ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษามองโกล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
กลุ่มภาษามองโกล
ภูมิภาคมองโกเลีย; มองโกเลียใน และพื้นที่ตามแนวชายแดน ซินเจียง, กานซู, ชิงไห่ (จีน); บูร์ยาเตีย, คาลมึกซ์ ([รัสเซีย]]) และ เฮรัต (อัฟกานิสถาน)
ตระกูลภาษา
อัลไต?
  • กลุ่มภาษามองโกล
รหัสภาษา
ISO 639-3

กลุ่มภาษามองโกล (Mongolic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเอเชียกลาง มีสมาชิก 13 ภาษา นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มรวมกลุ่มภาษามองโกลเข้ากับกลุ่มภาษาตังกูสิต กลุ่มภาษาเตอร์กิก เป็นตระกูลภาษาอัลไตอิก แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษามองโกเลีย ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวมองโกล มีผู้พูด 3.278 ล้านคนในมองโกเลีย รัสเซียและจีน ภาษานิกูดารี ซึ่งเป็นภาษากลุ่มมองโกลที่จัดจำแนกไม่ได้ ยังคงมีผู้พูดราว 100 คนในเฮรัต อัฟกานิสถาน

การจัดจำแนก

ในบางครั้งจะรวมกลุ่มภาษามองโกลกลาง ตะวันตกและเหนือเป็นภาษามองโกเลีย

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

กลุ่มภาษามองโกลมีจุดกำเนิดมาจากภาษามองโกลดั้งเดิมที่เคยใช้พูดในเวลาที่เจงกีสข่านรวบรวมชาวมองโกลหลากหลายเผ่าให้เป็นเอกภาพ ภาษาที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาษามองโกลดั้งเดิมคือภาษาตับคัช ซึ่งพบในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือและภาษาคีตัน ในกรณีของภาษาตับคัช หลักฐานที่เหลืออยู่มีน้อยซึ่งมีเพียงพอที่จะยืนยันว่าความสัมพันธ์นี้เป็นไปได้ ในกรณีของภาษาคีตัน มีหลักฐานเหลืออยู่มากกว่า แต่ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรคีตันทั้งสองแบบที่ยังอ่านไม่ได้ แต่ก็พอสรุปความสัมพันธ์ว่าเป็นไปได้สูง ภาษาที่เป็นจุดกำเนิดของภาษามองโกลดั้งเดิมและสองภาษานี้ เรียกว่าภาษาก่อนมองโกลดั้งเดิม

ยุคประวัติศาสตร์

หลักฐานเอกสารภาษามองโกลชิ้นแรกที่เหลืออยู่คือศิลาจารึกยีซุงเก ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับกีฬา จารึกด้วยอักษรมองโกเลียบนก้อนหิน ซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1763 – 1764 นอกจากนั้น เป็นหลักฐานที่เขียนด้วยอักษรมองโกเลียกับอักษรพักปาส์ อักษรจีน อักษรอาหรับ และอักษรทางตะวันตกอื่นๆ ภาษามองโกลยุคกลางเริ่มปรากฏในพุทธศตวรรษที่ 18-20 เอกสารที่เขียนด้วยอักษรมองโกเลีย มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างไป บางครั้งแยกเป็นภาษามองโกลก่อนคลาสสิก ยุคถัดมาคือภาษามองโกลคลาสสิกซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24 ซึ่งมีการจัดมาตรฐานเกี่ยวกับการสะกดคำและการเรียงประโยค ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษามองโกลสมัยใหม่

อ้างอิง

  • Andrews, Peter A. (1999). Felt tents and pavilions: the nomadic tradition and its interaction with princely tentage, Volume 1. Melisende. ISBN 978-1-901764-03-1.
  • Rybatzki, Volker (2003). "Middle Mongol". ใน Janhunen, Juha (บ.ก.). The Mongolic languages. Routledge Language Family Series. London, England: Routledge. pp. 47–82. ISBN 978-0-7007-1133-8.
  • Janhunen, Juha. 2012. Khitan – Understanding the language behind the scripts. SCRIPTA, Vol. 4: 107–132.
  • Janhunen, Juha (2006). "Mongolic languages". ใน Brown, K. (บ.ก.). The encyclopedia of language & linguistics. Amsterdam: Elsevier. pp. 231–234.
  • Luvsanvandan, Š. (1959). "Mongol hel ajalguuny učir". Mongolyn Sudlal. 1.
  • Nugteren, Hans (2011). Mongolic Phonology and the Qinghai-Gansu Languages (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). Netherlands Graduate School of Linguistics / Landelijke – LOT.
  • Poppe, Nicholas (1964) [1954]. Grammar of Written Mongolian. Wiesbaden: Harrassowitz.
  • Sechenbaatar, Borjigin (2003). The Chakhar dialect of Mongol – A morphological description. Helsinki: Finno-Ugrian society.
  • [Sechenbaatar] Sečenbaγatur, Qasgerel, Tuyaγ-a, B. ǰirannige, U Ying ǰe. (2005). Mongγul kelen-ü nutuγ-un ayalγun-u sinǰilel-ün uduridqal. Kökeqota: ÖMAKQ.
  • Starostin, Sergei A.; Dybo, Anna V.; Mudrak, Oleg A. (2003). Etymological Dictionary of the Altaic Languages. Leiden: Brill.
  • Svantesson, Jan-Olof; Tsendina, Anna; Karlsson, Anastasia; Franzén, Vivan (2005). The Phonology of Mongolian. New York, NY: Oxford University Press.
  • Golden, Peter B. (2011). Studies on the Peoples and Cultures of the Eurasian Steppes. Editura Academiei Române; Editura Istros a Muzeului Brăilei. ISBN 9789732721520.
  • Vovin, Alexander (2005). "The end of the Altaic controversy (review of Starostin et al. 2003)". Central Asiatic Journal. 49 (1): 71–132.
  • Vovin, Alexander. 2007. Once again on the Tabgač language. Mongolian Studies XXIX: 191–206.

แหล่งข้อมูลอื่น