ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย"
หน้าใหม่: thumb|right|upright=1.35|เขตเศรษฐกิจจำเพาะของ[[ประเทศไทยในสีชมพู]] ประเทศไทยมีเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 64 ของโลก โดยมีพื้นที่ {{convert|299397|km2|mi2|abbr=off}}<ref name="searoundus">{{cite web... |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 20:56, 29 พฤศจิกายน 2567
ประเทศไทยมีเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 64 ของโลก โดยมีพื้นที่ 299,397 ตารางกิโลเมตร (115,598 ตารางไมล์)[1] ทางไทยอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะในพื้นที่ห่างจากชายฝั่่ง 200 ไมล์ทะเล (370.4 กิโลเมตร; 230.2 ไมล์) โดยมีชายฝั่งยาวที่ติดกับทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกาทางตะวันตก และอ่าวไทยทางตะวันออก แม้ว่าเขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดถูกจำกัดด้วยเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน
พื้นที่ทะเลทางตะวันตกของไทยทอดยาวตั้งแต่ชายฝั่งตะวันตกในภาคใต้ของประเทศไทยที่ทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา โดยแบ่งเขตแดนทางทะเลที่กำหนดตามสนธิสัญญาร่วมกันกับประเทศพม่า หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ข้อพิพาท
[แก้]ประเทศไทยยังไม่ได้ทำข้อตกลงกับกัมพูชาและเวียดนามที่มีอาณาเขตทางทะเลอยู่ในอ่าวไทย ทำให้เกิดความขัดแย้ง[2] ประเทศไทยก็ยังไม่ได้จัดทำสนธิสัญญากับมาเลเซียเกี่ยวกับน่านน้ำอ่าว อย่างไรก็ตาม มีการจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพื่อให้ทั้งสองประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันได้ร่วมกัน[3][4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sea Around Us – Fisheries, Ecosystems and Biodiversity". สืบค้นเมื่อ 1 April 2017.
- ↑ MCDORMAN, TED L. (1990). "International Fishery Relations in the Gulf of Thailand". Contemporary Southeast Asia. 12 (1): 40–54. doi:10.1355/CS12-1C. ISSN 0129-797X. JSTOR 42707647.
- ↑ Ahmad, Reme (18 July 2016). "Kuala Lumpur-Bangkok maritime 'deal to share' sets an example". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ SCHOFIELD, CLIVE (2007). "Unlocking the Seabed Resources of the Gulf of Thailand". Contemporary Southeast Asia. 29 (2): 286–308. doi:10.1355/CS29-2D. ISSN 0129-797X. JSTOR 25798832.