ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:ข้อมูลกระทรวง

ความหมายอื่นของ ไอซีที ดูได้ที่ ไอซีที (แก้ความกำกวม)

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษ: Ministry of Information and Communication Technology - MICT) โดยมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "กระทรวงไอซีที"

ความเป็นมา

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สังคมยุคใหม่มีความต้องการใช้บริการด้านสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารธุรกิจและชีวิตประจำวัน รัฐบาลภายใต้การนำของ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตระหนักถึงความสำคัญ ของการนำพาประเทศไปสู่สังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย และสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาครัฐและเอกชน ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ

กระทรวงไอซีทีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การวางแผน ส่งเสริม และประสานงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับทุกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมไทย สู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ใน 4 ด้านต่อไปนี้

  • การพัฒนาบุคลกรด้านไอซีที
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร
  • การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
  • การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)

หน่วยงานในสังกัด

  • สำนักงานปลัดกระทรวง
  • สำนักงานรัฐมนตรี
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  • กรมอุตุนิยมวิทยา
  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
  • สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
  • บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ที่ตั้ง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งอยู่ เลขที่ 89/2 อาคาร 9 บมจ. ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ ฯ 10210

การปิดกั้นข่าวสาร

เนื่องจากเว็บที่เข้าข่ายผิดกฏหมายอาญาของประเทศไทยมีจำนวนมากและการนำเสนอสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและประชาชนไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงขอความร่วมมือจากภาคเอกชนและกทช. เพื่อพิจารณาปิดกั้นตามรายการที่กระทรวงแจ้ง

ประกาศจากไอซีที สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม


โครงการไซเบอร์คลีน เป็นโครงการที่ทางกระทรวงฯร่วมมือ ISP (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต)บางแห่ง การสื่อสาร [1] ในการให้บล็อคเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และร่วมกับเว็บมาสเตอร์ในการรับแจ้ง โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยกันยุติสิ่งไม่เหมาะสมบนเว็บไซต์ แต่ทั้งนี้เนื่องจากความร่วมมือในการบล็อคเว็บไซต์นั้นทำได้เฉพาะหากเข้าผ่านผู้ให้บริการเพียงบางรายเท่านั้น ทำให้เป็นการปิดกั้นข่าวสารแก่บางกลุ่ม ซึ่งได้รับการร้องเรียนว่าน่าจะเป็นการละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเป็นการปิดกั้นโดยเกิดความไม่เท่าเทียมกัน ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยและขัดรัฐธรรมนูญ


โครงการเครือข่ายยุติธรรม (ดี เอส ไอ ไซเบอร์ฟอร์ซ - DSI Cyberforce) เป็นโครงการความร่วมมือของ ดี เอส ไอ (DSI) ภายใต้สำนักคดีเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสืบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขยายเครือข่ายสอดส่อง ป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต และสกัดกั้นภัยคุกคาม รวมทั้งอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียน นักศึกษา, บุคคลทั่วไป และอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน สอดส่อง แจ้งภัย และเป็นศูนย์กลางในการต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ภาคประชาชน เว็บไซต์โครงการเครือข่ายยุติธรรม

ลิงก์ภายนอก