ด็อกคิวเสต
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Colace, Ex-Lax, Senokot S |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a601113 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ปาก ทวารหนัก |
รหัส ATC | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | 12 ชม. ถึง 5 วัน[2] |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 3 วัน[2] |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
ChemSpider | |
UNII | |
E number | E480 (thickeners, ...) |
ECHA InfoCard | 100.008.553 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C20H37NaO7S |
มวลต่อโมล | 444.56 กรัม/โมล g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
ความหนาแน่น | 1.1 g/cm3 |
จุดหลอมเหลว | 153–157 องศาเซลเซียส (307–315 องศาฟาเรนไฮต์) |
การละลายในน้ำ | 1 ใน 70 ส่วน mg/mL (20 °C) |
| |
| |
ด็อกคิวเสต (อังกฤษ: docusate, docusate salt, dioctyl sulfosuccinat[3]) เป็นยาระบายที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ใช้รักษาอาการท้องผูก[2] จัดเป็นยาที่ดีสำหรับเด็กผู้มีอุจจาระแข็ง[2] ถ้าท้องผูกเพราะผลข้างเคียงของยาโอปิแอต อาจใช้ยานี้อย่างเดียวหรือบวกกับยาระบายแบบกระตุ้น (stimulant laxative)[2] ยามีในรูปแบบแคปซูลเพื่อทาน และยาเหน็บทางทวารหนัก[2] ปกติจะเริ่มทำงานภายใน 1-3 วัน[2]
ผลข้างเคียงเกิดไม่บ่อย[2] น้อยครั้งมากจะทำให้เป็นตะคริวท้องหรือท้องร่วง[2] เมื่อใช้ระยะยาว ประสิทธิผลจะลดลง และอาจทำให้ลำไส้ทำงานไม่ดี[1] เป็นยาที่ใช้ได้เมื่อกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมแก่บุตร[4] ยาทำงานโดยอำนวยให้อุจจาระดูดซึมน้ำ[1][5] รูปแบบที่มีมักจะเป็นเกลือโซเดียม เกลือแคลเซียม หรือเกลือโพแทสเซียม[2]
ยาอยู่ในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก คือเป็นยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยที่สุด ซึ่งจำเป็นในระบบสาธารณสุข[6] เป็นยาสามัญ ราคาจึงไม่สูง[5] ในสหรัฐ ยาที่ทานได้ 100 ครั้งจะมีราคา 14 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 514 บาทปี 2015)[2] ในรูปแบบเกลือโซเดียมคือ dioctyl sodium sulfosuccinate มันใช้เป็นสารเติมแต่งอาหาร ตัวกระทำอิมัลชัน (emulsifier) ตัวกระจาย (dispersant) สารลดแรงตึงผิว (wetting agent) ในบรรดาการประยุกต์ใช้ที่มีต่าง ๆ[7]
การแพทย์
[แก้]ท้องผูก
[แก้]ยาใช้รักษาอาการท้องผูกและภาวะที่ทำให้ทวารหนักหรือไส้ตรงเจ็บ เช่น ริดสีดวงทวาร และแผลทวารหนัก เพื่อให้ไม่ต้องเบ่งเมื่อถ่าย ยาจะให้ผล 1-3 วันหลังทานครั้งแรก[8] เมื่อใช้ทางทวารหนัก ไม่ว่าจะโดยสวนทวารหรือเหน็บ ยาจะทำให้ถ่ายภายใน 5-20 นาที[9]
แม้ยาจะใช้ได้สำหรับคนไข้ที่กำลังรับยาโอปิออยด์ แต่ถ้าใช้เป็นระยะยาวก็อาจระคายทางเดินอาหาร ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิผลของยาเพื่อรักษาท้องผูกเรื้อรังก็มีน้อยมาก[10]
ประสิทธิผลเพื่อรักษาอาการท้องผูกสำหรับคนไข้ผู้เป็นโรคที่ทำให้ถึงตายระยะสุดท้ายไม่ชัดเจน เพราะยังไม่ได้ศึกษาอย่างเพียงพอ[11] ประสิทธิผลโดยเปรียบเทียบยาชนิดต่าง ๆ ในกลุ่มนี้ก็ยังไม่ชัดเจนจนถึงปี 2015[12]
อื่น ๆ
[แก้]ยาในรูปแบบ docusate sodium (เกลือโซเดียม) เมื่อใช้ร่วมกับการฉีดล้างหูอาจช่วยกำจัดขี้หู[13]
รูปแบบ
[แก้]ยาในรูปแบบเกลือโซเดียมอาจใช้ทานหรือให้ทางทวารหนัก และก็ใช้เป็นตัวกระทำอิมัลชัน (emulsifier) และตัวกระจาย (dispersant) ในยาทาด้วย เมื่อใช้ทาน แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ
ข้อห้ามใช้
[แก้]ยาห้ามใช้ในคนไข้ไส้ติ่งอักเสบ โรคเฉียบพลันในช่องท้อง (acute abdomen) หรือลำไส้อืด (ileus) มันไม่เหมาะใช้รักษาท้องผูกเรื้อรัง เพราะฤทธิ์ของมันเพียงแค่บรรเทาอาการ ไม่ได้รักษาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ[10]
ผลข้างเคียง
[แก้]ผลข้างเคียงอ่อน ๆ ที่เป็นไปได้รวมทั้งปวดท้อง ท้องร่วง และตะคริวท้อง แต่ก็มีโอกาสแพ้ยาอย่างหนักได้เหมือนกัน ผลข้างเคียงหนักที่สุดของยาแม้น้อยมาก ก็คือเลือดออกที่ไส้ตรง[8]
ปฏิสัมพันธ์
[แก้]ยาไม่ควรใช้ร่วมกับน้ำมันแร่ (mineral oil) เพราะฤทธิ์อิมัลชันของมันจะทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำมันแร่ แทนที่น้ำมันจะหล่อลื่นลำไส้ แล้วอาจเกิดอาการแกลนูโลมาเหตุสิ่งแปลกปลอม (foreign body granuloma) ยายังอาจทำให้ร่างกายดูดซึมยาอย่างอื่นกลับเข้าไปใหม่ ยาอื่นเช่น dantron (1,8-dihydroxyanthraquinone)[10]
การใช้อย่างอื่น ๆ
[แก้]dioctyl sodium sulfosuccinate ใช้เป็นสารลดแรงตึงผิวในการต่าง ๆ มากมาย เช่นที่ขายในชื่อการค้า Aerosol-OT มีลักษณะพิเศษคือเป็นตัวกระทำไมโครอิมัลชัน (microemulsion) โดยไม่ต้องใช้ร่วมกับสารลดแรงตึงผิวอื่น ๆ และมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ เมื่อเป็นของเหลวรวมทั้ง multiple liquid crystalline phases[14]
- dioctyl sodium sulfosuccinate เป็นตัวเสริมสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ (pesticide adjuvant)[15] ซึ่งนิยมใช้กับพืชผลทางเกษตรรวมทั้งมะกอก อัลมอนด์ องุ่นทำไวน์ ข้าวโพด และส้ม
- มันใช้เป็นส่วนเติมเนื้อยา (excipient) เมื่อผลิตยาเม็ด (โดยเป็นสารหล่อลื่น) และเมื่อผลิตยาเป็นสารแขวนลอย (โดยเป็นตัวกระทำอิมัลชัน)[16]
- เป็นสารลดแรงตึงผิวที่ใช้มากที่สุดในงานศึกษา reverse micelle encapsulation[17]
เคมี
[แก้]สภาพละลายได้ของ dioctyl sodium sulfosuccinate ในน้ำอยู่ที่ 1:70 (14 กรัม/ลิตร) ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และเพิ่มเป็น 1:20 ที่ 70 องศา สภาพละลายจะดีกว่าในตัวทำละลายที่แบ่งขั้ว (polar) น้อยกว่า คือ 1:30 ในเอทานอล, 1:1 ในคลอโรฟอร์มและ diethylether, และเท่ากับไม่จำกัดในอีเทอร์ปิโตรเลียม (petroleum ether) ที่ 25 องศา แต่มันก็ละลายได้ดีมากใน glycerol แม้นี่จะเป็นตัวทำละลายที่ค่อนข้างแบ่งขั้ว
หมู่เอสเทอร์ของสารจะแยกได้ง่ายในสภาพด่าง แต่จะเสถียรในสภาพกรด[10] รูปแบบเกลือของยารวมทั้ง docusate calcium, docusate sodium, และ docusate potassium[1][3]
กลไกการทำงาน
[แก้]ยาไม่ดำรงอยู่ในทางเดินอาหาร แต่จะดูดซึมเข้าไปในเลือดแล้วขับออกทางถุงน้ำดี[10] หลังจากผ่านเมแทบอลิซึมอย่างหนัก
ผลของยาอาจไม่ใช่มาจากฤทธิ์ลดแรงตึงผิวเพียงอย่างเดียว งานศึกษาการกำซาบ (perfusion) แสดงว่า ยาระงับการดูดซึมน้ำและกระตุ้นให้หลั่งสารคัดหลั่งภายในลำไส้เล็กส่วนกลาง
ความเป็นพิษ
[แก้]ความเป็นพิษต่อสปีชีส์ต่าง ๆ ต่างกันมาก แต่ dioctyl sulfosuccinate สลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วภายในดินและน้ำ ปกติในอัตราเกินร้อยละ 90 ภายใน 12-17 วัน ในบรรยากาศ พยากรณ์ว่า ปฏิกิริยาโฟโตเคมีจะกำจัดมันโดยมีครึ่งชีวิตประมาณ 18 ชม.[18]
ในมนุษย์
[แก้]dioctyl sodium sulfosuccinate เป็นตัวระคายเคืองอย่างแรงสำหรับตาและปอด ตลอดจนผิวหนังด้วย เมื่อกลืนเข้าไปก็อาจก่อผลข้างเคียงตามที่กล่าวแล้ว เช่น ท้องร่วง สำไส้พอง (bloating) และตะคริวท้อง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นสารก่อมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ (mutagen) หรือสารก่อความผิดปกติทางพัฒนาการ (teratogen)[19]
ในสิ่งมีชีวิตในทะเลต่าง ๆ
[แก้]dioctyl sodium sulfosuccinate ได้ระบุว่ามีพิษอย่างอ่อน ๆ ต่อสัตว์พวกกุ้งกั้งปู เช่น ปู Clibanarius erythropus (hermit crab) และกุ้ง Crangon crangon แอลดี 50 สำหรับสปีชีส์เหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 100 ม.ก./ลิตร สำหรับยาที่มีด็อกคิวเสตหลังจากได้รับ 48 ชม. แม้งานศึกษาที่ว่านี้จะไม่ได้กล่าวถึงความเข้มข้นของยา[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนความเป็นพิษต่อมอลลัสกาต่าง ๆ กันมาก โดยแอลดี 50 หลังจากได้รับ 48 ชม. เริ่มตั้งแต่ 5 ม.ก./ลิตร สำหรับหอยหมวกเจ๊ก Patella vulgata (common limpet) จนถึง 100 ม.ก./ลิตร สำหรับหอย Littorina littorea (common periwinkle) ส่วนสปีชีส์ต่าง ๆ ของแพลงก์ตอนพืชมีแอลดี 50 ที่ประมาณ 8 ม.ก./ลิตร แต่ขนาดต่าง ๆ เหล่านี้ก็มุ่งเฉพาะยารูปแบบหนึ่ง (ดังกล่าวในแหล่งอ้างอิง) ไม่ใช่สารบริสุทธิ์[20]
งานศึกษาปี 2010 พบว่า dioctyl sodium sulfosuccinate มีพิษต่อแบคทีเรีย (Vibrio fischeri, Anabaena sp.) และสาหร่าย (Pseudokirchneriella subcapitata) สูงกว่าสารลดแรงตึงผิวที่ประกอบด้วยฟลอรีน (flourine) หลายอย่าง รวมทั้ง perfluorooctanesulfonic acid (PFOS), perfluorooctanoic acid (PFOA), และ perfluorobutane sulfonate (PFBS) ถ้าวัดการระงับการเรืองแสง (bioluminescence) ของแบคทีเรียและการเติบโตของสาหร่าย ED50 ก็จะอยู่ระหว่าง 43-75 ม.ก./ลิตร ถ้ารวมสารประกอบที่มีฟรอรีนกับ dioctyl sodium sulfosuccinate ก็จะเกิดฤทธิ์เสริม (synergistic effect) ในระดับกลาง ๆ จนถึงมากในสถานการณ์โดยมาก คือการใช้สารร่วมกันเช่นนี้จะมีพิษมากกว่าใช้สารเดี่ยว ๆ อย่างสำคัญ[21]
สปีชีส์น้ำจืด
[แก้]สารนี้มีพิษสูงต่อปลาเรนโบว์เทราต์ คือมี LC50 ที่ 0.56 ม.ก./ลิตร 48 ชม. หลังได้รับสารบริสุทธิ์ และมีฤทธิ์น้อยจนถึงกลาง ๆ สำหรับลูกปลาเรนโบว์เทราต์ตัวเล็ก และมีพิษเล็กน้อยต่อปลาซิวข้างขวานใหญ่ คือมี LC50 ที่ 27 ม.ก./ลิตร สำหรับสารเข้มข้น 60% หลังได้รับ 48 ชม.[20]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 2013 Nurse's Drug Handbook. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning. 2013. p. 366. ISBN 9781449642846. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 "Docusate Salts". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-08-11.
- ↑ 3.0 3.1 American Society of Health-System Pharmacists (2011-08-15). "Stool Softeners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05.
- ↑ Yaffe, Sumner J. (2011). Drugs in pregnancy and lactation : a reference guide to fetal and neonatal risk (9 ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 1651. ISBN 9781608317080. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.
- ↑ 5.0 5.1 Hamilton, Richard J. (2013). Tarascon pocket pharmacopoeia : 2013 classic shirt-pocket edition (27 ed.). Burlington, Ma.: Jones & Bartlett Learning. p. 112. ISBN 9781449665869. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-13. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
- ↑ Michael, fcompiled by; Ash, Irene (2004). Handbook of preservatives. Endicott, N.Y.: Synapse information resources. p. 375. ISBN 9781890595661. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.
- ↑ 8.0 8.1 "Docusate". drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-16.
- ↑ "Docusate sodium". nursingTimes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Dinnendahl, V; Fricke, U, บ.ก. (2010). Arzneistoff-Profile (ภาษาเยอรมัน). Vol. 2 (23 ed.). Eschborn, Germany: Govi Pharmazeutischer Verlag. ISBN 978-3-7741-9846-3.
- ↑ Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health (2014-06-26). "Dioctyl Sulfosuccinate or Docusate (Calcium or Sodium) for the Prevention or Management of Constipation: A Review of the Clinical Effectiveness". PMID 25520993.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Candy, B; Jones, L; Larkin, PJ; Vickerstaff, V; Tookman, A; Stone, P (2015-05-13). "Laxatives for the management of constipation in people receiving palliative care". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 5: CD003448. doi:10.1002/14651858.CD003448.pub4. PMID 25967924.
- ↑ "How effective is docusate as a cerumenolytic agent?". GlobalRPH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-23.
- ↑ Nave, Sandrine; Eastoe, Julian; Penfold, Jeff (November 2000). "What Is So Special about Aerosol-OT? 1. Aqueous Systems". Langmuir. 16 (23): 8733–8740. doi:10.1021/la000341q.
- ↑ "Dioctyl sodium sulfosuccinate". PAN Pesticides Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-05.
- ↑ Jasek, W, บ.ก. (2008). Austria-Codex Stoffliste (ภาษาเยอรมัน) (41 ed.). Vienna: Österreichischer Apothekerverlag. p. 316. ISBN 978-3-85200-190-6.
- ↑ Flynn, P.F. (2004). "Multidimensional multinuclear solution NMR studies of encapsulated macromolecules". Prog. Nucl. Magn. Reson. Spectrosc. 45: 31–51. doi:10.1016/j.pnmrs.2004.04.003.
- ↑ "Bis (2-Ethylhexyl) Sodium Sulfosuccinate". Hazardous Substances Data Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ "Docusate sodium Material Safety Data Sheet". ScienceLab. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-17.
- ↑ 20.0 20.1 "Dioctyl sodium sulfosuccinate". PAN Pesticides Database - Chemical Toxicity Studies on Aquatic Organisms.
- ↑ Rosal, R; Rodea-Palomares, I; Boltes, K; Fernández-Piñas, F; Leganés, F; Petre, A (2010). "Ecotoxicological assessment of surfactants in the aquatic environment: combined toxicity of docusate sodium with chlorinated pollutants". Chemosphere. 81 (2): 288–93. doi:10.1016/j.chemosphere.2010.05.050. PMID 20579683.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Stool Softeners at the N.I.H. PubMed Health resource.