ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดเกียวโต

พิกัด: 35°1′18″N 135°45′20.2″E / 35.02167°N 135.755611°E / 35.02167; 135.755611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จังหวัดเกียวโตะ)
จังหวัดเกียวโต

京都府

จังหวัดเคียวโตะ
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • ญี่ปุ่น京都府
 • โรมาจิKyōto-fu
Three Views of Japan
Byōdō-in
FunayaHouses at IneTown
Iwashimizu Hachimangū
Kiyomizu-dera and KyotoCity Skyline
ธงของจังหวัดเกียวโต
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดเกียวโต
ตรา
เพลง: เกียวโตฟุโนะอูตะ (京都府の歌)
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดเกียวโต
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดเกียวโต
แผนที่
พิกัด: 35°1′18″N 135°45′20.2″E / 35.02167°N 135.755611°E / 35.02167; 135.755611
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
เกาะฮนชู
เมืองหลวงนครเกียวโต
เขตการปกครองย่อยอำเภอ: 6, เทศบาล: 26
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการทากาโตชิ นิชิวากิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,612.19 ตร.กม. (1,780.78 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 31
ประชากร
 (1 ตุลาคม ค.ศ. 2020)
 • ทั้งหมด2,578,087 คน
 • อันดับที่ 13
 • ความหนาแน่น566 คน/ตร.กม. (1,470 คน/ตร.ไมล์)
จีดีพี[1]
 • รวม10,766 พันล้านเยน
98.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2019)
รหัส ISO 3166JP-26
เว็บไซต์www.pref.kyoto.jp/en/index.html
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกจมูกหลอดลาย (Calonectris leucomelas)
ดอกไม้Weeping cherry blossom (Prunus spachiana)
ต้นไม้คิตายามะซูงิ (Cryptomeria japonica)

จังหวัดเกียวโต (ญี่ปุ่น: 京都府โรมาจิKyōto-fuทับศัพท์: เคียวโตะ-ฟุ) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซบนเกาะฮนชู[2]: 477, 587  จังหวัดเกียวโตมีจำนวนประชากร 2,526,096 คน (ณ วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[3] และมีขนาดพื้นที่ 4,612 ตารางกิโลเมตร (1,781 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกันคือ นครเกียวโต ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดด้วย เมืองที่สำคัญอื่น ๆ เช่น นครอูจิ, นครคาเมโอกะ, นครไมซูรุ[2]: 565–587 

จังหวัดเกียวโตตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น และทอดยาวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปยังคาบสมุทรคิอิ ครอบคลุมพื้นที่ของแคว้นในอดีต ได้แก่ แคว้นยามาชิโระ แคว้นทัมบะ และแคว้นทังโงะ จังหวัดเกียวโตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของจักรพรรดิในอดีตของญี่ปุ่น จังหวัดเกียวโตเป็นหนึ่งในสองจังหวัดของญี่ปุ่นที่ใช้คำว่า ฟุ ( fu) ต่อท้ายชื่อเช่นเดียวกับจังหวัดโอซากะ ในขณะที่จังหวัดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ใช้คำว่า เค็ง ( ken) นครเกียวโตทำให้จังหวัดเกียวโตกลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างชาติ และพื้นที่ร้อยละ 21 ของจังหวัดได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานทางธรรมชาติ จังหวัดเกียวโตเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครเคฮันชิง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น รองจากเขตมหานครโตเกียว และเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ก่อนที่จะมีการปฏิรูปเมจิ พื้นที่จังหวัดเกียวโตเดิมเคยเป็นพื้นที่ของแคว้นโบราณ ได้แก่ แคว้นยามาชิโระ แคว้นทัมบะ และแคว้นทังโงะ[2]: 780 

จังหวัดโทโยโอกะ (สีเหลือง) และจังหวัดเกียวโต (สีชมพู) บนแผนที่เขตการปกครองของประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1872 (ปีเมจิที่ 4)
จังหวัดโทโยโอกะ (สีเหลือง) และจังหวัดเกียวโต (สีชมพู) บนแผนที่เขตการปกครองของประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1872 (ปีเมจิที่ 4)

หลังการปฏิรูปเมจิ เมื่อ ค.ศ. 1868 (ปีเคโอที่ 4) ยังมีการใช้ระบบจังหวัดควบคู่กับแคว้นศักดินา หรือฟูฮังเก็งซันจิเซ (府藩県三治制) ได้มีการจัดตั้ง เคียวโตะ-ฟุ (京都府) ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1868 ในขณะนั้นยังมีแคว้นศักดินาหรือฮัง () ในพื้นที่ที่เป็นจังหวัดเกียวโตในปัจจุบันอยู่มากกว่าสิบแคว้น ต่อมาใน ค.ศ. 1871 (ปีเมจิที่ 4) ได้มีการยกเลิกระบบแคว้นและแทนที่ด้วยระบบจังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนแคว้นศักดินาให้กลายเป็นเค็ง () การควบรวมจังหวัดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1891 โดยควบรวม 5 เค็งในพื้นที่ที่เคยเป็นแคว้นทัมบะและแคว้นยามาชิโระ เข้ากับ เคียวโตะ-ฟุ และควบรวม 11 เค็งในพื้นที่ที่เคยเป็นแคว้นทัมบะ แคว้นทังโงะ และแคว้นทาจิมะ กลายเป็น โทโยโอกะ-เค็ง หรือจังหวัดโทโยโอกะ (豊岡県)[4]

ต่อมาในการควบรวมจังหวัดครั้งที่สองใน ค.ศ. 1876 (ปีเมจิที่ 9) ได้มีการยุบจังหวัดโทโยโอกะ โดยโอนเฉพาะ 5 อำเภอที่เคยเป็นของแคว้นโทโงะ และอำเภออามาดะที่เคยเป็นของแคว้นทัมบะมาขึ้นกับจังหวัดเกียวโต ส่วนที่เหลือโอนไปขึ้นกับจังหวัดเฮียวโงะ ทำให้จังหวัดเกียวโตมีอาณาเขตใกล้เคียงกับในปัจจุบัน

เทศบาลนครเกียวโตได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1889 (ปีเมจิที่ 22) โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโตทำหน้าเป็นนายกเทศมนตรีนครเกียวโตเป็นกรณีพิเศษจนถึง ค.ศ. 1898

ภูมิศาสตร์

[แก้]

จังหวัดเกียวโตตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางของเกาะฮนชูและประเทศญี่ปุ่น ครอบคลุมพื้นที่ 4,612.19 ตารางกิโลเมตร (1,780.78 ตารางไมล์) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของประเทศญี่ปุ่น ขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 31 ของประเทศ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับทะเลญี่ปุ่น ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดฟูกูอิ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิงะ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดมิเอะ ทิศใต้ติดกับจังหวัดนาระและจังหวัดโอซากะ และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเกียวโตเป็นที่ราบสลับหุบเขา มีเทือกเขาทัมบะพาดผ่านตอนกลางของจังหวัด ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากระหว่างตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัด

ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2016 พื้นที่ร้อยละ 21 ของจังหวัดได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติซานิงไคงัง, กึ่งอุทยานแห่งชาติบิวาโกะ, กึ่งอุทยานแห่งชาติเกียวโตทัมบะโคเง็ง, กึ่งอุทยานแห่งชาติทังโงะ-อามาโนฮาชิดาเตะ-โอเอยามะ และกึ่งอุทยานแห่งชาติวากาซะวัง และอุทยานธรรมชาติระดับจังหวัด ได้แก่ อุทยานธรรมชาติจังหวัดโฮซูเกียว, อุทยานธรรมชาติจังหวัดคาซางิยามะ และอุทยานธรรมชาติจังหวัดรูริเก[5]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโตคนปัจจุบันคือ ทากาโตชิ นิชิวากิ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักงานการบูรณะ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2018[6]

ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโตคนก่อนเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เคจิ ยามาดะ เขาได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่สี่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองหลักที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และมีคู่แข่งเพียงคนเดียวที่ได้รับการสนับสนุนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น[7][8][9]

สภาจังหวัดมีสมาชิกทั้งหมด 60 คน จากเขตเลือกตั้ง 25 เขต และยังคงได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งท้องถิ่นพร้อมกันทั่วประเทศ (ครั้งล่าสุด ค.ศ. 2023) ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2023 ประกอบด้วยสมาชิกจากพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตย 30 คน, พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น 23 คน, พรรคโคเม 5 คน, พรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ 6 คน, พรรคประชาธิปไตยเพื่อประชาชน 4 คน, กลุ่มฟื้นฟูเกียวโต 9 คน, พรรคขนาดเล็ก 1 คน และนักการเมืองอิสระ 7 คน[10]

ผู้แทนของจังหวัดเกียวโตในรัฐสภาญี่ปุ่นประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 คน และสมาชิกวุฒิสภา 4 คน (2 คนต่อการเลือกตั้งหนึ่งครั้ง) หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2016, 2017 และ 2019 จังหวัดเกียวโตมีผู้แทนในสภาล่างจากพรรคเสรีประชาธิปไตย 4 คนและพรรคประชาธิปไตย 2 คน และมีผู้แทนในสภาสูงจากพรรคเสรีประชาธิปไตย 2 คน พรรคประชาธิปไตย 1 คน และพรรคคอมมิวนิสต์ 1 คน

เทศบาล

[แก้]

จังหวัดเกียวโตแบ่งการปกครองออกเป็น 26 เทศบาล ประกอบด้วย 15 เทศบาลนคร, 10 เทศบาลเมือง และ 1 เทศบาลหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่จังหวัดเกียวโตเป็นอำเภอ ซึ่งไม่มีหน่วยงานในการบริหาร มีจำนวน 6 อำเภอ โดยจะครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเทศบาลเมืองและเทศบาลหมู่บ้านเท่านั้น

แผนที่เทศบาลในจังหวัดเกียวโต      นครใหญ่ที่รัฐกำหนด      นคร      เมือง      หมู่บ้าน
รายชื่อเทศบาลในจังหวัดเกียวโต
ธง ชื่อ ประเภท อำเภอ พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
รหัส
ท้องถิ่น
ทับศัพท์ไทย อักษรญี่ปุ่น โรมาจิ
เกียวโต 京都市 Kyōto-shi นครใหญ่ที่รัฐกำหนด ไม่มี 827.83 1,463,723 26100-9
ฟูกูจิยามะ 福知山市 Fukuchiyama-shi นคร ไม่มี 552.54 77,306 26201-3
ไมซูรุ 舞鶴市 Maizuru-shi นคร ไม่มี 342.13 80,336 26202-1
อายาเบะ 綾部市 Ayabe-shi นคร ไม่มี 347.10 31,846 26203-0
อูจิ 宇治市 Uji-shi นคร ไม่มี 67.54 179,630 26204-8
มิยาซุ 宮津市 Miyazu-shi นคร ไม่มี 172.74 16,758 26205-6
คาเมโอกะ 亀岡市 Kameoka-shi นคร ไม่มี 224.80 86,174 26206-4
โจโย 城陽市 Jōyō-shi นคร ไม่มี 32.71 74,607 26207-2
มูโก 向日市 Mukō-shi นคร ไม่มี 7.72 56,859 26208-1
นางาโอกาเกียว 長岡京市 Nagaokakyō-shi นคร ไม่มี 19.17 80,608 26209-9
ยาวาตะ 八幡市 Yawata-shi นคร ไม่มี 24.35 70,433 26210-2
เคียวตานาเบะ 京田辺市 Kyōtanabe-shi นคร ไม่มี 42.92 73,753 26211-1
เคียวตังโงะ 京丹後市 Kyōtango-shi นคร ไม่มี 501.44 50,860 26212-9
นันตัง 南丹市 Nantan-shi นคร ไม่มี 616.40 31,629 26213-7
คิซูงาวะ 木津川市 Kizugawa-shi นคร ไม่มี 85.13 77,907 26214-5
โอยามาซากิ 大山崎町 Ōyamazaki-chō เมือง โอโตกูนิ 5.97 15,953 26303-6
คูมิยามะ 久御山町 Kumiyama-chō เมือง คูเซะ 13.86 15,250 26322-2
อิเดะ 井手町 Ide-chō เมือง สึซูกิ 18.04 7,406 26343-5
อูจิตาวาระ 宇治田原町 Ujitawara-chō เมือง สึซูกิ 58.16 8,911 26344-3
คาซางิ 笠置町 Kasagi-chō เมือง โซรากุ 23.52 1,144 26364-8
วาซูกะ 和束町 Wazuka-chō เมือง โซรากุ 64.93 3,478 26365-6
เซกะ 精華町 Seika-chō เมือง โซรากุ 25.68 36,198 26366-4
มินามิยามาชิโระ 南山城村 Minamiyamashiro-mura หมู่บ้าน โซรากุ 64.11 2,391 26367-2
เคียวตัมบะ 京丹波町 Kyōtamba-chō เมือง ฟูนาอิ 303.09 12,907 26407-5
อิเนะ 伊根町 Ine-chō เมือง โยซะ 61.95 1,928 26463-6
โยซาโนะ 与謝野町 Yosano-chō เมือง โยซะ 108.38 20,092 26465-2
จังหวัดเกียวโต 京都府 Kyōto-fu จังหวัด 4,612.19 2,578,087 26000-2

สถิติประชากร

[แก้]
พีระมิดประชากรของจังหวัดเกียวโตใน ค.ศ. 2020
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1885 846,761—    
1890 894,928+5.7%
1900 1,022,695+14.3%
1910 1,197,473+17.1%
1920 1,287,147+7.5%
1930 1,552,832+20.6%
1940 1,729,993+11.4%
1950 1,832,934+6.0%
ปีประชากร±%
1960 1,993,403+8.8%
1970 2,250,087+12.9%
1980 2,527,330+12.3%
1990 2,602,460+3.0%
2000 2,644,391+1.6%
2010 2,636,092−0.3%
2020 2,578,087−2.2%
ที่มา: กองสถิติ กองนโยบายและแผนงาน จังหวัดเกียวโต[11]

ศาสนา

[แก้]

จากการวิจัยของสํานักงานวัฒนธรรมใน ค.ศ. 2020 พบว่ามากกว่าร้อยละ 60 ของประชากรนับถือศาสนาชินโตและศาสนาพุทธ[12]

เศรษฐกิจ

[แก้]

จังหวัดเกียวโตมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ทางตอนเหนือของจังหวัดบริเวณคาบสมุทรทังโงะประกอบอาชีพประมงและการขนส่งทางน้ำ ทางตอนกลางประกอบอาชีพเกษตรกรรมและป่าไม้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
  2. 2.0 2.1 2.2 Frédéric, Louis (31 พฤษภาคม 2002). Japan Encyclopedia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). แปลโดย Roth, Käthe. Harvard University Press. ISBN 978-0674007703. OCLC 58053128. OL 7671330M.
  3. "京都府推計人口". www.pref.kyoto.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2024.
  4. 版籍奉還から廃藩置県まで(イッシーのホームページ) (ในภาษาญี่ปุ่น)
  5. "General overview of area figures for Natural Parks by prefecture" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of the Environment. 15 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  6. "Nishiwaki triumphs in Kyoto gubernatorial race, vows to continue policies of predecessor". The Japan Times. 8 April 2018.
  7. Asahi Shimbun, 6 April 2014: 京都知事に山田氏、4選 新顔の尾崎氏破る
  8. Yomiuri Shimbun, 6 April 2014: 京都府知事選、現職の山田啓二氏が4選
  9. The Japan Times, 7 April 2014: Kyoto re-elects Yamada to top post
  10. 京都府議選 立候補者集計 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  11. "[Kyōtofu] Kyōtofu no jinkō nenji betsu suii" 【京都府】京都府の人口年次別推移 [[Kyoto Prefecture] Changes in Kyoto Prefecture by population year] (ภาษาญี่ปุ่น). Kyoto Prefecture. Information Policy Division, Policy Planning Department. n.d. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2022.
  12. "White Papers and Annual Reports > Shukyo Nenkan" [Religious Yearbook] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]