ข้ามไปเนื้อหา

ซอฟต์เสิร์ฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซอฟต์เสิร์ฟรสสตรอเบอร์รี

ซอฟต์เสิร์ฟ หรือ ซอฟต์ครีม เป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายประเภทของไอศกรีมที่นุ่มกว่าไอศกรีมปกติ และขายเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 [1]

ประวัติ

[แก้]

ในปี 1934 ทอม คาร์เวล (Tom Carvel) ผู้ก่อตั้งแบรนด์และแฟรนไชส์ ​​Carvel ประสบเหตุยางแบนในรถบรรทุกไอศกรีมของเขาในเมือง Hartsdale นิวยอร์ก เขาจึงนำรถที่ยางแบนเข้าลานจอดรถและเริ่มขายไอศกรีมของเขาที่เริ่มละลายให้กับผู้ที่มาพักผ่อนที่สัญจรไปมา ภายในสองวันเขาสามารถขายไอศกรีมทั้งหมด และสรุปได้ว่า ที่ตั้งถาวรและซอฟต์เสิร์ฟเป็นแนวคิดธุรกิจที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง[2] ในปี 1936 คาร์เวลเปิดร้านสาขาแรกของเขาบนรถไอศกรีมที่เสียของเขา และริเริ่มการพัฒนาความลับของสูตรซอฟต์เสิร์ฟไอศกรีม พร้อมๆ กับจดสิทธิบัตรเครื่องทำไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ [3]

แดรี่ควีน (Dairy Queen) ยังอ้างว่าเป็นผู้คิดค้นซอฟต์เสิร์ฟในปี 1938 ใกล้เมืองโมลีน (Moline) รัฐอิลลินอยส์ โดยเจเอฟ แมคคัลเลอร์ (J.F. McCullough) และลูกชายของเขาที่ชื่ออเล็กซ์ ได้พัฒนาสูตรซอฟต์เสิร์ฟของพวกเขา [4] การทดลองขายของพวกเขาครั้งแรกคือ วันที่ 4 สิงหาคม 1938 ในเมืองแคงคาคี (Kankakee) รัฐอิลลินอยส์ที่ร้านของเพื่อนที่ชื่อโนเบิล เฮิร์บ (Noble Herb) พวกเขาขายซอฟต์เสิร์ฟได้ถึง 1,600 ที่ภายในสองชั่วโมง[5]

คุณลักษณะ

[แก้]

ซอฟต์เสิร์ฟโดยทั่วไปจะมีไขมันต่ำ (3-6%) กว่าไอศกรีม (10-18%) และมีการผลิตที่อุณหภูมิประมาณ -4 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับไอศกรีมซึ่งเก็บไว้ในเครื่องทำความเย็นที่ -15 องศาเซลเซียส ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจะมีการนำอากาศใส่เข้าไปในขณะที่ปั่นไอศกรีม โดยเรียกว่า "overrun" ซึ่งจะมีสัดส่วนตั้งแต่ 0-60% ของเนื้อไอศกรีม อากาศเป็นตัวแปรหลักในการทำให้รสชาติไอศกรีมชนิดนี้แตกต่างกันออกไป ปริมาณอากาศที่น้อยกว่าจะทำให้มีรสชาติที่เข้มข้นกว่า สีจะเข้มกว่า และอาจจะมีเกล็ดน้ำแข็งบ้างในบางโอกาส ส่วนไอศกรีมที่มีปริมาณอากาศมากกว่า จะเนื้อมีสีขาวกว่าและรสชาติไอศกรีมจะไม่เข้มข้นเท่า ปริมาณอากาศที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 33-45% ของปริมาตรไอศกรีม

เพื่อป้องกันการไม่ให้เกิดเกล็ดน้ำแข็ง เครื่องผลิตไอศกรีมจะต้องทำให้ไอศกรีมแข็งตัวเร็วที่สุด โดยปกติแล้วเครื่องผลิตไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟควรจะรักษาอุณหภูมิที่ 3-4 องศาเซลเซียส และเครื่องจะทำงานโดนการปั่นไอศกรีมจากกระบอกผลิต เครื่องผลิตไอศกรีมมีทั้งระบบ Gravity และ Air Pump แต่สำหรับประเทศที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ประเทศไทย แม้ว่าเครื่องทำไอศครีมจะมีประสิทธิภาพมาก แต่อัตราการละลายของเนื้อไอศกรีม[[6]][ลิงก์เสีย] จะอยู่ที่ 30 วินาที ถึง 1 นาที เนื่องจากสภาพอากาศมีความร้อนสูง

ส่วนผสม

[แก้]

ส่วนผสมสด - สามารถเก็บรักษาไว้สูงสุด 5-7 วัน แต่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งในการจัดเก็บและผสม เนื่องจากหากเกิดการเจือปนและมีอากาศร้อน อาจก่อให้เกิดแบคทีเรีย และสามารถทำให้ท้องเสียได้ง่าย

ส่วนผสมแบบผง - ข้อได้เปรียบคือ สามารถเก็บไว้ได้นาน สะดวก และไม่ต้องการที่เยอะในการเก็บ แต่รสชาติอาจผิดเพี้ยนไปได้เนื่องจากต้องผสมน้ำ ซึ่งน้ำในแต่ละที่จะรสชาติไม่เหมือนกัน และผู้ผสมอาจใส่น้ำเกินหรือขาดได้ หลังจากผสมแล้วควรเก็บไว้ในอุณหภูมิ 1-4 องศาเซลเซียส เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำและอากาศได้ ไม่ควรใช้น้ำอุ่นในการผสม เนื่องจากแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้เร็ว และข้อสำคัญ ผลิตภัณฑ์ควรได้รับมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา เนื่องจากนมมีสารเจือปนได้ง่าย และได้มีการลักลอบผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพสู่ตลาด โดยผู้บริโภคไม่ได้ระวัง ผู้ประกอบการอาจโดนฟ้องร้องจากการขายสินค้าที่มีปัญหากับผู้บริโภคได้ ปัจจุบันในประเทศไทยมีทั้งผลิตภัณฑ์นำเข้าจากหลายประเทศ เช่น จีน อิตาลี นิวซีแลนด์[7] ออสเตรเลีย[8] และสหรัฐอเมริการ และผลิตเองในประเทศไทย

ส่วนผสมแบบน้ำ - ข้อได้เปรียบคือ สามารถเก็บได้นาน รสชาติไม่ผิดเพี้ยน แต่จัดเก็บลำบากกว่าแบบผง เมื่อเปิดภาชนะบรรจุแล้ว ควรทำตามขั้นตอนข้างต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. The term soft serve dates from before 1959 (New York Times. June 22, 1958. p. F11. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help))
  2. "Carvel History".
  3. "About Tom Carvel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-13.
  4. "The DQ Team". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 2012-07-13.
  5. "Dairy Queen History".
  6. ไอศครีมซอฟต์เสิร์ฟ
  7. "Anchor".[ลิงก์เสีย]
  8. "Snowboy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-07-13.

[[หมวดหมู่:เครื่องทำไอศครีม]]