ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มงคลสูตร"
ล โรบอต เพิ่ม: km:មង្គលសូត្រ |
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม) |
||
บรรทัด 56: | บรรทัด 56: | ||
== ดูเพิ่ม == |
== ดูเพิ่ม == |
||
* [[มงคลชีวิต]] |
|||
* [[มงคล]] |
* [[มงคล]] |
||
(๑) ไม่คบคนพาล |
|||
(๒) คบบัณฑิต |
|||
(๓) บูชาคนที่ควรบูชา |
|||
(๔) อยู่ในปฏิรูปเทศ อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี |
|||
(๕) ได้ทำความดีให้พร้อมไว้แต่ก่อน |
|||
(๖) ตั้งตนไว้ชอบ |
|||
(๗) เล่าเรียนศึกษามาก |
|||
(๘) มีศิลปวิทยา |
|||
(๙) มีระเบียบวินัย |
|||
(๑๐) วาจาสุภาษิต |
|||
(๑๑) บำรุงมารดาบิดา |
|||
(๑๒) สงเคราะห์บุตร |
|||
(๑๓) สงเคราะห์ภรรยา |
|||
(๑๔) การงานไม่อากูล |
|||
(๑๕) รู้จักให้ |
|||
(๑๖) ประพฤติธรรม |
|||
(๑๗) สงเคราะห์ญาติ |
|||
(๑๘) การงานไม่มีโทษ |
|||
(๑๙) เว้นจากความชั่ว |
|||
(๒๐) เว้นจากาการดื่มน้ำเมา |
|||
(๒๑) ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย |
|||
(๒๒) ความเคารพ |
|||
(๒๓) ความสุภาพอ่อนน้อม |
|||
(๒๔) ความสันโดษ |
|||
(๒๕) มีความกตัญญู |
|||
(๒๖) ฟังธรรมตามกาล |
|||
(๒๗) ความอดทน |
|||
(๒๘) เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย |
|||
(๒๙) พบเห็นสมณะ |
|||
(๓๐) สนทนาธรรมตามกาล |
|||
(๓๑) มีความเพียรเผากิเลส |
|||
(๓๒) ประพฤติพรหมจรรย์ |
|||
(๓๓) เห็นอริยสัจจ์ |
|||
(๓๔) ทำพระนิพพานให้แจ้ง |
|||
(๓๕) ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว |
|||
(๓๖) จิตไร้เศร้า |
|||
(๓๗) จิตปราศจากธุลี |
|||
(๓๘) จิตเกษม |
|||
== อ้างอิง == |
== อ้างอิง == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:28, 2 มกราคม 2555
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
มงคลสูตร (ฟัง) เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เหล่าเทวดา[1] ที่มาทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อตอบข้อสงสัยของมนุษย์และเทวดา[2] โดยพระสูตรบทนี้ถือว่าเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคล หรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้วแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนา
ประวัติ
ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายความโดยพิศดารถึงสาเหตุของการที่พระพุทธเจ้าตรัสมงคลสูตรไว้ว่า ประมาณ 12 ปีก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล กล่าวว่า บ้างก็ว่า การมีสิ่งของ เช่นต้นไม้ สัตว์ หรือว่ารูปเคารพต่าง ๆ จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล[3] เรื่องราวการอภิปรายเรื่องมงคล ก็ไปถึงภุมเทวา คือเทวาดาในระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไรคือมงคล ประเด็นนี้ก็ลุกลามไปถึงอากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสูธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ของมนุษย์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคลสูตร ซึ่งมีทั้งหมด 38 ประการดังกล่าว แก้แล้ว
เนื้อหาในพระสูตร
ตามเนื้อหาในพระสูตร มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง ซึ่งมีอยู่ 38 ประการ ดังนี้
- ไม่คบคนพาล
- คบบัณฑิต
- บูชาคนที่ควรบูชา
- อยู่ในปฏิรูปเทศ อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี
- ได้ทำความดีให้พร้อมไว้แต่ก่อน
- ตั้งตนไว้ชอบ
- เล่าเรียนศึกษามาก
- มีศิลปวิทยา
- มีระเบียบวินัย
- วาจาสุภาษิต
- บำรุงมารดาบิดา
- สงเคราะห์บุตร
- สงเคราะห์ภรรยา
- การงานไม่อากูล
- รู้จักให้
- ประพฤติธรรม
- สงเคราะห์ญาติ
- การงานไม่มีโทษ
- เว้นจากความชั่ว
- เว้นจากาการดื่มน้ำเมา
- ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
- ความเคารพ
- ความสุภาพอ่อนน้อม
- ความสันโดษ
- มีความกตัญญู
- ฟังธรรมตามกาล
- ความอดทน
- เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
- พบเห็นสมณะ
- สนทนาธรรมตามกาล
- มีความเพียรเผากิเลส
- ประพฤติพรหมจรรย์
- เห็นอริยสัจจ์
- ทำพระนิพพานให้แจ้ง
- ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว
- จิตไร้เศร้า
- จิตปราศจากธุลี
- จิตเกษม
อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมไว้ชัดเจนดีแล้ว ก็มีผู้ที่เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง จึงได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ แนวทางการยึดถือความเป็นมงคล จึงมีอยู่ 2 แนวทาง คือ
- มงคลจากการมีนู่นมีนี่
- มงคลจากการฝึกตัว
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52
- ↑ อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตร. อรรถกถาพระไตรปิฎก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52
- ↑ พระสิริมังคลาจารย์. มงคลทีปนี. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐