ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอวิเชียรบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
อำเภอวิเชียรบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wichian Buri
คำขวัญ: 
ศาลนเรศวรรวมใจ ถิ่นไก่ย่างอร่อย
สุสานหอยล้านปี พุน้ำร้อนมีใต้ดิน
อุทยานหินโบราณ บ่อน้ำมันล้ำค่า
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอวิเชียรบุรี
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอวิเชียรบุรี
พิกัด: 15°39′26″N 101°6′24″E / 15.65722°N 101.10667°E / 15.65722; 101.10667
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,632.0 ตร.กม. (630.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด129,590 คน
 • ความหนาแน่น79.41 คน/ตร.กม. (205.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 67130
รหัสภูมิศาสตร์6705
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวิเชียรบุรี หมู่ที่ 13 ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 67130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วิเชียรบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อดีตเป็นอำเภอที่เคยมีอาณาเขตพื้นที่ขนาดใหญ่อีกหนึ่งอำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรีครอบคลุมพื้นที่อำเภอหนองไผ่[1][2] อำเภอบึงสามพัน อำเภอศรีเทพ[3][4]ในปัจจุบัน และเป็นต้นตำรับของ "ไก่ย่างวิเชียรบุรี" เป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ

งูแมวเซาที่ค้นพบในเขตอำเภอวิเชียรบุรี
บิ๊กซีวิเชียรบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอวิเชียรบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอวิเชียรบุรี เดิมชื่อว่า "เมืองท่าโรง" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองวิเชียรบุรี ฐานะเป็นเมืองตรี ได้รวบรวมเมืองชัยบาดาลและเมืองบัวชุม ขึ้นตรงต่อเมืองวิเชียรบุรี จนกระทั่งเมื่อตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยยกฐานะเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2441 ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอวิเชียรบุรีเป็นอำเภอท่าโรง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2487 จึงได้กลับมาใช้ชื่ออำเภอวิเชียรบุรีจนมาถึงทุกวันนี้ เมื่อนับถึงปีปัจจุบัน อำเภอวิเชียรบุรีได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอมาเป็นเวลารวม 123 ปี

  • วันที่ 3 พฤษภาคม 2474 ตั้งตำบลสระกรวด แยกออกจากตำบลนาตะกรุด และตำบลบ่อรัง[5]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลนาตะกรุด เป็น ตำบลศรีเทพ เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลวิเชียร เป็น ตำบลท่าโรง และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น อำเภอท่าโรง[6]
  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2487 เปลี่ยนชื่ออำเภอท่าโรง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น อำเภอวิเชียรบุรี[7]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลวิเชียรบุรี ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าโรง[8]
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2503 แยกพื้นที่ตำบลกองทูล ตำบลกันจุ และตำบลบ้านโภชน์ จากอำเภอวิเชียรบุรี ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองไผ่[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอวิเชียรบุรี
  • วันที่ 14 สิงหาคม 2504 โอนพื้นที่กิ่งอำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี ไปขึ้นกับ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์[2]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะกิ่งอำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี เป็น อำเภอหนองไผ่
  • วันที่ 1 กันยายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลสว่างวัฒนา ในท้องที่บางส่วนของตำบลสระกรวด[9]
  • วันที่ 17 มกราคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลพุเตย ในท้องที่บางส่วนของตำบลสระกรวด[10]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม 2510 ตั้งตำบลพุเตย แยกออกจากตำบลสระกรวด ตั้งตำบลสามแยก แยกออกจากตำบลท่าโรง[11]
  • วันที่ 2 เมษายน 2511 ตั้งตำบลโคกปรง แยกออกจากตำบลท่าโรง ตั้งตำบลสระประดู่และตำบลซับสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลสามแยก ตั้งตำบลพุขาม แยกออกจากตำบลพุเตย ตั้งตำบลโคกสะอาด แยกออกจากตำบลสระกรวด ตั้งตำบลคลองกระจัง แยกออกจากตำบลศรีเทพ และตำบลสระกรวด[12]
  • วันที่ 1 ธันวาคม 2513 แยกพื้นที่ตำบลศรีเทพ ตำบลสระกรวด ตำบลโคกสะอาด ตำบลคลองกระจัง และตำบลนาสนุ่น จากอำเภอวิเชียรบุรี ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีเทพ[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอวิเชียรบุรี
  • วันที่ 4 กันยายน 2516 ตั้งตำบลภูน้ำหยด แยกออกจากตำบลพุเตย[13]
  • วันที่ 8 กันยายน 2519 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี เป็น อำเภอศรีเทพ[4]
  • วันที่ 25 กันยายน 2527 ตั้งตำบลบึงกระจับ แยกออกจากตำบลโคกปรง[14]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2528 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลวิเชียรบุรี[15] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น ขยายครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสระประดู่ และบางส่วนของตำบลท่าโรง
  • วันที่ 5 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลวังใหญ่ แยกออกจากตำบลพุเตย[16]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลซับน้อย แยกออกจากตำบลซับสมบูรณ์ ตั้งตำบลยางสาว แยกออกจากตำบลน้ำร้อน[17]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลวิเชียรบุรี และสุขาภิบาลพุเตย เป็น เทศบาลตำบลวิเชียรบุรี และเทศบาลตำบลพุเตย ตามลำดับ[18] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 6 มิถุนายน 2550 จัดตั้งศาลจังหวัดวิเชียรบุรี[19] ในท้องที่ของอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ กำหนดให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอศรีเทพ และอำเภอหนองไผ่
  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2554 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลวิเชียรบุรี เป็น เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี[20]
  • วันที่ 3 มีนาคม 2559 แยกพื้นที่หมู่ 7 บ้านโคกปรง ตำบลโคกปรง มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 16 บ้านโคกปรง กับแยกพื้นที่หมู่ 8 บ้านโคกกรวด ตำบลยางสาว มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 17 บ้านโคกกรวดเหนือ กับแยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านโคกปรง ตำบลโคกปรง มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 17 บ้านโคกปรง[21]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอวิเชียรบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอวิเชียรบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล 192 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าโรง (Tha Rong) 18 หมู่บ้าน 8. พุขาม (Phu Kham) 10 หมู่บ้าน
2. สระประดู่ (Sa Pradu) 12 หมู่บ้าน 9. ภูน้ำหยด (Phu Nam Yot) 16 หมู่บ้าน
3. สามแยก (Sam Yaek) 10 หมู่บ้าน 10. ซับสมบูรณ์ (Sap Sombun) 10 หมู่บ้าน
4. โคกปรง (Khok Prong) 17 หมู่บ้าน 11. บึงกระจับ (Bueng Krachap) 10 หมู่บ้าน
5. น้ำร้อน (Nam Ron) 12 หมู่บ้าน 12. วังใหญ่ (Wang Yai) 10 หมู่บ้าน
6. บ่อรัง (Bo Rang) 22 หมู่บ้าน 13. ยางสาว (Yang Sao) 17 หมู่บ้าน
7. พุเตย (Phu Toei) 14 หมู่บ้าน 14. ซับน้อย (Sap Noi) 14 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอวิเชียรบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าโรงและตำบลสระประดู่
  • เทศบาลตำบลพุเตย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพุเตย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าโรง (นอกเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระประดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระประดู่ (นอกเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสามแยก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามแยกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกปรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำร้อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อรังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพุเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุเตย (นอกเขตเทศบาลตำบลพุเตย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพุขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุขามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูน้ำหยด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูน้ำหยดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับสมบูรณ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกระจับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกระจับทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางสาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซับน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับน้อยทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-09-14. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2503
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (73 ง): 940–942. วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2504
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (111 ง): 3374. วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2513
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-29. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2519
  5. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลสระกรวด ซึ่งแยกจากตำบลนาตะกรุด และตำบลบ่อรัง อำเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 52. วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2474
  6. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอท่าโรง จังหวัดเพชรบูรณ์ พุทธศักราช ๒๔๘๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (29 ก): 484–485. วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2487
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 59-60. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสว่างวัฒนา อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (83 ง): 2229–2230. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2507
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (5 ง): 135–136. วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2510
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (38 ง): 1407–1412. วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองไผ่ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (28 ง): 1013–1030. วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2511
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (112 ง): 2765–2772. วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2516
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (130 ง): 3375–3380. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2527
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 24-27. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2528
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวังโป่ง อำเภอชนแดน อำเภอวิเชียรบุรี กิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก และอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (162 ง): 5390–5402. วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (218 ง): 6138–6141. วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2529
  18. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-29 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  19. "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (26 ก): 11–12. วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 75 ง): 7. วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
  21. "ประกาศจังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (18 ง): 232–247. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559