ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรอังวะ"
ล แจ้งควรปรับการใช้ภาษาด้วยสจห. |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ทำกลับ |
||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
{{แก้ภาษา}} |
|||
{{Infobox Former Country |
{{Infobox Former Country |
||
|native_name = {{my|အင်းဝခေတ်}} |
|native_name = {{my|အင်းဝခေတ်}} |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:54, 8 มีนาคม 2561
อาณาจักรอังวะ အင်းဝခေတ် | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1364–1555 | |||||||||||||
อาณาจักรอังวะ ประมาณ ค.ศ. 1450 | |||||||||||||
สถานะ | อาณาจักร รัฐบรรณาการของ รัฐฉาน (1527 – 1555) | ||||||||||||
เมืองหลวง | สะกาย, ปีนยะ, อังวะ | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | พม่า ฉาน | ||||||||||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท | ||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||
กษัตริย์ | |||||||||||||
• 1364–1367 | พระเจ้าตะโดมินพญา | ||||||||||||
• 1367–1400 | พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา | ||||||||||||
• 1400–1422 | พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง | ||||||||||||
• 1426–1439 | พระเจ้าโม่ญี่นตะโด | ||||||||||||
• 1527–1542 | โธฮันบวา | ||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | ลุตตอ | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• สถาปนา | เมษายน 1364 | ||||||||||||
1385–1424 | |||||||||||||
• ราชวงศ์โม่ญี่น | 1426 | ||||||||||||
• แยกตัวจากรัฐบรรณาการ | 1480–1527 | ||||||||||||
• ส่วนหนึ่งของรัฐฉาน | 1527–1555 | ||||||||||||
• ล่มสลาย | 22 มกราคม 1555 | ||||||||||||
สกุลเงิน | จ๊าด | ||||||||||||
|
อาณาจักรอังวะ (อังกฤษ: Ava Kingdom; พม่า: အင်းဝခေတ်, ออกเสียง: [ʔɪ́ɴwa̰ kʰɪʔ]) อาณาจักรอิสระที่ปกครอง พม่าตอนบน ระหว่าง ค.ศ. 1364 ถึง 1555 สถาปนาเมื่อ ค.ศ. 1364 เป็นอาณาจักรที่สืบทอดจาก อาณาจักรมยินซาง อาณาจักรปีนยะ และอาณาจักรสะกาย ที่ปกครองพม่าตอนกลางภายหลังจากการล่มสลายของ อาณาจักรพุกาม ในช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 13
เช่นเดียวกันกับอาณาจักรเล็กๆ ก่อนหน้าบริเวณนั้น กษัตริย์อังวะซึ่งเป็นชาวพม่าและฉาน ล้วนกล่าวว่าตนสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พุกาม[1][2]
ประวัติ
อาณาจักรอังวะสถาปนาโดยพระเจ้าตะโดมินพญาในปี ค.ศ. 1364[3]: 227 หลังการล่มสลายของ อาณาจักรสะกาย และอาณาจักรปีนยะ ในการรุกรานของรัฐฉานจากทางเหนือ ในปีแรกของการดำรงอยู่อังวะซึ่งมองตนเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากอาณาจักรพุกาม ได้พยายามที่จะรวบรวมดินแดนเมื่อครั้งที่สมัยอาณาจักรพุกามพิชิตได้ โดยการทำสงครามต่อเนื่องยาวนานกับอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญทางภาคใต้ รัฐฉานในภาคเหนือและภาคตะวันออก และรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตก[1]
ในขณะที่สามารถยึดครองตองอูและบางส่วนของรัฐฉาน (กะเล, โม่ญี่น, โมกองและตี่บอ) ช่วงจุดสูงสุดของการยึดครองดินแดนของอาณาจักรอังวะได้หยุดลงในช่วง สงครามสี่สิบปี กับอาณาจักรหงสาวดี (1385-1424) หลังจากนั้นในช่วงจากยุค 1420 ถึงต้นยุค 1480 อาณาจักรอังวะต้องเผชิญหน้ากับการกบฏกษัตริย์องค์ใหม่เข้ามามีอำนาจแทน ในยุค 1480 และยุค 1490 อาณาจักรแปรทางตอนใต้และรัฐฉานภายใต้อิทธิพลของอังวะในภาคเหนือประกาศอิสรภาพ และตองอูซึ่งเริ่มมีอำนาจเหนือกว่าอังวะ ในปี 1510 ตองอูก็แยกตัวออกไป[1]
อังวะตกอยู่ภายใต้การรุกรานอย่างรุนแรงจากรัฐฉานในช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในปี ค.ศ. 1527 รัฐฉานนำโดยเมืองโม่ญี่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับแปร ได้เข้ายึดครองอังวะและปกครองพม่าตอนบน ในฐานะที่อาณาจักรแปรเป็นพันธมิตรกับรัฐฉาน จึงมีเพียงตองอูอาณาจักรเล็ก ๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอังวะ หรือบริเวณทิศตะวันออกของเทือกเขาพะโค ยังคงเป็นเมืองอิสระสุดท้ายของชาวพม่า
ความล้มเหลวในการยับยั้งอาณาจักรตองอูพิสูจน์แล้วว่ามีบทเรียนราคาแพง ทำให้อาณาจักรอังวะถูกล้อมรอบด้วยอาณาจักรที่เป็นศัตรู อาณาจักรตองอูที่แข็งแกร่งมากขึ้นเริ่มมีความคิดที่จะรวบรวมดินแดน หลังได้รับชัยชนะในการรุกรานอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญในปี ค.ศ. 1534-1541 อาณาจักรตองอูหันหลังให้กับอาณาจักรแปรและรัฐฉาน และส่งกองทัพไปเข้าโจมตีแปรในปี ค.ศ. 1542 และพุกามเมืองตอนใต้ของอาณาจักรอังวะในปี ค.ศ. 1544[4] ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1555 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งตองอูก็สามารถพิชิตอาณาจักรอังวะได้สำเร็จ อันเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรอังวะที่มีมานานเกือบสองร้อยปี
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Htin Aung 1967: 84–103
- ↑ Phayre 1883: 63–75
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Phayre 1883: 100–101
บรรณานุกรม
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.