ข้ามไปเนื้อหา

อาทิวราห์ คงมาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตูน บอดี้สแลม)
อาทิวราห์ คงมาลัย

อาทิวราห์ในงานแบทแมนพบซูเปอร์แมน ดอว์นออฟจัสติกมิดไนท์รันบางกอก เมื่อ พ.ศ. 2559
เกิด30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 (45 ปี)
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักกีฬา
  • ยูทูบเบอร์
คู่สมรสรัชวิน วงศ์วิริยะ (สมรส 2563)
บุตร2 คน
บิดามารดา
  • อนุรัตน์ คงมาลัย (บิดา)
  • ประนอม คงมาลัย (มารดา)
อาชีพทางดนตรี
รู้จักในชื่อตูน บอดี้สแลม
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • ร้องนำ
  • กีตาร์
ช่วงปีพ.ศ. 2539–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงมิวสิค บั๊กส์ (2539–2547)
จีนี่เรคอร์ดส (2547–ปัจจุบัน)
สมาชิกของบอดี้สแลม (พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน)
อดีตสมาชิกละอ่อน (พ.ศ. 2539–2542)

อาทิวราห์ คงมาลัย (เกิด 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น ตูน หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตูน บอดี้สแลม เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงและนักจัดกิจกรรมเพื่อสังคมชาวไทย อาทิวราห์เข้าประกวดเวทีฮอตเวฟมิวสิคอวอร์ดครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2539 และเป็นสมาชิกวงละอ่อน และได้เซ็นสัญญากับทางค่ายมิวสิค บั๊กส์ ก่อนที่สมาชิกบางส่วนในวงได้ไปศึกษาเรียนต่อต่างประเทศ ในเวลาต่อมา อาทิวราห์กับธนดล ช้างเสวก และรัฐพล พรรณเชษฐ์ ได้ก่อตั้งวงดนตรีใหม่ชื่อว่า บอดี้สแลม และผลิตผลงานเพลงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

อาทิวราห์ คงมาลัย ยังเป็นผู้เข้าแข่งขันเทเบิลเทนนิสอย่างต่อเนื่อง และได้รับเชิญให้เป็นทูตกีฬาเทเบิลเทนนิสจากสมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย เขายังเป็นหัวหน้าโครงการ "ก้าวคนละก้าว" เพื่อระดมทุนแก่โรงพยาบาลไทย

ประวัติ

[แก้]

อาทิวราห์ คงมาลัย เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 2 ของอนุรัตน์ และประนอม คงมาลัยและมี พี่สาว 1 คน และ น้องชาย 1 คน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (OSK 115 รุ่น รสช.) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับ ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดนตรี

[แก้]

อาทิวราห์ คงมาลัย เริ่มเล่นดนตรีจากการเป็นสมาชิกวงละอ่อน กับเพื่อนนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[2] รวมมีสมาชิก 6 คน หลังได้รางวัลชนะเลิศจากเวทีการประกวดฮอตเวฟมิวสิคอวอร์ดครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2539)[3] และเซ็นสัญญากับทางค่ายเพลง มิวสิค บั๊กส์ และวางจำหน่ายอัลบั้ม ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2540 และ อัลบั้ม เทพนิยายนายเสนาะ ในปี พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นสมาชิกวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ ก่อนที่สมาชิกบางส่วนในวงได้ไปศึกษาเรียนต่อ และในเวลาต่อมานี้ อาทิวราห์ ธนดล ช้างเสวก และ รัฐพล พรรณเชษฐ์ ได้ก่อตั้งวงใหม่ขึ้นมา บอดี้แสลม

ด้านกีฬา

[แก้]

ในด้านกีฬา อาทิวราห์ คงมาลัย เป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันรายการเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555 โดยในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นฝ่ายแพ้วัชรพล ราชโหดี 3-2 เกม และปีถัดมา ได้จับคู่กับอดีตนักกีฬาทีมชาติไทย อย่างสุริยะ พ่วงสมบัติ ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ในประเภทชายคู่ อย่างไรก็ตามทั้งคู่เป็นฝ่ายแพ้ที่ 2-3 เกมในรอบคัดเลือก

ในปี พ.ศ. 2557 อาทิวราห์ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเข้าร่วมทีมเทเบิลเทนนิสของจังหวัดเจ้าภาพ และเป็นตัวแทนนักกีฬากล่าวคำปฏิญาณตนในพิธีเปิด

นอกจากนี้แล้ว อาทิวราห์ยังเป็นแฟนประจำสุพรรณบุรีเอฟซี และทอตนัมฮอตสเปอร์ ชื่นชอบในการเล่นฟุตบอล, วิ่ง, ปั่นจักรยานอย่างมาก เคยลงแข่งขันฟุตบอลกรมพละในปี พ.ศ. 2534 รวมถึงยังเคยลงแข่งขันไตรกีฬา[4][5]

กิจกรรมทางสังคม

[แก้]

อาทิวราห์จัดกิจกรรมวิ่งระดุมทุนในโครงการ ก้าวคนละก้าว จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

  1. พ.ศ. 2559 โครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน โดย ตูน บอดี้สแลม ซึ่งทำการระดมทุนด้วยการ วิ่งระยะไกล เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่ โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร และสามารถระดมทุนจากคนไทยทั่วประเทศได้ถึง 85 ล้านบาท[6]
  2. พ.ศ. 2560 โครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เป็นการวิ่งระยะไกลเพื่อระดมทุนไปซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลจำนวน 11 แห่ง โดยวิ่งจากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ถึงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 2,191 กิโลเมตร[7] โดยตั้งเป้ายอดเงินบริจาคถึง 700 - 1000 ล้านบาท[8][9][10]

การจัดสรรเงินที่ได้ในโครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

[แก้]

หลังจากสิ้นสุดโครงการ มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้จัดสรรเงินที่ได้รับบริจาคจำนวน 1,300ล้านบาท ไปในโรงพยาบาลต่างๆเหล่านี้[11]

- โรงพยาบาลยะลา 91ล้านบาท

- โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 136.5 ล้านบาท

- โรงพยาบาลราชบุรี 180 ล้านบาท

- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี 91ล้านบาท

- โรงพยาบาลสระบุรี 104 ล้านบาท

- โรงพยาบาลขอนแก่น 143 ล้านบาท

- โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรปราจีนบุรี 91ล้านบาท

- โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ 91ล้านบาท

- โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 110.5 ล้านบาท

- โรงพยาบาลน่าน 91ล้านบาท

- โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 221 ล้านบาท

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เขาหมั้นกับรัชวิน วงศ์วิริยะ (ก้อย) หลังคบหากันกว่า 10 ปี[12]

ปัจจุบันสมรสแล้ว ได้แต่งงานเข้าประตูวิวาห์กับนักแสดงหญิง ก้อย รัชวิน คงมาลัย หลังได้ฤกษ์แต่งงานและฉลองมงคลสมรส วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯ

มีบุตรชายและบุตรสาวด้วยกัน 2 คน คือ อาชวิน คงมาลัย ชื่อเล่น น้องทะเล เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และ บุตรสาว คือ วราริน คงมาลัย ชื่อเล่น น้องเวลา เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ผลงาน

[แก้]

ผลงานเพลง

[แก้]
  • อัลบั้ม ละอ่อน (2540)

ผลงานเพลงเดี่ยว

[แก้]
  • ต้องดีกว่าเดิม (M-150 Version)
  • ไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อย
  • ยิ้มสู้ ในอัลบั้ม ในดวงใจนิรันดร์ (28 กันยายน 2560)

ผลงานเพลงรับเชิญ

[แก้]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]

คอนเสิร์ตกับศิลปินคนอื่น

[แก้]
  • คอนเสิร์ต เปิดหมวก Festival (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
  • คอนเสิร์ต KORAT MOVE ON รวมส่งพลังบวกและพลังใจ ผ่านเสียงเพลง (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563)
  • คอนเสิร์ต ทัพฟ้าคู่ไทย เพื่อชัยพัฒนา ครั้งที่ 12 (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • คอนเสิร์ต วิสุทธ Cowboy Night Party (5 เมษายน พ.ศ. 2562)
  • คอนเสิร์ต 12 สิงหา มหาราชินี เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา (5 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • คอนเสิร์ต ก๊อบปี้โชว์ ไทยแลนด์ (12-21 กันยายน พ.ศ. 2557)
  • คอนเสิร์ต HOT WAVE BIRTHDAY CINEPLEX (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547)
  • คอนเสิร์ต The Retro Concert (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)

คอนเสิร์ตรับเชิญ

[แก้]
  • คอนเสิร์ต บักเอ้ก Live (11 ธันวาคม พ.ศ. 2547)
  • คอนเสิร์ต Big Ass เปิดพรหมลิขิต (17 มีนาคม พ.ศ. 2550)
  • คอนเสิร์ต 25 ปี คาราบาวเบญจเพส (1 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550)
  • คอนเสิร์ต Green Concert No.14: Da & The Idol Unbreak My Heart (23-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
  • คอนเสิร์ต บรรลุนิติภาวะ 21 ปีป้าง.นครินทร์.กิ่งศักดิ์ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2556)
  • คอนเสิร์ต ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ : เผลอ (23 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558)
  • คอนเสิร์ต หมู่ วาไรตี้โชว์ อุดมและผองเพื่อน (3-11 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • คอนเสิร์ต BOYdKO50th #2 Simplified The Concert (4 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
  • คอนเสิร์ต เพลงแบบประภาส 3 (19 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
  • คอนเสิร์ต อัสนี - วสันต์ ยืนหยัด ยืนยง 37 ปี บางจาก ปตท.สผ. (27 ตุลาคม พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต BOYd-NOP FAMILY CONCERT ตอน BACK TO THE 90’s (24 ธันวาคม พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต เกินคิ้ม (17 มิถุนายน พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต The Innocent Concert 40 ปีของพี่กับน้อง (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต ลับสุดแจ้ Danupol's Secret (3 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
  • คอนเสิร์ต กูฟังเพลงไท TaitosmitH คอนเสิร์ต (14-15 กันยายน พ.ศ. 2567)

พิธีกร

[แก้]
  • พ.ศ. 2564 : รายการ KT’s Journey ทางช่อง Youtube:Rachwin Journey

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ

[แก้]
  • เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ตูน บอดี้สแลม)

รางวัล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ด.ช อาทิวราห์ คงมาลัย - genie records[ลิงก์เสีย]
  2. อาทิวราห์ คงมาลัย ไทยรัฐ
  3. ย้อนอดีต Hotwave Music Awards มีใคร แจ้งเกิด จากเวทีนี้กันบ้าง!?
  4. "เซอร์ไพรส์ 'ตูน บอดี้สแลม' โผล่เชียร์สเปอร์สถึงไวท์ฮาร์ทเลน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-01. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08.
  5. "ตูน-บอดี้สแลม"จัดเต็ม! ลงศึกไตรกีฬานานาชาติ
  6. เปิดใจ ตูน บอดี้สแลม กับโครงการวิ่งการกุศล #ก้าวคนละก้าว
  7. "ต้องมี"ตูน บอดี้สแลม"วิ่งอีกกี่คน? เงินถึงจะพอช่วยรพ.ทุรกันดารทั่วประเทศ..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-02. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  8. "ตูน บอดี้สแลม" เตรียมออกวิ่งระดมทุน 700 ล้านช่วย 11 รพ. พรุ่งนี้
  9. 'ก้าวคนละก้าว' ครั้งสุดท้ายของ 'ตูน บอดี้สแลม'
  10. พระ ว.วชิรเมธี มอบ 25 ล้าน สมทบก้าวคนละก้าว “ฮ้องขวัญ” สุดยิ่งใหญ่ ก้อย น้ำตาคลอ
  11. ปรากฏการณ์ ตูน บอดี้สแลม
  12. ในที่สุดก็ได้เฮ ตูน บอดี้สแลม ขอแต่งงาน ก้อย รัชวิน มอบแหวนตอน Plank
  13. 'แม่การะเกด'คว้าขวัญใจมหาชน ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ด เดลินิวส์ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2561
  14. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๒ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]