ข้ามไปเนื้อหา

เวส บราวน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
เวส บราวน์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เวสลีย์ ไมเคิล บราวน์
(Wesley Michael Brown[1])
วันเกิด (1979-10-13) 13 ตุลาคม ค.ศ. 1979 (45 ปี)
สถานที่เกิด ลองไซท์, แมนเชสเตอร์, อังกฤษ
ส่วนสูง 185 ซm (6 ft 1 in)[2]
ตำแหน่ง กองหลัง
สโมสรเยาวชน
1992–1996 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1996–2011 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 232 (3)
2011–2016 ซันเดอร์แลนด์ 76 (1)
2016–2017 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 5 (1)
2017–2018 เคราล่า บลาสเตอร์ส 14 (1)
ทีมชาติ
1998–2000 อังกฤษ ยู21 8 (0)
1999–2010 อังกฤษ 23 (1)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 20:33, 27 April 2014 (UTC)

เวส บราวน์ (อังกฤษ: Wes Brown) มีชื่อเต็มว่า เวสลีย์ ไมเคิล บราวน์ (Wesley Michael Brown) เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ที่ลองไซท์ ในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ

ผลงาน

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

บราวน์หลังจากเกมกับ บาร์เซโลนา เมื่อเดือน เมษายน ค.ศ. 2008

บราวน์เริ่มเล่นฟุตบอลให้กับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในฐานะนักเตะเยาวชนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 จนถึงปี ค.ศ. 1996 ก่อนที่จะเลื่อนชั้น ขึ้นมาเล่นให้กับทีมชุดใหญ่ในเวลาต่อมาโดย 2 ปีที่ติดทีมชุดใหญ่เขายังไม่ได้ลงเล่นให้ทีมชุดใหญ่เลยสักนัดจนวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1998

เขาจึงได้โอกาสสัมผัสเกม พรีเมียร์ลีก เป็นเกมแรกในนัดที่พบกับ ลีดส์ ยูไนเต็ด ในฐานะตัวสำรองโดยฤดูกาลต่อมาคือฤดูกาล 1998-99 เขาได้รับโอกาสให้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่มากขึ้นในตำแหน่งแบ๊กขวาและตำแหน่งที่เขาถนัดคือเซนเตอร์แบ๊ก แต่ในนัดชิงศึก ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก กับ บาเยิร์น ที่สนาม คัมป์ นู เขากลับไม่ได้รับโอกาสให้ลงเล่น ซึ่งในฤดูกาลนี้แมนยูได้ทริปเปิลแชมป์คือแชมป์ พรีเมียร์ลีก, เอฟเอคัพ และ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ไปครองในฤดูกาลถัดมาคือฤดูกาล 1999-2000 บราวน์ได้รับบาดเจ็บหนักเป็นครั้งแรกที่กล้ามเนื้อระหว่างฝึกซ้อมทำให้เขาพลาดการลงสนามให้กับแมนยู ซึ่งในฤดูกาลนั้นแมนยูก็ได้แชมป์พรีเมียร์ลีกไปครองอีกสมัยหลังจากเขาอยู่กับแมนยูมานานถึง 12 ปีเขาก็ได้ต่อสัญญากับแมนยูพร้อมกับริโอ เฟอร์ดินานด์และไมเคิล คาร์ริค เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2008

ซันเดอร์แลนด์

เวส บราวน์ได้ย้ายไป สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2011 โดยมีสัญญา 4 ปี (ไม่เปิดเผยค่าตัว)[3] เวสบราวน์เปิดตัวในเกมแรกพบกับลิเวอร์พูล ซึ่งเขาได้รับรางวัลแมนออฟเดอะแมตช์ ด้วยผลสกอร์ 1-1 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2011 บราวน์ทำประตูตัวเองในเกมที่พบกับทีมเก่าอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ประตูแรกของเวส บราวน์ในสีเสื้อซันเดอร์แลนด์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เมื่อเขาทำประตูชัยโดยเหลือเวลาอีกสองนาทีในเกมที่ไปเยือน ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส เฉือนชนะไปด้วยสกอร์ 3-2 เวส บราวน์ มีอาการบาดเจ็บในเกม เอฟเอคัพ ที่พบกับมิดเดิ้ลแลนด์ โดย เวส บราวน์ กลับมาช่วยทีมได้อีกครั้งในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2013 โดยเอาชนะฮัลล์ 1-0 บราวน์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น one of several Sunderland players อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 12 มิถุนายน 2015 ดิก อัดโฟกาต ผู้จัดการทีมในขณะนั้นได้เซ็นสัญญากับบราวน์ต่อไปอีก 1 ปี [4]

แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส

หลังจากบราวน์ได้หายจากการบาดเจ็บ ได้ทำการเซ็นสัญญาระยะสั้นกับสโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ซึ่งจะคงอยู่จนถึงสิ้นสุดฤดูกาล[5] ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง บราวน์จะรับหน้าที่เป็นโค้ชให้กับทีมพัฒนาของสโมสร ซึ่งเป็นทีมที่เขาลงเล่นมาหลายเกมในขณะที่กลับมาฟิต เขาทำงานร่วมกับ Damien Johnsonและ David Dunn ซึ่งเป็นโค้ชในขณะนั้นและให้คำแนะนำนักเตะรุ่นน้องของสโมสร เขาประเดิมสนามและยิงประตูแรกให้แบล็คเบิร์นในเกมพบเรดดิ้งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2016

Kerala Blasters FC

เวส บราวน์ได้กลับมาร่วมงานกับอดีตโค้ชทีมชุดใหญ่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด René Meulensteen ในเดือนสิงหาคม 2017 โดยร่วมงานกับมูเลนสตีนที่ Kerala Blasters[6] สโมสรในอินเดียนซูเปอร์ลีก

อาชีพโค้ช

เวส บราวน์เป็นส่วนหนึ่งของ สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี และเป็นโค้ชของอะคาเดมีในช่วงเวลาที่เขาอยู่กับสโมสร เขาถือใบอนุญาต 'A' ของยูฟ่า ซึ่งเขาได้รับจากสมาคมฟุตบอลไอริชอีกด้วย[7][8]

ทีมชาติ

เวส บราวน์ลงเล่นในนามทีมชาตินัดแรกในนัดที่เจอกับทีมชาติฮังการีเมื่อปี ค.ศ. 1999 และเขาเป็นหนึ่งในนักเตะชุดลุยศึก ฟุตบอลโลก 2002 ที่ เกาหลี และ ญี่ปุ่น แต่ภายหลังหลุดจากทีมไปต่อมา สเวน โกรัน อีริคสัน กุนซือทีมชาติในขณะนั้นได้เรียกตัวเขากลับมาเพื่อลงเล่นในนัดกระชับมิตรกับทีมชาติอุรุกวัยแต่เขากลับถูกตัดชื่อออกจากทีมชุดลุยศึกฟุตบอลโลก 2006ที่เยอรมัน

หลังจากนั้นเขาถูกเรียกตัวติดทีมชาติอีกครั้งในยุคของสตีฟ แมคลาเรน ในนัดที่ชนะอันดอร์ราในศึก ยูโร 2008 รอบคัดเลือกโดยเขาจับคู่กับจอห์น เทอร์รีแทนริโอ เฟอร์ดินานด์ที่ได้รับบาดเจ็บหลังจากนั้นเขาได้จับคู่กับเทอร์รีอีกนัดในนัดอุ่นเครื่องกับบราซิลและในยุคของฟาบิโอ คาเปลโล กุนซือคนปัจจุบันเขามีชื่อในนัดที่ทีมจะพบกับสวิสเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสเขาทำประตูแรกในนามทีมชาติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2008ในนัดที่เจอกับสาธารณรัฐเช็กโดยเขากระโดดเหนือกองหลังทีมชาติเช็กและโหม่งทำประตูจากลูกเตะมุมของเดวิด เบคแฮม

ชีวิตส่วนตัว

เวส บราวน์ได้แต่งงานกับลีแอนน์ วาสเซล ซึ่งเขาอาศัยอยู่กับลูกสาวทั้งสามคน[9] รีซ น้องชายของบราวน์เล่นให้กับบิวรี่โดยเข้าร่วมอะคาเดมี่ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เมื่ออายุ 9 ขวบ ไคลฟ์น้องชายอีกคนอยู่ในหนังสือของแมนเชสเตอร์ซิตี้ในฐานะผู้เล่นเยาวชนในช่วงปลายทศวรรษ 1990[10] ก่อนที่จะไปเล่นให้กับไฮด์ยูไนเต็ด, บังกอร์ซิตี้, Mossley, Woodley Sports และปัจจุบันเล่นให้กับ New Mills[11][12]

อ้างอิง

  1. "Premier League Statistics 2009/2010" (PDF). Premier League. p. 12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-08. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  2. "Profile: Wes Brown". safc.com. Sunderland AFC. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  3. "Brown completes Sunderland switch". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  4. "Wes Brown signs one-year contract extension with Sunderland". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2015-06-12.
  5. "Blackburn sign Brown on free transfer". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  6. Bharali, Abhijit. "ISL 2017: Kerala Blasters sign ex-Manchester United star Wes Brown and close in on Berbatov". www.sportskeeda.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. FC, Blackburn Rovers. "Blackburn Rovers FC". Blackburn Rovers FC.
  8. "Wes Brown relishing Jose Mourinho's Old Trafford arrival as he studies in Belfast". belfasttelegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  9. Staff, Guardian (2008-05-20). "Manchester United: The players". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  10. "An England collector's item". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 1999-05-08.
  11. "More big names for Bangor" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2000-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  12. "B2". web.archive.org. 2019-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-13. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.

แหล่งข้อมูลอื่น