ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารภี (พรรณไม้)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อ้างอิง: ้พ้ดเ้พพพพพพพพพพพพ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5703355 สร้างโดย 27.130.110.165 (พูดคุย)
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
าพส้ยนพ่้าเสยนะนาาาบหพา้สพ


==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:40, 6 สิงหาคม 2558

สารภี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Theales
วงศ์: Clusiaceae
สกุล: Mammea
สปีชีส์: M.  siamensis
ชื่อทวินาม
Mammea siamensis
T. Anders.
ชื่อพ้อง

Ochrocarpus siamensis T. Anders.

สารภี เป็นไม้ดอกยืนต้นพบในประเทศไทย เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดพะเยา สารภียังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: ทรพี (จันทบุรี) สร้อยพี (ใต้) สาหละปี (เชียงใหม่,เหนือ)[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10 – 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับแกมขอบขนาน เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน แต่เส้นใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดทั้งสองข้าง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแกมแดง ใบสีเขียว หนา แข็งเป็นมัน มียางขาว เปลือกสีเทาดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น ดอกสีขาวอมเหลือง ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้สีเหลือง ผลรูปกระสวย ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง มีเนื้อสีเหลืองหรือสีแสดหุ้มเมล็ด รับประทานได้ ออกดอก มกราคม - มีนาคม เป็นผล กุมภาพันธ์ - เมษายน

ถิ่นกำเนิด

ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม

การปลูกเลี้ยง

สารภีชอบสภาพดินร่วนซุย ความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา

  • ดอกสดและแห้ง-ใช้เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท แก้วิงเวียนหน้ามืด ตาลายและชูกำลัง
  • ดอกตูม-ย้อมผ้าไหมให้สีแดง
  • ผลสุก-รับประทานได้มีรสหวาน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น