ข้ามไปเนื้อหา

คูนาร์ดไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คิวนาร์ด ไลน์)
บริษัทเรือกลไฟคูนาร์ด
Cunard-Steam Ship Company
ชื่อท้องถิ่น
คูนาร์ดไลน์ (Cunard Line)
ประเภทบริษัทย่อยของ Carnival Corporation & plc
อุตสาหกรรมการเดินเรือ, การขนส่ง
ก่อนหน้าTrafalgar House
ไวต์สตาร์ไลน์ Edit this on Wikidata
ก่อตั้ง1840; 184 ปีที่แล้ว (1840) (ในฐานะบริษัท Britian and North American Royal Mail Steam Packet Company)
ผู้ก่อตั้งSamuel Cunard Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่คาร์นิวัลเฮาส์, เซาแทมป์ตัน, สหราชอาณาจักร
พื้นที่ให้บริการมหาสมุทรแอตแลนติก, เมดิเตอเรเนียน, ยุโรปเหนือ, แคริบเบียน และทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • ไซมอน เพลธอร์ป (ประธาน)
  • เดวิด ดิงเกิล (รองประธาน)
ผลิตภัณฑ์เรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก, การเดินทางรอบโลก, การล่องเรือเพื่อการพักผ่อน
บริษัทแม่ คาร์นิวัล คอร์ปอเรชั่น แอนด์ พีแอลซี
เว็บไซต์www.cunard.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
ธงเดินเรือ:
เซอร์ซามูเอล คูนาร์ด บารอเนตที่ 1

บริษัทเรือกลไฟคูนาร์ด (อังกฤษ: Cunard-Steam Ship Company) หรือ คูนาร์ดไลน์ (Cunard Line) คือบริษัทเดินเรือและเรือสำราญสัญชาติอังกฤษ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่คาร์นิวัลเฮาส์ เมืองเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ บริหารงานโดยคาร์นิวัลยูเค (Carnival UK) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท คาร์นิวัล คอร์ปอเรชั่น แอนด์พีแอลซี จำกัด (Carnival Corporation & plc)[1] ตั้งแต่ปี 2011 เรือทั้ง 4 ลำของคูนาร์ดได้ขึ้นทะเบียนที่เมืองแฮมิลตัน เบอร์มิวดา[2][3]

ในปี 1839 ซามูเอล คูนาร์ด (Samuel Cunard)ได้รับสัญญาเดินเรือไปรษณีย์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเรือกลไฟเป็นรายแรกของอังกฤษ[4] ต่อมาในปีถัดมา เขาได้ก่อตั้ง บริษัท บริติชแอนด์นอร์ทอเมริกัน รอยัลเมลสตีมแพ็กเกต คอมพานี (British and North American Royal Mail Steam-Packet Company) ที่เมืองกลาสโกว์ ร่วมกับเซอร์จอร์จ เบินส์ เจ้าของเรือ และโรเบิร์ต เนเปียร์ นักออกแบบและวิศวกรเครื่องจักรเรือกลไฟชาวสกอตชื่อดัง เพื่อดำเนินธุรกิจการเดินเรือโดยใช้เรือกลไฟพาย 4 ลำแรกของบริษัทบนเส้นทางลิเวอร์พูล–แฮลิแฟกซ์–บอสตัน ตลอด 30 ปีต่อมา คูนาร์ดไลน์สามารถครองแชมป์เรือที่ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เร็วที่สุดด้วยรางวัลบลูริบบันด์ (Blue Riband) ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 1870 คูนาร์ดเริ่มตามหลังคู่แข่งอย่าง ไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) และอินแมนไลน์ (Inman Line) เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ในปี 1879 บริษัทจึงได้มีการปรับโครงสร้างเป็นบริษัท เรือกลไฟคูนาร์ด จำกัด (Cunard Steamship Company Ltd.) เพื่อระดมทุน[5]

ในปี 1902 ไวท์สตาร์ไลน์ได้เข้าร่วมกับบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เมอร์แคนไทล์ มารีน (International Mercantile Marine Co.) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน เพื่อรับมือกับการแข่งขัน รัฐบาลอังกฤษจึงได้ให้เงินกู้จำนวนมากแก่คูนาร์ดไลน์ พร้อมทั้งสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อสร้างเรือซูเปอร์ไลเนอร์สองลำ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของอังกฤษ ซึ่งก็คือเรืออาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (RMS Lusitania) ต่อมาถูกตอร์ปิโดจมในปี 1915 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และอีกลำหนึ่งคืออาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย (RMS Mauretania) ที่ครองรางวัลบลูริบบันด์ตั้งแต่ปี 1909–1929

ในปี 1919 คูนาร์ดได้ย้ายท่าเรือหลักในสหราชอาณาจักรจากเมืองลิเวอร์พูลไปยังเซาแทมป์ตัน เพื่อรองรับนักเดินทางจากลอนดอนได้สะดวกยิ่งขึ้น[6] ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 คูนาร์ดต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหม่ เมื่อเยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศส ได้สร้างเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่หรูหรา คูนาร์ดจึงจำเป็นต้องระงับการก่อสร้างเรือซูเปอร์ไลน์เนอร์ลำใหม่ของตนเอง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ต่อมาในปี 1934 รัฐบาลอังกฤษได้เสนอเงินกู้ให้คูนาร์ด เพื่อให้นำไปสร้างเรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary) ให้เสร็จ และสร้างเรือลำที่สองคือ อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (RMS Queen Elizabeth) โดยมีข้อแม้ว่าคูนาร์ดต้องควบรวมกิจการกับไวต์สตาร์ไลน์ ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนั้น เพื่อก่อตั้งบริษัท คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ จำกัด (Cunard-White Star Line) โดยคูนาร์ดถือหุ้นสองในสามในบริษัทใหม่ ในปี 1947 คูนาร์ดได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของไวต์สตาร์ไลน์คืน และเปลี่ยนชื่อบริษัทกลับเป็นคูนาร์ดไลน์อีกครั้งในปี 1950[5]

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง คูนาร์ดก็กลับมาเป็นบริษัทเดินเรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ใหญ่ที่สุดอีกครั้ง โดยดำเนินการเดินเรือ 12 ลำไปยังสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 อย่างไรก็ตาม หลังปี 1958 การเดินทางโดยเครื่องบินเจ็ตเริ่มได้รับความนิยม ส่งผลให้เรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเริ่มขาดทุนมากขึ้น คูนาร์ดจึงหันไปลองธุรกิจการบินโดยก่อตั้งสายการบิน “Cunard Eagle” และ “BOAC Cunard” แต่สุดท้ายก็ต้องยุติการกิจการในปี 1966 ต่อมาในปี 1968 คูนาร์ดก็ยกเลิกให้บริการเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกแบบประจำปี เพื่อหันมาเน้นธุรกิจเรือสำราญและการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในช่วงฤดูร้อนสำหรับนักท่องเที่ยว โดยแทนที่เรือควีนสองลำเดิมด้วยเรือ ควีนเอลิซาเบธ 2 (QE2) ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับการเดินทางทั้งสองรูปแบบ[7]

ในปี 1998 บริษัท คาร์นิวัล คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อกิจการของคูนาร์ดไลน์ โดยคิดเป็น 8.7% ของรายได้ทั้งหมดของคาร์นิวัลในปี 2012[8] ในปี 2004 เรือควีน เอลิซาเบธ 2 (QE2) ได้ปลดประจำการ และถูกแทนที่ด้วยเรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 (QM2) นอกจากนี้ คูนาร์ดยังให้บริการเรือสำราญ 2 ลำคือ เอ็มเอส ควีนวิกตอเรีย (MS Queen Victoria) และเอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (MS Queen Eluzabeth) ปัจจุบัน คูนาร์ดไลน์เป็นบริษัทเดินเรือเพียงแห่งเดียวที่ยังคงให้บริการเดินเรือโดยสารประจำระหว่างยุโรปและอเมริกาเหนือ

ในปี 2017 คูนาร์ดได้ประกาศว่าจะมีเรือลำที่สี่เข้าร่วมกองเรือ[9] เดิมทีมีกำหนดการไว้ในปี 2022 แต่ล่าช้าออกไปเป็นปี 2024 เนื่องจากผลกระทบของโรคระบาดโควิด–19 ปัจจุบันเรือลำนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ควีนแอนน์ (Queen Anne)[10]

ประวัติ

[แก้]

ช่วงแรก

[แก้]

การแข่งขันใหม่

[แก้]

บริษัทเรือกลไฟคูนาร์ด

[แก้]

คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์

[แก้]

ธุรกิจการบิน

[แก้]

ทราฟัลการ์เฮาส์

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]

รายชื่อเรือ

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) ธง สถานะ รูปภาพ
ควีนแมรี 2
(Queen Mary 2)
2003 2004–ปัจจุบัน เรือเดินสมุทร 149,215  เบอร์มิวดา ให้บริการ
ควีนวิกตอเรีย
(Queen Victoria)
2007 2007–ปัจจุบัน เรือสำราญ 90,049  เบอร์มิวดา ให้บริการ
ควีนเอลิซาเบธ
(Queen Elizabeth)
2010 2010–ปัจจุบัน เรือสำราญ 90,901  เบอร์มิวดา ให้บริการ

ในอนาคต

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) สถานะ รูปภาพ
ควีนแอนน์
(Queen Anne)
[11]
ต้นปี 2024 พฤษภาคม 2024 เรือสำราญ 113,300 กำลังสร้าง[12]

ในอดีต

[แก้]

เรือทั้งหมดนี้สร้างขึ้นสำหรับคิวนาร์ด เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น ประกอบด้วยเรือตามลำดับดังต่อไปนี้ :[5]

ค.ศ. 1840–1850

[แก้]

เรือทุกลำในยุคนี้มีสร้างด้วยไม้และมีล้อพาย

ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ
ยูนิคอร์น
(Unicorn)
1836 1840–1845 เรือเดินสมุทรด่วน 650 ถูกขายในปี 1846
บริแทนเนีย
(Britannia)
1840 1840–1849 เรือเดินสมุทรด่วน 1,150 ขายให้กับกองทัพเรือเยอรมันเหนือในปี1849
อคาเดีย
(Acadia)
1840 1840–1849 เรือเดินสมุทรด่วน 1,150 ขายให้กับกองทัพเรือเยอรมันเหนือ 1849
คาเลโดเนีย
(Caledonia)
1840 1840–1850 เรือเดินสมุทรด่วน 1,150 ขายให้กับกองทัพเรือสเปนในปี 1850
โคลัมเบีย
(Columbia)
1841 1840–1843 เรือเดินสมุทรด่วน 1,150 ไดรับรางวัลบลูริบบันด์, อัปปางในปี 1843
ฮิเบอร์เนีย
(Hibernia)
1843 1843–1850 เรือเดินสมุทรด่วน 1,400 ขายให้กับกองทัพเรือสเปนในปี 1850
แคมเบรีย
(Cambria)
1845 1844–1860 เรือเดินสมุทร 1,400 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, ถูกขายให้กับอิตาลีในปี 1860
มาร์กาเร็ต
(Margaret)
1839 1842–1872 เรือเดินสมุทรด่วน 750 ถูกขายในปี 1856
อเมริกา
(America)
1848 1848–1866 เรือเดินสมุทรด่วน 1,850 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, ถูกขายในปี 1863
ไนแอการ่า
(Niagara)
1848 1848–1866 เรือเดินสมุทรด่วน 1,850 ถูกขายในปี 1866 และดัดแปลงเป็นเรือใบ, อัปปางในปี 1875
ซาเทลไลท์
(Satellite)
1848 1848–1902 เรือลำเลียง 175 แยกชิ้นส่วนในปี 1902
ยูโรปา
(Europa)
1848 1848–1866 เรือเดินสมุทรด่วน 1,850 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, ถูกขายในปี 1867
แคนาดา
(Canada)
1848 1848–1867 เรือเดินสมุทรด่วน 1,850 ถูกขายในปี 1866 และดัดแปลงเป็นเรือใบ, แยกชิ้นส่วนในปี 1883
เอเชีย
(Asia)
1850 1850–1867 เรือเดินสมุทรด่วน 2,250 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, ถูกขายในปี 1868, แยกชิ้นส่วนในปี 1883
แอฟริกา
(Africa)
1850 1850–1868 เรือเดินสมุทรด่วน 2,250 ถูกขายในปี 1868

ค.ศ. 1850–1869

[แก้]

มีเพียงเรืออาระเบีย เท่านั้นที่มีลำเรือทำด้วยไม้ และมีเพียงอาระเบีย, เปอร์เซีย, แชมร็อก, แจ็คคัล, และสโกเทีย เท่านั้นที่มีล้อพาย

ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ
แชมร็อก
(Shamrock)
1847 1851–1854 เรือเดินสมุทร 714 ถูกขายในปี 1854
อาระเบีย
(Arabia)
1852 1852–1864 เรือเดินสมุทรด่วน 2,400 ถูกขายในปี 1864, อัปปางในปี 1868[13]
แอนดีส
(Andes)
1852 1852–1859 เรือเดินสมุทร 1,400 ขายให้กับรัฐบาลสเปนในปี 1859
แอลป์
(Alps)
1852 1852–1859 เรือเดินสมุทร 1,400 ขายให้กับรัฐบาลสเปนในปี 1859
คาร์นัค
(Karnak)
1853 1853–1862 เรือเดินสมุทร 1,116 อัปปางในปี 1862
เมลิตา
(Melita)
1853 1853–1861 เรือเดินสมุทร 1,254 ถูกขายในปี 1855
แจ็กคัล
(Jackal)
1853 1853– 1893 เรือลำเลียง 180 แยกชิ้นส่วนในช่วงทศวรรษที่ 1890
เดลต้า
(Delta)
1853 1854-1899 เรือเดินสมุทร 645 ถูกขาย[14]
เคอร์ลิว
(Curlew)
1853 1853–1856 เรือเดินสมุทร 523 อัปปางในปี 1856
จูรา
(Jura)
1854 1854–1861 เรือเดินสมุทร 2,200 ขายให้กับ อัลลัน ไลน์ในปี 1860, อัปปางในปี 1864[13]
เอตน่า
(Etna)
1855 1855–1860 เรือเดินสมุทร 2,200 ขายให้กับอินแมน ไลน์ในปี 1860 และแยกชิ้นส่วนในปี 1896[13]
อีมู
(Emeu)
1854 1854-1858 เรือเดินสมุทร 1,538 ถูกขายในปี 1858
เปอร์เซีย
(Persia)
1856 1856–1868 เรือเดินสมุทรด่วน 3,300 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, ปลดประจำการในปี 1868 และแยกชิ้นส่วนในปี 1872
สตรอมโบลี
(Stromboli)
1856 1859–1878 เรือเดินสมุทร 734 อัปปางในปี 1878
อีตาเลียน
(Italian)
1855 1855–1864 เรือเดินสมุทร 784 ถูกขายในปี 1864
เลบานอน
(Lebanon)
1854 1855–1859 เรือเดินสมุทร 1,000 ถูกขายในปี 1870
ปาเลสไตน์
(Palestine)
1858 1858–1870 เรือเดินสมุทร 1,000 ถูกขายในปี 1870
ออสตราเลเชียน คาลาเบีรย
(Australasian
Calabria)
1857 1859–1876 เรือเดินสมุทร 2,700 ถูกขายในปี 1876, แยกชิ้นส่วนในปี 1898[13]
แอตลาส
(Atlas)
1860 1860–1896 เรือเดินสมุทร 2,393 แยกชิ้นส่วนในปี 1896[13]
ดามัสกัส
(Damascus)
1860 1856-1860 เรือเดินสมุทร 1,213 ถูกขายในปี 1881
เคดาร์
(Kedar)
1860 1860–1897 เรือเดินสมุทร 1,783 แยกชิ้นส่วนในปี 1897
บัลเบค
(Balbec)
1852 1853–1884 เรือเดินสมุทร 1,783 แยกชิ้นส่วนในปี 1884
มาราธอน
(Marathon)
1860 1860–1898 เรือเดินสมุทร 2,403 แยกชิ้นส่วนในปี 1898
โมร็อกโก
(Morocco)
1861 1861–1896 เรือเดินสมุทร 1,855 แยกชิ้นส่วนในปี 1896
ไชนา
(China)
1862 1862–1880 เรือเดินสมุทร 2,638 ขายให้กับรัฐบาลสเปนในปี 1880
บริติช ควีน
(British Queen)
1849 1852–1898 เรือเดินสมุทร 772 แยกชิ้นส่วนในปี 1898
สโกเทีย
(Scotia)
1862 1862–1878 เรือเดินสมุทรด่วน 3,850 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, ถูกขายในปี 1878, อัปปางในปี 1904[13]
เฮคลา
(Hecla)
1863 1860–1881 เรือเดินสมุทร 1,785 ถูกขายในปี 1881
อัลฟา
(Alpha)
1863 1863–1869 เรือเดินสมุทรระดับกลาง 653 ถูกขายในปี 1869
ไซดอน
(Sidon)
1863 1861–1885 เรือเดินสมุทร 1,872 อัปปางในปี 1885
คอร์ซิกา
(Corscia)
1863 1863–1867 เรือเดินสมุทร 1,134 ถูกขายในปี 1868
โอลิมปัส
(Olympus)
1863 1860–1881 เรือเดินสมุทร 1,794 ถูกขายในปี 1881
ตรีโปลี
(Tripoli)
1863 1863–1872 เรือเดินสมุทร 2,057 อัปปางในปี 1872
คิวบา
(Cuba)
1864 1864–1876 เรือเดินสมุทรด่วน 2,700 อัปปางในปี 1887[13]
อะเลปโป
(Aleppo)
1865 1865–1909 เรือเดินสมุทรด่วน 2,056 แยกชิ้นส่วนในปี 1909[13]
ชวา
(Java)
1865 1865–1877 เรือเดินสมุทรด่วน 2,700 สูญหายในทะเล ในปี 1895[13]
พาลไมรา
(Palmyra)
1866 1866–1896 เรือเดินสมุทร 2,044 แยกชิ้นส่วนในปี 1896
มอลตา
(Malta)
1866 1865–1889 เรือเดินสมุทร 2,132 อัปปางในปี 1899
รัสเซีย
(Russia)
1867 1867–1879 เรือเดินสมุทรด่วน 2,950 อัปปางในปี 1902[13]
ไซบีเรีย
(Siberia)
1867 1867–1880 เรือเดินสมุทร 2,550 ขายให้กับเจ้าของชาวสเปนในปี 1880, เปลี่ยนชื่อเป็นมะนิลา, อับปางในปี 1882[13]
ซามาเรีย
(Samaria)
1868 1868–1902 เรือเดินสมุทร 2,550 ถูกขายในปี 1892

ค.ศ. 1869–1901

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ
ปัตตาเวีย
(Batavia)
1870 1870–1888 เรือเดินสมุทร 2,550 แยกชิ้นส่วนในปี 1924
อะบิสสิเนีย
(Abyssinia)
1870 1870–1880 เรือเดินสมุทรด่วน 3,250 ขายให้กับกิออน ไลน์ในปี 1880, ถูกทำลายด้วยไฟในทะเลในปี 1891[13]
แอลจีเรีย
(Algeria)
1870 1870–1881 เรือเดินสมุทรด่วน 3,250 ขายให้กับเรดสตาร์ไลน์ในปี 1881, แยกชิ้นส่วนในปี 1903[13]
พาร์เธีย
(Parthia)
1870 1870–1884 เรือเดินสมุทร 3,150 แยกชิ้นส่วนในปี 1956
เบต้า
(Beta)
1873 1874–1888 เรือเดินสมุทร 1,070 ถูกขายในปี 1889
โบธเนีย
(Bothnia)
1874 1874–1899 เรือเดินสมุทรด่วน 4,550 ถูกขายในปี 1896, แยกชิ้นส่วนในปี 1899
ซาราโกซ่า
(Saragossa)
1874 1874–1909 เรือเดินสมุทร 2,263 ถูกขายในปี 1880, แยกชิ้นส่วนในปี 1909
น็องต์
(Nantes)
1874 1873–1888 เรือเดินสมุทร 1,473 อัปปางในปี 1886
แบร็สต์
(Brest)
1874 1874–1879 เรือเดินสมุทร 1,472 อัปปางในปี 1879
แชร์บูร์ก
(Cherbourg)
1875 1875–1909 เรือเดินสมุทร 1,614 แยกชิ้นส่วนในปี 1909
ไซเธีย
(Scythia)
1875 1875–1899 เรือเดินสมุทรด่วน 4,550 ขายเพื่อแยกชิ้นส่วนในปี 1898[13]
แกลเลีย
(Gallia)
1879 1879–1897 เรือเดินสมุทรด่วน 4,550 ขายให้กับบีเวอร์ ไลน์ในปี 1897, แยกชิ้นส่วนในปี 1900[13]
ออทเทอร์
(Otter)
1880 1880–1920 เรือลำเลียง 287 ถูกขายในปี 1920
คาตาโลเนีย
(Catalonia)
1881 1881–1901 เรือเดินสมุทร 4,850 เรือลำแรกของคิวนาร์ดที่มีระบบไฟฟ้า, แยกชิ้นส่วนในปี 1901
เซฟาโลเนีย
(Cephalonia)
1882 1882–1900 เรือเดินสมุทร 5,500 ขายให้กับกองทัพเรือรัสเซียในปี 1900, อัปปางในปี 1904[13]
พาโวเนีย
(Pavonia)
1882 1882–1900 เรือเดินสมุทร 5,500 ขายและแยกชิ้นส่วนในปี 1900[13]
เซอร์เวีย
(Servia)
1881 1881–1902 เรือเดินสมุทรด่วน 7,400 เรือเดินสมุทรที่ทำจากเหล็กกล้าลำแรกของโลก, แยกชิ้นส่วนในปี 1902
ออราเนีย
(Aurania)
1883 1883–1905 เรือเดินสมุทรด่วน 7,250 ขายแล้วแยกชิ้นส่วนในปี 1905[13]
ออริกอน
(Oregon)
1883 1884–1886 เรือเดินสมุทรด่วน 7,400 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, สร้างขึ้นสำหรับกิออน ไลน์ ซึ่งซื้อโดยคิวนาร์ด ในปี 1884 และอัปปางในปี 1886 โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต
อัมเบรีย
(Umbria)
1884 1884–1910 เรือเดินสมุทรด่วน 7,700 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, แยกชิ้นส่วนในปี 1910[13]
เอทรูเรีย
(Etruria)
1884 1885–1909 เรือเดินสมุทรด่วน 7,700 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, แยกชิ้นส่วนในปี 1910[13]
สเคอมิเชอร์
(Skirmisher)
1884 1884–1945 เรือลำเลียง 612 แยกชิ้นส่วนในปี 1947
คัมปาเนีย
(Campania)
1893 1893–1914 เรือเดินสมุทรด่วน 12,900 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, ขายให้กับราชนาวีในปี 1914 และดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน เอ็ชเอ็มเอส คัมปาเนีย, อัปปางในปี 1918[13]
ลูคาเนีย
(Lucania)
1893 1893–1909 เรือเดินสมุทรด่วน 12,900 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, แยกชิ้นส่วนหลังจากไฟไหม้ในปี 1909
ซิลเวเนีย
(Sylvania)
1895 1895–1910 เรือบรรทุกสินค้า 5,598 ถูกขายในปี 1910
คารินเธีย
(Carinthia)
1895 1895–1900 เรือบรรทุกสินค้า 5,598 ใช้เป็นเรือลำเลียงพลในสงครามบูร์ครั้งที่ 2 อัปปางในปี 1900
พาเวีย
(Pavia)
1897 1897–1928 เรือบรรทุกสินค้า 2,945 แยกชิ้นส่วนในปี 1928
ไทเรีย
(Tyria)
1897 1897–1928 เรือบรรทุกสินค้า 2,936 ถูกขายในปี 1928
ไซเปรีย
(Cypria )
1898 1898–1928 เรือบรรทุกสินค้า 2,396 แยกชิ้นส่วนในปี 1928
เวเรีย
(Veria)
1899 1899–1915 เรือบรรทุกสินค้า 3,229 อัปปางโดยตอร์ปิโดในปี 1915
อัลโทเนีย
(Ultonia)
1899 1898–1917 เรือเดินสมุทร 10,400 อัปปางในปี 1917 จากการโจมตีของเรือดำน้ำ SM U-53 ของเยอรมัน
ไอเวอร์เนีย
(Ivernia)
1900 1900–1917 เรือเดินสมุทร 14,250 อัปปางในปี 1917 จากการโจมตีของเรือดำน้ำเยอรมัน SM UB-47
แซกโซเนีย
(Saxonia)
1900 1900–1925 เรือเดินสมุทร 14,250 แยกชิ้นส่วนในปี 1925

ค.ศ. 1901–1918

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ รูปภาพ
เบรสเชีย
(Brescia)
1903 1903–1931 เรือบรรทุกสินค้า 3,225 ถูกขายในปี 1931
คาร์พาเธีย
(Carpathia)
1903 1903–1918 เรือเดินสมุทร 13,600 ช่วยชีวิตผู้รอดชีวิตจากเรือไททานิก, อับปางโดยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำเยอรมัน U-55 ในปี 1918
สลาโวเนีย
(Slavonia)
1903 1903–1909 เรือเดินสมุทร 10,606 อับปางในปี 1909
พันโนเนีย
(Pannonia)
1903 1903–1914 เรือเดินสมุทร 9,851 แยกชิ้นส่วนในปี 1922
คาโรเนีย
(Caronia)
1905 1905–1932 เรือเดินสมุทร 19,650 แยกชิ้นส่วนในปี 1932
คาร์มาเนีย
(Carmania)
1905 1905–1932 เรือเดินสมุทร 19,650 แยกชิ้นส่วนในปี 1932
ลูซิทาเนีย
(Lusitania)
1907 1907–1915 เรือเดินสมุทรด่วน 31,550 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, อับปางโดยเรือดำน้ำเยอรมัน U-20 ในปี 1915
มอริทาเนีย
(Mauretania)
1907 1907–1934 เรือเดินสมุทรด่วน 31,950 ได้รับรางวัลบลูริบบันด์, scrapped 1934
ลิเซีย
(Lycia)
1896 1909–1917 เรือบรรทุกสินค้า 2,715 ถูกจับโดย SM UC-65 และอับปางลงด้วยระเบิดในปี 1917
ฟรีเจีย
(Phrygia)
1900 1909–1928 เรือบรรทุกสินค้า 3,352 ถูกขายในปี 1928
ธราเซีย
(Thracia)
1895 1909–1917 เรือบรรทุกสินค้า 2,891 อับปางโดย SM UC-69 ในปี 1917
ฟรานโกเนีย
(Franconia)
1911 1911–1916 เรือเดินสมุทร 18,100 จมโดย SM UB-47 ในปี 1916
แอลเบเนีย
(Albania)
1900 1911–1912 เรือเดินสมุทร 7,650 สร้างสำหรับทอมป์สันไลน์, ซื้อโดยคิวนาร์ดในปี 1911, ขายให้กับแบงค์ไลน์ ในปี 1912, แยกชิ้นส่วนในปี 1930[13]
ออโซเนีย
(Ausonia)
1909 1911–1918 เรือเดินสมุทร 7,907 สร้างสำหรับสายทอมป์สัน ซื้อโดยคูนาร์ดในปี 1911 อับปางโดยเรือดำน้ำ SM U-62 30 พฤษภาคม 1918
แอสคาเนีย
(Ascania)
1911 1911–1918 เรือเดินสมุทร 9,100 อับปางในปี 1918
คาเรีย
(Caria)
1900 1911–1915 เรือบรรทุกสินค้า 3,023 อับปางโดยเรือดำน้ำเยอรมันในปี 1915
ลาโคเนีย
(Laconia)
1912 1912–1917 เรือเดินสมุทร 18,100 อับปางโดยเรือดำน้ำ SM U-50 ในปี 1917
อันดาเนีย
(Andania)
1913 1913–1918 เรือเดินสมุทร 13,400 อับปางโดยเรือดำน้ำ SM U-46 ในปี 1918
อเลาเนีย
(Alaunia)
1913 1913–1916 เรือเดินสมุทร 13,400 อับปางโดยทุ่นระเบิดในปี 1916
แอควิทาเนีย
(Aquitania)
1914 1914–1950 เรือเดินสมุทรด่วน 45,650 ประจำการในสงครามโลกทั้งสองครั้ง, ปลดระวางในปี 1950
ออร์ดูญา
(Orduna)
1914 1914–1921 เรือเดินสมุทร 15,700 สร้างขึ้นสำหรับ PSN Co ซึ่งถูกซื้อโดยคิวนาร์ด ในปี 1914 และส่งคืนให้ PSN ในปี 1921, แยกชิ้นส่วนในปี 1951
โวโลเดีย
(Volodia)
1913 1915–1917 เรือบรรทุกสินค้า 5,689 อับปางโดยเรือดำน้ำ SM U-93 ในปี 1917
แวนดาเลีย
(Vandalia)
1912 1915–1918 เรือบรรทุกสินค้า 7,334 อับปางโดยเรือดำน้ำในปี 1918
วิโนเวีย
(Vinovia)
1906 1915–1917 เรือบรรทุกสินค้า 7,046 อับปางโดยเรือดำน้ำในปี 1917
ออเรเนีย
(Aurania)
1916 1916–1918 เรือเดินสมุทร 13,400 อับปางโดยเรือดำน้ำ SM UB-67 ในปี 1918
วาลาเซีย
(Valacia)
1916 1916–1933 เรือเดินสมุทร 6,526 แยกชิ้นส่วนในปี 1932
รอยัล จอร์จ
(Royal George)
1907 1916–1920 เรือเดินสมุทร 11,142 แยกชิ้นส่วนในปี 1922
จัสติเซีย
(Justicia)
1917 ไม่ได้ประจำการ เรือเดินสมุทร 32,120 ซื้อมาจากฮอลแลนด์อเมริกาไลน์ แต่ไม่เคยดำเนินการให้กับ คิวนาร์ด เนื่องจากขาดแคลนลูกเรือ และถูกส่งมอบให้กับ ไวต์สตาร์ไลน์
เฟลเทรีย
(Feltria)
1891 1916–1917 เรือเดินสมุทร 2,254 อับปางโดยเรือดำน้ำ UC-48
ฟลาเวีย
(Flavia)
1902 1916–1918 เรือเดินสมุทร 9,285 อับปางโดยเรือดำน้ำ U-107
โฟเลีย
(Folia)
1907 1916–1917 เรือเดินสมุทร 6,560 อับปางโดยเรือดำน้ำ U-53

ค.ศ. 1918–1934

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ รูปภาพ
Virgilia 1918 1919–1925 Cargo ship 5,697 Sold 1925
Vindelia 1918 1919-1919 Cargo ship 4,430 Sold to Anchor Line 1919
Verentia 1918 1919-1919 Cargo ship 4,430 Sold to Anchor Line 1919
Vitellia 1918 1919–1926 Cargo ship 5,185 Sold 1926
Vaurdulia 1917 1919–1926 Cargo ship 5,691 Sold 1929
Verbania 1918 1919–1926 Cargo ship 5,021 Sold 1926
Vennonia 1918 1919–1923 Cargo ship 4,430 Sold 1923
Vasconia 1918 1919–1927 Cargo ship 5,680 Sold to Japan 1927
Venusia 1918 1919–1926 Cargo ship 5,223 Sold 1923
Vauban 1912 1919–1922 Intermediate 10,660 Chartered from Lamport & Holt Line for six voyages, scrapped 1932[13]
Vestris 1912 1919–1922 Intermediate 10,494 Chartered from Lamport & Holt Line for six voyages, Wrecked in 1928
Vasari 1908 1919–1921 Intermediate 8,401 Chartered from Lamport & Holt Line for seven voyages
Vellavia 1918 1919–1925 Cargo ship 5,272 Sold 1925
Albania 1920 1920–1930 Intermediate 12,750 Sold to Libera Triestina 1930 and renamed California, sunk by Fleet Air Arm Swordfish[13]
Satellite 1896 1920–1924 Tender 333 Scrapped in 1924
Berengaria 1913 1921–1938 Express 51,950 Built by Hapag as Imperator, purchased by Cunard 1921, sold for scrap 1938
Scythia 1921 1921–1958 Intermediate 19,700 Longest serving liner until QE2 in 2005, scrapped 1958
Cameronia 1921 1921–1924 Intermediate 16,365 Chartered from the Anchor Line
Emperor Of India 1914 1921-1921 Intermediate 11,430 Chartered from P&O for one voyage.
Empress Of India 1907 1921-1921 Intermediate 16,992 Chartered from Canadian and Pacific line for two voyages.
Andania 1921 1921–1940 Intermediate 13,900 Sunk by UA 1940
Samaria 1922 1922–1955 Intermediate 19,700 Scrapped 1955
Vandyck 1921 1922–1922 Intermediate 13,234 Chartered from Lamport Holt line for 1 voyage
Laconia 1922 1922–1942 Intermediate 19,700 Sunk by U-156 1942
Sauturnia 1910 1922–1924 Cargo liner 8,611 Chartered from Donaldson Line
Antonia 1922 1922–1942 Intermediate 13,900 Sold to Admiralty 1942, scrapped 1948[13]
Ausonia 1922 1922–1942 Intermediate 13,900 Sold to Admiralty 1942, scrapped 1965[13]
Lancastria 1922 1922–1940 Intermediate 16,250 Built as Tyrrhenia, sunk by bombing 1940
Athenia 1923 1923–1935 Intermediate 13,465 Transferred to Anchor Donaldson, sunk by U-30 1939[13]
Lotharingia 1923 1923–1933 Tender 1,256 Sold in 1933
Alsatia 1923 1923–1933 Tender 1,310 Sold in 1933
Franconia 1923 1923–1956 Intermediate 20,200 Scrapped 1956
Aurania 1924 1924–1942 Intermediate 14,000 Sold to Admiralty 1942, scrapped 1961[13]
Cassandra 1924 1924–1929 Cargo liner 8,135 Chartered from Donaldson Line, sold 1929, scrapped 1934[13]
Carinthia 1925 1925–1940 Ocean liner 20,200 Sunk by U-46 1940
Letitia 1925 1925–1935 Intermediate 13,475 Transferred to Anchor Donaldson 1935
Ascania 1925 1925–1956 Intermediate 14,000 Scrapped 1956
Alaunia 1925 1925–1944 Intermediate 14,000 Sold to Admiralty 1944, scrapped 1957.[13]
Tuscania 1921 1926–1931 Intermediate 16,991 Chartered from the Anchor Line.
Bantria 1928 1928-1954 Cargo ship 2,402 Sold to Costa Line 1954 and renamed Giorgina Celli.
Bactria 1928 1928–1954 Cargo ship 2,407 Sold to Costa Rica 1954 and renamed Theo.
Bothnia 1928 1928–1955 Cargo ship 2,402 Sold to Panama 1955 and renamed Emily.
Bosnia 1928 1928–1939 Cargo ship 2,402 Sunk by U-47 1939.

ค.ศ. 1934–1949

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ รูปภาพ
Queen Mary 1936 1936–1967 Express 80,750 WWII troopship 1940–1945; Blue Riband, sold 1967, now a stationary hotel ship
Mauretania 1939 1939–1965 Express 37,750 WWII troopship 1940–1945; scrapped by 1966
Queen Elizabeth 1940 1946–1968 Express 83,650 WWII troopship 1940–1945, sold to The Queen Corporation in 1968, renamed Elizabeth; auctioned off to Tung Chao Yung in 1970, refitted as a floating university, renamed Seawise University, destroyed by fire in 1972; partially scrapped 1974–1975
Valacia 1943 1946–1950 Cargo ship 7,052 Sold to Bristol city line 1950
Vasconia 1944 1946–1950 Cargo ship 7,058 Sold to Blue star line 1950
Media 1947 1947–1961 Passenger-cargo liner 13,350 Sold to Cogedar Line 1961, refitted as an ocean liner, renamed Flavia; sold to Virtue Shipping Company in 1969, renamed Flavian; sold to Panama, renamed Lavia in 1982, caught fire and sank in 1989 in Hong Kong Harbour during refitting and was scrapped afterwards in Taiwan[13]
Asia 1947 1947–1963 Cargo ship 8,723 Sold to Taiwan 1963 and renamed Shirley
Brescia 1945 1947–1966 Cargo ship 3,834 Ex Hickory Isle Purchased from MOWT 1947 sold to Panama 1966 and renamed Timber One
Parthia 1947 1947–1961 Passenger-cargo liner 13,350 Sold to P&O 1961, renamed Remuera; transferred to P&O's Eastern and Australian Steamship Company in 1964, refitted as a cruise ship, renamed Aramac; scrapped in Taiwan by 1970[13]
Britannic 1929 1949–1960 Intermediate 26,943 Built for White Star Line, scrapped 1960
Georgic 1931 1949–1956 Intermediate 27,759 Built for White Star Line, scrapped 1956
Caronia 1949 1949–1968 Cruise ship 34,200 Sold to Star Shipping 1968, renamed Columbia; renamed Caribia in 1969; wrecked 1974 at Apra Harbor, Guam and broke up while being towed to Taiwan to be scrapped

ค.ศ. 1949–1968

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ รูปภาพ
Assyria 1950 1950–1963 Cargo ship 8663 Sold to Greece as Laertis
Alsatia 1948 1951–1963 Cargo ship 7226 1951 ex Silverplane purchased from Silver Line, 1963 sold to Taiwan, renamed Union Freedom
Andria 1948 1951–1963 Cargo ship 7228 1951 ex Silverbriar purchased from Silver Line, 1963 sold to Taiwan, renamed Union Faith. Sank on 6 April 1969 after a collision and fire.
Pavia 1953 1953–1965 Cargo ship 3,411 Sold to Greece as Toula N 1965
Lycia 1954 1954–1965 Cargo ship 3,543 Served on Great Lakes trade in 1964. Sold to Greece a year later and renamed Flora N
Saxonia

Carmania
1954 1954–1962
1962–1973
Canadian service
Cruise ship
21,637
21,370
Refitted as cruise ship in 1962, renamed Carmania; sold to the Black Sea Shipping Company, Soviet Union 1973, renamed Leonid Sobinov, scrapped 1999
Phrygia 1955 1955–1965 Cargo ship 3,534 Served on Cunard Great Lakes route in 1964. Sold to Panama a year later and renamed Dimitris N
Ivernia
Franconia
1955 1955–1963
1963–1973
Canadian service
Cruise ship
21,800 Refitted as cruise ship in 1963, renamed Franconia; sold to the Far Eastern Shipping Company, Soviet Union 1973, renamed Fedor Shalypin; transferred to the Black Sea Shipping Company in 1980; transferred to the Odessa Cruise Company in 1992; scrapped 2004[13]
Carinthia 1956 1956–1968 Canadian service 21,800 Sold to Sitmar Line 1968, refitted as a full-time cruise ship, renamed Fairsea; transferred to Princess Cruises, renamed Fair Princess in 1988 when Sitmar was sold to P&O; transferred to P&O Cruises Australia in 1996; sold to China Sea Cruises in 2000, renamed China Sea Discovery; scrapped 2005 or 2006
Sylvania 1957 1957–1968 Canadian service 21,800 Sold to Sitmar Line 1968, renamed Fairwind, renamed Sitmar Fairland in 1988; transferred to Princess Cruises, renamed Dawn Princess; sold to V-Ships in 1993, renamed Albatros; sold to the Alang, India scrapyard, renamed Genoa and scrapped 2004
Andania 1959 1959–1969 Cargo liner 7,004 Sold to Brocklebank Line in 1969
Alaunia 1960 1960–1969 Cargo liner 7,004 Sold to Brocklebank Line in 1969
Arabia 1955 1967–1969 Cargo liner 3,803 Ex-Castilian chartered from Ellerman Lines
Nordia 1961 1961–1963 Cargo ship 4,560 sold 1963
Media 1963 1963–1971 Cargo ship 5,586 Sold 1971 to Western Australian Coastal Shipping Commission renamed Beroona
Parthia 1963 1963–1971 Cargo ship 5,586 Sold 1971 to Western Australian Coastal Shipping Commission renamed Wambiri
Saxonia 1963 1963–1970 Cargo ship 5,586 Sold to Brocklabank Line renamed Maharonda
Sarmania 1964 1964–1969 Cargo ship 5,837 Sold 1969 to T & J. Harrison, Liverpool renamed Scholar
Scythia 1964 1964–1969 Cargo ship 5,837 Sold 1969 to T & J. Harrison, Liverpool renamed Merchant
Ivernia 1964 1964–1970 Cargo ship 5,586 Sold 1970 to Brocklebank Line renamed Manipur
Scotia 1966 1966–1970 Cargo ship 5,837 Sold 1970 to Singapore renamed Neptune Amber

ค.ศ. 1968–1999

[แก้]
ชื่อ สร้าง เข้าประจำการ ประเภท น้ำหนัก (ตัน) หมายเหตุ รูปภาพ
Queen Elizabeth 2 1969 1969–2008 Ocean Liner 70,300 Sold 2008, longest serving Cunarder in history; operating as a floating hotel in Dubai since April 2018[15]
Atlantic Causeway 1969 1970–1986 Container ship 14,950 Scrapped in 1986
Atlantic Conveyor 1970 1970–1982 Container ship 14,946 Sunk in Falklands War 1982
Cunard Adventurer 1971 1971–1977 Cruise ship 14,150 Sold to Norwegian Cruise Line 1977, renamed Sunward II, renamed Triton in 1991; auctioned in 2004 to Louis Cruises and renamed Coral; sold to a Turkish scrapping company and then to the Alang, India shipbreaking yard and scrapped in 2014
Cunard Campaigner 1971 1971–1974 Bulk carrier 15,498 Sold to the Great Eastern Shipping Co in 1974 and renamed Jag Shakti. Scrapped at Alang, India in 1997
Cunard Caravel 1971 1971–1974 Bulk carrier 15,498 Sold to the Great Eastern Shipping Co in 1974 and renamed Jag Shanti. Scrapped at Alang, India in 1997
Cunard Carronade 1971 1971–1978 Bulk carrier 15,498 Sold to Olympic Maritime in 1978. and renamed Olympic History.
Cunard Calamanda 1972 1972–1978 Bulk carrier 15,498 Sold in 1978 and renamed Ionian Carrier.
Cunard Ambassador 1972 1972–1974 Cruise ship 14,150 Sold after fire 1974 to C. Clausen, refitted as sheep carrier Linda Clausen; sold to Lembu Shipping Corporation and renamed Procyon, caught fire a second time in 1981 in Singapore but was repaired; sold to Qatar Transport and Marine Services; sold to Taiwanese ship breakers and scrapped in 1984 following a 1983 fire
Cunard Carrier 1973 1973– Bulk carrier 15,498 Sold to Silverdale Ltd and renamed Aeneas.
Cunard Cavalier 1973 1973–1978 Bulk carrier 15,498 Sold to Olympic Maritime in 1978 and renamed Olympic Harmony. Wrecked at Port Muhammad in 1990 and scrapped at Alang in 1992.
Cunard Chietain 1973 1973– Bulk carrier 15,498 Sold to Superblue and renamed Chieftain. Resold to Great City Navigation in 1981 and renamed Great City.
Cunard Countess 1975 1976–1996 Cruise ship 17,500 Sold to Awani Cruise Line 1996, renamed Awani Dream II; transferred to Royal Olympic Cruises 1998, renamed Olympic Countess; sold to Majestic International Cruises 2004, renamed Ocean Countess, chartered to Louis Cruise Lines as Ruby during 2007; retired in 2012; caught fire in 2013 at Chalkis, Greece while laid up; sold to a Turkish scrapyard and scrapped in 2014
Cunard Princess 1975 1977–1995 Cruise ship 17,500 Charted to StarLauro Cruises in 1995; sold to MSC Cruises in 1995, renamed Rhapsody; sold to Mano Maritime in 2009 and renamed Golden Iris. Scrapped July 2022 at Aliaga, Turkey.[16]
Sarmania 1973 1976–1986 Reefer 8,557 Ex- Chrysantema, 1976 purchased from Paravon Shipping, Glasgow, 1986 sold to Greece renamed Capricorn. Scrapped at Alang, India in 1997
Alastia 1973 1976–1981 Reefer 7,722 1972 Ex- Edinburgh Clipper, 1976 purchased from Maritime Fruit Carriers Corp., renamed Alsatia, 1981 sold to Restis Group renamed America Freezer
Andania 1972 1976–1981 Reefer 7,689 Ex-Glasgow Clipper, 1976 purchased from Souvertur Shipping, Glasgow renamed Andania, 1981 sold to Restis Group renamed Europa Freezer. Scrapped at Alang, India in 1995
Saxonia 1973 1976–1986 Reefer 8,547 Ex- Gladiola, 1976 purchased from Adelaide Shipping, Glasgow, 1986 sold to Tondo Shipping Corp renamed Carina
Andria 1972 1976–1981 Reefer 7,722 Ex- Teesside Clipper, 1976 purchased from Maritime Island Fruit Reefers Ltd, renamed Andria, 1981 sold to Restis Group renamed Australia Freezer
Carmania 1972 1976–1986 Reefer 7,323 Ex- Orange, 1976 purchased from Chichester Shipping, Glasgow renamed Carmania, 1986 sold to Greece renamed Perseus
Scythia 1972 1976–1986 Reefer 8,557 Ex- Iris Queen, 1976 purchased from Adelaide Shipping, Glasgow, 1986 sold to Greece renamed Centaurus. Destroyed by fire in 1989
England 1964 1982–1986 Ferry 8,116 1982 purchased from DFDS, 1986 left for Jeddah as accommodation ship renamed America XIII. Sank in the Red Sea en route to Alang, India for scrapping in 1989
Sagafjord 1965 1983–1997 Ocean Liner 24,500 Built for Norwegian America Line; chartered to Transocean Tours as Gripsholm during 1996–1997; sold to Saga Cruises 1997 and renamed Saga Rose; retired in 2009, sold to a Chinese ship recycling yard and scrapped 2011–2012
Vistafjord
Caronia
1973 1983–1999
1999–2004
Cruise ship 24,300 built for Norwegian America Line; operated under Norwegian America Line from 1973 to 1983, and under Cunard from 1983 to 2004, renamed Caronia in 1999; sold to Saga Cruises 2004 and renamed Saga Ruby; retired in 2014, sold to Millennium View Ltd. in 2014, renamed Oasia and planned to be refitted as a floating hotel ship in Myanmar, but this never happened; towed to the Alang shipbreaking yard and scrapped in 2017
Atlantic Star 1967 1983–1987 Container ship 15,055 Transferred from Holland America Line
Atlantic Conveyor 1985 1985–1996 Container ship 58,438 Transferred to Atlantic Container Line
Sea Goddess I 1984 1986–1998 Cruise ship 4,333 Built for Sea Goddess Cruises; transferred to Cunard in 1986; transferred to Seabourn Cruise Line 1998 and renamed Seabourn Goddess I; sold to SeaDream Yacht Club in 2001 and renamed SeaDream I
Sea Goddess II 1985 1986–1998 Cruise ship 4,333 Built for Sea Goddess Cruises, transferred to Cunard in 1986; transferred to Seabourn Cruise Line 1998 and renamed Seabourn Goddess II; sold to SeaDream Yacht Club in 2001 and renamed SeaDream II
Cunard Crown Monarch 1990 1993–1994 Cruise ship 15,271 Built for Crown Cruise Line, transferred to Crown Cruise Line 1994
Cunard Crown Jewel 1992 1993–1995 Cruise ship 19,089 Built for Crown Cruise Line, transferred to Star Cruises 1995
Cunard Crown Dynasty 1993 1993–1997 Cruise ship 19,089 Built for Crown Cruise Line, transferred to Majesty Cruise Line 1997
Royal Viking Sun 1988 1994–1999 Cruise ship 37,850 Built for Royal Viking Line, transferred to Seabourn Cruise Line 1999

โรงแรมของคิวนาร์ด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Company news; Carnival to buy remaining stake in Cunard Line". The New York Times. 20 October 1999.
  2. "Cruise Line 'Awaiting Further Updates' On Law". 13 December 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2018. สืบค้นเมื่อ 22 January 2018.
  3. Jonathan Bell (21 October 2011). "Luxury cruise ship line Cunard switches to Bermuda registry | Bermuda News". Royalgazette.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2012. สืบค้นเมื่อ 7 November 2012.
  4. "Cunard". Atlantis Travel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-05-24.
  5. 5.0 5.1 5.2 Gibbs, Charles Robert Vernon (1957). Passenger Liners of the Western Ocean: A Record of Atlantic Steam and Motor Passenger Vessels from 1838 to the Present Day. John De Graff. pp. 52–92.
  6. The Nautical Gazette. 1919. p. 210.
  7. Maxtone-Graham, John (1972). The Only Way To Cross. Collier.
  8. "2012 World Wide Market Share". Cruise Market Watch. 20 November 2011.
  9. "Carnival Corporation to Build New Cruise Ship for Iconic Cunard Brand | Carnival Corporation & plc". www.carnivalcorp.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-23. สืบค้นเมื่อ 2022-07-29.
  10. "Cunard Reveals Name of New Ship, Queen Anne". www.travelmarketreport.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-29.
  11. "Cunard Announces New Cruise Ship Queen Anne". cruiseindustrynews. cruiseindustrynews. 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  12. "Steel Cut for New Cunard Line Ship". Cruise Industry News. 11 October 2019. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 13.21 13.22 13.23 13.24 13.25 13.26 13.27 13.28 13.29 13.30 13.31 13.32 Wills, Elspeth (2010). The Fleet 1840–2010. London: Cunard. ISBN 978-0-9542451-8-4.
  14. "Cunard Line". The Ships List. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  15. "Queen Mary 2 Guests to Be First to Board the QE2 Hotel in Dubai". Hotel News Resource. 17 April 2018. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
  16. Raza, Raghib (July 22, 2022). "Cunard's Princess Beached at Aliaga Ship Breaking Yard to Be Scrapped". Fleetmon. สืบค้นเมื่อ July 26, 2022.