นาจิบ ราซัก
ยังเบอร์ฮอร์มัต ดาโตะก์ ซรี นาจิบ ราซัก | |
---|---|
نجيب رزاق | |
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 6 | |
ได้รับเกียรติเป็น บิดาแห่งการเปลี่ยนแปลง Bapa Transformasi باڤ ترنسفورماسي | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน พ.ศ. 2552 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 | |
กษัตริย์ | ตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน สุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน มูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน |
ก่อนหน้า | อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี |
ถัดไป | มาฮาดีร์ โมฮามัด |
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มกราคม พ.ศ. 2547 – 3 เมษายน พ.ศ. 2552 | |
นายกรัฐมนตรี | อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี |
ก่อนหน้า | อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี |
ถัดไป | มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน |
มุขมนตรีรัฐปะหัง คนที่ 12 | |
ดำรงตำแหน่ง 4 พฤษภาคม 2525 – 14 สิงหาคม 2529 | |
ก่อนหน้า | อับดุล ราซิด อับดุล ระฮ์มัน |
ถัดไป | ฆอลี ญากอบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | พรรคอัมโน |
คู่สมรส | ปูเตอรี ไซนะฮ์ เอ็ซกันดาร์ (1976–1987) รซมะฮ์ มันโซร์ (1987–ปัจจุบัน) |
ลายมือชื่อ | |
ดาโตะก์ ซรี ฮาจี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตุน ฮาจี อับดุล ราซัก[1] (มลายู: Dato' Sri Haji Mohammad Najib bin Tun Haji Abdul Razak, ยาวี: محمد نجيب بن عبد الرزاق) หรือ นาจิบ ราซัก เป็นนักการเมืองมาเลเซียจากพรรคอัมโน เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยได้ดำรงตำแหน่งต่อจากอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี เขาเป็นบุตรชายของอับดุล ราซัก ฮุซเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2
ประวัติ
นาจิบ ราซัก เกิดเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ภายในทำเนียบรัฐปะหัง[2] เขาเป็นบุตรคนโตในจำนวนบุตร 6 คนของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนที่ 2 อับดุล ราซัก ฮุซเซน และเขายังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ฮุซเซน อน น้องชายของนาจิบเป็นผู้บริหารบริษัทภูมิบุตราคอมเมิร์ช ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ นาจิบถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์ของราชสำนักปะหัง และสืบทอดบรรดาศักดิ์เป็น โอรังกายาอินเดราชาบันดา (اورڠ كاي ايندرا شهبندر)
นาจิบ ราซัก จบการศึกษาจากสถาบันเซนต์จอห์นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และจบการศึกษาระดับมัธยาจากวิทยาลัยมัลเวิร์นในประเทศอังกฤษ[3] และจบสาขาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมในปีพ.ศ. 2517 ในปีเดียวกันนั้นเขากลับมายังมาเลเซียและเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย และต่อมาไปทำงานในบริษัทเปโตรนาส[4]
ข้อกล่าวหาการทุจริต
ในปี 2552 หลังจากที่พึ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ ๆ รัฐบาลของราซัก ได้จัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า 1Malaysia Development Berhad หรือกองทุน 1MDB ขึ้น โดยเป็นกองทุนของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไรโดยเฉพาะ รัฐบาลของราซักแถลงว่ากองทุนนี้จะทำให้กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค และหวังให้มาเลเซียเป็นประเทศรายได้สูงภายในปี 2563 อย่างไรก็ตาม กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินี้แตกต่างจากกองทุนความมั่งคั่งฯ ของประเทศอื่น ๆ คือใช้เงินกู้แทนที่จะเป็นเงินจากทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ กองทุนนี้ได้กู้ยืมเงินจากต่างประเทศและสร้างหนี้มหาศาลแก่รัฐบาลมาเลเซีย โดยยอดหนี้ในปี 2558 คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.2 หมื่นล้านริงกิต[5]
ในปี 2558 กองทุนได้ผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐแก่เจ้าหนี้ต่างชาติ และในปีต่อมา Wall Street Journal ได้เปิดเผยว่า โครงการส่วนใหญ่ที่กองทุน 1MDB ไปลงทุน ซึ่งรวมถึงแหล่งน้ำมันและเหมืองแร่ในต่างประเทศนั้น ไม่สร้างผลกำไร หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยเรื่องนี้ อัยการสูงสุด อับดุล ปาลาอิล เริ่มสืบสวนเชิงลึกว่าเงินจากกองทุนนี้ได้ไปยังที่ใดบ้าง และได้ปรากฏหลักฐานว่าตั้งแต่มีนาคม 2556 ถึงกุมภาพันธ์ 2558 มีเงินจำนวนรวมกว่า 681 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2,672 ล้านริงกิต) ได้ถูกโอนจาก 1MDB ไปยังบัญชีส่วนตัวของนาจิบ[6][7]
การเปิดเผยดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในกัวลาลัมเปอร์เรียกร้องให้นาจิบลาออก แม้แต่คนในคณะรัฐมนตรีของเขาก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เขา ซึ่งบุคคลเหล่านั้นได้ถูกนาจิบปรับออกในการปรับคณะรัฐมนตรีกลางวาระ โดยนาจิบให้เหตุผลในการปรับออกว่า เขาต้องการทีมที่มีเอกภาพมากกว่านี้[8] ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม 2558 สำนักงานป.ป.ช.ของมาเลเซียได้ออกมาแถลงว่า เงินโอนดังกล่าวเป็นเงินบริจาค ไม่ใช่เป็นเงินจากกองทุนฯ แต่ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้บริจาคและบริจาคทำไม[9][10] หลังจากนั้นไม่กี่วัน สมาชิกพรรคอัมโนได้ออกมาแถลงว่า เงินบริจาคดังกล่าวเป็นเงินจากซาอุดีอาระเบียเพื่อเป็นการตอบแทนที่ช่วยสู้กับกลุ่มรัฐอิสลาม และยังเสริมอีกว่าชุมชนมุสลิมในประเทศฟิลิปปินส์และในภาคใต้ของไทยก็ได้รับเงินบริจาคดังกล่าวเช่นกัน[11]
ในเดือนกันยายน 2558 สำนักข่าว New York Times รายงานว่า ทางการสหรัฐกำลังสืบสวนข้อกล่าวหาการทุจริตดังกล่าวเช่นกัน และมุ่งเป้าไปที่ทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกาที่นาจิบได้ซื้อผ่านบริษัทนอมินีในตลอดหลายปีที่ผ่านมา[12] นาจิบยังได้ปลดอัยการสูงสุด อับดุล ปาตาอิล ออกและแต่งตั้งคนใหม่ คือนายโมฮัมเหม็ด อาลี เข้ามาแทน โดยอัยการสูงสุดคนใหม่ได้แถลงว่า "ผมขอยืนยันโดยอิงตามหลักฐาน...ว่าเงินจำนวน 681 ล้านดอลลาร์ที่ได้ถูกโอนไปยังบัญชีส่วนตัวของนายกฯ นาจิบ ราซัก นั้น เป็นเงินบริจาคส่วนตัว...จากราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย" ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศและการคลังของซาอุดีอาระเบียกล่าวว่าไม่พบข้อมูลการส่งเงินของขวัญดังกล่าว[13] แหล่งข่าวที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อ[14] ได้ออกมาเปิดเผยว่านาจิบได้คืนเงินจำนวน 620 ล้านดอลลาร์แก่ราชวงศ์ซาอุแล้วในปี 2556 แต่ไม่มีคำอธิบายว่านาจิบได้ทำอะไรกับเงิน 61 ล้านดอลลาร์ที่ไม่ได้คืนไป[15]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Najib Razak: Malaysian ex-PM gets 12-year jail term in 1MDB corruption trial https://www.bbc.com/news/world-asia-53563065
- ↑ Vivien, Ann (21 February 2016). "Midwife proud to have cared for Najib". Sayang Sabah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-23. สืบค้นเมื่อ 2020-02-24.
- ↑ Bell, Thomas (3 April 2009). "Profile: Najib Razak : To Najib Razak the Malaysian premiership may feel like a birthright". London: The Daily Telegraph, 3 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 March 2010.
- ↑ “How Najib and Abdullah rose to nation’s top post”. เก็บถาวร 21 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily Express, 4 April 2009
- ↑ Malaysian leader faces risk of criminal charges over fund. ABC News, 5 July 2015. Retrieved 7 July 2015.
- ↑ Wright, Tom; Clark, Simon (2 July 2015). "Investigators Believe Money Flowed to Malaysian Leader Najib's Accounts Amid 1MDB Probe". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
- ↑ Zaid: Najib's finest hour when he steps down เก็บถาวร 2015-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Free Malaysia Today, 6 July 2015. Retrieved 7 July 2015.
- ↑ "1MDB scandal: Malaysia PM Najib Razak sacks deputy, attorney-general as corruption allegations mount". ABC News (Australia). 29 July 2015. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
- ↑ "MACC: RM2.6bil in Najib's account from donors, not 1MDB's".
- ↑ "Malaysia's anti-graft unit says funds in PM's account a 'donation', not from state fund". Reuters. 3 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-06. สืบค้นเมื่อ 2016-12-29.
- ↑ "Najib's RM2.6 billion is from Saudi Arabia as thanks for fighting Isis, claims Umno leader". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-17. สืบค้นเมื่อ 2016-12-29.
- ↑ "Malaysia's Leader, Najib Razak, Faces U.S. Corruption Inquiry".
- ↑ York, Bradley Hope in New; Kong, Tom Wright in Hong; Lumpur, Yantoultra Ngui in Kuala (27 January 2016). "Doubts Raised About Claim of Saudi 'Donation' to Malaysia Prime Minister Najib Razak". สืบค้นเมื่อ 9 September 2016 – โดยทาง Wall Street Journal.
- ↑ http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/02/06/saudi-minister-believes-funds-given-to-najib-was-investment-not-donation/ was identified as the Saudi royal family.
- ↑ Fuller, Thomas (26 January 2016). "Malaysia Closes Investigation Into Prime Minister Najib Razak's Funds". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2015-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน