ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)"
นำภาพ "สมเด็จพระธีรญาณมุนี_(สมชาย_วรชาโย).jpg" ออก ซึ่งถูกลบที่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดย Fitindia เนื่องจาก No permission since 16 September 2021 ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 20: | บรรทัด 20: | ||
== ประวัติ == |
== ประวัติ == |
||
สมเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม '''สมชาย พุกพุ่มพวง''' เกิดเมื่อวันพุธที่ 22 ตุลาคม [[พ.ศ. 2490]]<ref name="เรื่องตั้ง 2">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = กรมศิลปากร|ชื่อหนังสือ = เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒|URL = |จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = กรมศิลปากร|ปี = 2545|ISBN = 974-417-530-3|จำนวนหน้า = 450|หน้า = 268}}</ref> เป็นชาว[[จังหวัดนครปฐม]] |
สมเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม '''สมชาย พุกพุ่มพวง''' เกิดเมื่อวันพุธที่ 22 ตุลาคม [[พ.ศ. 2490]]<ref name="เรื่องตั้ง 2">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = กรมศิลปากร|ชื่อหนังสือ = เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒|URL = |จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = กรมศิลปากร|ปี = 2545|ISBN = 974-417-530-3|จำนวนหน้า = 450|หน้า = 268}}</ref> เป็นชาว[[จังหวัดนครปฐม]] |
||
== บรรพชาและอุปสมบท == |
== บรรพชาและอุปสมบท == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:50, 23 พฤศจิกายน 2564
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ตุลาคม 2490 (77 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 8 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 19 กรกฎาคม 2510 |
พรรษา | 57 |
ตำแหน่ง | เจ้าคณะภาค 1-2-3, 12-13 (ธรรมยุต) กรรมการมหาเถรสมาคม |
สมเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม สมชาย พุกพุ่มพวง ฉายา วรชาโย เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[1] ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 1-2-3 และภาค 12-13 (ธรรมยุต)[2] กรรมการมหาเถรสมาคม[3] และรองแม่กองธรรมสนามหลวง รูปที่ 1 ฝ่ายนักธรรม[4]
ประวัติ
สมเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม สมชาย พุกพุ่มพวง เกิดเมื่อวันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2490[5] เป็นชาวจังหวัดนครปฐม
บรรพชาและอุปสมบท
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2501 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าตำหนัก ตำบลท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมีพระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เจ้าอาวาสวัดท่าตำหนัก เป็นพระอุปัชฌาย์
ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 โดยมีพระธรรมธัชมุนี (เอื้อน ชินทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลญาณโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และในปี พ.ศ. 2516 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค[5]
ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์
- พ.ศ. 2521 เป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2521 - 2531 เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2521 เป็นกรรมการและเลขานุการ วัดเทพศิรินทราวาส
- พ.ศ. 2531 - 2541 เป็นรองเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน เป็นเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12 – 13 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2533 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. 2538 เป็นกรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุต
- พ.ศ. 2538 เป็นพระอุปัชฌายะวิสามัญ
- พ.ศ. 2543 เป็นเลขาธิการคณะสงฆ์ธรรมยุต
- พ.ศ. 2554 เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[6]
- พ.ศ. 2553 - ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
ลำดับสมณศักดิ์
- พ.ศ. 2521 เป็นพระครูฐานานุกรมในพระสาสนโสภณ (นิรันตร์ นิรนฺตโร) พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พิพิธธรรมโกศล วิมลสุตาคม อุดมคณานุนายก ตรีปิฎกญาณวิจิตร
- พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมราภิรักขิต[7]
- พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมสุธี ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต สาสนกิจวิวัฒนาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมเมธี ศรีปฏิภาณธรรมโกศล สุวิมลคณาทร บวรธรรมวรนายก ตรีปิฎกวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- พ.ศ. 2553 ป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี ศรีชินทัตตวรางกูร วิบูลสีลาจารวิมล คณโสภณเลขาธิกร สุนทรปริยัติดิลก ตรีปิฎกวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[12]
หน้าที่พิเศษ
นอกเหนือจากตำแหน่งหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมแล้ว สมเด็จพระธีรญาณมุนี ยังได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ไว้มากมาย เช่น การบูรณะถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ของวัดเทพศิรินทราวาส เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวัดพุทธดัลลัส สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 83 พรรษา ในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระธีรญาณมุนี ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ยากไร้และขาดโอกาสเข้าถึงยา ให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย[13]นอกจากนี้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังมีตำแหน่งพิเศษหลักๆ ดังนี้
- เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เป็นประธานกรรมการอำนวยการวัดพุทธดัลลัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
- เป็นผู้อุปถัมภ์โครงการเพชรยอดมงกุฎ
- เป็นประธานกรรมการบริหาร สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
อ้างอิง
- ↑ "เสนอแต่งตั้ง พระพรหมเมธี ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส" (PDF). มหาเถรสมาคม. 9 เมษายน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 9/2564". มหาเถรสมาคม. 9 เมษายน พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "กรรมการมหาเถรสมาคม". มหาเถรสมาคม. 25 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คณะผู้บริหาร สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง". สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 268. ISBN 974-417-530-3
- ↑ "เสนอแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (เพิ่มเติม)" (PDF). มหาเถรสมาคม. 20 มกราคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๘, ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๔, หน้า ๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๖, ตอนที่ ๒๑๗ ฉบับพิเศษ, ๘ ธันวาคม ๒๕๓๒, หน้า ๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๗, หน้า ๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๒, ตอนพิเศษ ๔๘ ง, ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๘, หน้า ๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๗, ตอนที่ ๒๘ ข, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๓,หน้า ๑๐-๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๘,ตอนที่ ๙ ข, ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔,หน้า ๕
- ↑ ตั้งกองทุนช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจ, [1]
ก่อนหน้า | สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) | ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) |
ดำรงตำแหน่งอยู่ | ||
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) | สมเด็จพระธีรญาณมุนี (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) |
ดำรงตำแหน่งอยู่ |