ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565

← พ.ศ. 2563 25 กันยายน พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2569 →
ลงทะเบียน1,042,552
ผู้ใช้สิทธิ576,017
(55.25%; ลดลง 2.17%)
 
ผู้สมัคร เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ จุรีพร สินธุไพร รัชนี พลซื่อ
พรรค เพื่อไทย อิสระ อิสระ
คะแนนเสียง 301,187 126,649 116,027
% 54.84 23.06 21.13

แผนที่แสดงผลการเลือกตั้ง โดยแสดงผลเฉพาะผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละอำเภอ

นายก อบจ. ร้อยเอ็ดก่อนการเลือกตั้ง

เอกภาพ พลซื่อ
อิสระ

ว่าที่นายก อบจ. ร้อยเอ็ด

เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
เพื่อไทย

ปฏิทินการเลือกตั้ง
25 ก.พ.กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายเอกภาพ พลซื่อ
5 ส.ค.ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง นายเอกภาพ พลซื่อ
5 ส.ค.กกต. สั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ใหม่
17 ส.คกต. อบจ. ร้อยเอ็ด ประกาศให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ใหม่
22 – 26 ส.ควันรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง
2 ก.ย.ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
25 ก.ย.วันเลือกตั้ง

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565 จัดขึ้นในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 5 สืบเนื่องจากการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครและสิทธิรับเลือกตั้งของ เอกภาพ พลซื่อ ดำรงตำแหน่งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ขณะนั้น ด้วยข้อหาปราศรัยใส่ร้ายผู้สมัครคู่แข่งด้วยความเท็จ จึงทำให้ตำแหน่งนายก อบจ. ของเอกภาพเป็นอันสิ้นสุดลง

มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ รัชนี พลซื่อ ภรรยาของเอกภาพ พลซื่อ ไม่สังกัดพรรค, เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย, โยทกา โคตุระพันธ์ ไม่สังกัดพรรค, และ จุรีพร สินธุไพร ผู้เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในสมัยของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สังกัดพรรค

แม้จะเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง สื่อหลายสำนักมีการวิเคราะห์ขยายผลไปยังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งถัดไป ประกอบกับการปรากฏตัวของบุคคลสำคัญจากพรรคเพื่อไทยในเวทีปราศัยหลายแห่ง อาทิ แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, จาตุรนต์ ฉายแสง และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำพรรคเพื่อไทย และการชูสโลแกน "ร้อยเอ็ดแลนด์สไลด์"[1]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย ได้อันดับที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 301,187 มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด[2][3]

ที่มา

[แก้]

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครและสิทธิรับเลือกตั้งของ เอกภาพ พลซื่อ นายก อบจ. ร้อยเอ็ด ขณะนั้น เป็นเวลา 10 ปี จากกรณีปราศรัยใส่ร้าย มังกร ยนต์ตระกูล ผู้สมัครนายก อบจ. หมายเลข 3 กลุ่มเพื่อไทยร้อยเอ็ด ถือว่าเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562[4] มาตรา 65 "ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้... (5) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครใด..."[5] จึงทำให้ตำแหน่งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ของเอกภาพเป็นอันสิ้นสุดลง

ต่อมาวันที่ 17 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดประกาศให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 108 วรรคสอง โดยกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 ระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ผู้สมัคร

[แก้]

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดครั้งนี้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ หมายเลข 1 รัชนี พลซื่อ[6] ผู้สมัครอิสระ เป็นภรรยาของเอกภาพ พลซื่อ รัชนีเป็นอดีตนายก อบจ. คนแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2547-2551) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2552–2554), หมายเลข 2 เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์[6] ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ร้อยเอ็ด 5 สมัย, หมายเลข 3 โยทกา โคตุระพันธ์[6] ผู้สมัครอิสระ, และหมายเลข 4 จุรีพร สินธุไพร[6] ผู้สมัครอิสระ อดีตข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในสมัยของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกทั้งเคยเป็นแกนนำคนสำคัญของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ของเมืองพัทยา[7][8][9]

หมายเลข สังกัด รายนามผู้สมัคร ตำแหน่ง/อาชีพ
1 อิสระ รัชนี พลซื่อ
2 พรรคเพื่อไทย เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัย (2535–2557)
3 อิสระ โยทกา โคตุระพันธ์
4 อิสระ จุรีพร สินธุไพร

ผู้สนับสนุน

[แก้]
รัชนี พลซื่อ[7][8]
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์[7][8]
  • แพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมพรรคเพื่อไทย หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย
  • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ และอดีตแกนนำ นปช.
  • จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการ และอดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย
  • กลุ่มคนเสื้อแดงร้อยเอ็ด
จุรีพร สินธุไพร[7]

การรณรงค์เลือกตั้ง

[แก้]

การเลือกตั้ง

[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยคูหาเปิดเวลา 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 2,535 หน่วย[10]

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]
คะแนนเสียง
เศกสิทธิ์
  
54.84%
จุรีพร
  
23.06%
รัชนี
  
21.13%
โยทกา
  
0.97%
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ (2) 301,187 54.84
อิสระ จุรีพร สินธุไพร (4) 126,649 23.06
อิสระ รัชนี พลซื่อ (1) 116,027 21.13
อิสระ โยทกา โคตุระพันธ์ (3) 5,306 0.97
ผลรวม 549,169 100.00
บัตรดี 549,169 95.34
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 12,260 2.13
บัตรเสีย 14,588 2.53
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 576,017 55.25
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,042,552 100.00
ผลการเลือกตั้งปี 2563
  เอกภาพ พลซื่อ (อิสระ)
  มังกร ยนต์ตระกูล (กลุ่มเพื่อไทยร้อยเอ็ด)
ผลการเลือกตั้งปี 2565
  เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ (เพื่อไทย)
  รัชนี พลซื่อ (อิสระ)
ผู้สมัครจากสายเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นในทุกอำเภอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ฐานเสียงเดิม กลุ่มอำเภอฝั่งตอนกลาง (เช่น ธวัชบุรี เสลภูมิ) และฝั่งทิศใต้ (เช่น สุวรรณภูมิ เกษตรวิสัย พนมไพร หนองฮี) และการพลิกขึ้นมามีคะแนนนิยมเหนือผู้สมัครจากตระกูลพลซื่อในอำเภอเมือง อำเภอปทุมรัตน์ และกลุ่มอำเภอฝั่งทิศเหนือ (โพธิ์ชัย โพนทอง หนองพอก)

หมายเหตุ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แลนด์สไลด์ "อุ๊งอิ๊ง" อุ้ม "เศกสิทธิ์" คว้าชัยนายก อบจ.ร้อยเอ็ด". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-09-25.
  2. "ผลเลือกตั้งนายก อบจ.ร้อยเอ็ดอย่างเป็นทางการ"เศกสิทธิ์"ชนะแลนด์สไลด์". bangkokbiznews. 2022-09-26.
  3. Ltd.Thailand, VOICE TV (2022-09-26). "แบรนด์ 'เพื่อไทย' แลนด์สไลด์ 'ร้อยเอ็ด' ส่งสัญญาณไม่เอา 'ลุง' ตั้งธงกวาด ส.ส.ยกจังหวัด". VoiceTV.
  4. matichon (2022-08-05). "'เอกภาพ พลซื่อ' นายกอบจ.ร้อยเอ็ด โดนศาลสั่งตัดสิทธิ์เลือกตั้ง แห้วลงส.ส.พปชร". มติชนออนไลน์.
  5. ราชกิจจานุเบกษา (16 เมษายน 2019). "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด (2022-9-2) "ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้รับสมัครรับเลือกตั้งและไม่ได้รับสมัครรับเลือกตั้ง". www.pao-roiet.go.th/
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 คมชัดลึก (23 กันยายน 2022). "สามก๊กร้อยเอ็ด "เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์" แบกเดิมพันอุ๊งอิ๊ง สองหญิงสู้ไม่ถอย". KomChadLuekOnline. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 workpointTODAY | Co-writer (18 กันยายน 2022). "'แพทองธาร' หาเสียงโค้งสุดท้ายช่วยผู้สมัครนายกอบจ.ร้อยเอ็ด ก่อนเลือกตั้ง 25 ก.ย.นี้". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "ทิ้ง 3 ป. "จุรีพร สินธุไพร" ลุยศึกร้อยเอ็ด จับมือน้องชายค่ายสีส้ม". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-08-19.
  10. "การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น 24 - 25 กันยายน 2565 เชิญชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าคูหากากบาท". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ด. 23 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)


ก่อนหน้า การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565 ถัดไป
การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2563
การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2565

การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ครั้งถัดไป