ข้ามไปเนื้อหา

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
ภาคใต้
พระอาทิตย์ตกที่เกาะสมุย
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ทะเลสาบเขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตัวเมืองภูเก็ต
แผนที่ภาคใต้ กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์โดยราชบัณฑิตยสถาน
แผนที่ภาคใต้ กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์โดยราชบัณฑิตยสถาน
เมืองใหญ่สุดสงขลา (ฝั่งอ่าวไทย) ภูเก็ต (ฝั่งอันดามัน)
จังหวัด
พื้นที่
 • ทั้งหมด73,848 ตร.กม. (28,513 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด9,497,866 คน
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์)
ดัชนีการพัฒนามนุษย์
 • HDI (2019)0.766 (สูง) [1]
เขตเวลาUTC+7 (Thailand)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 73,848 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

ลักษณะภูมิประเทศ

ชายฝั่งทะเลในภาคใต้

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร

แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำกลาย แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก

ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน

ภูมิประเทศของภาคใต้เต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ โดยมีจุดสูงสุดของภาคใต้อยู่ที่ ยอดเขาหลวง 1,835 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง (จังหวัดนครศรีธรรมราช)

สภาพภูมิอากาศ

ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุด อุณหภูมิเคยสูงสุดที่จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ำสุดที่จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซียส

การแบ่งเขตการปกครอง

ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสภา ดังนี้

ตราประจำ
จังหวัด
ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
กระบี่ Krabi 469,769 4,708.512 99.77
ชุมพร Chumphon 509,650 6,010.849 84.78
ตรัง Trang 643,072 4,917.519 130.77
นครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat 1,557,482 9,942.502 156.64
นราธิวาส Narathiwat 796,239 4,475.430 177.91
ปัตตานี Pattani 709,796 1,940.356 365.80
พังงา Phang Nga 267,491 4,170.895 64.13
พัทลุง Phattalung 524,857 3,424.473 153.26
ภูเก็ต Phuket 402,017 543.034 740.31
ยะลา Yala 527,295 4,521.078 116.63
ระนอง Ranong 190,399 3,298.045 57.72
สงขลา Songkhla 1,424,230 7,393.889 192.62
สตูล Satun 319,700 2,478.977 128.96
สุราษฎร์ธานี Surat Thani 1,057,581 12,891.469 82.03

นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งเป็นภูมิภาคย่อย ได้แก่ การแบ่งตามยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง และการแบ่งตามอุตุนิยมวิทยา แบ่งเป็น ภาคใต้ตะวันออก หรือภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และภาคใต้ตะวันตก หรือภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยการแบ่งตามกรมอุตุนิยมวิทยา จะรวมจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้ามาด้วย

แบ่งตามยุทธศาสตร์ แบ่งตามอุตุนิยมวิทยา
ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
  1. จังหวัดกระบี่
  2. จังหวัดชุมพร
  3. จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. จังหวัดพังงา
  5. จังหวัดภูเก็ต
  6. จังหวัดระนอง
  7. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  1. จังหวัดตรัง
  2. จังหวัดนราธิวาส
  3. จังหวัดปัตตานี
  4. จังหวัดพัทลุง
  5. จังหวัดยะลา
  6. จังหวัดสงขลา
  7. จังหวัดสตูล
  1. จังหวัดชุมพร
  2. จังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. จังหวัดนราธิวาส
  4. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  5. จังหวัดปัตตานี
  6. จังหวัดพัทลุง
  7. จังหวัดเพชรบุรี
  8. จังหวัดยะลา
  9. จังหวัดสงขลา
  10. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  1. จังหวัดกระบี่
  2. จังหวัดตรัง
  3. จังหวัดพังงา
  4. จังหวัดภูเก็ต
  5. จังหวัดระนอง
  6. จังหวัดสตูล

สถิติประชากรแต่ละจังหวัด

อันดับ จังหวัด จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2558)[2]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2557)[3]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2556)[4]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [5]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [6]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [7]
1 นครศรีธรรมราช 1,552,530 1,548,028 1,541,843 1,534,887 1,526,071 1,522,561
2 สงขลา 1,410,577 75575 1,389,890 1,378,574 1,367,010 1,357,023
3 สุราษฎร์ธานี 1,046,772 1,040,230 1,031,812 1,023,288 1,015,072 1,000,383
4 นราธิวาส 783,082 774,799 766,145 757,397 747,372 737,162
5 ปัตตานี 694,023 686,186 675,764 671,615 663,485 655,259
6 ตรัง 640,793 638,746 636,043 631,920 626,708 622,659
7 พัทลุง 522,723 520,419 518,021 514,492 511,063 509,534
8 ยะลา 518,139 511,911 506,138 500,814 493,767 487,380
9 ชุมพร 505,830 500,575 498,294 495,310 492,182 489,964
10 กระบี่ 462,101 456,811 450,890 444,967 44545454 432,704
11 ภูเก็ต 386,605 378,364 369,522 360,905 353,847 345,067
12 สตูล 315,923 312,673 309,793 305,879 301,467 297,163
13 พังงา 264,074 261,370 259,420 257,493 254,931 253,112
14 ระนอง 187,536 177,089 174,776 182,648 183,849 183,079
รวม 9,290,708 9,206,223 9,131,425

เทศบาลนครในภาคใต้เรียงตามจำนวนประชากร

  1. เทศบาลนครหาดใหญ่ ประชากร 159,108 คน ความหนาแน่น 7,600 คน ต่อ ตร.กม.
  2. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประชากร 128,106 คน ความหนาแน่น 1,857 คน ต่อ ตร.กม.
  3. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประชากร 106,418 คน ความหนาแน่น 4,717 คน ต่อ ตร.กม.
  4. เทศบาลนครภูเก็ต ประชากร 77,578 คน ความหนาแน่น 6,300 คน ต่อ ตร.กม.
  5. เทศบาลนครสงขลา ประชากร 67,220 คน ความหนาแน่น 7,500 คน ต่อ ตร.กม.
  6. เทศบาลนครเกาะสมุย ประชากร 63,505 คน ความหนาแน่น 270 คน ต่อ ตร.กม.
  7. เทศบาลนครยะลา ประชากร 61,232 คน ความหนาแน่น 3,200 คน ต่อ ตร.กม.
  8. เทศบาลนครตรัง ประชากร 60,538 คน ความหนาแน่น 4,100 คน ต่อ ตร.กม.

การศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญของภาคใต้ ได้แก่

ประวัติศาสตร์

บริเวณภาคใต้ตอนบน เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักร 3 อาณาจักร ได้แก่

บริเวณภาคใต้ตอนล่าง เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรเดียว ได้แก่

อุทยานแห่งชาติ วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ในภาคใต้เป็นคาบสมุทรมีเทือกเขานครศรีธรรมราชกั้นกลางระหว่างชายฝั่งทั้งสอง มีอุทยานแห่งชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น

เขื่อน

เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่สำคัญ ได้แก่

วัฒนธรรม

โนรา

โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ใน และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย

หนังตะลุง

หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่นๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป

ภาษา

ภาคใต้มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆสั้นๆเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซียนิยมพูดภาษายาวีหรือภาษามาเลเซีย ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หรอย (อร่อย) ทำไหร (ทำอะไร) เมี้ยว. (เหมียว) มนถิน (มนทิน) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.