วีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ
วีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี[1] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์) , อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และอดีตอธิบดีอธิบดีกรมพลศึกษา[2]
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์เกษตร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , Master of Agriculture (Agricultural Education) จาก University of the Philippines ปริญญาโท ด้านการเกษตร, UTCC MINI MBA รุ่นที่ 5 จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย , หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 43 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร , หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 3 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน และ หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 108 จากสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ ได้เข้ารับราชการการโดยดำรงตำแหน่งระดับสูงต่าง ๆ อาทิ รองอธิบดีกรมอาชีวศึกษา , ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ , อธิบดีกรมพลศึกษา , เลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ ได้เข้ารับตำแหน่งพิเศษต่าง ๆ อาทิ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ , ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการนโยบาย การบริหารจัดการ และคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของประเทศ ในคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา , ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา , ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ , ข้าราชการบำนาญ , ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด ,ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาสับปะรดไทย , กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดแม่ฮ่องสอน , อุปนายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
นอกจากนี้ ยังเคยได้รับดำรงตำแหน่ง เป็น อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2543 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[6]
อ้างอิง
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/013/2.PDF
- ↑ [http://www.cc.rmutt.ac.th/images/stories/2554/01/10.pdf ประวัติผู้ที่ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี][ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2021-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อธิบดีกรมพลศึกษา
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย