ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิทินกริกอเรียน"
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9648762 โดย InternetArchiveBot (พูดคุย) ด้วยสจห. ป้ายระบุ: ทำกลับ |
ล →อ้างอิง |
||
บรรทัด 53: | บรรทัด 53: | ||
* [http://www.etymonline.com/ Online Etymology Dictionary] retrieved 23 August 2006 |
* [http://www.etymonline.com/ Online Etymology Dictionary] retrieved 23 August 2006 |
||
* Seidelmann, P. K. (Ed.). (1992). ''Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac.'' Sausalito, CA: University Science Books. |
* Seidelmann, P. K. (Ed.). (1992). ''Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac.'' Sausalito, CA: University Science Books. |
||
{{ปฏิทิน}} |
|||
[[หมวดหมู่:ปฏิทิน|กริกอเรียน]] |
[[หมวดหมู่:ปฏิทิน|กริกอเรียน]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:22, 17 สิงหาคม 2566
ปฏิทินกริกอเรียน (อังกฤษ: Gregorian Calendar; ละติน: Calendarium Gregorianum) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582)
เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินกริกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน
เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2125 ในครั้งแรกของการปรับวัน จำนวนวันจึงถูกร่นขาดหายไป 10 วัน กล่าวคือ
- จูเลียน 5 ต.ค. พ.ศ. 2125 = กริกอเรียน 15 ต.ค. พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582)
- จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2143 = กริกอเรียน 10 มี.ค. พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600)
ต่อมา ร่นวันอีก ศตวรรษละ 1 วัน ทั้งสิ้น 3 ครั้ง กล่าวคือ
- จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2243 = กริกอเรียน 11 มี.ค. พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700)
- จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2343 = กริกอเรียน 12 มี.ค. พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800)
- จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2443 = กริกอเรียน 13 มี.ค. พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900)
หลังจากนั้นไม่มีการร่นวันอีก กล่าวคือ
- จูเลียน 29 ก.พ. พ.ศ. 2543 = กริกอเรียน 13 มี.ค. พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
ดังนั้นจำนวนวันที่แตกต่างกันระหว่างปฏิทินจูเลียนและกริกอเรียนในเวลาปัจจุบันจึงเท่ากัน 13 วัน ดังนี้
ช่วงเวลา ตาม ปฏิทินกริกอเรียน |
ช่วงเวลา ตาม ปฏิทินจูเลียน |
จำนวนวันที่ต่างกัน ในแต่ละช่วงการปฏิรูป |
---|---|---|
15 ตุลาคม ค.ศ. 1582 - 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1700 | 5 ตุลาคม ค.ศ. 1582 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1700 | 10 วัน |
1 มีนาคม ค.ศ. 1700 - 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1800 | 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1700 - 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1800 | 11 วัน |
1 มีนาคม ค.ศ. 1800 - 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1800 - 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 | 12 วัน |
1 มีนาคม ค.ศ. 1900 - 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2100 | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 - 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2100 | 13 วัน |
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเมื่อคำนวณอย่างละเอียดตามหลักวิทยาศาสตร์ 1ปี เฉลี่ยเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที (ประมาณ 365.242199074วัน) แต่ปฏิทินเกรโกเรียนกำหนดให้หนึ่งปีมี 365.2425 วัน ปฏิทินนี้จึงคลาดเคลื่อนไปโดยช้าลงปีละประมาณ 26 วินาที
เริ่มแรกประเทศคาทอลิกเท่านั้นที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เช่น อังกฤษ เริ่มใช้ในปี 1752 โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน กรีก เริ่มใช้เมื่อ 1923
อ้างอิง
- Blackburn, B. & Holford-Strevens, L. (1999). The Oxford Companion to the Year. Oxford University Press ISBN 0-19-214231-3. Pages 98–99.
- Coyne, G. V., Hoskin, M. A., and Pedersen, O. (Eds.) (1983). Gregorian reform of the calendar: Proceedings of the Vatican conference to commemorate its 400th anniversary, 1582-1982. Vatican City: Pontifical Academy of Sciences, Specolo Vaticano.
- Duncan, D. E. (1999). Calendar: Humanity's Epic Struggle To Determine A True And Accurate Year เก็บถาวร 2011-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Harper Perennial. ISBN 0-380-79324-5.
- Gregory XIII. (2002). Inter Gravissimas (W. Spenser & R. T. Crowley, Trans.). International Organization for Standardization. (Original work published 1582)
- Lee, P.H. & de Bary, W. T. (Eds., with Yongho Ch'oe & Kang, H.H.W.). (2000). Sources of Korean Tradition, (Vol. 2). New York: Columbia University Press, 2000.
- Moyer, G. (May 1982). "The Gregorian Calendar". Scientific American", pp. 144–152.
- Online Etymology Dictionary retrieved 23 August 2006
- Seidelmann, P. K. (Ed.). (1992). Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac. Sausalito, CA: University Science Books.