ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ"
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม) ล r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: eo:Kora-pulma revivigo |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัด 30: | บรรทัด 30: | ||
{{reflist|2}} |
{{reflist|2}} |
||
[[หมวดหมู่:การ |
[[หมวดหมู่:การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ]] |
||
[[หมวดหมู่:เวชศาสตร์ฉุกเฉิน]] |
|||
{{โครงแพทย์}} |
{{โครงแพทย์}} |
||
{{Link FA|de}} |
{{Link FA|de}} |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:36, 7 พฤษภาคม 2555
Cardiopulmonary resuscitation | |
---|---|
หัตถการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ | |
การฝึกการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพกับหุ่นจำลอง | |
ICD-9: | 99.60 |
MeSH | D016887 |
OPS-301 code: | 8-771 |
การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ[1] (อังกฤษ: Cardiopulmonary resuscitation) หรือ ซีพีอาร์ เป็นหัตถการฉุกเฉินทางการแพทย์สำหรับผู้ที่หัวใจหยุดเต้น หรือหยุดหายใจในบางกรณี[2] อาจทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือโดยคนทั่วไปที่ได้รับการฝึกก็ได้[3]
ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นประกอบด้วยการจำลองการไหลเวียนโลหิต (เช่น การนวดหัวใจ) และการจำลองการหายใจ (เช่น การผายปอด) [2][4] อย่างไรก็ดี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) และสภาการกู้ชีพยุโรป (European Resuscitation Council) เสนอให้เห็นถึงผลดีของการนวดหัวใจเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องผายปอดสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นผู้ใหญ่[5][6] ส่วนการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นยังคงทำอยู่เป็นส่วนหนึ่งของการกู้ชีวิตระดับสูงจนกว่าหัวใจของผู้ป่วยจะกลับมาเต้นตามปกติ หรือเสียชีวิต
หลักการของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพไม่ใช่การทำให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่ แต่เป็นเพื่อรักษาให้มีการไหลเวียนของเลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและหัวใจ เป็นการชะลอการตายของเนื้อเยื่อและเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยจะฟื้นกลับขึ้นมาโดยไม่มีความเสียหายถาวรเกิดขึ้นกับสมอง ปกติแล้วการกระตุ้นให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่จะต้องใช้การกู้ชีพขั้นสูง เช่น การช็อตไฟฟ้าหัวใจ
ข้อบ่งชี้
ข้อบ่งชี้ของการเริ่มการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นใช้สำหรับบุคคลที่ไม่ตอบสนอง (unresponsive) และไม่หายใจหรือหายใจเฮือก มีโอกาสมากที่จะอยู่ในภาวะหัวใจหยุด[7]: S643 ถ้ายังมีชีพจรอยู่แต่ไม่หายใจ (ภาวะหายใจหยุด) ควรเริ่มการช่วยหายใจมากกว่า อย่างไรก็ดีผู้ช่วยชีวิตหลายคนอาจไม่มีความเชี่ยวชาญในการจับชีพจร คำแนะนำใหม่จึงกำหนดให้ผู้ช่วยชีวิตที่เป็นคนทั่วไปไม่ต้องพยายามจับชีพจร และให้เริ่มการช่วยชีวิตไปเลย ส่วนผู้ช่วยชีวิตที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์สามารถพิจารณาจับชีพจรก่อนเริ่มการช่วยชีวิตได้ตามเห็นสมควร[8]
วิธีการ
พ.ศ. 2553 สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการประสานงานนานาชาติว่าด้วยการกู้ชีพได้ปรับปรุงแนงทางปฏิบัติการกู้ชีพขึ้นใหม่[7]: S640 [9] มีการให้ความสัมพันธ์กับคุณภาพของการกู้ชีพ โดยเฉพาะอัตราเร็วและความลึกของการกดหน้าอกร่วมกับการไม่ทำให้เกิดภาวะหายใจเกิน[7]: S640 มีการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนการช่วยชีวิตสำหรับทุกช่วงอายุยกเว้นทารก โดยเปลี่ยนจาก ABC (ทางเดินหายใจ การหายใจ การไหลเวียน) เป็น CAB (การกดหน้าอก ทางเดินหายใจ การหายใจ)[7]: S642 โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะผู้ป่วยที่ชัดเจนว่ามีภาวะหายใจหยุด เช่น จมน้ำ เป็นต้น[7]: S642
ประวัติศาสตร์
ในศตวรรษที่ 19 นายแพทย์ H. R. Silvester ได้อธิบายวิธีการจำลองการหายใจในผู้ป่วยที่ไม่หายใจโดยให้นอนหงาย ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้เกิดการหายใจเข้า ร่วมกับการกดหน้าอกเพื่อใหเกิดการหายใจออก โดยให้ทำต่อเนื่อง 16 ครั้งต่อนาที วิธีการนี้เรียกว่า The Silvester Method พบได้ในภาพยนตร์บางเรื่องช่วงต้นศตวรรษที่ 20
เทคนิคที่ 2 เรียกว่า Holger Neilson technique ซึ่งมีการอธิบายไว้ในคู่มือลูกเสือ (Boy Scout Handbook) ของสหรัฐอเมริกา ฉบับที่ 1 ปี ค.ศ. 1911 เสนอการช่วยหายใจโดยให้นอนคว่ำทับฝ่ามือ ตะแคงหน้า ให้ผู้ช่วยเหลือดึงข้อศอกขึ้นเพื่อกางแขนพร้อมกับกดหลังทำให้อากาศไหลเข้าปอด คล้ายกับการทำ Silvester Method แต่ทำในท่านอนคว่ำ วิธีการนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษ 1950 (ปรากฎในภาพยนตร์ Lassie) รวมถึงปรากฎในภาพยนตร์การ์ตูนหลายเรื่อง และบ่อยครั้งเป็นไปเพื่อความขบขัน (ภาพยนตร์การ์ตูน Tom and Jerry ตอน The Cat and the Mermouse) และยังคงลงอธิบายอยู่ในหนังสือคู่มือลูกเสือควบคู่กับวิธีซีพีอาร์แบบสมัยใหม่จนถึงฉบับที่ 9 ใน ค.ศ. 1979 ก่อนที่จะถูกห้ามให้ลงในคู่มือกู้ชีพในสหราชอาณาจักร
ในกลางศตวรรษที่ 20 สังคมการแพทย์เริ่มรับรู้และแนะนำให้คนทั่วไปใช้การช่วยการหายใจร่วมกับการกดหน้าอกเป็นการกู้ชีพหลังเกิดภาวะหัวใจหยุด โดยมีการใช้ครั้งแรกในวิดีโอฝึกสอนปี 1962 ชื่อ "The Pulse of Life" โดย James Dude, Guy Knickerbocker และ Peter Safar โดย Jude และ Knickerbocker ร่วมกับ William Kouwenhoven และ Joseph S. Redding ได้ค้นพบวิธีการนวดหัวใจจากภายนอก ในขณะที่ Safar ได้ทำงานร่วมกับ Redding และ James Elam เพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของการช่วยหายใจ ส่วนเทคนิกการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ความพยายามแรกในการนำเทคนิกนี้มาใช้เป็นการทำกับสุนัขโดย Redding, Safar และ JW Perason หลังจากนั้นไม่นานก็มีการนำมาใช้ช่วยชีวิตเด็ก ผลการค้นพบที่ทำร่วมกันนี้ได้รับการนำเสนอที่งานประชุม Maryland Medical Society ประจำปีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 1960 ในเมือง Ocean หลังจากนั้นจึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและรวดเร็วในช่วงทศวรรษต่อมา ด้วยความช่วยเหลือจากวิดีทัศน์และงานบรรยายที่พวกเขาได้ไปบรรยาย Peter Safar ได้เขียนหนังสือ ABC of resuscitation ไว้ในปี 1957 และได้รับการสนับสนุนให้มีการเผยแพร่แก่สาธารณชนให้เกิดการเรียนรู้ในช่วงทศวรรษปี 1970
อ้างอิง
- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. เรียกข้อมูลวันที่ 27 กพ. 2552.
- ↑ 2.0 2.1 "US National Library of Medicine Encyclopedia - Definition of CPR". สืบค้นเมื่อ 2007-06-12. (อังกฤษ)
- ↑ "US Red Cross list of courses for all skill levels". สืบค้นเมื่อ 2007-06-12. (อังกฤษ)
- ↑ "Resuscitation Council UK Comment on Compression Only CPR". สืบค้นเมื่อ 2007-06-12. (อังกฤษ)
- ↑ "Hands-Only (Compression-Only) Cardiopulmonary Resuscitation: A Call to Action for Bystander Response to Adults Who Experience Out-of-Hospital Sudden Cardiac Arrest". สืบค้นเมื่อ 2008-04-02. (อังกฤษ)
- ↑ "Advisory statement of the European Resuscitation Council: Advisory statement of the European Resuscitation Council on Basic Life Support". สืบค้นเมื่อ 2008-06-13. (อังกฤษ)
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Field JM, Hazinski MF, Sayre MR; และคณะ (2010). "Part 1: executive summary: 2010 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care". Circulation. 122 (18 Suppl 3): S640–56. doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.110.970889. PMID 20956217.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|author=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ European Resuscitation Council (2005), "Guidelines for resuscitation", Part 2, "Adult basic life support": "The following is a summary of the evidence-based recommendations for the performance of basic life support: Rescuers begin CPR if the victim is unconscious, not moving, and not breathing (ignoring occasional gasps).[...]"", available at https://www.erc.edu/index.php/guidelines_download_2005/en/
- ↑ Hazinski MF, Nolan JP, Billi JE; และคณะ (2010). "Part 1: executive summary: 2010 International Consensus on Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care Science With Treatment Recommendations". Circulation. 122 (16 Suppl 2): S250–75. doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.110.970897. PMID 20956249.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|author=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)