สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี (มนตรี คณิสฺสโร)
สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี (มนตรี คณิสฺสโร) | |
---|---|
ไฟล์:สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี0001.jpg | |
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 (83 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 5 ประโยค ศน.บ., M.A. |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเครือวัลย์วรวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 28 มีนาคม พ.ศ. 2504 |
พรรษา | 63 |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต) รองแม่กองธรรมสนามหลวง เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร |
สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี นามเดิม มนตรี บุญถม ฉายา คณิสฺสโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคม[1] ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต) รองแม่กองธรรมสนามหลวง และเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร
ชาติภูมิ
สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนีย์ มีนามเดิมว่า มนตรี บุญถม เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 ณ บ้านเลขที่ 36 หมู่ 4 ตำบลโคกสลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
บรรพชาและอุปสมบท
บรรพชา
สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ที่พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท
สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2504 ณ ที่พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ต่อมาได้รับพระมหากรุณาโปรดสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระธรรมสิริวัฒน์ (ทองคำ กมฺพุวณฺโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
วิทยฐานะ
วิทยฐานะสายสามัญ
- พ.ศ. 2516 สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2518 สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยพนารัสฮินดู ประเทศอินเดีย
วิทยฐานะพระปริยัติธรรม
- พ.ศ. 2501 สอบประโยค ป.ธ.5 ได้ สำนักเรียนวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์
- พ.ศ. 2515 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2545 รองเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2552 เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ วรวิหาร กรุงเทพมหานคร[2]
- พ.ศ. 2553 กรรมการมหาเถรสมาคม[3], เจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต)[4]
- 9 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต)[5]
สมณศักดิ์
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูวินยาภิวุฒิ
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิริรัตนสุธี[6]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี ศรีธรรมวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกวี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกประสาธนกิจ ยติคิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ สุนทรธรรมภาณี ตรีปิกวจนาลังการ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมวิสุทธาจารย์ วาสนภิธานวรางกูร วิบูลสีลาจารวัตรวิมล โสภณปริยัติดิลก ตรีปิฎกคุณาภรณ์ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10][11]
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี ศรีวาสนภิธานวรางกูร วิบูลสีลสมาจารโสภณ โกศลวรกิจจานุกิจ วิจิตรธรรมกถาสาธก ตรีปิฎกคุณาภรณ์ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี"[12]
อ้างอิง
- สนติ์ แสวงบุญ และ สมบูรณ์ บุญครอบ. ทำเนียบสมณศักดิ์. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556. หน้า 122.
- พระธรรมคุณาภรณ์ (พิมพ์ ญาณวีโร). ทำเนียบพระราชาคณะ ฉบับสมบูรณ์ พุทธศักราช 2556. กาญจนบุรี : ธรรมเมธี - สหายพัฒนาการพิมพ์, 2556. หน้า 340. ISBN 978-616-348-356-0
- ↑ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม, แผนผังการมหาเถรสมาคม เก็บถาวร 2014-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 5/2548 สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 : มติที่ 99/2548 เรื่อง แต่งตั้ง พระธรรมวราภรณ์ ให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-02-28.
- ↑ มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 4/2553 สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 : มติที่ 96/2553 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม
- ↑ มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 23/2553 สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม วันที่ 11 ตุลาคม 2553 : มติที่ 499/2553 เรื่อง เสนอแต่งตั้งเจ้าคณะภาคของคณะสงฆ์คณะธรรมยุต
- ↑ "สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 9/2564". สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. 28 เมษายน 2564. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระครูวินยาภิวุฒิ เป็น พระสิริรัตนสุธี), เล่ม 99, ตอนที่ 184, 17 ธันวาคม พ.ศ. 2525, ฉบับพิเศษ หน้า 3.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระสิริรัตนสุธี เป็น พระราชกวี), เล่ม 109, ตอนที่ 155, 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535, หน้า 11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระราชกวี เป็น พระเทพกวี), เล่ม 115, ตอนที่ 24 ข, 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541, หน้า 5.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระเทพกวี เป็น พระธรรมวราภรณ์), เล่ม 121, ตอนที่ 25 ข, 24 ธันวาคม พ.ศ. 2547, หน้า 4.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ (พระธรรมวราภรณ์ เป็น พระพรหมวิสุทธาจารย์), เล่ม 130, ตอนที่ 29 ข, 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556, หน้า 1.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ (พระธรรมวราภรณ์ เป็น พระพรหมวิสุทธาจารย์), เล่ม 131, ตอนที่ 2 ข, 21 มกราคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-3.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 139, ตอนที่ 48 ข, 15 พฤศจิกายน 2565, หน้า 1
แหล่งข้อมูลอื่น
ก่อนหน้า | สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี (มนตรี คณิสฺสโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระธรรมดิลก (สุบิน เขมิโย) ป.ธ.9 | เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ วรวิหาร (10 มกราคม พ.ศ. 2548 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (รักษาการ) 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) |
ดำรงตำแหน่งอยู่ |