ข้ามไปเนื้อหา

อรุณ บุญชม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮัจญี
อรุณ บุญชม
คนที่ 19
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มกราคม พ.ศ. 2567
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าอาศิส พิทักษ์คุมพล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มีนาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร[1] (ปัจจุบันคือเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร)
เชื้อชาติไทย
ศาสนาอิสลาม
บุพการี
  • ฮูเซ็น บุญชม (บิดา)
  • อาซียะห์ บุญชม (มารดา)

อรุณ บุญชม (เกิด 11 มีนาคม พ.ศ. 2492) หรือศาสนนามว่า มุฮัมมัดญะลาลุดดีน บิน ฮูเซ็น[1] (อาหรับ: محمد جلال الدين بن حسين) เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย ประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี อดีตประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร

ประวัติ

อรุณเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2492 ณ บ้านสามอิน ตำบลคลองตัน อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร[1] (ปัจจุบันคือแขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร) บิดาชื่อเซ็น บุญชม หรือ ฮัจยีฮูเซ็น บุญชม มารดาชื่อถม บุญชม หรือฮัจยะห์อาซียะห์ เป็นสัปบุรษมัสยิดฮิดายาตุ้ลอิสลาม เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร[2] จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอัลฮะดีษและอิสลามศึกษา จากมหาวิทยาลัยมะดีนะฮ์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[3]

มัซฮับ

ท่านอาจารย์อรุณนั้น เป็นชาฟิอียะฮ์ (ผู้ยึดมัซฮับชาฟิอี) แบบแท้[ต้องการอ้างอิง] จากการแปลตำราอัลฟิกฮุลมันฮะญีย์ อันเป็นตำราฟิกฮ์ของมัซฮับชาฟิอีที่ประพันธ์โดย บรรดาฟะกีฮ์แห่งมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร[4]

การทำงาน

นายอรุณเคยทำงานเป็นอาจารย์สอนอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับระดับซานาวีย์ ที่โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์ (บ้านดอน) รวมถึงเป็นวิทยากรบรรยายศาสนธรรมให้แก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ

นอกจากนี้ ก่อนการดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนนตรี นายอรุณเคยดำรงตำแหน่งเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน (สุเหร่าบ้านดอน) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร, ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร, รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย, ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี และอีกหลายตำแหน่ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่แปลหนังสือฮะดีษซอเฮียะฮ์ (จริยวัตรท่านศาสดา) 9 เล่ม, แปลหนังสือริยาดุซซอลิฮัน (จริยธรรมอิสลาม) 7 เล่ม และแปลหนังสืออัลฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) 7 เล่ม[3]

จุฬาราชมนตรี

ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กระทรวงมหาดไทยได้จัดการประชุมสรรหาและให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แทนที่อาศิส พิทักษ์คุมพล ที่ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม โดยมี ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม ซึ่งในครั้งนี้ มีผู้ได้รับเสนอชื่อจำนวน 3 คน และผลการลงคะแนน เป็นดังนี้

ผลการเลือกจุฬาราชมนตรี คนที่ 19
หมายเลข ชื่อ ตำแหน่ง คะแนนเสียง
1 ประสาน ศรีเจริญ รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี 129
2 อรุณ บุญชม ประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร 471
3 วิสุทธิ์ บินล่าเต๊ะ อิหม่ามประจำมัสยิดบ้านเหนือจังหวัดสงขลา 115

ดังนั้น จากมติที่ประชุม จึงทำให้นายอรุณดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 19[5] โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567[6]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ขับเคลื่อน กอ. กทม (PDF). วารสารมุสลิมบางกอก. มกราคม–กุมภาพันธ์ 2567. p. 4.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  2. อินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูน (PDF). หนังสือพิมพ์มุสลิม กทม. นิวส์. 16 ตุลาคม 2558. p. 3.
  3. 3.0 3.1 "เปิดประวัติ "อรุณ บุญชม" จุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย". สนุก.คอม. 22 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "كتاب الفقه المنهجي على مذهب الإمام الشافعي - المكتبة الشاملة". shamela.ws.
  5. "เคาะแล้ว! "อรุณ บุญชม" ขึ้นดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี คนที่ 19 ของประเทศไท". สนุก.คอม. 22 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งจุฬาราชมนตรี [นายอรุณ บุญชม]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 141 (พิเศษ 23 ง): 10. 24 มกราคม 2024.