ข้ามไปเนื้อหา

เพนโทบาร์บิทอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
เพนโทบาร์บิทอล
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าNembutal
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682416
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: C
  • US: D (มีความเสี่ยง)
ช่องทางการรับยาBy mouth, IV, IM, rectal; also intraperitoneal & intracardiac (for animal euthanasia)
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล70–90% (ทางปาก); 90% (ทางทวาร)
การจับกับโปรตีน20–45%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ15–48 ชั่วโมง
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • 5-Ethyl-5-(1-methylbutyl)-2,4,6(1H,3H,5H)-pyrimidinetrione
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.895
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC11H18N2O3
มวลต่อโมล226.27 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C1NC(=O)NC(=O)C1(C(C)CCC)CC
  • InChI=1S/C11H18N2O3/c1-4-6-7(3)11(5-2)8(14)12-10(16)13-9(11)15/h7H,4-6H2,1-3H3,(H2,12,13,14,15,16) checkY
  • Key:WEXRUCMBJFQVBZ-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เพนโทบาร์บิทอล (อังกฤษ: Pentobarbital ใช้โดย INN, AAN, BAN, USAN) หรือ เพนโตบาร์บิโทน (อังกฤษ: Pentobarbitone ชื่อเดิมใช้โดย AAN และ BAN) เป็นบาร์บิเชอริตที่ออกฤทธิ์สั้น เพนโทบาร์บิทอลสามารถอยู่ในรูปแบบของกรดอิสระหรือเกลือของธาติ เช่น โซเดียมและแคลเซียม กรดอิสระละลายเพียงเล็กน้อยในน้ำและเอทานอล[1][2]

เนมบูทอล (อังกฤษ: Nembutal) เป็นยี่ห้อหนึ่งของยาชนิดนี้ ชื่อตั้งโดย John S. Lundy ผู้เริ่มใช้ใน ค.ศ. 1930 โดยตั้งจากสูตรโครงสร้างของเกลือโซเดียม — Na (โซเดียม) + ethyl + methyl + butyl + al (ปัจจัยสามัญสำหรับบาร์บิเชอริต)[3] เนมบูทอลถูกจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและผลิตโดยบริษัทเภสัชภัณฑ์ของเดนมาร์กชื่อว่า Lundbeck (ตอนนี้ผลิตโดย Akorn pharmaceuticals) และเป็นเพนโทบาร์บิทอลแบบฉีดชนิดเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ขายในสหรัฐอเมริกา[4]

ในปริมาณมากเพนโทบาร์บิทอลหยุดการหายใจและทำให้เสียชีวิต ในสหรัฐมีการใช้ยาเพื่อประหารชีวิตนักโทษ ทว่าบริษัทอย่าง Lundbeck (หนึ่งในผู้ผลิต) ไม่อนุญาตให้ขายยาแก่เรือนจำหรือกรมราชทัณฑ์เพื่อการประหารชีวิต[5]

การใช้

[แก้]

ทางการแพทย์

[แก้]

เพนโทบาร์บิทอลมักถูกใช้เป็นยาระงับประสาท, ยานอนหลับระยะสั้น, ยาก่อนยาสลบ และใช้เพื่อควบคุมอาการชักในสถานการณ์ฉุกเฉิน[6]

นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นยาระงับความรู้สึกสำหรับสัตว์[7]

เพนโทบาร์บิทอลยังใช้เพื่อลดแรงกดดันภายในกะโหลกสำหรับคนไข้ที่มีกลุ่มอาการเรย์, อาการบาดเจ็บทางสมอง และทำให้คนไข้ซึ่งมีอาการสมองขาดเลือดเฉพาะที่อยู่ในอาการโคม่า อาการโคม่านำโดยเพนโทบาร์บิทอลถูกใช้กับคนไข้ที่อยู่ในภาวะตับวายเฉียบพลันซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยแมนนิทอล[8]

เพนโทบาร์บิทอลสามารถทำให้เสียชีวิตหากใช้ในปริมาณมาก จึงมีการใช้ยาเพื่อการุณยฆาตทั้งในมนุษย์และสัตว์ โดยอาจใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับสารอื่น เช่น เฟนิโทอิน

ปริมาณยาเพนโทบาร์บิทอลซึ่งใช้ในแพทยานุเคราะหฆาตในสหรัฐรวมทั้งรัฐออริกอน, วอร์ชิงตัน, เวอร์มอนต์ และแคลิฟอร์เนียร์ (ข้อมูล ณ มกราคม พ.ศ. 2559) อยู่ที่ 10 กรัม ในรูปของเหลว[9][10] เป็นปริมาณที่มากกว่าการใช้เพื่อควบคุมภาวะชักต่อเนื่อง[11]

การประหารชีวิต

[แก้]

มีการใช้เพนโทบาร์บิทอลเพื่อประหารชีวิตนักโทษในสหรัฐเมื่อยาที่ใช้ปกติขาดตลาด[12] อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้เพื่อประหารชีวิตผิดกฎหมายในประเทศเดนมาร์ก หลังการต่อต้านอย่างรุนแรงโดยสื่อประเทศเดนมาร์ก ทำให้ Lundbeck เจ้าของยา ต้องหยุดการขายให้รัฐในสหรัฐที่มีโทษประหารชีวิต ผู้จัดจำหน่ายยาในสหรัฐถูกสั่งห้ามไม่ให้ขายให้กับลูกค้าที่ปฏิบัติหรือมีส่วนร่วมในการประหารชีวิตมนุษย์[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pentobarbital Compound summary (CID4737)". Pubchem. NCBI.
  2. "FR1972_08_25_17226" (PDF). Food and Drug Administration. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Fosburgh LC (1997). "From this point in time: Some memories of my part in the history of anesthesia--John S. Lundy, MD". AANA Journal. 65 (4): 323–328. PMID 9281913.
  4. Jolly, David (1 Jul 2011). "Danish Company Blocks Sale of Drug for U.S. Executions". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 Nov 2013.
  5. "Ohio says it will switch to new drugs for executions". Reuters. Oct 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
  6. "NEMBUTAL SODIUM (pentobarbital sodium) injection, solution". DailyMed, National Institutes of Health.
  7. "International". Drugs.com.
  8. Stravitz RT, Kramer AH, Davern T, Shaikh AO, Caldwell SH, Mehta RL, Blei AT, Fontana RJ, McGuire BM, Rossaro L, Smith AD, Lee WM (2007). "Intensive care of patients with acute liver failure: Recommendations of the U.S. Acute Liver Failure Study Group". Critical Care Medicine. 35 (11): 2498–2508. doi:10.1097/01.CCM.0000287592.94554.5F. PMID 17901832.
  9. Jennifer Fass; Andrea Fass (2011). "Physician-assisted Suicide: Ongoing Challenges for Pharmacists". Am J Health Syst Pharm. 68 (9): 846–849. doi:10.2146/ajhp100333. PMID 21515870.
  10. Philip Nitschke; Fiona Stewart (2006). The Peaceful Pill Handbook. Exit International US Ltd. p. 137. ISBN 0978878809.
  11. Lexi-Comp Inc. (2010) Lexi-Comp Drug Information Handbook 19th North American Ed. Hudson, OH: Lexi-Comp Inc. ISBN 978-1-59195-278-7.[ต้องการเลขหน้า]
  12. "States urge feds to help import lethal injection drugs". CNN. May 21, 2012.
  13. "The Hidden Hand Squeezing Texas' Supply of Execution Drugs". Time. 7 August 2013.