกฺร''; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของ[[พระอินทร์|จอมเทพ]]ผู้ปกครองสวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]] ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า ''สกฺโก เทวานมินฺโท'' แปลว่า "สักกะจอมเทพ"<ref name=autogenerated1>[http://www.palikanon.com/english/pali_names/sa/sakka.htm Sakka<!-- Bot generated title -->]</ref> ในคัมภีร์ทาง[[ศาสนาพุทธ]] คำว่า "สักกะ" ถือเป็น[[วิสามานยนาม]] ไม่อาจใช้เรียกเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า ''อินฺท'' (ภาษาบาลี) หรือ ''อินฺทฺร'' (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" ใช้หมายถึงท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง ท้าวสักกะมักเรียกขานว่า "พระอินทร์"{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}


ในวัฒนธรรม[[เอเชียตะวันออก]] ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" <!--ห ว ควบกล้ำ--> (釋提桓因) ใน[[ภาษาจีน]] และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ใน[[ภาษาญี่ปุ่น]] สำหรับใน[[ประเทศจีน]]แล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือ[[เง็กเซียนฮ่องเต้]] (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกใน[[ลัทธิเต๋า]] ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตาม[[ปฏิทินจันทรคติจีน]] (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตาม[[ปฏิทินสุริยคติ]])
ในวัฒนธรรม[[เอเชียตะวันออก]] ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" <!--ห ว ควบกล้ำ--> (釋提桓因) ใน[[ภาษาจีน]] และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ใน[[ภาษาญี่ปุ่น]] สำหรับใน[[ประเทศจีน]]แล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือ[[เง็กเซียนฮ่องเต้]] (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกใน[[ลัทธิเต๋า]] ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตาม[[ปฏิทินจันทรคติจีน]] (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตาม[[ปฏิทินสุริยคติ]])


ใน[[ฤคเวท]] อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตใน[[ศาสนาฮินดู]] คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤต ถูกใช้เป็นนามแทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง"<ref name=autogenerated1 />
ใน[[ฤคเวท]] อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตใน[[ศาสนาฮินดู]] คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤตนั้น ใช้แทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง<ref name=autogenerated1 />


สวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]]ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอด[[เขาพระสุเมรุ]] ซึ่งตามคติเรื่อง[[ไตรภูมิ]] ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมี[[พระอาทิตย์]]และ[[พระจันทร์]]เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรง[[บุญ]]ของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึก[[พระไตรปิฎก]]) ปรากฏอยู่ใน[[ชาดก]]และ[[พระสูตร]]ต่างๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวด[[สังยุตตนิกาย]]
สวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]]ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอด[[เขาพระสุเมรุ]] ซึ่งตามคติเรื่อง[[ไตรภูมิ]] ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมี[[พระอาทิตย์]]และ[[พระจันทร์]]เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรง[[บุญ]]ของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึก[[พระไตรปิฎก]]) ปรากฏอยู่ใน[[ชาดก]]และ[[พระสูตร]]ต่าง ๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวด[[สังยุตตนิกาย]]


ชื่อของท้าวสักกะถูกกล่าวถึงในพระสูตรหลายตอน และมักปรากฏบทบาทเป็นผู้กราบทูลของคำปรึกษาจาก[[พระโคดมพุทธเจ้า]]ในปัญหาธรรมต่างๆ ถือกันว่าพระองค์เป็น[[ธรรมบาล]] (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่า[[พรหม]]ทั้งหลาย
ชื่อท้าวสักกะปรากฏในพระสูตรหลายตอน และมักมีบทบาทเป็นผู้กราบทูลขอคำปรึกษาจาก[[พระโคดมพุทธเจ้า]]ในปัญหาธรรมต่าง ๆ ถือกันว่าพระองค์เป็น[[ธรรมบาล]] (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่า[[พรหม]]ทั้งหลาย

== มฆมาณพบำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ ==

ฝ่ายนายมฆะบำเพ็ญวัตตบท 7 เหล่านี้ คือ
#บำรุงมารดาบิดา
#ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล
#พูดคำสัตย์
#ไม่พูดคำหยาบ
#ไม่พูดส่อเสียด
#กำจัดความตระหนี่
#ไม่โกรธ

ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญอย่างนี้ว่า “ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยงมารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อเสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ข่มความโกรธได้ นั่นแลว่า “สัปบุรุษ” ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เกิดเป็นท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์ สหายของเขาแม้เหล่านั้นก็เกิดในที่นั้นเหมือนกัน ช่างไม้เกิดเป็นวิศวกรรมเทพบุตร<ref>{{cite web |url=https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=12&p=7|title=๗. เรื่องท้าวสักกะ [๒๑]|accessdate=2024-05-22}}</ref>


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
บรรทัด 17: บรรทัด 30:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==


{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


[[หมวดหมู่:เทวดา]]
{{เทวดา}}
[[หมวดหมู่:คำในภาษาบาลี]]
[[หมวดหมู่:คำในภาษาสันสกฤต]]


[[หมวดหมู่:เทวราช]]
[[หมวดหมู่:เทวดาในศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:คำและวลีภาษาบาลี]]
{{โครงพุทธศาสนา}}
{{โครงพุทธศาสนา}}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:05, 6 พฤศจิกายน 2567

เมื่อครั้งที่พระมหาบุรุษยังบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติกล่าวว่า ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณสามสายเพื่อเตือนสติไม่ให้ทรมานตนจนเกินไป ทำให้พระสิทธัตถะทรงได้พระสติรำลึกขึ้นว่า มัชฌิมาปฏิปทาน่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง

ในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ สักกะ (บาลี: सक्क, สกฺก) หรือ ศักระ (สันสกฤต: शक्र ศกฺร; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของจอมเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า สกฺโก เทวานมินฺโท แปลว่า "สักกะจอมเทพ"[1] ในคัมภีร์ทางศาสนาพุทธ คำว่า "สักกะ" ถือเป็นวิสามานยนาม ไม่อาจใช้เรียกเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า อินฺท (ภาษาบาลี) หรือ อินฺทฺร (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" ใช้หมายถึงท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง ท้าวสักกะมักเรียกขานว่า "พระอินทร์"[ต้องการอ้างอิง]

ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" (釋提桓因) ในภาษาจีน และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ในภาษาญี่ปุ่น สำหรับในประเทศจีนแล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือเง็กเซียนฮ่องเต้ (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกในลัทธิเต๋า ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินสุริยคติ)

ในฤคเวท อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตในศาสนาฮินดู คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤตนั้น ใช้แทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง[1]

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งตามคติเรื่องไตรภูมิ ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรงบุญของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึกพระไตรปิฎก) ปรากฏอยู่ในชาดกและพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวดสังยุตตนิกาย

ชื่อท้าวสักกะปรากฏในพระสูตรหลายตอน และมักมีบทบาทเป็นผู้กราบทูลขอคำปรึกษาจากพระโคดมพุทธเจ้าในปัญหาธรรมต่าง ๆ ถือกันว่าพระองค์เป็นธรรมบาล (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่าพรหมทั้งหลาย

มฆมาณพบำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ

[แก้]

ฝ่ายนายมฆะบำเพ็ญวัตตบท 7 เหล่านี้ คือ

  1. บำรุงมารดาบิดา
  2. ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล
  3. พูดคำสัตย์
  4. ไม่พูดคำหยาบ
  5. ไม่พูดส่อเสียด
  6. กำจัดความตระหนี่
  7. ไม่โกรธ

ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญอย่างนี้ว่า “ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยงมารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อเสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ข่มความโกรธได้ นั่นแลว่า “สัปบุรุษ” ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เกิดเป็นท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์ สหายของเขาแม้เหล่านั้นก็เกิดในที่นั้นเหมือนกัน ช่างไม้เกิดเป็นวิศวกรรมเทพบุตร[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Sakka
  2. "๗. เรื่องท้าวสักกะ [๒๑]". สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.