โรงเรียนนางรอง
โรงเรียนนางรอง ละติน: Nangrong School[1] Nangrong School | |
---|---|
ไฟล์:ตราโรงเรียนนางรอง.jpg ตราประจำโรงเรียนนางรอง | |
19 ถนนณรงค์รักษาเขต ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110 , | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | น.ร. / NR |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | ประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้ อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา (บัณฑิตย่อมฝึกตน) |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
นิกาย | เถรวาท |
ก่อตั้ง | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 |
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1031260863 |
ผู้อำนวยการ | นายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2558) |
รองผู้อำนวยการ | นายธวัชชัย ดีสระวินิจ นายอุดม นามสวัสดิ์ นางดารินทร์ เสลารักษ์ นายรณชัย สมานชาติ |
จำนวนนักเรียน | 3,100+ (พ.ศ. 2556) |
ชั้นเรียน | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
ห้องเรียน | ม.1: 12 ห้อง ม.2: 12 ห้อง ม.3: 12 ห้อง ม.4: 12 ห้อง ม.5: 12 ห้อง ม.6: 12 ห้อง |
สี | |
เพลง | มาร์ชนางรอง |
เบอร์โทรศัพท์ | 044-631383 |
แฟกซ์ | 044-632298 |
ต้นไม้ | อินทนิล |
ดอกไม้ | การเวก (พืช) |
เว็บไซต์ | www.nangrong.ac.th |
โรงเรียนนางรอง เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (บุรีรัมย์) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอนางรอง คู่กับโรงเรียนนางรองพิทยาคม ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันมีนายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง เป็นผู้อำนวยการ
ประวัติ
โรงเรียนนางรอง ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2492 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีครู 1 คน คือ นายสุรพล กมลชัย ซึ่งนับเป็นครูคนแรกของโรงเรียนและเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน โดยใช่ชื่อ"โรงเรียนนางรอง-อำนวยวิทย์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนนางรอง"และขยายชั้นเรียนตามลำดับ จนถึงปัจจุบัน เปิดการสอนแบบสหศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกประจำอำเภอนางรอง และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของจังหวัดบุรีรัมย์
ทำเนียบผู้บริหาร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สัญลักษณ์
- ตราสัญลักษณ์
ตราประจำโรงเรียนนางรอง เป็นตราพระมหามงกุฎเปล่งรัศมี "33" แฉกครอบสัญลักณ์ "อุณาโลม" อยู่บนอักษรย่อ "นร" ในธงปลายพริ้วมีคติธรรมว่า "อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" ซึ่งแปลว่า "บัณฑิตย่อมฝึกตน" โดยตราประจำโรงเรียนเป็นสีเหลืองสลับแดง
- สีธงประจำโรงเรียน
ธงประจำโรงเรียนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนเป็นสีเหลือง ครื่งล่างเป็นสีแดง
- ความหมายของสีประจำโรงเรียน
- สีเหลือง หมายถึง มีคุณธรรมและรักความสงบ
- สีแดง หมายถึง ความรักบ้านเกิดเมืองนอน
- ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียน
ต้นไม้ประจำโรงเรียนคือ อินทนิล ดอกไม้ประจำโรงเรียนคือ การเวก (พืช)
- ปรัชญา
"ผู้มีความสุข ย่อมสร้างผลงานที่ดีงาม"
- คติธรรม
"อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" (บัณฑิตย่อมฝึกตน)
- คำขวัญ
"ประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้"
สถานที่ภายใน
- โดมอเนกประสงค์
- อาคาร 1 หรือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 3 ชั้น (ปัจจุบันทาสีชมพู) จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และชั้นล่างจัดเป็นห้องทำงาน สำนักงานต่างๆ
- อาคาร 2 เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่ง (อาคารไม้) จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะนาฏศิลและดนตรีไทย
- อาคาร 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น (ปัจจุบันทาสีฟ้า) จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- อาคาร 4 เป็นอาคาร 3 ชั้น (ปัจจุบันทาสีฟ้าอ่อน) จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและห้องศูนย์สื่อการศึกษา
- อาคาร 5 เป็นอาคาร 7 ชั้น (ปัจจุบันทาสีแสด) จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางเคมี ชั้นล่างมีสหกรณ์ร้านค้าและห้องชุมสมาคมคณาจารย์กับห้องประชุมสมคมผู้ปกครองนักเรียน
- อาคาร 6 เป็นอาคาร 4 ชั้น (ปัจจุบันทาสีแสด) จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศและห้องดนตรีสากลห้องโยธวาทิต
- อาคาร 7 เป็นอาคารชั้นเดียว (ปัจจุบันทาสีเขียว) จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การเกษตร
- อาคาร 8 หรือ อาคารคหกรรม เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
- อาคาร 9 หรือ อาคารชั่วคราว เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- อาคารคหกรรมอาหาร เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
- ศูนย์อาหาร อยู่ข้างโดม และหอประชุม
- หอประชุมอเนกประสงค์ อยู่ข้างศูนย์อาหาร
- หอสมุด อยู่ข้างอาคาร 2
- เรือนแนะแนว อยู่ข้างอาคาร 3
- เรือนพยาบาล อยู่หลังอาคารสภานักเรียน
- อาคารวิทยบริการ หรือ ศูนย์บริดสโตน อยู่หลังอาคาร 2
- ธนาคารออมสินสาขาโรงเรียนนางรอง อยู่หลังอาคาร 2
- อาคารสภานักเรียน อยู่ข้างธนาคาร
- ลานสัตบรรณ อยู่ระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 3
- ลานปาล์ม อยู่ข้างอาคาร 2
- เรือนการเวก เรือน1และ2อยู่หน้าอาคาร1ขนาบข้างสวนเสาธงและพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่5รัชกาลที่6 เรือน3อยู่หลังอาคาร1 และเรือน4อยู่หลังอาคาร3
- เรือนเพาะชำและแปลงเกษตร อยู่หลังอาคาร7
- เรือนเกษตรและแปลงเกษตร อยู่ข้างอาคาร7
- สวนวรรณคดี อยู่หน้าอาคาร 2
- สวนวิทยาศาสตร์ อยู่หน้าอาคาร 5
- สนามกีฬา
ห้องเรียนพิเศษ
- ห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
บุคคลมีชื่อเสียงจากโรงเรียนนางรอง
- นายดำรง กรเกศกมล อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนางรอง และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- นายปัณณทัต วิวัตรชัย อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนางรอง และผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคมคนปัจจุบัน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนนางรอง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์