สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (87 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 3 ประโยค นักธรรมชั้นเอก พุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ด) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | 3 เมษายน พ.ศ. 2491 |
อุปสมบท | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 |
พรรษา | 66 |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ฝ่ายศาสนศึกษา) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ประธานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อดีตเจ้าอาวาสวัดยานนาวา |
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นามเดิมชื่อ ประสิทธิ์ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น ปสฤทธ์) สุทธิพันธุ์ ฉายา เขมงฺกโร (เกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ฝ่ายศาสนศึกษา), ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม, ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, ประธานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.), กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี และอดีตเจ้าอาวาสวัดยานนาวา
ชาติภูมิ
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ สุทธิพันธุ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปสฤทธ์)[1]เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ที่บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ ขุนก่อเอ้อุกฤษ (ผา สุทธิพันธุ์) มารดาชื่อ นางก่อเอ้อุกฤษ (ตา สุทธิพันธุ์)
บรรพชา อุปสมบท
วันที่ 3 เมษายน 2491 บรรพชา ที่ วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระครูพินิฐศีลคุณ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์
วันที่ 20 กรกฎาคม 2501 อุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยกิจโกศล (อิน ติสฺสสโร ป.ธ.๖) (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชปัญญามุนี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระมหาบุญมา ทีปธมฺโม ป.ธ.6 (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระพุทธิวงศมุนี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมงฺกโร
การศึกษา/วิทยาฐานะ
แผนกธรรม-บาลี
- พ.ศ. 2491 สอบนักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2492 สอบนักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2497 สอบนักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2501 สอบประโยค ป.ธ.3 สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2503 จบชั้นบาลีอบรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร วิทยฐานะพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา
แผนกสามัญศึกษา
- พ.ศ. 2491 จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาล (พรหมพิทยา) บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
การปกครองคณะสงฆ์
- พระอุปัชฌาย์ประเภทวิสามัญ (สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. 2527
- กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์การบริหารสูงสุดของคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย (สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. 2544
- เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร (สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. 2564
- ผู้รักษาการแทนเจ้าวัดยานนาวา (พระอารามหลวง) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564
- ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2557
- ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ พ.ศ. 2562
- ประธานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) พ.ศ. 2562
- ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ฝ่ายศาสนศึกษา)
- เป็นประจำกองงานเจ้าคณะตรวจการภาค 3 (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย) พ.ศ. 2521 – 2510
- เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนเหนือของประเทศไทย พ.ศ. 2508 – 2510
- เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ. 2510 – 2530
- เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร พ.ศ. 2516 – 2544
งานการศึกษา
- พ.ศ. 2516 เป็นผู้ช่วยเจ้าสำนักเรียนวัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2544 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
- องค์อุปถัมภ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมวชิรญาณ
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
- ประธานกรรมการอุปถัมภ์ “สำนักเรียนและสำนักปฏิบัติธรรม” วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
การเผยแผ่
- เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๑ วัดยานนาวา
- ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
- ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดธัมมาราม นครชิคาโก และเป็นเจ้าอาวาสวัดธัมมาราม รูปแรก
- เป็นคณะผู้ก่อตั้งสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาฯ และได้รับเลือกให้เป็นประธานสมัชชาฯ รูปแรก (ติดต่อกัน ๖ สมัย)
- ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดพุทธาวาส นครฮิวสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และเป็น เจ้าอาวาสรูปแรก
- ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดพุทธรังษี นครไมอามี่ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
- เป็นประธานโครงการสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน และศูนย์วัฒนธรรมอเมริกัน-ไทย ณ นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60ปี พ.ศ. 2549 และเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม
ตำแหน่งหน้าที่พิเศษ
- ประธานกรรมการอุปถัมภ์ “สำนักเรียนและสำนักปฏิบัติธรรม” วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ประธานกรรมการ “มูลนิธิพระพุทธโลกนาถสุโขทัย” วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- กรรมการร่างหลักสูตรอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย (โดยสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการ่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการในนามของคณะสงฆ์ไทย)
- ประธานที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ประธานที่ปรึกษากองทุน “เทพประสิทธิ์” เพื่อโครงการส่งเสริมศิลปาชีพใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดการศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับ
- เยาวชนไทยในต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ
- กรรมการอุปถัมภ์โครงการอบรมพระธรรมทูต สายต่างประเทศ
- ที่ปรึกษามูลนิธิกาญจนบารมี ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- ประธานที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช
- ประธานโครงการโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
- ประธานกรรมการโครงการพัฒนาการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ และการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม วัดยานนาวา เฉลิมพระเกียรติฯ
- ประธานมูลนิธิโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
- ประธานมูลนิธิพระรัตนตรัย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- รองประธานสภาธรรมกถึกแห่งคณะสงฆ์ไทย เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- ที่ปรึกษาสมาคมความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
- กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดอุบลราชธานี
- ที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย
- ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2548
- ประธานกรรมการอำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ (WBTV)
เกียรติคุณที่ได้รับ
เกียรติคุณที่ได้รับในประเทศ
- พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรและเกียรติบัตร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่าง ประเทศ ในวันวิสาขบูชา 2535
- พ.ศ. 2538 ได้รับ ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ (พธ.ด.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ 7 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2543 ได้รับ ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาศาสตร์ (ค.ด.) โดยสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี(อนุมัติปริญญาประจำปีการศึกษา 2542) (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระราชานุเคราะห์ การจัดพิธีถวายปริญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อ 19 มิถุนายน 2543)
- พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาศาสตร์ (ปร.ด.) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 22ธันวาคม 2543
- พ.ศ. 2550 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา (ศศ.ด.) จากมหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร
เกียรติคุณที่ได้รับในต่างประเทศ
- พ.ศ. 2529 ได้รับโล่ห์เกียรติคุณDistinguished Award สังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย จาก The Board Of Directors Of Asian Human Service Of Chicago
- พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติบัตรยกย่องให้ เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งมหานครชิคาโก มีศักดิ์และสิทธิในด้านการเผยแผ่ศาสนาประเพณี และวัฒนธรรมไทยอันดีงาม ในมหานครชิคาโกและมลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา จากมหานครชิคาโก (City Of Chicago) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม
- พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความขอบคุณจาก Richard M. Daleyนายก เทศมนตรีมหานครชิคาโก ที่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ ต่อชุมชนชาวเอเชีย และชาวอเมริกันในมหานครชิคาโก พร้อมกับได้ให้เกียรตินำเกียรติบัตรดังกล่าวมามอบ ที่วัดธัมมาราม อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม
- พ.ศ. 2534 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องเชิดชูจาก Mr.Paul Simon วุฒิสมาชิกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2540 ได้รับเกียรติบัตรจาก Richard M. Daley นายกเทศมนตรีมหานครชิคาโก ลงวันที่ 24 พฤษภาคม * 2540 ประกาศยกย่องให้ วันที่ 24พฤษภาคมทุกปี (ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระพรหมวชิรญาณ) เป็น “วันเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในมหานครชิคาโก สหรัฐอเมริกา”
- พ.ศ. 2542 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องชมเชยจาก George H.Ryan ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการ
เผยแผ่ศาสนาและสงเคราะห์ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ 13 กันยายนซึ่งเกียรติคุณตามความในข้อ 10.2 ที่ พระพรหมวชิรญาณ ได้รับ ตั้งแต่ปี 2529เป็นต้นมานั้นเป็นเกียรติคุณที่พระสงฆ์ไทยและคนไทยคนแรกได้รับจากสถาบันและบุคคลสำคัญดังกล่าว
- พ.ศ. 2549 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Doctor of Philosophy in Social Science, New Port University U.S.A.,
สมณศักดิ์
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ธีร์ ปุณณโก) ให้ดำรงสมณศักดิ์ฐานานุกรมฐานานุศักดิ์ ในราชทินนามที่ พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ให้ดำรงสมณศักดิ์ฐานานุกรมฐานานุศักดิ์ในราชทินนามที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระสุธีรัตนาภรณ์,(สป.)[2]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชรัตนาภรณ์ บวรธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพประสิทธิมนต์ วิเทศธรรมโกศล ญาณโสภณวิจิตร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมวาที ศรีวิเทศธรรมโกศล วิมลสาธุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2544 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลศาสนกิจสิทธิปริณายก ธรรมวิเทศดิลกสุทธิกวีปาพจนโสภณ วิมลสีลาจารวินิฐ ราชวิสิฐวชิราลงกรณ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ดิลกธรรมวิเทศโกศล วิมลปาพจนกวีวราลังการ ไพศาลอรรถธรรมานุสิฐ พิพิธกิจจานุกิจสาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[7]
อ้างอิง
- พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร). ทำเนียบพระราชาคณะ ฉบับสมบูรณ์ พุทธศักราช 2557. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด, 2557. 344 หน้า. หน้า 75. ISBN 978-616-11-2142-6
- ↑ มงคลข่าวสด (20 พฤษภาคม 2561). "อายุวัฒนมงคล 81 ปี พระพรหมวชิรญาณ". สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ เป็น พระสุธีรัตนาภรณ์) เล่ม 90, ตอนที่ 177, 28 ธันวาคม 2516, ฉบับพิเศษ หน้า 8.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระสุธีรัตนาภรณ์ เป็น พระราชรัตนาภรณ์) เล่ม 102, ตอนที่ 17, 8 กุมภาพันธ์ 2528, ฉบับพิเศษ หน้า 2.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระราชรัตนาภรณ์ เป็น พระเทพประสิทธิมนต์) เล่ม 109, ตอนที่ 101, 12 สิงหาคม 2535, ฉบับพิเศษ หน้า 3.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระเทพประสิทธิมนต์ เป็น พระธรรมวชิรญาณ) เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 28 ธันวาคม 2543, หน้า 22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ (พระธรรมวชิรญาณ เป็น พระพรหมวชิรญาณ) เล่ม 118, ตอนที่ 24 ข, 7 ธันวาคม 2544, หน้า 19-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมศักดิ์ (พระพรหมวิชรญาณ เป็น สมเด็จพระมหาธีราจารย์)เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 4.
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระธรรมรัตนากร (สีนวล ปญฺญาวชิโร) |
เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน) |
ยังดำรงตำแหน่ง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมเด็จพระมหาธีราจารย์
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- เปรียญธรรม 3 ประโยค
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- ผู้ได้รับประทานโล่รางวัลเสาอโศก
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสยาม
- บุคคลจากอำเภอเขื่องใน