ข้ามไปเนื้อหา

เทวสถานปรางค์แขก

พิกัด: 14°48′08″N 100°36′42″E / 14.8022891°N 100.6116772°E / 14.8022891; 100.6116772
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
เทวสถานปรางค์แขก

เทวสถานปรางค์แขก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปรางค์แขก เป็นโบราณสถานอยู่ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถือเป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี[1] ปัจจุบันตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนบริเวณแยกถนนวิชาเยนทร์กับถนนสุระสงครามหน้าศาลแขวงลพบุรี ซึ่งมีตึกแถวรายรอบ คลาคล่ำด้วยผู้คนและยวดยาน[2]

ประวัติ

[แก้]

ในยุคปัจจุบันนักวิชาการบางท่านได้สันนิษฐานว่าปรางค์แขกถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15[3] บ้างก็ว่าสร้างตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16[4] มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2[5] ที่นี่จึงเป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี[1] และภาคกลาง[5][6]

ทั้งนี้มิทราบว่าใครเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างปรางค์แขก โดยอาจสร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ หรือสร้างจากการอุปถัมภ์ของผู้นำท้องถิ่น[6]

องค์ประกอบ

[แก้]

ตัวเทวสถานประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 องค์ เรียงตัวกันในแนวเหนือใต้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามธรรมเนียมที่พบในกัมพูชา[6] องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ[1] มีประตูทางเข้าเพียงประตูเดียวในแต่ละปรางค์ ส่วนอีกสามประตูเป็นประตูหลอก และไม่มีฉนวนเชื่อมดังพระปรางค์สามยอด แต่เดิมก่อด้วยอิฐไม่สอปูนและคาดว่าคงพังทลายลง ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงมีการปฏิสังขรณ์ปรางค์ทั้งสามองค์ขึ้นใหม่ในรูปแบบถืออิฐสอปูนแต่ละก้อนเชื่อมด้วยยางไม้ และสร้างอาคารอีกสองหลังขึ้นเพิ่มเติม[1] โดยอาคารแรกเป็นวิหารทางด้านหน้า ส่วนอาคารอีกหลังทางทิศใต้สร้างเป็นถังเก็บน้ำประปา และอาคารทั้งสองเป็นศิลปะไทยผสมยุโรปตามพระราชนิยม โดยประตูทางเข้ามีลักษณะโค้งแหลม ต่อมาเมื่อเทวสถานปรางค์แขกชำรุดทรุดโทรมลง กรมศิลปากรจึงเข้าไปทำการบูรณะเพิ่มเติมและเทคอนกรีตเสริมฐานราก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ผศ. (พฤศจิกายน 2548), ปราสาทขอมในดินแดนไทย ความเป็นมาและข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ (พิมพ์ครั้งแรก), กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 97, ISBN 974-02-0191-1
  2. สุดารา สุจฉายา, บรรณาธิการ (2542), ลพบุรี, กรุงเทพฯ: สารคดี, หน้า 250–251, ISBN 974-8211-75-4
  3. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ผศ. (กันยายน 2551), ปราสาทขอมในดินแดนไทย ความเป็นมาและข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 96, ISBN 978-974-02-0191-5
  4. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า (2547), ศิลปะสมัยลพบุรี (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า 8, ISBN 974-641-063-6, "พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล 29 มิถุนายน 2547"
  5. 5.0 5.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ (2549), "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน?, กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 345, ISBN 974-323-754-2
  6. 6.0 6.1 6.2 รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ผศ. และ ศานติ ภักดีคำ, ผศ. (2557), ศิลปะเขมร, กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 172–3, ISBN 978-974-02-1324-6

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


14°48′08″N 100°36′42″E / 14.8022891°N 100.6116772°E / 14.8022891; 100.6116772