ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เศรษฐศาสตร์จุลภาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
ในทฤษฎี[[อุปสงค์และอุปทาน]]มักตั้งสมมติฐานไว้ว่าตลาดเป็นตลาด[[การแข่งขันสมบูรณ์|แข่งขันสมบูรณ์]] ซึ่งหมายถึงการที่มีผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมากมาย และไม่มีใครสามารถส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ในโลกความเป็นจริง สมมติฐานนี้มักไม่เป็นจริงเพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้) ในการวิเคราห์ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องกำหนดสมการอุปสงค์-อุปทานของสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายได้ดีในสถานการณ์ที่ไม่ยุ่งยาก
ในทฤษฎี[[อุปสงค์และอุปทาน]]มักตั้งสมมติฐานไว้ว่าตลาดเป็นตลาด[[การแข่งขันสมบูรณ์|แข่งขันสมบูรณ์]] ซึ่งหมายถึงการที่มีผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมากมาย และไม่มีใครสามารถส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ในโลกความเป็นจริง สมมติฐานนี้มักไม่เป็นจริงเพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้) ในการวิเคราห์ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องกำหนดสมการอุปสงค์-อุปทานของสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายได้ดีในสถานการณ์ที่ไม่ยุ่งยาก


== นิยามและความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์^^ ==
== นิยามและความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ ==
(Alfred Marshall)นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษามนุษย์ชาติในการดำรงชีวิตตามปกติวิสัย
(Alfred Marshall)นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษามนุษย์ชาติในการดำรงชีวิตตามปกติวิสัย



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:22, 28 มิถุนายน 2560

โมเดลอุปสงค์และอุปทานอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาซึ่งเป็นผลจากสมดุลระหว่างปริมาณสินค้าซึ่งถูกเสนอขายที่ราคาแต่ละราคา (อุปสงค์) และความต้องการซื้อที่ราคาแต่ละราคา (อุปทาน)

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด[1] โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร[2][3]

จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์

สมมติฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์

ในทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมักตั้งสมมติฐานไว้ว่าตลาดเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการที่มีผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมากมาย และไม่มีใครสามารถส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ในโลกความเป็นจริง สมมติฐานนี้มักไม่เป็นจริงเพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้) ในการวิเคราห์ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องกำหนดสมการอุปสงค์-อุปทานของสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายได้ดีในสถานการณ์ที่ไม่ยุ่งยาก

นิยามและความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์

(Alfred Marshall)นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษามนุษย์ชาติในการดำรงชีวิตตามปกติวิสัย

(Lipsey and others)ตามคำนิยามนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของมนุษย์

(Paul A. Samuelson)นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวสหรัฐอเมริกา ได้ให้นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเลือกของคนและสังคม ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ และจำแนกแจกจ่ายผลผลิตเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งของตนเองและของสังคม

เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์

เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์ (อังกฤษ: Applied Microeconomics) เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตซึ่งรวมไปถึงการศึกษาที่เจาะจงเฉพาะด้านด้วย สาขาที่เกี่ยวกับทางด้านประยุกต์ส่วนมากมักจะใช้เรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฎีราคา (Price Theory), อุปสงค์ และ อุปทาน (Demand & Supply), การจัดการอย่างเป็นระบบในด้านอุตสาหกรรม (Industrial Organization) และ การควบคุม (Regulation) หัวข้อที่จะสนใจศึกษา อย่างเช่น การเข้าและการออกคนงานของบริษัท, นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์, บทบาทของเครื่องหมายการค้า, กฎหมาย และ เศรษฐศาสตร์ เพียงเล็กน้อยหรือมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับสาขาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหลักการเลือกใช้ เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์นั้น จะขึ้นอยู่กับ enforcement of competing, กฎหมาย, ระบบการปกครอง และ their relative efficiencies ยกตัวอย่างเช่น

  • เศรษฐศาสตร์แรงงาน (Labour Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ ค่าจ้าง, การจ้างงาน และการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน
  • การคลังสาธารณะ (Public Finance) บางครั้งก็จะถูกเรียกว่า เศรษฐศาสตร์สาธารณะ (Public Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ การกำหนดภาษีของภาครัฐบาล, นโยบายของค่าใช้จ่าย และ ผลทางเศรษฐกิจของนโยบายเหล่านั้น (เช่น โปรแกรมด้านประกันทางสังคม)
  • เศรษฐศาสตร์การเมือง (Politicial Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันทางการเมืองในการพิจารณาผลของนโยบาย
  • เศรษฐศาสตร์สุขภาพ (Health Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ องค์กรของระบบการดูแลสุขภาพ รวมทั้งบทบาทของ พนักงานการดูแลสุขภาพ และ โปรแกรมการประกันสุขภาพ
  • เศรษฐศาสตร์เมือง (Urban Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเมือง เช่น การขยายตัวของเมือง, มลพิษทางอากาศและทางน้ำ, ปัญหาการจราจร, ความยากจน และ วางแผนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์เมืองและสังคมวิทยา
  • เศรษฐศาสตร์การเงิน (Financial Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับโครงสร้างของ พอร์ต การ ลงทุน ที่ ดี ที่สุด ให้ อัตรา ผล ตอบแทน ให้ ทุน การ วิเคราะห์ เศรษฐมิติ ของ ผล การ รักษา ความ ปลอดภัย และ พฤติกรรมทางการเงินของบริษัท
  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (Economic History) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ เศรษฐกิจ และ สถาบันทางเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการและเทคนิค มาจากทางด้าน เศรษฐกิจ, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, สังคมวิทยา, จิตวิทยา และ รัฐศาสตร์

อ้างอิง

  1. Marchant, Mary A. "Macroeconomic and International Policy Terms". University of Kentucky. สืบค้นเมื่อ 2007-05-04. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. "Economics Glossary". Monroe County Women's Disability Network. สืบค้นเมื่อ 2008-02-22.
  3. "Social Studies Standards Glossary". New Mexico Public Education Department. สืบค้นเมื่อ 2008-02-22.