จังหวัดของประเทศแอฟริกาใต้
จังหวัดของประเทศแอฟริกาใต้ | |
---|---|
หมวดหมู่ | Regional state |
ที่ตั้ง | แอฟริกาใต้ |
ก่อตั้ง | 27 เมษายน ค.ศ. 1994 |
จำนวน | 9 |
ประชากร | 1,145,861 (นอร์เทิร์นเคป) – 12,272,263 (เคาเต็ง) |
พื้นที่ | 47,080 ตร.กม. (เคาเต็ง) – 372,890 ตร.กม. (นอร์เทิร์นเคป) |
การปกครอง | |
หน่วยการปกครอง | อำเภอ |
จังหวัด (อังกฤษ: province) เป็นหน่วยการบริหารระดับแรกของประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศแอฟริกาใต้แบ่งออกเป็นเก้าจังหวัด[1] ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 1994 มาตุภูมิบันตูหรือบันตูสถานต่าง ๆ ถูกรวมกลับเข้ามากับจังหวัดเดิมสี่จังหวัดที่มีอยู่ก่อนและแบ่งออกเป็นเก้าจังหวัดในปัจจุบัน เขตแดนจังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ครั้งที่สิบสอง สิบสาม และสิบหก
ประวัติ
[แก้]สหภาพแอฟริกาใต้จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1910 จากการรวมอดีตอาณานิคมของบริเตนสี่แห่งได้แก่อาณานิคมแหลม อาณานิคมนาตาล อาณานิคมทรานส์วาล และอาณานิคมแม่น้ำออเรนจ์ (ก่อนสงครามบูร์ครั้งที่สอง สองอาณานิคมหลังมีฐานะเป็นรัฐอิสระได้แก่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้และเสรีรัฐออเรนจ์) อาณานิคมเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสี่จังหวัดแรกของสหภาพแอฟริกาใต้ได้แก่จังหวัดเคป จังหวัดทรานส์วาล จังหวัดนาตาล และจังหวัดออเรนจ์ฟรีสเตต
การแบ่งแยกประชากรผิวดำในประเทศแอฟริกาใต้เริ่มต้นใน ค.ศ. 1913 โดยคนผิวดำสามารถถือครองที่ดินได้เฉพาะบริเวณที่กำหนดซึ่งมีพื้นที่รวมประมาณร้อยละ 13 ของประเทศ นับแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา พื้นที่ดังกล่าวได้รวมกันโดยลำดับกลายเป็นเขตที่เรียกว่า "มาตุภูมิ" หรือ "บันตูสถาน" โดยมาตุภูมิสี่แห่งได้รับการสถาปนาเป็นรัฐชาติกึ่งเอกราช (quasi-independent nation state) ของประชากรผิวดำในช่วงการถือผิว โดยใน ค.ศ. 1976 มาตุภูมิทรานส์เคย์เป็นมาตุภูมิแรกที่ยอมรับสถานะกึ่งเอกราชจากแอฟริกาใต้ ก่อนที่อีกสามแห่งจะยอมรับสถานะเดียวกันได้แก่โบพูทัตสวานา (ค.ศ. 1977) เวนดา (ค.ศ. 1979) และซิสเคย์ (ค.ศ. 1981) สถานะกึ่งเอกราชดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศอื่นนอกเหนือจากแอฟริกาใต้
ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1994 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่สิทธิเลือกตั้งไม่จำกัดเชื้อชาติและวันที่รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลมีผลบังคับใช้ จังหวัดและมาตุภูมิดังกล่าวถูกยุบและแบ่งใหม่ออกเป็นเก้าจังหวัด การแบ่งเขตจังหวัดมีขึ้นใน ค.ศ. 1993 โดยคณะกรรมาธิการพิจารณาเขตจังหวัด (Commission on the Demarcation/Delimitation of Regions) ซึ่งจัดตั้งโดยโคเดซาหรือที่ประชุมใหญ่เพื่อแอฟริกาใต้ที่เป็นประชาธิปไตย (CODESA; Convention for a Democratic South Africa) เขตจังหวัดดังกล่าวมีรากฐานมาจากภูมิภาคเพื่อการพัฒนา (planning region) ซึ่งแบ่งโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศแอฟริกาใต้ ในทศวรรษ 1980[2][3] และเขตอำนาจศาลแขวงในประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีการเจรจาระหว่างพรรคการเมืองเพื่อสร้างฐานเสียงของพรรคในแต่ละจังหวัดโดยการโอนเขตอำเภอระหว่างจังหวัดที่มีการเสนอ[4][5] เขตจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ถูกระบุในภาคผนวก 1 ของรัฐธรรมนูญเฉพาะกาล
การบริหาร
[แก้]การบริหารราชการของจังหวัดในประเทศแอฟริกาใต้จะแบ่งออกเป็นระดับชาติและระดับจังหวัด[6] โดยในระดับชาติจะบริหารโดยสภาจังหวัดแห่งชาติซึ่งเป็นหนึ่งในสองรัฐสภาของประเทศแอฟริกาใต้ และในระดับจังหวัดจะบริหารโดยสภานิติบัญญัติประจำจังหวัด นอกจากนี้ ในระดับต่ำกว่าจังหวัดยังมีสภาบริหารสำหรับหน่วยย่อยได้แก่อำเภอและเทศบาล
สภาจังหวัดแห่งชาติ
[แก้]ประเทศแอฟริกาใต้มีสองรัฐสภาได้แก่สภาแห่งชาติ (National Assembly) และสภาจังหวัดแห่งชาติ (National Council of Provinces)[6] สภาหลังนี้มีขึ้นเพื่อให้ผลประโยชน์ของแต่ละจังหวัดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายบัญญัติโดยสภาแห่งชาติ
แต่ละจังหวัดจะมีผู้แทน 10 คนในสภาจังหวัดแห่งชาติ โดย 6 คนเป็นสมาชิกถาวรของสภาจังหวัดแห่งชาติ และ 4 คนเป็นผู้แทนพิเศษ
สภานิติบัญญัติประจำจังหวัด
[แก้]แต่ละจังหวัดจะบริหารโดยใช้ระบบสภาเดียว โดยขนาดของสภาบริหารจะขึ้นกับจำนวนประชากร ตั้งแต่ 30 คนในจังหวัดนอร์เทิร์นเคปไปจนถึง 80 คนในจังหวัดควาซูลู-นาตาล สมาชิกสภาบริหารจะมาจากการเลือกตั้งเมื่อครบวาระห้าปีโดยใช้ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ โดยทั่วไปแล้วการเลือกตั้งสภาชิกสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดจะจัดขึ้นในวันเดียวกันกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ[7]
สมาชิกสภานิติบัญญัติจังหวัดจะเลือกนายกสภานิติบัญญัติประจำจังหวัด และนายกสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดจะเลือกสมาชิก 5 ถึง 10 คนเพื่อเป็นสมาชิกสภาบริหารจังหวัด ซึ่งเทียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีประจำจังหวัดนั้น[7]
อำนาจของสภาระดับจังหวัดจะจำกัดเฉพาะประเด็นที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โดยสภาระดับจังหวัดจะมีอำนาจร่วมกันกับรัฐบาลแห่งชาติในบางประเด็นเช่นการเกษตร การศึกษา สาธารณสุข และการเคหะ เป็นต้น เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในขณะที่บางประเด็นจะอยู่ภายใต้อำนาจของสภาระดับจังหวัดโดยสมบูรณ์[8]
อำนาจตุลาการจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจของสภาระดับจังหวัด
รายชื่อจังหวัดของประเทศแอฟริกาใต้
[แก้]ชื่อภาษาไทย | ชื่อภาษาอังกฤษ | ชื่อในภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุด[9] | เมืองหลวง | เมืองใหญ่ที่สุด | รหัส ISO 3166 | พื้นที่ (ตร.กม.) [10]: 9 |
ประชากร (ค.ศ. 2022) [11] |
ความหนาแน่นประชากร | HDI (ค.ศ. 2003) [12] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ควาซูลู-นาตาล | KwaZulu-Natal | iKwaZulu-Natali (ซูลู) |
ปีเตอร์มาริตซ์เบิร์ก [n 1] |
เดอร์บัน | ZA-KZN | 94,361 | 10,273,000 | 108.8 | 0.63 | |
เคาเต็ง | Gauteng | eGoli (ซูลู) |
โจฮันเนสเบิร์ก | โจฮันเนสเบิร์ก | ZA-GP | 18,178 | 12,353,000 | 675.1 | 0.74 | |
ตะวันตกเฉียงเหนือ | North West | Bokone Bophirima (สวานา) |
มาฮิเค็ง (มาฟิคิง) |
รุสเทนเบิร์ก | ZA-NW | 104,882 | 3,496,000 | 33.5 | 0.61 | |
นอร์เทิร์นเคป | Northern Cape | Noord-Kaap (อาฟรีกานส์) |
คิมเบอร์ลีย์ | คิมเบอร์ลีย์ | ZA-NC | 372,889 | 1,136,000 | 3.1 | 0.69 | |
ฟรีสเตต | Free State | Freistata (โซโท) |
บลูมฟอนเทน | บลูมฟอนเทน | ZA-FS | 129,825 | 2,732,000 | 21.1 | 0.67 | |
ลิมโปโป | Limpopo | Limpopo (โซโทเหนือ) |
โพโลควานี (ปีเตอส์เบิร์ก) |
โพโลควานี | ZA-LP | 125,754 | 5,396,000 | 43.0 | 0.59 | |
เวสเทิร์นเคป[n 2] | Western Cape | Wes-Kaap (อาฟรีกานส์) |
เคปทาวน์ | เคปทาวน์ | ZA-WC | 129,462 | 5,826,000 | 45.0 | 0.77 | |
อีสเทิร์นเคป | Eastern Cape | iMpuma-Koloni (โคซา) |
บีโช | พอร์ตเอลิซาเบท | ZA-EC | 168,966 | 6,566,000 | 38.8 | 0.62 | |
อึมพูมาลางกา | Mpumalanga | iMpumalanga (สวาซี) |
อึมบอมเบลา (เน็ลสปรอยต์) |
อึมบอมเบลา | ZA-MP | 76,495 | 3,993,000 | 52.8 | 0.65 | |
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ | Republic of South Africa | iRiphabhuliki yaseNingizimu Afrika (ซูลู) |
พริทอเรีย เคปทาวน์ และบลูมฟอนเทน[13] |
โจฮันเนสเบิร์ก | ZA | 1,220,813 | 51,771,000 | 42.4 | 0.67 | - |
หมายเหตุ:
- ↑ ปีเตอร์มาริตซ์เบิร์กและอูลุนดีเป็นเมืองหลวงร่วมกันระหว่าง ค.ศ. 1994 และ 2004
- ↑ สถิติเหล่านี้ไม่รวมหมู่เกาะพรินซ์เอดเวิร์ด (335 ตร.กม. ไม่มีประชากรถาวร) ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศแอฟริกาใต้ในมหาสมุทรอินเดียซับแอนตาร์กติกแต่ขึ้นกับจังหวัดเวสเทิร์นเคปในทางกฎหมายและเพื่อการแบ่งเขตเลือกตั้ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The nine provinces of South Africa - South Africa Gateway". South Africa Gateway. 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 2018-04-14.
- ↑ https://core.ac.uk/download/pdf/37351010.pdf [bare URL PDF]
- ↑ Phillips, Laura (2017-07-27). "History of South Africa's Bantustans". Oxford Research Encyclopedia of African History. doi:10.1093/acrefore/9780190277734.013.80. ISBN 978-0-19-027773-4.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Muthien, Yvonne G.; Khosa, Meshack M. (1995). "'The kingdom, the Volkstaat and the New South Africa': Drawing South Africa's new regional boundaries". Journal of Southern African Studies. 21 (2): 303–322. doi:10.1080/03057079508708448.
- ↑ 6.0 6.1 "The nine provinces of South Africa - South Africa Gateway". South Africa Gateway. 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 2018-04-14.
- ↑ 7.0 7.1 "Provincial Government of South Africa". สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
- ↑ 'Constitution of the Republic of South Africa, 1996, "Chapter 6: Provinces". Sections 104 and 146.
- ↑ http://www.statssa.gov.za/census/census_2011/census_products/Census_2011_Census_in_brief.pdf, p. 25.
- ↑ Census 2011: Census in brief (PDF). Pretoria: Statistics South Africa. 2012. p. 30. ISBN 9780621413885. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2015.
- ↑ Census 2022: Statistical release (PDF) (Report). Pretoria: Statistics South Africa. 2023. p. 3.
- ↑ Adelzadeh, Asghar; และคณะ (2003). South Africa Human Development Report 2003 (PDF). Cape Town: Oxford University Press. p. 282. ISBN 978-0-19-578418-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-09-22.
- ↑ "How Many Capital Cities Does South Africa Have?".