ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กุมภกรรณ"
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
เชื่อของกุมภกรรณผิด |
||
บรรทัด 52: | บรรทัด 52: | ||
เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับ[[สุครีพ]] โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูก[[หนุมาน]]และ[[องคต]]ทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่[[พระลักษณ์]]จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับ[[พระราม]] แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้ |
เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับ[[สุครีพ]] โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูก[[หนุมาน]]และ[[องคต]]ทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่[[พระลักษณ์]]จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับ[[พระราม]] แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้ |
||
กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้ |
|||
== คำบริภาษของกุมภกรรณ == |
== คำบริภาษของกุมภกรรณ == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:15, 26 พฤศจิกายน 2558
กุมภกรรณ | |
---|---|
ตัวละครใน รามเกียรติ์ | |
หัวโขนกุมภกรรณ หัวโขนกุมภกรรณ | |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เผ่าพันธุ์ | ยักษ์ |
เพศ | ผู้ |
ตำแหน่ง | อุปราชกรุงลงกา |
คู่สมรส | นางจันทวดี |
ญาติ | ท้าวลัสเตียน (บิดา) นางรัชฎา (มารดา) ทศกัณฐ์ (พี่ชาย) พิเภก ขร ทูษณ์ ตรีเศียร (น้องชาย) นางสำมนักขา (น้องสาว) |
กุมภกรรณ เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องแท้ ๆ ของทศกัณฐ์ มีหน้าและกายสีเขียว ชายาชื่อนางจันทวดี เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ ที่จริงแล้วเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในธรรม แต่ต้องออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง
เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับสุครีพ โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่พระลักษณ์จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับพระราม แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้
กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้
คำบริภาษของกุมภกรรณ
เมื่อกุมภกรรณออกรบกับพระรามนั้น ได้ตั้งปริศนาถามพระรามไว้บอกว่าถ้าพระรามตอบได้จะยอมเลิกทัพกลับ ปริศนาถามว่า ชีโฉด หญิงโหด ช้างงารี ชายทรชน สี่อย่างนี้คืออะไร พระรามตอบไม่ได้จึงใช้องคตมาถาม กุมภกรรณจึงเฉลยว่า
ชีโฉด คือพระรามที่เพื่อแย่งชิงนางสีดากลับ ถึงกับยกทัพใหญ่มาทำการวุ่นวาย ทำให้คนบริสุทธิ์มากมายเดือดร้อน
หญิงโหด คือนางสำมะนักขาที่คิดเอาพระรามเป็นสามี พอไม่ได้ก็และยุยงให้พี่น้องมารบกับพระรามจนเกิดเรื่อง
ช้างงารี คือทศกัณฐ์ที่เกะกะอันธพาล ไปแย่งเมียคนอื่น
ชายทรชน คือพิเภกที่ไม่รู้จักบุญคุณพี่น้อง ไปบอกความลับของฝ่ายลงกาแก่ศัตรู เหมือนแกล้งฆ่าพี่น้องทุกคน
คำบริภาษนี้เป็นของปราชญ์ไทยแต่งขึ้นโดยไม่มีในรามายณะต้นฉบับ ได้เป็นคำบริภาษทุกฝ่ายอย่างยุติธรรมตามมุมมองของกุมภกรรณ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองของกวีที่สอดแทรกไว้ก็ได้
ลักษณะหัวโขน
เป็นหน้ายักษ์ 4 หน้า เพื่อให้ต่างกับเสนายักษ์ คือ เป็นหน้าปกติ 1 หน้า และเป็นหน้าเล็ก ๆ 3 หน้า เรียงกันอยู่ตรงท้ายทอย ปากแสยะตาโพลง หัวโล้น สวมกระบังหน้าไม่มีมงกุฎ หน้ามี 2 สี คือ หน้าสีเขียว กับหน้าสีทอง กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ภาพจิตรกรรมฝาผนังชุดรามเกียรติ์นี้เริ่มเขียนตั้งแต่ภาพพระนารายณ์อวตารในปางต่างๆ ก่อนที่จะอวตารมาเป็น พระราม ในเรื่องรามเกียรติ์
ภาพเขียนนี้มีทั้งหมด ๑๗๘ ห้อง มีทั้งคำบรรยายใต้ภาพและคำบรรยายเป็นโคลงสลักบนแผ่นหินอ่อนติดอยู่ที่ เสารอบพระระเบียง
และมีภาพตัวละครสำคัญอีก ๘๐ ภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายอสูรและฝ่ายวานร เขียนอยู่ตามซุ้มประตูและมุขพระระเบียง
ภาพวาดที่พระระเบียง
- ห้องที่ ๕๗ กุมภกรรณออกรบ พิเภกอาสาห้ามทัพ และองคตลวงถามปริศนาจากกุมภกรรณ จนถึงสุครีพถอนต้นรังหลักทวีปอุดรมารบกับกุมภกรรณ
- ห้องที่ ๕๘ เมื่อกุมภกรรณอุบายให้สุครีพถอนต้นรังจนหมดแรงแล้ว ก็เข้าจับสุครีพไป หนุมานตามมาแก้สุครีพไปได้
- ห้องที่ ๕๙ กุมภกรรณตั้งพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ หนุมานกับองคตแปลงเป็นสุนัขเน่าและอีกาไปทำลายพิธี
- ห้องที่ ๖๐ กุมภกรรณออกรบกับพระลักษณ์ พระลักษณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ
- ห้องที่ ๖๑ หนุมานเก็บสรรพยาแก้ฤทธิ์หอกโมกขศักดิ์
- ห้องที่ ๖๒ กุมภกรรณอาสาทำพิธีทดน้ำ
- ห้องที่ ๖๓ หนุมานล้างพิธีทดน้ำของกุมภกรรณ
- ห้องที่ ๖๔ กุมภกรรณออกรบกับพระราม ถูกพระรามฆ่าตาย
โคลงประจำภาพ
รูปราพตนนี้ชื่อ | ปรากฏ นามเฮย | |
กุมภกรรฐอนุชทศ | ภักตรท้าว | |
เป็นอุปราชเรืองยศ | ผิวพิศ เขียวแฮ | |
ทรงหอกโมกขศักดิ์ห้าว | มหิศเหี้ยมหาญณรงค์ | |
— ขุนพิสนทสังฆกิจ(ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม) |
อ้างอิง
- สี ลักษณะหัวโขน และประวัติสังเขปของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ นาย ประพันธ์ สุคนธชาติ รวบรวม
แหล่งข้อมูลอื่น
- รูปการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติเรื่องรามเกียรติ์ ตอน สุครีพถอนต้นพญารัง- กุมกรรณพุ่งหอกโมกขศักดิ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ ฯ ถ.อัมพวา-บางนกแขวก ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
- สูจิบัตรการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ศึกกุมภกรรณ ตอน กุมภกรรณทดน้ำของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดแสดงในเดือนมีนาคม-มิถุนายน ๒๕๕๓
- เยี่ยมยักษ์อยู่ยามกลางกรุงรัตนโกสินทร์
- หัวโขน-สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ www.culture.go.th
- สีที่ใช้กับหัวโขน
- จารีตนาฏศิลป์ไทย โดย นาย ประเมษฐ์ บุณยะชัย นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๕๐ ฉบับที่ ๑ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ หน้า ๕ - ๑๙
- โคลงรามเกียรติ์ รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม www.bloggang.com-praingpayear
- โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ตู้หนังสือ เรือนไทย