ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทะยันกาเทะคองติน"
แอนเดอร์สัน (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
แอนเดอร์สัน (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัด 40: | บรรทัด 40: | ||
=== เสกสมรส === |
=== เสกสมรส === |
||
เมื่อทะยันกาเทะคองตินและปยี่นมะน่ามี่นต้าเจริญพระชันษาขึ้น ก็เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1902 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรแล้ว ขณะนั้นทะยันกาเทะคองตินมีพระชันษา 28 ปี และปยี่นมะน่ามี่นต้ามีพระชันษา 30 ปี ทั้งสองพระองค์ครองรักกันมายาวนาน และปยี่นมะน่ามี่นต้ามิทรงรับหญิงอื่นใดมาเป็นนักนางสนมเลย<ref name="bio"/> ทั้งสองมีพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ในช่วงที่พระราชวงศ์พม่าถูกรัฐบาลสหราชอาณาจักรส่งไปประทับที่[[บริติชราช|อินเดีย]] ปยี่นมะน่ามี่นต้าถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนป่าไม้[[เดห์ราดูน]] ในเวลาต่อมา[[จา-มไยง์มิบะยา]] พระชนนีของปยี่นมะน่ามี่นต้าพาพระโอรสน้อยนิวัตเมืองพม่า แต่อยู่ได้มิช้านานพระโอรสน้อยก็สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน หลังทะยันกาเทะคองตินและปยี่นมะน่ามีนต้านิวัตเมืองพม่า ทั้งสองพระองค์อยู่กันอย่างมัธยัสถ์เพราะมิได้ทรงงานราชการ ทรงยังชีพด้วยเบี้ยเลี้ยง |
เมื่อทะยันกาเทะคองตินและปยี่นมะน่ามี่นต้าเจริญพระชันษาขึ้น ก็เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1902 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรแล้ว ขณะนั้นทะยันกาเทะคองตินมีพระชันษา 28 ปี และปยี่นมะน่ามี่นต้ามีพระชันษา 30 ปี ทั้งสองพระองค์ครองรักกันมายาวนาน และปยี่นมะน่ามี่นต้ามิทรงรับหญิงอื่นใดมาเป็นนักนางสนมเลย<ref name="bio"/> ทั้งสองมีพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ในช่วงที่พระราชวงศ์พม่าถูกรัฐบาลสหราชอาณาจักรส่งไปประทับที่[[บริติชราช|อินเดีย]] ปยี่นมะน่ามี่นต้าถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนป่าไม้[[เดห์ราดูน]] ในเวลาต่อมา[[จา-มไยง์มิบะยา]] พระชนนีของปยี่นมะน่ามี่นต้าพาพระโอรสน้อยนิวัตเมืองพม่า แต่อยู่ได้มิช้านานพระโอรสน้อยก็สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน หลังทะยันกาเทะคองตินและปยี่นมะน่ามีนต้านิวัตเมืองพม่า ทั้งสองพระองค์อยู่กันอย่างมัธยัสถ์เพราะมิได้ทรงงานราชการ ทรงยังชีพด้วยเบี้ยเลี้ยงสำหรับเจ้านายชั้นพระราชบุตรราว 1,200–1,500 รูปี ที่จ่ายโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร<ref name="วัชร"/> |
||
เมื่อคราวที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]เสด็จประพาสเมืองพม่า ปยี่นมะน่ามี่นต้าและทะยันกาเทะคองตินได้ออกมาถวายการต้อนรับที่พระตำหนักส่วนพระองค์เป็นอย่างดี ทั้งสองพระองค์สนพระทัยการเมืองของไทยมาก ทรงชื่นชมไทยที่ยังรักษาเอกราชไว้ได้ และกล่าวว่าวัฒนธรรมของโยดะยาเป็นของดีและได้รับความนิยมในพม่ามาก ทั้งเครื่องดนตรี กระบวนท่ารำ หรือแม้แต่ศิลปกรรมก็ล้วนแต่รับมาจากโยดะยาทั้งนั้น<ref name="วัชร"/> สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเองก็ทรงชื่นชมปยี่นมะน่ามี่นต้าและทะยันกาเทะคองตินว่า "...สังเกตดูทั้ง ๒ องค์รูปโฉมและกิริยามารยาทสมควรเป็นเจ้าเป็นนาย ไม่น่ารังเกียจ..." และกล่าวอีกว่า "...คิดดูก็น่าชมเจ้านายสองสามองค์นี้ ถึงตกยากแล้วก็ยังพยายามรักษาเกียรติยศของบรรพบุรุษ..."<ref name="วัชร"/> |
เมื่อคราวที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]เสด็จประพาสเมืองพม่า ปยี่นมะน่ามี่นต้าและทะยันกาเทะคองตินได้ออกมาถวายการต้อนรับที่พระตำหนักส่วนพระองค์เป็นอย่างดี ทั้งสองพระองค์สนพระทัยการเมืองของไทยมาก ทรงชื่นชมไทยที่ยังรักษาเอกราชไว้ได้ และกล่าวว่าวัฒนธรรมของโยดะยาเป็นของดีและได้รับความนิยมในพม่ามาก ทั้งเครื่องดนตรี กระบวนท่ารำ หรือแม้แต่ศิลปกรรมก็ล้วนแต่รับมาจากโยดะยาทั้งนั้น<ref name="วัชร"/> สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเองก็ทรงชื่นชมปยี่นมะน่ามี่นต้าและทะยันกาเทะคองตินว่า "...สังเกตดูทั้ง ๒ องค์รูปโฉมและกิริยามารยาทสมควรเป็นเจ้าเป็นนาย ไม่น่ารังเกียจ..." และกล่าวอีกว่า "...คิดดูก็น่าชมเจ้านายสองสามองค์นี้ ถึงตกยากแล้วก็ยังพยายามรักษาเกียรติยศของบรรพบุรุษ..."<ref name="วัชร"/> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:15, 9 พฤษภาคม 2567
ทะยันกาเทะคองติน | |
---|---|
ทะยันกาเทะคองติน (ซ้าย) และปยี่นมะน่ามี่นต้า พระภัสดา (ขวา) เมื่อ ค.ศ. 1923 | |
เจ้าหญิงแห่งทะยันกาและมโหย่ลา | |
ดำรงพระยศ | ราว ค.ศ. 1875–1885 |
ประสูติ | ค.ศ. 1873 มัณฑะเลย์ จักรวรรดิพม่าที่สาม |
สิ้นพระชนม์ | ค.ศ. 1963 (ราว 90 ปี) ร่างกุ้ง พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร |
ฝังพระศพ | สุสานเจา-มหยิ่นมิบะยา |
พระภัสดา | ปยี่นมะน่ามี่นต้า (ค.ศ. 1902–1963) |
ราชวงศ์ | โก้นบอง |
พระบิดา | มินดง |
พระมารดา | งาซุนมิบะยา |
ทะยันกาเทะคองติน (พม่า: ထရံကာထိပ်ခေါင်တင်) หรือเอกสารไทยเรียก พระองค์หญิงดารา เป็นพระราชทินนามของพระราชธิดาในพระเจ้ามินดง ประสูติแต่งาซุนมิบะยา หรือพระนางสุสิริกัลยา ซึ่งสืบสันดานมาจากราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา[1] ทะยันกาเทะคองตินเสกสมรสกับปยี่นมะน่ามี่นต้า พระเชษฐาต่างพระชนนี[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนพม่า ทั้งสองพระองค์ได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้เป็นกษัตริย์และพระราชินีหุ่นเชิดของญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพระองค์ทรงปฏิเสธ[3][4]
พระประวัติ
ทะยันกาเทะคองติน ประสูติใน ค.ศ. 1873 ที่กรุงมัณฑะเลย์ เป็นพระราชธิดาในพระเจ้ามินดง ประสูติแต่งาซุนมิบะยา หรือพระนางสุสิริกัลยา พระมเหสีลำดับ 4 ซึ่งสืบสันดานมาจากกษัตริย์อยุธยา[3] พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือ เที่ยวเมืองพม่า ทรงกล่าวถึงบุรพชนของทะยันกาเทะคองตินไว้ความว่า "...พระองค์หญิงดาราตรัสบอกว่าเธอเป็นเชื้อไทย ด้วยสกุลจอมมารดาของเธอเป็นไทย ผู้ใหญ่เล่ากันมาว่าต้นสกุลเป็นเจ้าชาย [ถูกกวาด] ไปจากกรุงศรีอยุธยาแต่ยังเยาว์ ถ้าเช่นนั้นคิดตามเวลา พระองค์เจ้าหญิงดาราก็คงเป็นชั้น ๔ หรือชั้น ๕ ต่อมาจากต้นสกุล..."[1][2] แม้พระองค์จะมีเชื้อสายโยดะยา แต่พระองค์ตรัสได้แต่ภาษาพม่าเท่านั้น[2] เมื่อเจริญพระชันษาขึ้น พระเจ้ามินดงโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เป็นมโหย่ซ่า (မြို့စား) กินส่วยเมืองทะยันกา (ထရံကာ) และเมืองมโหย่ลา (မြို့လှ) มีราชทินนามเป็น ทะยันกาเทะคองติน เป็นพระอิสริยยศสูงเป็นลำดับที่สองสำหรับพระราชธิดากษัตริย์พม่า[3]
ในช่วงที่พระเจ้ามินดงทรงพระประชวรเพียบหนักก่อนเสด็จสวรรคตได้มิช้านาน ช่วงเวลานั้นทะยันกาเทะคองตินที่ยังทรงพระเยาว์ได้ถวายงานนวดพระบรมชนกนาถ และมีปยี่นมะน่ามี่นต้า (เอกสารไทยเรียก พระองค์ปิ่น)[1][2] พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งถวายงานนวดเบื้องขวาเช่นกัน พระเจ้ามินดงทอดพระเนตรดังนั้นก็ตรัสว่าทรงดีพระทัยยิ่ง และมีพระราชดำริให้พระราชโอรสและพระราชธิดาสองพระองค์นี้เสกสมรสกันเมื่อเจริญพระชันษา ก่อนทะยันกาเทะคองตินและปยี่นมะน่ามี่นต้าถวายบังคมลากลับพระตำหนัก พระเจ้ามินดงก็พระราชทานสร้อยพระศอประดับเพชรให้กับทั้งสองพระองค์
เสกสมรส
เมื่อทะยันกาเทะคองตินและปยี่นมะน่ามี่นต้าเจริญพระชันษาขึ้น ก็เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1902 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรแล้ว ขณะนั้นทะยันกาเทะคองตินมีพระชันษา 28 ปี และปยี่นมะน่ามี่นต้ามีพระชันษา 30 ปี ทั้งสองพระองค์ครองรักกันมายาวนาน และปยี่นมะน่ามี่นต้ามิทรงรับหญิงอื่นใดมาเป็นนักนางสนมเลย[3] ทั้งสองมีพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ในช่วงที่พระราชวงศ์พม่าถูกรัฐบาลสหราชอาณาจักรส่งไปประทับที่อินเดีย ปยี่นมะน่ามี่นต้าถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนป่าไม้เดห์ราดูน ในเวลาต่อมาจา-มไยง์มิบะยา พระชนนีของปยี่นมะน่ามี่นต้าพาพระโอรสน้อยนิวัตเมืองพม่า แต่อยู่ได้มิช้านานพระโอรสน้อยก็สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน หลังทะยันกาเทะคองตินและปยี่นมะน่ามีนต้านิวัตเมืองพม่า ทั้งสองพระองค์อยู่กันอย่างมัธยัสถ์เพราะมิได้ทรงงานราชการ ทรงยังชีพด้วยเบี้ยเลี้ยงสำหรับเจ้านายชั้นพระราชบุตรราว 1,200–1,500 รูปี ที่จ่ายโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร[2]
เมื่อคราวที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จประพาสเมืองพม่า ปยี่นมะน่ามี่นต้าและทะยันกาเทะคองตินได้ออกมาถวายการต้อนรับที่พระตำหนักส่วนพระองค์เป็นอย่างดี ทั้งสองพระองค์สนพระทัยการเมืองของไทยมาก ทรงชื่นชมไทยที่ยังรักษาเอกราชไว้ได้ และกล่าวว่าวัฒนธรรมของโยดะยาเป็นของดีและได้รับความนิยมในพม่ามาก ทั้งเครื่องดนตรี กระบวนท่ารำ หรือแม้แต่ศิลปกรรมก็ล้วนแต่รับมาจากโยดะยาทั้งนั้น[2] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเองก็ทรงชื่นชมปยี่นมะน่ามี่นต้าและทะยันกาเทะคองตินว่า "...สังเกตดูทั้ง ๒ องค์รูปโฉมและกิริยามารยาทสมควรเป็นเจ้าเป็นนาย ไม่น่ารังเกียจ..." และกล่าวอีกว่า "...คิดดูก็น่าชมเจ้านายสองสามองค์นี้ ถึงตกยากแล้วก็ยังพยายามรักษาเกียรติยศของบรรพบุรุษ..."[2]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนพม่า ทั้งสองพระองค์ได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้เป็นกษัตริย์และพระราชินีหุ่นเชิดของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1942 แต่ทั้งสองพระองค์ทรงปฏิเสธข้อเสนอของฝ่ายญี่ปุ่น[3][4]
สิ้นพระชนม์
ทะยันกาเทะคองตินมีพระอาการประชวรหลังทรงจัดงานบวชลูกแก้วให้แก่พระนัดดา ก่อนสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1963 สิริพระชันษา 90 ปี ปยี่นมะน่ามี่นต้าผู้สวามีตรอมพระทัยมากและสิ้นพระชนม์ในวันที่ 7 มิถุนายนปีเดียวกัน หรือหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระชายาเพียงสี่วัน หีบพระศพของทั้งสองพระองค์ถูกตั้งไว้คู่กันบริเวณลานกว้างของสุสานเจา-มหยิ่นมิบะยา[3][5]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. เที่ยวเมืองพม่า. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2517, หน้า 239
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "เรื่องเที่ยวเมืองพม่า ตอนที่ ๖ เที่ยวเมืองมัณฑเล ภาคปลาย". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 Aug 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Maung Than Swe (Dawei) (1999). Konbaung Shindan (Konbaung Explanations). pp. 112–117.
- ↑ 4.0 4.1 "ထိုင်းဘုရင်သွေး မကင်းတဲ့ မြန်မာတွေ". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). 26 October 2017.
- ↑ "မင်းတုန်းမင်းတရားကြီး၏နတ်ပြည်စံသက် (၁၄၃)နှစ်ပြည့် မတကဘတ်ဆွမ်းကပ်ခြင်း အခမ်းအနားကျင်းပမည်". Popular News Journal. 8 October 2021.