ข้ามไปเนื้อหา

โรนัลด์ เดลา โรซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
โรนัลด์ เดลา โรซา
อธิบดีแห่งสำนักราชทัณฑ์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน ค.ศ. 2018
ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต
ก่อนหน้าเรย์ รากัส (โอไอซี)
อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 – 19 เมษายน ค.ศ. 2018
ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต
ก่อนหน้ารีการ์โด มาร์เกซ
ถัดไปออสการ์ อัลบายัลเด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
โรนัลด์ มาราพอน เดลา โรซา

(1962-01-21) มกราคม 21, 1962 (62 ปี)
บารังไกย์บาโต ซานตาครูซ จังหวัดตีโมกดาเบา ประเทศฟิลิปปินส์[1][2]
เชื้อชาติฟิลิปปินส์
คู่สมรสแนนซี โกมันดันเต (สมรส 1989)
บุตร3
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรัฐมินดาเนา
โรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ (ชั้นปี ค.ศ. 1986)
มหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์นฟิลิปปินส์
ชื่ออื่นบาโต, ดูรอย (วิทยาลัยการทหารฟิลิปปินส์)
อาชีพตำรวจ
รับใช้ ฟิลิปปินส์
สังกัดกองกำลังตำรวจฟิลิปปินส์ (อดีต)
กรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์
ประจำการค.ศ. 1986 – 2018
ตำแหน่ง

โรนัลด์ มาราพอน เดลา โรซา (ฟิลิปปินส์: Ronald Marapon dela Rosa) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม บาโต เดลา โรซา หรือ บาโต[2] (แปลว่า หิน) เป็นนายตำรวจชาวฟิลิปปินส์ที่เกษียณอายุราชการซึ่งทำหน้าที่เป็นอธิบดีแห่งสำนักราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2018 เขาทำหน้าที่เป็นอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ถึงวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2018[3]

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา

เดลา โรซา เกิดวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1962 ที่บารังไกย์บาโต ซานตาครูซ จังหวัดตีโมกดาเบา โดยเป็นบุตรของเซอร์เตโอโดโร ดีอามาตอน เดลา โรซา และอานีเซีย ครุสเปโร มาลาพอน[1][2] ครอบครัวของเขา "ค่อนข้างจน" เพราะพ่อของเขามีรายได้น้อยในการทำงานเป็นคนขับรถสามล้อ[4][5] ครั้นเดลา โรซา เข้าสู่วัยหนุ่มก็ทำงานเป็นคนขนของในตลาดปลา และกระเป๋ารถโดยสารประจำทาง รวมถึงรับทำการบ้านให้เพื่อนร่วมชั้นเพื่อแลกกับอาหารมื้อเที่ยง นอกจากนี้ เขาใช้เวลาเดิน 8 กิโลเมตรทุกวันจากโรงเรียนถึงบ้าน[5]

เดลา โรซา เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาบาโตและสตา, โรงเรียนมัธยมแห่งชาติครูซ ก่อนที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐมินดาเนา (MSU) เพื่อศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาการบริหารรัฐกิจ[2][6][7][8] ในปี ค.ศ. 1982 เขาออกจากมหาวิทยาลัยรัฐมินดาเนา เพื่อเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ (PMA) และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1986 ในฐานะส่วนหนึ่งของชั้นซีนักตารา[8][9] จากนั้นเขาก็ได้รับคุณวุฒิรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิตในปี ค.ศ. 1998 และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตในสาขาการบริหารการพัฒนาในปี ค.ศ. 2006 จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์นฟิลิปปินส์ในดาเบา[10][11]

เดลา โรซา สำเร็จหลักสูตรหน่วยลาดตระเวนเสือป่า, เจ้าหน้าที่ข่าวกรองตำรวจชั้นสูง, เจ้าพนักงานตรวจสอบการเงินการบัญชีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของตำรวจ เขายังได้เข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมของเอฟบีไอ อะคาเดมี และโรงเรียนเรนเจอร์กองทัพบกสหรัฐในสหรัฐ รวมถึงหลักสูตรอาจารย์ผู้สอนตำรวจอากาศโดยตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลีย[6][12]

เดลา โรซา มีชื่อเล่นคือ "บาโต" ระหว่างการมอบหมายครั้งแรกในดาเบา เมื่อนักศึกษาชั้นปีท้าย ๆ ของโรงเรียนเปรียบเทียบร่างกายของเขากับก้อนหิน[n 1][5]

อาชีพตำรวจ

ช่วงต้นอาชีพ (ค.ศ. 1986–2012)

เดลา โรซา เข้าร่วมกองกำลังตำรวจในปี ค.ศ. 1986 ในฐานะผู้หมวดของกองกำลังตำรวจฟิลิปปินส์ ที่ตอนนี้ยุบหน่วยแล้ว[n 2] ในดาเบา[11] ส่วนในปี ค.ศ. 1992 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นสารวัตรใหญ่และทำงานเป็นหนึ่งในพนักงานที่สำนักงานตำรวจภูมิภาค (PRO)-ดาเบา และในปี ค.ศ. 1997 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการตำรวจภูธรของจังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลา สำหรับในปี ค.ศ. 1999 เขาได้รับมอบหมายให้ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการตำรวจของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PNP) ที่แคมป์เคลมในเกซอนซิตี ครั้นในปี ค.ศ. 2001 เขากลับมาทำงานที่สำนักงานตำรวจภูมิภาค-ดาเบา ยังคงดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าสำนักงานบุคลากรภูมิภาค กองทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาของเขตที่ 11 แล้วในปี ค.ศ. 2003 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจและได้รับมอบหมายสู่แคมป์คาติติปันในดาเบา จากนั้นเขาก็ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาในฐานะหัวหน้าหน่วยฝึกอบรม กระทั่งในปี ค.ศ. 2005 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นนายตำรวจเขตเมืองดาเบา (DCPO) หลังจากนั้นแปดเดือน เขาย้ายกลับไปที่สำนักงานตำรวจภูมิภาค-ดาเบา และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับและสืบสวนภูมิภาค (RIID) ส่วนในปี ค.ศ. 2007 เขาได้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลา (CVPPO) ในฐานะผู้กำกับการ ต่อมา ในปี ค.ศ. 2008 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กำกับอาวุโส และในปี ค.ศ. 2009 เขาย้ายไปอยู่ที่จังหวัดตีโมกดาเบาซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดตีโมกดาเบา (DSPPO) ส่วนในปี ค.ศ. 2011 เขาเป็นหัวหน้าส่วนภูมิภาคของแผนกโลจิสติกส์และพัฒนางานวิจัย (RL-RDD) ในสำนักงานตำรวจภูมิภาค-ดาเบา กระทั่งปี ค.ศ. 2012 เขาได้รับมอบหมายสู่นครดาเบา ในฐานะผู้อำนวยการคนใหม่ของสำนักงานตำรวจนครดาเบา[2]

หัวหน้าตำรวจนครดาเบา (ค.ศ. 2012–2013)

เดลา โรซา เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานตำรวจนครดาเบาตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ภายใต้นายกเทศมนตรีซารา ดูแตร์เต (ในสำนักงาน: 30 มิถุนายน ค.ศ. 2010 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 2013) และโรดรีโก ดูแตร์เต (ในสำนักงาน: 30 มิถุนายน ค.ศ. 2013 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 2016)[15][11] ในปี ค.ศ. 2012 เขาเป็นผู้นำการปราบปรามองค์การการโจรกรรมรถยนต์ถูกกล่าวหาว่าริเริ่มโครงการโดยไรอัน "บักติน" ยู[16] ส่วนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 เขาเป็นหัวหน้าช่วยชีวิตที่ประสบความสำเร็จของนักธุรกิจหญิงชาวฟิลิปปินส์-จีน ที่ชื่อแซลลี ชัว[17][18] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้กำกับแผนยุทธการโอแปลนโตคัง (Oplan Tokhang เป็นคำผสมภาษาเซบัวโน จากคำว่า tuktok ที่หมายถึงเคาะ และ hangyo ที่หมายถึงเกลี้ยกล่อม) ซึ่งเป็นการรณรงค์ต่อต้านสารเสพติดผิดกฎหมาย ที่ตำรวจเคาะประตูของผู้ใช้สารเสพติดและผู้จัดจำหน่ายที่ต้องสงสัย และชักจูงให้ยุติกิจกรรมผิดกฎหมาย;[19] และโอแปลนปักกัง (Oplan Pakgang เป็นคำผสมภาษาเซบัวโน จากคำว่า “Pitulon ang Kabatan-onan sa Gang” ที่หมายถึง “การฝึกวินัยเยาวชนในแก๊ง”) ที่ตำรวจให้คำปราศรัยและการอภิปราย เพื่อให้เยาวชนของนครดาเบาหมดกำลังใจในการเข้าร่วมแก๊งอาชญากรและกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ[20][21]

แคมป์เคลม (ค.ศ. 2013–2016)

หลังจากทำหน้าที่เป็นหัวหน้าตำรวจนครดาเบา เดลา โรซา ได้รับมอบหมายให้ทำงานที่สำนักงานใหญ่ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ในแคมป์เคลม ที่ซึ่งเขาทำงานให้กับกลุ่มข่าวกรองของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ถึงธันวาคม ค.ศ. 2014[3][11][22]

ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เดลา โรซา ได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการสอบสวนการปะทะที่มามาซาปาโน เหตุการณ์ดังกล่าวอ้างถึงหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่เสียชีวิต 44 ราย, สมาชิกอิสลามโมโร 17 ราย และพลเรือนห้าคนในขณะที่ตำรวจกำลังปฏิบัติภารกิจในการจับกุมซูลกิฟลี อับด์เฮอร์ ซึ่งเป็นผู้ก่อการร้ายนานาชาติ ที่มีนามแฝงว่ามาร์วัน[23][24][25]

เดลา โรซา ยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของคณะกรรมการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาหลักคำสอน (HRDD)[3][11][22]

โดยไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 เดลา โรซา ได้พ้นข้อหาตามที่ผู้บัญชาการกองพลของกำลังสนับสนุนผู้เตรียมพร้อม (RSSF) ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์เปิดเผย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กของเขาได้รับการสนับสนุนจากผู้สมัครประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต โดยสเตตัสเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ไวรอล ด้วยข้อความ :

ผมเป็นผู้บัญชาการกองพลของกำลังสนับสนุนผู้เตรียมพร้อม ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 8 กองพัน บุคลากรประมาณ 5,000 คนในแคมป์เคลม Kayong mga mangdadaya at mangliligalig ngayong ("คนที่จะโกงและก่อการร้ายใน") การเลือกตั้งวันที่ 9 พฤษภาคม humanda na kayo ("จะถูกเตือน") ! เราจะบดขยี้คุณ !!!

ส่วนโพสต์เฟซบุ๊กอีกรายการในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2016 เขียนว่า :

ถึงเวลาแล้วสำหรับแบทแมนปะทะเอมีลีโอ อากีนัลโด ใครจะชนะ ? ซูเปอร์ฮีโรในเรื่องแต่งหรือฮีโรฟิลิปปินส์ของจริง ?

ระหว่างการชิงชัยฟิลิปปินส์ ค.ศ. 2016 – สาขาลูซอน ซึ่งเป็นการดีเบตประธานาธิบดีครั้งที่สามและครั้งสุดท้าย ดูแตร์เตกล่าวว่าผู้ให้การรณรงค์หาเสียงหลักของเขาคือเอมีลีโอ อากีนัลโด ในขณะที่ผู้ถือมาตรฐานพรรคเสรีนิยมอย่างมาร์ รอกซัส อ้างคำพูดของแบทแมน อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชาของเดลา โรซา ในเวลานั้น คือรองอธิบดีดานีโล คอนสตันตีโน ซึ่งเป็นรองหัวหน้ากรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์สำหรับการดำเนินงาน ไม่ยอมรับว่าโพสต์เฟซบุ๊กของเดลา โรซา เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เขาพ้นข้อหา ตามที่รองอธิบดีคอนสตันตีโนระบุไว้ หัวหน้าผู้กำกับเดลา โรซา ได้พ้นข้อหาจากกำลังสนับสนุนผู้เตรียมพร้อม (RSSF) ดังนั้น เขาสามารถมุ่งความสนใจไปที่ความรับผิดชอบของเขาในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารของคณะกรรมการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาหลักคำสอน (HRDD) ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ กระนั้น คอนสตันตีโนกล่าวว่าฝ่ายกิจการภายใน กรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ จะตรวจสอบโพสต์เฟซบุ๊กของเดลา โรซา สำหรับความรับผิดชอบในการบริหารที่เป็นไปได้ ในฐานะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ต้องเป็นกลางและไม่สนใจการเมืองในระหว่างการเลือกตั้ง[26][27][28][29]

อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ (ค.ศ. 2016–2018)

ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต พบปะกับ อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์โรนัลด์ เดลา โรซา ในทำเนียบมาลากาญัน เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016

เดลา โรซา ได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ให้เป็นอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์คนใหม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2016[12] ส่วนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 เขาได้ทำการสาบานอย่างเป็นทางการในการรับตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปินส์คนที่ 21 ในขณะที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นอธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของกรม[3] ครั้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 เดลา โรซา กล่าวหาว่ารองประธานาธิบดีเลนี โรเบรโด มีความทะเยอทะยานทางการเมืองที่จะเป็นประธานาธิบดีแม้จะยังคงทำงานในงานปัจจุบันของเธออยู่ หลังจากนั้นไม่กี่วัน เขาบอกใบ้ว่าเขาอาจจะเสนอตัวเองเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2022 และจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อได้รับการเลือกตั้ง[30][31] เขาได้เกษียณอายุในวันที่ 21 มกราคมเนื่องจากการเกษียณอายุที่บังคับเมื่ออายุ 56 ปี แต่ระยะเวลาของเขาได้รับการยืดออกไปเป็นเวลา 3 เดือนจนถึงวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2018[32]

อธิบดีแห่งสำนักราชทัณฑ์ (ค.ศ. 2018–ปัจจุบัน)

เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2018 เดลา โรซา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีแห่งสำนักราชทัณฑ์ ซึ่งเอกสารการแต่งตั้งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม[33]

ชีวิตส่วนตัว

เดลา โรซา สมรสกับแนนซี จอห์นสัน โกมันดันเต (เธอเกิดวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1962)[34] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน[35][36][37][38] ระหว่างงานแต่งงานของเขา โรดรีโก ดูแตร์เต ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีนครดาเบาในขณะนั้น ได้เข้าประจำที่ในฐานะเป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์หลัก[11] โดยที่ดูแตร์เต และเดลา โรซ รู้จักกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986[39] ซึ่งเขาได้อธิบายถึงดูแตร์เตในฐานะ "อิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ในอาชีพการงานของเขา[27]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ร็อค ซึ่งเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของเดลา โรซา ได้เข้าโรงเรียนตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ในฐานะนักเรียนนายร้อย[40][41]

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2017 เดลา โรซา ได้เป็นแขกผู้มีเกียรติและเป็นโฆษกในการเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 156 ของโฮเซ รีซัล เขาอ้างว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับวีรบุรุษของชาติ ผ่านบรรพบุรุษที่ชื่ออิเนส เดลา โรซา[42]

เดลา โรซา เป็นชาวคาทอลิก[43] ในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 ที่ดีซีเอ็มเอ็ม เดลา โรซา กล่าวว่าเขามักจะไปสารภาพบาปเพื่อขอให้อภัยหลังจากที่เขาได้สังหารอาชญากร โดยประกาศว่าเขา "ไม่ใช่ฆาตกรเลือดเย็น"[44]

ตั้งแต่เขาได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ เขาได้ปรากฏตัวหรือรับเชิญในรายการทีวีหลายรายการ ซึ่งโดดเด่นที่สุดในอิตส์โชว์ไทม์ ตอนตราบาฮูลา ที่เป็นรายการวาไรตีโชว์ตอนเที่ยงของเอบีเอส-ซีบีเอ็น[45] และซันเดย์ปินาซายา ซึ่งเป็นรายการวาไรตีอาทิตย์ของจีเอ็มเอ ที่เขาได้พบกับรอดนีย์ "ดูกอง" จูแตร์เต ซึ่งเป็นนักแสดงตลกล้อเลียนประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ที่สวมบทโดยโฮเซ มานาโล[46]

เดลา โรซา เป็นแฟนเก่าแก่ของบารังไกย์ยีเนบราซานมิเกล ซึ่งเป็นทีมบาสเกตบอลพีบีเอ[47]

หมายเหตุและอ้างอิง

หมายเหตุ

  1. บาโต เป็นคำศัพท์ในภาษาตากาล็อก และภาษาเซบัวโน ซึ่งหมายถึง "หิน" หรือ "ก้อนหิน"[13][14]
  2. เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1991 กองกำลังตำรวจฟิลิปปินส์ได้รับการควบรวมหน่วยงานกับตำรวจแห่งชาติแบบผสม เพื่อก่อตั้งกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Ronald dela Rosa Birth Certificate
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Tejano, I. (2016, May 18). Duterte picks Dela Rosa as next PNP chief เก็บถาวร 2016-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sun Star Davao
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 De Jesus, Julliane Love It’s official: Dela Rosa is new PNP chief, Philippine Daily Inquirer, July 1, 2016
  4. De Jesus, Julliane Love (July 10, 2016). "What made 'Bato' cry". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 1 February 2017.
  5. 5.0 5.1 5.2 Hontiveros, Pia (June 9, 2016). "The 'Bato' we don't know". CNN Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-08. สืบค้นเมื่อ 1 February 2017.
  6. 6.0 6.1 "Dela Rosa Assumes Command as 21st Chief PNP". Philippine National Police. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  7. Umel, Richel (January 26, 2017). "Dela Rosa speaks before grads in Marawi". SunStar Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-04. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  8. 8.0 8.1 Alawi, Rebekah (January 2017). "Gen. Dela Rosa's MSU Visit as Commencement Speaker: A Nostalgic Homecoming to What Once his Field of Dreams". Mindanao State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-04. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  9. Dalizon, Alfred P. "More on PMA Class 1986". Journal Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-20. สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  10. University of Southeastern Philippines - Ronald dela Rosa Congratulatory Tarp เก็บถาวร 2016-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 Cupin, Bea (May 19, 2016). "Duterte's 'Bato': Who is Ronald dela Rosa?". Rappler. สืบค้นเมื่อ July 8, 2016.
  12. 12.0 12.1 Felipe, Cecile Suerte (May 19, 2016). "Davao's 'The Rock' is next PNP chief". Philstar Global. The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  13. Nigg, Charles (1904). A Tagalog English and English Tagalog dictionary. Manila: Imprenta de Fajardo y Compañía. p. 12. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
  14. Rafferty, Patrick (1928). Visayan-English dictionary. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Library. p. 17. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
  15. Mellejor, Lillian C. (May 17, 2016). "Duterte places 3 former Davao police chiefs on PNP Chief shortlist". Interaksyon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-01. สืบค้นเมื่อ July 1, 2016.
  16. Mellejor, Ayan C.; Ramos, Marlon (October 23, 2012). "14 stolen cars seized in Davao raid". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.
  17. Cayabyab, Marc Jayson (July 11, 2013). "Trader kidnapped in QC rescued in Davao; 3 kidnappers killed". GMA News. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.
  18. "How kidnapped businesswoman was rescued in Davao". ANC News Now. ABS-CBN News. July 12, 2013. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.
  19. Lacorte, Germelina (May 31, 2016). "Davao City's anti-illegal drugs campaign to go national". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.
  20. "Oplan Pakgang gipahigayon sa Davao City". Bombo Davao. 9 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.
  21. Tejano, Ivy C. (8 August 2013). "Oplan Pakgang shifts to Bunawan, Buhangin". Sun.Star Davao. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  22. 22.0 22.1 Alvarez, Kathrina Charmaine (July 1, 2016). "'Bato' Dela Rosa assumes command of PNP". GMA News. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  23. Diola, Camille (February 6, 2015). "LIST: Members of PNP board of inquiry on Mamasapano clash". The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  24. "BOARD OF INQUIRY AWARDED FOR INVALUABLE SERVICE". PNP.GOV.PH. PNP Public Information Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  25. Philippines News Agency (February 10, 2015). "Board of Inquiry on Mamasapano to complete final report by Feb. 26". InterAksyon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  26. Mellejor/Carillo, Ayan/Lovely (4 May 2016). "Davao's The Rock 'bato' and Vin Diesel Gen. Dela Rosa relieved (May 4, 2016)". The Mindanao Daily Mirror. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-01. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  27. 27.0 27.1 Felipe, Cecille Suerte (May 4, 2016). "Police general axed for FB posts on presidential bet". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  28. "Pro-Duterte cop faces probe for FB posts". ABS-CBN News. 3 May 2016. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  29. Cudis, Christine Joice C. (May 4, 2016). "Ex-Davao City police chief relieved". Sun.Star Davao. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  30. http://newsinfo.inquirer.net/938266/bato-dela-rosa-vice-president-leni-robredo-duterte-presidential-ambition-destabilization-politics
  31. http://www.philstar.com/headlines/2017/10/30/1753932/bato-dela-rosa-hints-possible-presidential-bid
  32. "Bato dela Rosa gets 3 more months before BuCor post". The Philippine Star.
  33. Corrales, Nestor (3 May 2018). "Dela Rosa officially appointed as BuCor chief". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
  34. Nancy Comandante Birth Certificate
  35. "God, wife, ghosts spook not-so-fearless 'Bato'". ABS-CBN News. 7 July 2016. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  36. Takumi, Rie (July 20, 2016). "PNP chief is tough on criminals but has a soft side, too". GMA New. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  37. Caballero, Angelo (October 30, 2016). "PNP chief Bato's son seeks to follow dad's footsteps". ABS-CBN News Davao. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  38. Farolan, Ramon (June 27, 2016). "Ronald and Nancy at the White House". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017.
  39. Gita, Ruth Abbey (July 1, 2016). "Dela Rosa assumes post as PNP chief". SunStar Manila. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  40. Felipe, Cecille Suerte (May 2, 2017). "Bato's only son now a PNPA cadet". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-29. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
  41. "Anak ni Bato: Rock dela Rosa joins PNPA". ABS-CBN News. May 1, 2017. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
  42. De Jesus, Julliane Love (June 19, 2017). "Dela Rosa says he's a 'proud descendant' of Jose Rizal". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
  43. Bolando, AJ (February 6, 2017). "Bato to bishops: I can talk to God without you". The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  44. "Bato: I am no cold-blooded killer". ABS-CBN Corporation. June 10, 2016. สืบค้นเมื่อ August 19, 2016.
  45. "WATCH: New PNP chief visits 'It's Showtime' (July 21, 2016)". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  46. "Bato dela Rosa, nakaharap si Rodney Juterte". GMA News. August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 8, 2016.
  47. Ramos, Gerry (October 7, 2016). "As a Ginebra fan, PNP chief Ronald 'Bato' Dela Rosa is as solid as a rock". Sports Interactive Network Philippines. สืบค้นเมื่อ October 16, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น