ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ริชาร์ด ไฟน์แมน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YurikBot (คุย | ส่วนร่วม)
NongBot (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[Image:200px-Richard_feynman.jpg|thumb|ริชาร์ด ไฟน์แมน]]
[[ภาพ:200px-Richard_feynman.jpg|thumb|ริชาร์ด ไฟน์แมน]]


'''ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน''' (Richard Phillips Feynman) [[นักฟิสิกส์]]ชาว[[สหรัฐอเมริกา|อเมริกัน]] เกิดเมื่อวันที่ [[11 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1918]] เสียชีวิต [[15 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1988]] เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของ[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]]
'''ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน''' (Richard Phillips Feynman) [[นักฟิสิกส์]]ชาว[[สหรัฐอเมริกา|อเมริกัน]] เกิดเมื่อวันที่ [[11 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1918]] เสียชีวิต [[15 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1988]] เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของ[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]]
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}


[[category:นักฟิสิกส์|ฟไฟน์แมน, ริชาร์ด]]
[[หมวดหมู่:นักฟิสิกส์|ฟไฟน์แมน, ริชาร์ด]]
[[category:นักวิทยาศาสตร์|ฟไฟน์แมน, ริชาร์ด]]
[[หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์|ฟไฟน์แมน, ริชาร์ด]]
[[Category:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์|ฟไฟน์แมน, ริชาร์ด]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์|ฟไฟน์แมน, ริชาร์ด]]


[[bg:Ричард Файнман]]
[[bg:Ричард Файнман]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:05, 28 กรกฎาคม 2549

ไฟล์:200px-Richard feynman.jpg
ริชาร์ด ไฟน์แมน

ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20

ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี, ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน, ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005). แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต. แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต.

ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีควอนตัมอิเล็กทรอไดนามิกส์ให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก, ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโร. ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก. ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้"

ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี, และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่นๆ. ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมนอันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย

นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน, เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์, และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี.

ผลงานเกี่ยวกับไฟน์แมน

ผลงานของ ริชาร์ด ไฟน์แมน ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล คือ "The Development of the Space-Time View of Quantum Electrodynamics"

ดูเพิ่ม

ลิงก์ภายนอก