ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดสมุทรปราการ

พิกัด: 13°37′N 100°37′E / 13.61°N 100.61°E / 13.61; 100.61
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จ.สมุทรปราการ)
จังหวัดสมุทรปราการ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Samut Prakan
หอคอยสมุทรปราการ, วัดพระสมุทรเจดีย์, ป้อมเสือสมุทร
คำขวัญ: 
"ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม"
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ศุภมิตร ชิณศรี
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด1,004.092 ตร.กม. (387.682 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 71
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด1,372,970 คน
 • อันดับอันดับที่ 12
 • ความหนาแน่น1,367.38 คน/ตร.กม. (3,541.5 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 3
รหัส ISO 3166TH-11
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้โพทะเล
 • ดอกไม้ดาวเรือง
 • สัตว์น้ำปลาสลิด
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสุทธิภิรมย์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270
 • โทรศัพท์0 2702 5021-4
 • โทรสาร0 2702 5021
เว็บไซต์http://www.samutprakan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา, ประมง และอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ, วัดอโศการาม, วัดบางพลีใหญ่, วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร, วัดโปรดเกศเชษฐาราม, ศาลพระเสื้อเมือง, พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ, เมืองโบราณ, สถานตากอากาศบางปู, ป้อมพระจุลจอมเกล้า, สวางคนิวาส, ป้อมแผลงไฟฟ้า, ฟาร์มจระเข้ ฯลฯ [3]

ประวัติ

[แก้]

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

[แก้]

เมื่อประมาณ 2000-3000 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ของอ่าวไทยกินลึกมาถึงจังหวัดราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี นครนายก และชลบุรี ส่วนพื้นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหม่นั้นเป็นพื้นที่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพ และสมุทรปราการ เกิดขึ้นจากตะกอนที่แม่น้ำหลายสายพัดพามาที่ปากอ่าวไทยแล้วทับถมกันนานนับพันปีจนกลายเป็นแผ่นดิน[4]

ยังไม่ปรากฏชื่อเมืองสมุทรปราการในประวัติศาสตร์ จะมีแต่เมืองพระประแดง ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่ขอมสร้างขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของขอมซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีหน้าที่ต้องแจ้งข่าวสารไปให้ราชธานีที่ขอมตั้งไว้ที่ลพบุรี (ละโว้)[5] สันนิษฐานว่าเมืองพระประแดงจะยังคงเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้มาจนตลอดสมัยสุโขทัย[6]

สมัยกรุงศรีอยุธยา

[แก้]
1
แผนที่โดย Pierre d' Hondt ราว พ.ศ. 2295–2296
1
ตำแหน่งนิวอัมสเตอร์ดัม

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมืองพระประแดงมีสถานะเป็นเมืองประเทศราช ทางทิศใต้ของราชธานี เป็นเมืองป้อมปราการด่านชั้นใน เมืองพระประแดงเดิมนั้นในปัจจุบันอยู่ในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร[7]

นับแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองทั่วอาณาจักร เมืองสมุทรปราการจัดอยู่ในกลุ่มหัวเมืองชั้นที่สี่หรือ เมืองน้อย ที่มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ปกครองเมือง ดังปรากฏใน พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองในกฎหมายตราสามดวงว่า ขุนนาง ที่ปกครองเมืองสมุทรปราการหรือปากน้ำคือ "พระสมุทประการ"[8]

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2041 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการขุดลอกคลองสำโรงเนื่องจากคลองตื้นเขิน เรือใหญ่เดินทางไปมาผ่านคลองสำโรงไม่สะดวก และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ได้แก่ พระยาแสนตาและพระยาบาทสังขกร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคนอาศัยอยู่บริเวณคลองสำโรงมานานแล้ว และเป็นไปได้ว่าชุมชนบริเวณคลองสำโรงจะเป็นชุมชนแรกของบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนนี้เรียกว่า บางเจ้าพระยา[9]

ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ในพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำ โดยแม่น้ำได้พัดพาตะกอนมาทับถมเพิ่มขึ้นเรือย ๆ ทำให้เมืองพระประแดง (เก่า) ที่อยู่ตรงเขตพระโขนง อยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นให้เป็นหัวเมืองหน้าด่านทางใต้ ณ บริเวณฝั่งใต้ของคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา[10] มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้น เรียกว่า นิวอัมสเตอร์ดัม และเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกากล่าวว่าออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากดแสดงว่าที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มากอาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้[11] ส่วนเมืองพระประแดงก็หมดความสำคัญลง และถูกยุบในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

มีเหตุการณ์บันทึกว่า เมื่อ พ.ศ. 2173 พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรเกิดขัดใจกับไทยถึงขั้นต่อสู้กันบริเวณปากน้ำ ญี่ปุ่นหนีไปได้ และไปอาศัยอยู่ที่เมืองเขมร ชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178

อีกเหตุการณ์ เมื่อ พ.ศ. 2207 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินกิจการค้าอย่างกว้างขวางให้คนจีนมาประจำหน้าที่ในเรือสินค้าหลวง จนทำให้ผู้ค้าของฮอลันดาไม่พอใจ หาว่าไทยทำการค้าผูกขาด ฮอลันดาจึงเลิกกิจการค้าจากกรุงศรีอยุธยา แล้วเอาเรือรบมาปิดอ่าวไทย ทั้งยังจับเรือสินค้าหลวงของไทยไปริบบ้าง ทำลายบ้าง ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับฝรั่งเศส และเมื่อ พ.ศ. 2231 ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไทยเกิดต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เข้ามารักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์ (อยู่ที่เมืองธนบุรี) ไทยได้ตั้งค่ายรายปืนที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา เมืองสมุทรปราการ และจับเรือที่ฝรั่งเศสคุมมาได้สองลำ[5]

สมัยกรุงธนบุรี

[แก้]

ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการ วัดและบ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้างอยู่พักหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้บ้านเมืองเอาไว้ได้ ผู้คนในเมืองสมุทรปราการที่อพยพหนีภัยสงคราม จึงได้กลับมาตั้งถิ่นฐานเดิม พระองค์ทรงรื้อกำแพงเมืองพระประแดงเดิมที่ตั้งอยู่เขตราษฎร์บูรณะในปัจจุบัน ไปก่อกำแพงพระราชวังธนบุรีและที่อื่น ๆ[6]

สมัยรัตนโกสินทร์

[แก้]
พระสมุทรเจดีย์
วิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ. 112 เรือรบฝรั่งเศสภายใต้การระดมยิงจากป้อมปืนของสยาม ที่ปากแม่น้ำ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง เมืองพระประแดงขึ้นเป็นเมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันศัตรูซึ่งมาทางทะเลแต่พระองค์ทรงสร้างเพียงป้อมขึ้นไว้ทางฝั่งตะวันออก 1 ป้อม เรียกว่า ป้อมวิทยาคม

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกต่อจากรัชกาลที่ 1 ป้อมฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมมหาสังหาร ป้อมศัตรูพินาศ ป้อมจักร์กรด และป้อมพระจันทร์ พระอาทิตย์ ป้อมทางฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ป้อมปีศาจสิง ป้อมราหูจร และป้อมวิทยาคม และใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ำ" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร [3]

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงขนานนามเมืองพระประแดงว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 11 ค่ำ พ.ศ. 2358 แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครัวมอญ เมืองปทุมธานี ให้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ เมืองนี้ และทรงแต่งตั้งสมิงทอมา บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ซึ่งเป็นพระยาราม น้องเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษาเมือง

พ.ศ. 2362 มีการจัดการสร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ โดยทรงกำหนดเขตให้ตรงบริเวณพื้นที่ที่ชาวบ้าน เรียกว่า บางเจ้าพระยา (เป็นเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กับตำบลบางเมืองในปัจจุบัน) อยู่ระหว่างปากคลองปากน้ำคลองมหาวงศ์ มีป้อมปราการเป็นเมืองหน้าศึก 6 ป้อมปราการ คือ ป้อมประโคนชัย อยู่ที่ปากคลองปากน้ำ ป้อมนารายณ์ปราบศึก อยู่ในตำบลบางเมือง ป้อมปราการ อยู่ในตำบลบางเมือง ป้อมกายสิทธิ์ ในตำบลบางเมือง ทางฝั่งขวาของแม่เจ้าพระยา (ตะวันตก) มีป้อมนาคราช และสร้างป้อมขึ้นบนเกาะนั้น เรียกว่า ป้อมผีเสื้อสมุทร และในครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองปากลัด ในเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นมาด้วย ในการสร้างเมืองสมุทรปราการใหม่นี้ ได้สร้างเสร็จเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 พ.ศ. 2365 โดยทำพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง"

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปราบกบฏเวียงจันทน์เสร็จแล้วจะทำสงครามกับญวน พระองค์จึงโปรดให้สร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2371 ชื่อป้อมปีกกาต่อจากป้อมประโคมชัยของเดิม, ป้อมตรีเพ็ชร์ สร้างที่บางจะเกรง (บางนาเกรงในปัจจุบัน) เหนือเมืองขึ้นไป พ.ศ. 2377 สร้างป้อมที่บางปลากด ทางฝั่งตะวันตกข้างเหนือเมืองสมุทรปราการ ชื่อป้อมคงกระพัน ในปีมะเส็ง พ.ศ. 2388 สร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ คือ ทำป้อมปีกกาต่อป้อมนาคราช เรียกว่า ป้อมปีกกาพับสมุทร ถึงปีวอก พ.ศ. 2391 สร้างป้อมใหญ่ขึ้นที่ตำบลมหาวงษ์ ทางฝั่งตะวันออกอีกหนึ่งป้อม เป็นป้อมที่ตั้งของแม่ทัพ ชื่อป้อมเสือซ่อนเล็บ

สังฆราชปาเลอกัวบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่พำนักอยู่ในสยามช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงต้นสมัยรัชกาลที่ 4 ระบุว่า ในเมืองสมุทรปราการ (หรือเมืองปากลัดหรือเมืองปากน้ำ) มีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ 6,000–7,000 คน[12]

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นเป็นที่ประทับบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นเกียรติแก่พระสมุทรเจดีย์ที่ทรงบูรณะและเสริมให้แลเห็นเด่นชัด สิ่งก่อสร้างที่เหลือมาในสมัยหลัง คือ พระที่นั่งสมุทาภิมุข อยู่ใกล้สถานีรถรางสายปากน้ำ และพระที่นั่งสุขไสยาศน์ ซึ่งเคยใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข แต่ปัจจุบันได้รื้อถอนหมดสิ้นแล้ว[7]

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มสร้างป้อมเพิ่มที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทหารเรือเป็นผู้อำนวยการสร้างและดูแลตั้งแต่ พ.ศ. 2427 เป็นต้นมา แล้วเสร็จราวกลางปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) พระราชทานนามว่า ป้อมพระจุลจอมเกล้า[13] เมื่อเปิดเพียงสองเดือนเศษ เกิดเหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเย็นวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 เป็นเหตุให้ไทยเสียดินแดนเป็นครั้งที่ 7 (เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส) ต่อมาเมืองสมุทรปราการและเมืองนครเขื่อนขันธ์ ได้รวมเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเทพ ขึ้นต่อกระทรวงนครบาลแทน ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ. 114[14]

พ.ศ. 2449 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำเรียกเมืองเป็นจังหวัด เมืองสมุทรปราการเปลี่ยนเป็นจังหวัดสมุทรปราการ และเมืองพระประแดงเปลี่ยนเป็นจังหวัดพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการในตอนนั้นมี 4 อำเภอ คือ เมือง, บางเหี้ย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบางบ่อ), บางพลี และเกาะสีชัง (ลดฐานะลงมาเป็นกิ่งอำเภอในภายหลัง เพราะพลเมืองน้อย) และจังหวัดพระประแดงมี 3 อำเภอ คือ อำเภอพระประแดง, อำเภอพระโขนง และอำเภอบ้านทะวาย ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองจนสุดท้ายมี 2 อำเภอ คือ อำเภอพระประแดง และอำเภอราษฎร์บุรณะ ต่อมาในรัชกาลที่ 7 อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจึงยุบจังหวัดพระประแดงเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2474 โดยให้อำเภอพระประแดงไปขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอราษฎร์บูรณะไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี[15]

พ.ศ. 2485 ได้ออกพระราชบัญญัติยุบจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดอื่น ๆ อีก 4 จังหวัดไปรวมเป็นจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี แต่ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นอีกครั้งหนึ่ง[6] เป็นจังหวัดสมุทรปราการตราบจนทุกวันนี้

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย แม่น้าเจ้าพระยาไหลผ่านอ้าเภอพระประแดง อ้าเภอพระสมุทรเจดีย์และอำเภอเมืองสมุทรปราการ ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร คลองธรรมชาติมีจ้านวน 542 คลอง ความยาวคลองรวมทั้งสิ้น 1,553 กิโลเมตร ประกอบด้วย คลองธรรมชาติฝั่งตะวันออก จ้านวน 335 คลอง ความยาวรวม 1,168 กิโลเมตร และคลองธรรมชาติฝั่งตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา จ้านวน 200 คลอง ความยาวรวม 385 กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร

เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง[3]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการประกอบไปด้วย

  1. อำเภอเมืองสมุทรปราการ
  2. อำเภอบางบ่อ
  3. อำเภอบางพลี
  4. อำเภอพระประแดง
  5. อำเภอพระสมุทรเจดีย์
  6. อำเภอบางเสาธง

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

[แก้]

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ และภายในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการยังแบ่งออกเป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง 48 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 7 แห่ง, เทศบาลตำบล 14 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง จำแนกได้ดังนี้[16]

เขตเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ
ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2561) [17]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลนคร
1
7.33
2542 [18] เมืองสมุทรปราการ 1 - 1
51,495
เทศบาลเมือง
2 (1)
0.61
2480 [19] พระประแดง 1 - 1
9,462
3 (2)
15.50
2545 [20] พระประแดง 3 - 3
72,263
4 (3)
9.30
2550 [21] เมืองสมุทรปราการ - 1 1
33,101
5 (4)
25.50
2552 [22] พระประแดง 5 - 5
73,805
6 (5)
24.69
2562 [23] บางพลี 1 - 1
56,949
7 (6)
20.32
2562 [24] เมืองสมุทรปราการ - 1 1
46,759
8 (7)
12.59
2563 เมืองสมุทรปราการ - 1 1
37,252
เทศบาลตำบล
9 (1)
2538 เมืองสมุทรปราการ - 3 3
29,977
10 (2)
2542 เมืองสมุทรปราการ 4 - 4
119,760
11 (3)
2542 เมืองสมุทรปราการ - 2 2
27,305
12 (4)
2542 เมืองสมุทรปราการ - 1 1
55,826
13 (5)
2542 เมืองสมุทรปราการ - 3 3
101,232
14 (6)
2542 บางบ่อ - 1 1
6,496
15 (7)
2542 บางบ่อ 1 - 1
3,201
16 (8)
2542 บางบ่อ - 1 1
11,530
17 (9)
2542 บางพลี - 3 3
11,965
18 (10)
2542 พระสมุทรเจดีย์ 1 - 1
12,612
19 (11)
2542 พระสมุทรเจดีย์ - 2 2
20,968
20 (12)
2542 บางเสาธง - 2 2
22,660
21 (13)
2554 บางบ่อ 1 - 1
9,086
22 (14)
2562 เมืองสมุทรปราการ - 1 1
22,300
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

[แก้]
จังหวัดพระประแดง[25]
ลำดับ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง
1 พระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดี ศรีสิทธิสงคราม (ทอมา คชเสนี)  2358 2401
2 พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) 2401 2426
3 พระยาดำรงราชพลขันธ์ (นกแก้ว คชเสนี) 2426 2430
4 พระยาขยันสงคราม (เจ๊ก คชเสนี) 2430 2440
5 พระยาเกียรติ (ขุนทอง คชเสนี) 2440 2445
6 พระยาดำรงราชพลขันธ์ (หยอด คชเสนี)  2445 2450
7 พระยาเทพผลู (ทองคำ คชเสนี) 2450 2454
8 พระยาพิพิธมนตรี (ปุย คชเสนี)  2454 2457
9 พระยานาคราชกำแหง (แจ้ง คชเสนี)  2457 2468
10 พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร)  2468 2470
11 พระประแดงบุรี (โต สาริกานนท์) 2471 2473
12 พระพิชัยบุรินทรา (สะอาด ภูมิรัตน์) 2473 2474

ประชากร

[แก้]
สถิติประชากร
ตามทะเบียนราษฎร
จังหวัดสมุทรปราการ
ปีประชากร±%
2549 1,104,766—    
2550 1,126,940+2.0%
2551 1,147,224+1.8%
2552 1,164,105+1.5%
2553 1,185,180+1.8%
2554 1,203,223+1.5%
2555 1,223,302+1.7%
2556 1,241,610+1.5%
2557 1,261,530+1.6%
2558 1,279,310+1.4%
2559 1,293,553+1.1%
2560 1,310,766+1.3%
2561 1,326,608+1.2%
2562 1,344,875+1.4%
2563 1,351,474+0.5%
2564 1,356,442+0.4%
2565 1,360,227+0.3%
2566 1,372,970+0.9%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[26]

จากข้อมูล พ.ศ. 2560 จังหวัดสมุทรปราการมีจ้านวนครัวเรือนทั้งหมด 733,098 ครัวเรือน โดยเป็นครัวเรือนเกษตร 11,304 ครัวเรือน จ้านวนประชากรรวมทั้งสิ้น 1,310,766 คน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดสมุทรปราการ (GPP) มีมูลค่าเท่ากับ 691,888 ล้านบาท อยู่ในล้าดับที่ 4 ของประเทศ และล้าดับที่ 4 ของภาคกลาง โดยมีสัดส่วนมูลค่านอกภาคการเกษตรร้อยละ 99.64 และภาคเกษตรร้อยละ 0.36 โดยมีรายได้เฉลี่ย 28,712 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน[27]

ชาวสมุทรปราการมีกลุ่มทางชาติพันธุ์หลากหลาย ได้แก่ กลุ่มคนไทยพื้นเมือง มลายู ลาว มอญ จีน เป็นต้น กลุ่มมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างชุมชนเมืองหน้าด่านป้องกันศึกทางทะเล กลุ่มลาวที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยสงครามแถบคลองมหาวงษ์และส่วนใหญ่ย้ายกลับไปอยู่แถบนครนายก กลุ่มมลายูมุสลิมที่เข้ามาทำการเกษตรและเป็นแรงงานในการขุดคลองเพื่อชลประทาน กลุ่มคนจีนที่เข้ามาค้าขาย มีชุมชนมอญขนาดใหญ่ที่พระประแดง ต่อมาได้ขยายการตั้งถิ่นฐานไปยังอำเภอบางพลีและอำเภอบางบ่อมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ในอำเภอพระประแดงมีวัดทรงธรรม และวัดคันลัด เป็นศูนย์กลางชุมชน กลุ่มชาวไทยเชื้อสายมอญเหล่านี้ยังสามารถรักษาความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ส่วนชาวจีนตั้งรกรากค้าขายริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเมืองสมุทรปราการและริมคลองสำโรงและคลองสาขา มีศาลเจ้าจีนและเจว็ดไม้ ได้แก่ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อบางพลีใหญ่ และศาลเจ้าตั้วปุนเถ่ากง เมื่อมีการขยายเมืองศาลเจ้าจึงเปลี่ยนมาอยู่ริมถนนแทน บางแห่งที่สร้างใหม่สร้างโดยชาวจีนไต้หวันที่เข้ามาทำโรงงานอุตสาหกรรม[13]

เทศกาลและงานประเพณี

[แก้]
  • งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ จะจัดขึ้นในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลา 12 วัน 12 คืน
  • งานเทศกาลสงกรานต์พระประแดง เป็นงานประเพณีของชาวมอญ โดยวันที่ 13–15 เมษายน เป็นกิจกรรมทางศาสนา หลังจากนั้น 7 วัน จะเป็นกิจกรรมรื่นเริง ประกวดนางสงกรานต์ กลางคืนเล่นสะบ้ามอญตามบ่อนต่างๆ รุ่งเช้ามีการสาดน้ำ ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ แห่นางสงกรานต์ ขบวนแห่ประกอบด้วยกลองยาว หนุ่มสาวถือโหลใส่ปลา กรงนก ตามด้วยรถขบวนสาวงาม ก่อนถึงท้ายขบวนเป็นนางสงกรานต์นั่งบนรูปสัตว์ประจำปี
  • ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของอำเภอบางพลีที่เคยมีบึงใหญ่และมีดอกบัวขึ้นอยู่มากมาย โดยวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ตั้งแต่ตอนเย็นหรือค่ำ ชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระประแดงจะชักชวนญาติมิตรเพื่อนฝูงพากันลงเรือ นำเครื่องดนตรีร้องรำทำเพลงเป็นที่สนุกครึกครื้นทั้งคืน พายมาตามลำน้ำเจ้าพระยา บางลำก็เข้าตามลำคลองจนเข้าสู่คลองสำโรงมุ่งตรงไปหมู่บ้านบางพลีใหญ่ รุ่งเช้า ชาวบางพลีจะเตรียมหาดอกบัวหลวงไว้ให้ผู้มาเยือน ได้นำดอกบัวไปนมัสการหลวงพ่อโตพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่วัดบางพลีใหญ่ใน และนำดอกบัวอีกส่วนหนึ่งเตรียมไว้ให้ชาวมอญนำกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด การให้และการรับทำกันอย่างสุภาพ โดยรับส่งและรับกันมือต่อมือ ก่อนจะให้ต้องมีการอธิษฐานและผู้รับต้องพนมมือไหว้ขอบคุณ ส่วนผู้คุ้นเคยก็จะโยนดอกบัวให้กันถือเป็นคนกันเองเมื่อนานไปก็กลายเป็นความนิยม
  • ประเพณีแห่หลวงปู่ปาน เป็นงานประจำปีของชาวอำเภอบางบ่อ ทั้ง 8 ตำบลร่วมแรงร่วมใจกันจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อปาน จัดขึ้นทุกปีขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 ในพิธีการชาวบ้านจะตั้งขบวนแห่หลวงพ่อปานไปที่ปากอ่าว หลังจากนั้นจะแล่นเรือวนปากอ่าว 3 รอบ ก่อนจะแจกธงหลวงพ่อปานให้แก่ชาวบ้าน และอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ทั่วสมุทรปราการ[28]
  • งานแห่เจ้าพ่อทัพ สำโรง เป็นงานประจำปีในท้องถิ่นชาวจีนที่ตำบลสำโรงเหนือ ทุกปีจะมีการจัดแห่เจ้าพ่อทัพขึ้นราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ ขบวนเหล่านี้จะหยุดเมื่อผ่านร้านค้าให้เชิดสิงโตเข้าร้าน เจ้าของร้านจะจุดประทัดรับและร่วมทำบุญ แห่ไปจนถึงตลาดปู่เจ้าสมิงพรายแล้วกลับที่เดิม มีการเฉลิมฉลอง 3 วัน 3 คืน มีการเล่นงิ้ว ประมูลผลไม้ และเครื่องเซ่นกลับไปบูชาเป็นสิริมงคลในการค้าขาย เมื่อเสร็จงานจะอัญเชิญกระถางธูปและเจ้าพ่อกลับไปยังศาลเดิม[13]

การคมนาคม

[แก้]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คลองในสมุทรปราการ

ในจังหวัดสมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา สำโรง ปากน้ำ บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ถนนสายสำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท ตอนกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร[3] ถนนเทพรัตน ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ถนนศรีนครินทร์ ถนนปานวิถี ถนนเพชรหึงส์ และถนนสุขสวัสดิ์

จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีลำคลองหลายสาย สายสำคัญ ได้แก่ คลองสำโรง คลองสรรพสามิต คลองด่าน คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คลองจระเข้ คลองบางน้ำจืด คลองบางโฉลง คลองบางปลา คลองบางปลาร้า คลองบางปิ้ง คลองบางพลี คลองบางปลากด คลองลัดโพธิ์ และคลองลัดหลวง[29]

นอกจากนั้น จังหวัดสมุทรปราการยังมีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่ต่อเนื่องออกมาจากกรุงเทพมหานครถึง 4 เส้นทาง คือ

  1. รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ชั้นใต้ดินของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  2. รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 (รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ) บนถนนสุขุมวิท
  3. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง บริเวณถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์
  4. รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน บนถนนสุขสวัสดิ์ (กำลังก่อสร้าง)

การศึกษา

[แก้]

จากข้อมูลปีการศึกษา 2560 จังหวัดสมุทรปราการมีโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 276 แห่ง มีสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นจำนวน 121 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียน 26 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 95 แห่ง จากข้อมูล 100 อันดับโรงเรียนคุณภาพที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2561 จากหนังสือวารสาร สมองการศึกษา โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการที่ติดอันดับ ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ[30]

มีสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งหมด 8 แห่ง โดยแบ่งเป็นภาครัฐ 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี วิทยาเขตสมุทรปราการ ในอำเภอบางพลี , ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี สังกัดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม, โรงเรียนนายเรือ สังกัดกองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม, สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคเอกชน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา) ในอำเภอบางเสาธง, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในอำเภอบางพลี, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ในอำเภอบางพลีและ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ในอำเภอบางพลี

สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวน 11 แห่ง โดยแบ่งเป็นภาครัฐจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก สมุทรปราการ ในอำเภอบางบ่อ, วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ และภาคเอกชน 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยี บริหารธุรกิจสมุทรปราการ ในอำเภอบางพลี, โรงเรียนเกริกวิทยาลัย ในอำเภอบางพลี, วิทยาลัยเทคโนโลยี สมุทรปราการ (ช.เทค) ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ ในอำเภอบางพลี, วิทยาลัยไทยโกลบอลบริหารธุรกิจ ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ, วิทยาลัยเกวลินบริหารธุรกิจ ในอำเภอบางเสาธง และวิทยาลัยเทคโนโลยี ไทย-ไต้หวัน (BBI) ในอำเภอบางพลี[31]

การท่องเที่ยว

[แก้]
พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท จำลอง ณ เมืองโบราณ
สถานตากอากาศบางปู

สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ได้แก่ ฟาร์มจระเข้ และเมืองโบราณ นอกจากนี้ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ หรือที่เรียกกันว่า "งานเจดีย์" เป็นเวลา 12 วัน 12 คืน ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นบริเวณใจกลางเมืองของตัวอำเภอเมืองสมุทรปราการ โดยจะมีการปิดถนนเริ่มต้นบริเวณศาลากลางจังหวัด มีการจัดตั้งร้านขายของ, ร้านอาหาร, การละเล่น, ชิงช้าสวรรค์, ม้าหมุน และงานโชว์ต่างๆ รวมถึงของหลายหลายมาวางขาย

นอกจากที่กล่าวมา ยังมีสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่อไปนี้

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 9 มกราคม 2565.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ, แม่น้ำเจ้าพระยา : มารดาแห่งสยามประเทศ (กรุงเทพฯ : มติชน, 2542), 35-38.
  5. 5.0 5.1 "พัฒนาการทางประวัติศาสตร์".
  6. 6.0 6.1 6.2 "ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรปราการ".
  7. 7.0 7.1 สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. "เที่ยวปากน้ำ" (PDF). องค์การค้าของคุรุสภา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  8. กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537), 325
  9. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "แม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อ "เจ้าพระยา" จากเทวรูป พบที่คลองสำโรง สมุทรปราการ". มติชน.
  10. สังข์ พัธโนทัย, ตำนานเมืองสมุทรปราการและพระประแดง, 7-9 ; วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรปราการ, 26-27 ; เฉลิม สุขเกษม, สมุทรปราการ, 8-12.
  11. สารานุกรมภูมิศาสตร์ แห่งประเทศไทย" เล่ม 4 จบบริบูรณ์ รวบรวมโดยสงวน อั้นคง. โรงพิมพ์เฟื่องอักษร, พ.ศ. 2514 หน้า 1638–1639.
  12. มงเซเญอร์ปาลเลกัวซ์, เล่าเรื่องกรุงสยาม, แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2552), 66
  13. 13.0 13.1 13.2 วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "จากปากน้ำถึงสมุทรปราการ เมืองหน้าด่านชายทะเล". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-22. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
  14. ) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรมศิลปากร เอกสาร ร.5 ม.1/17
  15. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.
  16. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  17. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/pop55_1.html 2556. สืบค้น 1 เมษายน 2556.
  18. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2542 เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 19ก ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
  19. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2480" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54: 1878–1881. 14 มีนาคม 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2014-04-24.
  20. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (93 ก): 4–6. 20 กันยายน 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-04-24.
  21. กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำสมุทรปราการ และจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองสำโรงใต้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (พิเศษ 145 ง): 21. 1 ตุลาคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2014-04-24.
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองบางแก้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (พิเศษ 251 ง): 18. 9 ตุลาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-09.
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (พิเศษ 286 ง): 35. 21 พฤศจิกายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-27. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  25. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  26. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  27. "รายงานแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ส้านักบริหารโครงการ กรมชลประทาน. ธันวาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
  28. "งานประเพณีแห่หลวงพ่อปานทางน้ำ Unseen Thailand หนึ่งเดียวในประเทศไทย". สนุก.คอม.
  29. ถนอมจิตต์ รื่นเริง. "พัฒนาการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2489 - 2549" (PDF). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  30. "มาแล้ว ผลอันดับ "100 อันดับโรงเรียนคุณภาพที่สุดในประเทศไทย" ประจำปี 2561". สนุก.คอม.
  31. "แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2562 – 2565) จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). กลุ่มงานยุทธศสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-06.
  32. http://lukphradabos.org/

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°37′N 100°37′E / 13.61°N 100.61°E / 13.61; 100.61