ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่ฝรั่งเศส"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
บรรทัด 41: | บรรทัด 41: | ||
{{บทความหลัก|การบุกครองโปแลนด์}} |
{{บทความหลัก|การบุกครองโปแลนด์}} |
||
ในปี 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเสนอความช่วยเสนอทางทหารให้แก่โปแลนด์ในกรณีเผื่อว่าถูกรุกรานโดยเยอรมนี ในเช้าวันที่ 1 กันยายน 1939 เยอรมนีก็เปิดฉากบุกครองโปแลนด์ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ในทันที เยอรมนีไม่ตอบสนอง<ref>[https://avalon.law.yale.edu/wwii/blbk81.asp Viscount Halifax to Sir N. Henderson (Berlin)] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20171002231120/http://avalon.law.yale.edu/wwii/blbk81.asp |date=2 October 2017 }} Cited in the British Blue book</ref><ref>{{cite web |title=Britain and France declare war on Germany |url=http://www.history.com/this-day-in-history/britain-and-france-declare-war-on-germany |publisher=The History Channel |accessdate=6 May 2014}}</ref> ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน และประเทศอื่นก็ทยอยประกาศตาม ได้แก่ ออสเตรเลีย (3 กันยายน), นิวซีแลนด์ (3 กันยายน), แอฟริกาใต้ (6 กันยายน), และแคนาดา (10 กันยายน) อย่างไรก็ตาม แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะได้ประกาศสงครามแล้ว แต่ทั้งสองประเทศกลับไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะช่วยเหลือทางทหารแก่โปแลนด์อีกแล้วในภาวะที่เป็นอยู่ การส่งทหารเข้าไปในโปแลนด์อาจดึงสหภาพโซเวียตเข้ามาร่วมสงคราม เยอรมนีและ[[สหภาพโซเวียต]]พึ่งลงนามใน[[กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ|กติกาสัญญาไม่รุกรานกัน]] และโซเวียตก็ช่วยเยอรมันบุกโปแลนด์จากด้านตะวันออก |
ในปี 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเสนอความช่วยเสนอทางทหารให้แก่โปแลนด์ในกรณีเผื่อว่าถูกรุกรานโดยเยอรมนี ในเช้าวันที่ 1 กันยายน 1939 เยอรมนีก็เปิดฉากบุกครองโปแลนด์ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ในทันที เยอรมนีไม่ตอบสนอง<ref>[https://avalon.law.yale.edu/wwii/blbk81.asp Viscount Halifax to Sir N. Henderson (Berlin)] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20171002231120/http://avalon.law.yale.edu/wwii/blbk81.asp |date=2 October 2017 }} Cited in the British Blue book</ref><ref>{{cite web |title=Britain and France declare war on Germany |url=http://www.history.com/this-day-in-history/britain-and-france-declare-war-on-germany |publisher=The History Channel |accessdate=6 May 2014}}</ref> ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน และประเทศอื่นก็ทยอยประกาศตาม ได้แก่ ออสเตรเลีย (3 กันยายน), นิวซีแลนด์ (3 กันยายน), แอฟริกาใต้ (6 กันยายน), และแคนาดา (10 กันยายน) อย่างไรก็ตาม แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะได้ประกาศสงครามแล้ว แต่ทั้งสองประเทศกลับไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะช่วยเหลือทางทหารแก่โปแลนด์อีกแล้วในภาวะที่เป็นอยู่ การส่งทหารเข้าไปในโปแลนด์อาจดึงสหภาพโซเวียตเข้ามาร่วมสงคราม เยอรมนีและ[[สหภาพโซเวียต]]พึ่งลงนามใน[[กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ|กติกาสัญญาไม่รุกรานกัน]] และโซเวียตก็ช่วยเยอรมันบุกโปแลนด์จากด้านตะวันออก สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเร่งสั่งสมอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อเตรียมบุกเยอรมนี<ref>{{cite web | url=http://www.indiana.edu/~league/1939.htm | title =Chronology 1939 | author =Indiana University | publisher =indiana.edu| author-link =Indiana University }}</ref> และมองดูโปแลนด์ล่มสลายไปต่อหน้า |
||
===สงครามลวง=== |
===สงครามลวง=== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:11, 31 มีนาคม 2563
ยุทธการที่ฝรั่งเศส | |||
---|---|---|---|
| |||
กำลัง | |||
สัมพันธมิตร: ฝรั่งเศสในเทือกเขาแอลป์: 5 กองพล 150,000 นาย |
เยอรมนี: อิตาลีในเทือกเขาแอลป์: 22 กองพล 300,000 นาย | ||
ความสูญเสีย | |||
ตายหรือบาดเจ็บ 360,000 ตกเป็นเชลย 1,900,000 เสียอากาศยาน 2,233[4] เสียยานเกราะ 2,438 |
ตาย 27,074 บาดเจ็บ 111,034 เสียอากาศยาน 1,236[5][6] เสียยานเกราะ 822 |
ยุทธการที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Battle of France) หรือ ความพินาศที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Fall of France) ในเยอรมนีเรียก การทัพตะวันตก (เยอรมัน: Westfeldzug) คือการบุกโดยกองทัพเยอรมันเพื่อยึดครองภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน 1939 หลังจากเยอรมนียกทัพบุกครองโปแลนด์ซึ่งเป็นมิตรของฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสบุกเข้าซาร์ลันท์ของเยอรมันในกลางเดือนตุลาคมปีนั้น แต่แล้วกลับถอนกำลังมาประจำตำแหน่งเดิมหลังเส้นมาฌีโน ตลอดหกสัปดาห์หลังวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 เป็นต้นไป กองทหารเยอรมันเอาชนะกองทหารสัมพันธมิตรโดยปฏิบัติการยานยนต์ และเข้าพิชิตฝรั่งเศส เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์
10 พฤษภาคม เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุเหลือง" ([Fall Gelb] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) กองยานเกราะเยอรมันบุกเข้าอาร์แดนและตามแนวแม่น้ำซอมด้วยความเร็วที่ฝรั่งเศสไม่คาดคิด กองพลยานเกราะเยอรมันข้ามแม่น้ำเมิซได้ในวันที่ 15 พฤษภาคมและบุกต่อไปทางตะวันตกทันที ฝ่ายเยอรมันได้ตัดขาดเส้นทางเดินทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรในพื้นที่ และสามารถล้อมกองทหารสัมพันธมิตรที่กำลังมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปช่วยเบลเยียม นั่นทำให้กองทหารบริติช, ฝรั่งเศส และเบลเยียมถูกผลักดันไปจนมุมอยู่ที่ทะเลโดยปฏิบัติการยานเกราะอันมีประสิทธิภาพของเยอรมัน รัฐบาลบริติชได้อพยพกองทัพต่างแดนบริติช (BEF) ตลอดจนกองพลฝรั่งเศสออกจากหาดเดิงแกร์กในปฏิบัติการไดนาโมจนเสร็จสิ้นวันที่ 4 มิถุนายน
เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุแดง" ([Fall Rot] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ในวันที่ 5 มิถุนายน กองพลบริติชและฝรั่งเศส 60 หน่วยที่เหลืออยู่พยายามต่อต้านแต่ก็ไม่เป็นผลมากนัก เนื่องจากฝ่ายเยอรมันมีการสนับสนุนทางอากาศและมียานเกราะที่เหนือกว่า กองยานเกราะเยอรมันยกทัพจากภาคเหนือเข้าสู่ภาคกลางของฝรั่งเศส และเข้ายึดกรุงปารีสที่ไร้ทหารป้องกันในวันที่ 14 มิถุนายน ผู้นำทหารเยอรมันเข้าเจรจาข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลฝรั่งเศสในวันที่ 18 มิถุนายน
ในวันที่ 22 มิถุนายน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในตราสารสงบศึกที่ป่ากงเปียญ รัฐบาลวิชีฝรั่งเศสที่นำโดยจอมพลฟีลิป เปแต็ง ออกประกาศล้มล้างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ยอมให้เยอรมนีเข้ายึดครองภาคเหนือและชายฝั่งตลอดจนแผ่นดินหลังฝั่งทะเลของฝรั่งเศส อิตาลีได้ยึดครองพื้นที่ส่วนน้อยบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส รัฐบาลวิชีมีเขตอำนาจเพียงดินแดนนอกยึดครองแถบภาคใต้ซึ่งเรียกว่า "โซนเสรี" ([Zone libre] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) แม้ฝรั่งเศสจะพ่ายแพ้ศึกครั้งนี้ แต่นายพลชาลส์ เดอ โกล แห่งกองทัพฝรั่งเศสได้ลี้ภัยไปอยู่กรุงลอนดอน เขาได้ตั้งแนวร่วมเสรีฝรั่งเศส (France Libre) เพื่อต่อต้านนาซีเยอรมนีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะจนกระทั่งถูกปลดปล่อยหลังฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในปี 1944
ภูมิหลัง
เส้นมาฌีโน
ระหว่างปี 1929–1938 ฝรั่งเศสได้สร้างแนวป้องกันที่ชื่อ "เส้นมาฌีโน" ([Ligne Maginot] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ตามแนวพรมแดนกับเยอรมนี ตลอดเส้นนี้เต็มไปด้วยป้อมปราการคอนกรีต สิ่งกีดขวาง และอาวุธ แนวป้องกันนี้ถูกสร้างเพื่อที่ฝรั่งเศสจะไม่ต้องใช้ทหารจำนวนมากในการต้านเยอรมันที่ด้านนี้ และสามารถส่งหน่วยทหารมือดีที่สุดของฝรั่งเศสไปรบกับทหารเยอรมันในเบลเยียมแทน ฝรั่งเศสเชื่อว่าสงครามจะปะทุขึ้นกับประเทศอื่นที่ไม่ใช่ฝรั่งเศส เส้นมาฌีโนช่วงที่แข็งแกร่งมีจุดเริ่มต้นบริเวณพรมแดนสวิตเซอร์แลนด์ และลากยาวตามแนวชายแดนเยอรมัน ผ่านป่าทึบอาร์แดน จนไปถึงชายแดนเบลเยียม ชาวงที่ขนานไปตามแนวชายแดนเบลเยียมเป็นส่วนที่มีการป้องกันอ่อนลง การที่ฝรั่งเศสมีเส้นมาฌีโนนี้ ทำให้พลเอกสูงสุดฟีลิป เปแต็ง ถึงกับประกาศว่า "อาร์แดนไม่มีวันแตก" ในขณะที่ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพฝรั่งเศส พลเอกมอริส กาเมอแล็ง ก็เชื่อว่าพื้นที่บริเวณนั้นปลอดภัยจากการถูกโจมตีเช่นกัน ความเชื่อเช่นนี้ทำให้ฝรั่งเศสวางกำลังทหารไว้ในพื้นที่นี้เพียงสิบกองพล พวกเขาเชื่อว่าเส้นมาฌีโนแกร่งพอจะถ่วงเวลาให้ระดมพลไปที่แนวรบและโต้กลับอย่างทันสบาย
การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนี
ในปี 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเสนอความช่วยเสนอทางทหารให้แก่โปแลนด์ในกรณีเผื่อว่าถูกรุกรานโดยเยอรมนี ในเช้าวันที่ 1 กันยายน 1939 เยอรมนีก็เปิดฉากบุกครองโปแลนด์ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ในทันที เยอรมนีไม่ตอบสนอง[7][8] ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน และประเทศอื่นก็ทยอยประกาศตาม ได้แก่ ออสเตรเลีย (3 กันยายน), นิวซีแลนด์ (3 กันยายน), แอฟริกาใต้ (6 กันยายน), และแคนาดา (10 กันยายน) อย่างไรก็ตาม แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะได้ประกาศสงครามแล้ว แต่ทั้งสองประเทศกลับไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะช่วยเหลือทางทหารแก่โปแลนด์อีกแล้วในภาวะที่เป็นอยู่ การส่งทหารเข้าไปในโปแลนด์อาจดึงสหภาพโซเวียตเข้ามาร่วมสงคราม เยอรมนีและสหภาพโซเวียตพึ่งลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกัน และโซเวียตก็ช่วยเยอรมันบุกโปแลนด์จากด้านตะวันออก สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเร่งสั่งสมอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อเตรียมบุกเยอรมนี[9] และมองดูโปแลนด์ล่มสลายไปต่อหน้า
สงครามลวง
7 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสยกกำลัง 98 กองพล (มีเพียง 28 กองพลที่เป็นทหารกองหนุน) พร้อมยานเกราะ 2,500 คันออกนอกเส้นมาณีโนราว 5 กิโลเมตรเพื่อไปยังซาร์ลันท์ เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของเยอรมนีซึ่งถูกป้องกันโดย 43 กองพลเยอรมัน (กว่า 32 กองพลเป็นทหารกองหนุน) และไม่มียานเกราะเลย จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าในทุกมิติ กองพลฝรั่งเศสรุดหน้าไป 5 กิโลเมตรจนเกือบจะถึงแนวซีคฟรีทของเยอรมันที่ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ในวันที่ 17 กันยายน พลเอกกาเมอแล็งเปลี่ยนใจ มีคำสั่งให้ถอนกำลังกลับมาหลังเส้นมาณีโน ยุทธศาสตร์ของพลเอกกาเมอแล็งคือรอจนกระทั่งกองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษมีความพรั่งพร้อมด้านยุทธภัณฑ์อย่างเต็มที่เสียก่อน ภายหลังจบการรุกซาร์ลันท์ก็เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าสงครามลวง (Phoney War) หรือที่เยอรมนีเรียกว่าสงครามนั่ง ([Sitzkrieg] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ฮิตเลอร์หวังว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะยอมรับการยึดครองโปแลนด์และประนีประนอมสันติภาพโดยเร็ว ฮิตเลอร์เสนอข้อตกลงสันติภาพไปยังสองมหาอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม[10]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Umbreit 2015, p. 279.
- ↑ Zaloga 2011, p. 73.
- ↑ Hooton 2007, pp. 47–48
- ↑ Hooton 2007, p. 90.
- ↑ Frieser (1995), p. 400.
- ↑ Murray 1983, p. 40.
- ↑ Viscount Halifax to Sir N. Henderson (Berlin) เก็บถาวร 2 ตุลาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Cited in the British Blue book
- ↑ "Britain and France declare war on Germany". The History Channel. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
- ↑ Indiana University. "Chronology 1939". indiana.edu.
- ↑ Shirer 1990, p. 715