ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา
ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา | |
---|---|
ไฟล์:Dussadi Malakul.jpg | |
เกิด | ดุษฎีมาลา 4 กันยายน พ.ศ. 2447 |
เสียชีวิต | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (92 ปี) |
คู่สมรส | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล |
บุตร | สีดา ทองคำ (บุตรบุญธรรม) |
บิดามารดา | เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร |
ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา[1][2] (สกุลเดิม ไกรฤกษ์[1], เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2447 — ถึงแก่อนิจกรรม 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)[3] เป็นธิดาของเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) กับท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม บางยี่ขัน)
ท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลา ได้บันทึกในหนังสือเรื่องของคนห้าแผ่นดินถึงชื่อของท่านว่า "เมื่อคุณพ่อกลับจากสิงคโปร์แล้วจึงตั้งชื่อให้ฉันว่า ดุษฎีมาลา ตามชื่อเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ซึ่งท่านได้รับพระราชทานเป็นบำเหน็จ เมื่อสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตชั้นที่ ๑ คนแรกของประเทศไทย" ชื่อของท่านผู้หญิงที่ถูกต้องจึงเป็น ดุษฎีมาลา แต่ในประกาศหลายฉบับหรือบันทึกต่างๆ ได้เรียกชื่อท่านผู้หญิงอย่างลำลองว่า ท่านผู้หญิงดุษฎี
ต่อมาได้สมรสกับหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน[4]
นอกจากนี้ท่านผู้หญิงยังเคยเป็นผู้ถวายงานรับใช้ในตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7
ท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลาเป็นผู้ประพันธ์คำไหว้ครูที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ว่า ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันทน์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ
ท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สิริรวมอายุได้ 92 ปี 10 เดือน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[8]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 5 (ป.ป.ร.5)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Remember Vajiravudh". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-28. สืบค้นเมื่อ 2015-05-01.
- ↑ กัลยาณิวัฒนา. แม่เล่าให้ฟัง
- ↑ ท่านผู้หญิงของไทย
- ↑ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๐ ผลงานดีเด่นระดับโลก
- ↑ ร้านหนังสือซันวาส[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (63): 34. 21 มีนาคม 2523.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี 2509" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (114): 23. 19 ธันวาคม 2509.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2516" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (51): 15. 10 พฤษภาคม 2516.
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ฝ่ายใน ประจำปี 2469" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43: 3119. 26 พฤศจิกายน 2469.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2447
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2541
- ราชสกุลมาลากุล
- สกุลไกรฤกษ์
- ท่านผู้หญิง
- ชาวไทยเชื้อสายฮกเกี้ยน
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์