ข้ามไปเนื้อหา

ปัจเจกนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน

ปัจเจกนิยม หรือ ปัจเจกชนนิยม (อังกฤษ: individualism) คือจุดยืนทางจริยธรรม ปรัชญาการเมือง อุดมการณ์ และทัศนคติทางสังคมที่เน้นย้ำถึงคุณค่าในตัวขอปัจเจกชน[1] ผู้ที่แนวคิดนี้จะส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายและความปรารถนาของตนเอง เห็นคุณค่าของความเป็นอิสระและการพึ่งพาตนเอง และสนับสนุนให้ผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลควรได้รับความสำคัญเหนือรัฐหรือกลุ่มสังคม ในขณะทีต่อต้านการแทรกแซงจากภายนอกต่อผลประโยชน์ของตนเองโดยสังคมหรือสถาบัน เช่น รัฐบาล[2] ความเป็นปัจเจกทำให้ปัจเจกบุคคลเป็นจุดสนใจ[1] และเริ่มต้นด้วย "หลักการพื้นฐานที่ว่าปัจเจกบุคคลมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการต่อสู้เพื่อการปลดปล่อย"

นิยามของปัจเจกนิยมมักมีความแตกต่างกับ ชุมชนนิยม (communitarianism) คติรวมหมู่ (collectivism) และ บรรษัทนิยม (corporatism)[3][4]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "individualism | Definition, History, Philosophy, Examples, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-25.
  2. ""individualism" on The Free Dictionary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 2009-12-21.
  3. Biddle, Craig (20 February 2012). "Individualism vs. Collectivism: Our Future, Our Choice". The Objective Standard. 7.
  4. Hayek, F.A. (1994). The Road to Serfdom. Chicago: The University of Chicago Press. pp. 17, 37–48. ISBN 0-226-32061-8.