ข้ามไปเนื้อหา

ท่าวังหลังและท่าพรานนก

พิกัด: 13°45′21″N 100°29′13″E / 13.755927°N 100.486834°E / 13.755927; 100.486834
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ท่าพรานนก)
ท่าวังหลังและท่าพรานนก
ท่าวังหลัง
ประเภทท่าเรือโดยสาร
ประเภทเรือเรือด่วน, เรือข้ามฟาก
โครงสร้างท่าสะพานเหล็กปรับระดับพร้อมทางเดินเชื่อม 4 สะพาน
ที่ตั้งเขตบางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร
ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อทางการท่าวังหลัง (ของเอกชน)
ท่าพรานนก (ของกรมเจ้าท่า)
เจ้าของเอกชน (ท่าวังหลัง)
กรมเจ้าท่า (ท่าพรานนก)
ผู้ดำเนินงาน • เรือด่วนเจ้าพระยา
 • เรือโดยสารไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่
ค่าโดยสาร • เรือด่วนเจ้าพระยา
ธงส้ม16 บาทตลอดสาย

ธงเหลือง 21 บาทตลอดสาย
ธงเขียวเหลือง 14-33 บาท
ธงแดง 30 บาทตลอดทั้งสาย (ปกติ 50 บาท)
 • เรือไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่

 สายสีเขียว   สายสีน้ำเงิน   สายสีม่วง  20 บาทตลอดสาย
ข้อมูลเฉพาะ
รหัสท่า น10 (N10) 
โครงสร้างหลักโป๊ะลอยน้ำ 4 โป๊ะ
(วังหลัง 2 โป๊ะ พรานนก 2 โป๊ะ)
ความยาว12 เมตร (พรานนก)
11 เมตร (วังหลัง)
ความกว้าง6 เมตร (พรานนก)
7 เมตร (วังหลัง)
ท่าก่อนหน้า เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าต่อไป
ท่ารถไฟ ประจำทาง
เชื่อมต่อที่ ท่าวังหลัง
ท่าช้าง
มุ่งหน้า วัดราชสิงขร
สะพานพระปิ่นเกล้า ธงส้ม
ธงเหลือง ท่าราชวงศ์
มุ่งหน้า ท่าสาทร
สะพานพระปิ่นเกล้า ธงเขียวเหลือง ท่าช้าง
มุ่งหน้า ท่าสาทร

ท่าวังหลัง หรือ ท่าพรานนก หรือ ท่าศิริราช (อังกฤษ: Wang Lang Pier, Prannok Pier, Siriraj Pier; รหัส: น10, N10) เป็นท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกหรือฝั่งธนบุรี บริเวณปลายถนนวังหลัง ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก โดยแบ่งการให้บริการออกเป็นท่าเรือหลายท่าเรียงรายอยู่ในบริเวณเดียวกัน

ท่าพรานนก
ท่าศิริราช ที่อยู่ใกล้เคียง โดยปกติแล้วท่าแห่งนี้จะไม่เปิดบริการรับส่งผู้โดยสารเหมือนท่าเรือปกติทั่วไป

การให้บริการ

[แก้]

เรือด่วนเจ้าพระยา

[แก้]

ให้บริการโดย บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ที่ท่าวังหลัง (ศิริราช), รหัส  น10 (N10)  (อังกฤษ: Wang Lang (Siriraj) Pier, code: N10) แบ่งออกเป็น 2 ท่า ประกอบด้วย

  • ท่าวังหลัง ท่าเรือด้านใต้สุด ถัดจากท่าเรือข้ามฟาก ให้บริการขาล่อง ปลายทางท่าสาทร-วัดราชสิงขร-ราษฏร์บูรณะ
  • ท่าศิริราช (พรานนก) ท่าเรือด้านเหนือสุด บริเวณปลายถนนพรานนก ถัดจากโรงพยาบาลศิริราช ให้บริการขาขึ้น ปลายทางท่าน้ำนนทบุรี-ท่าปากเกร็ด

รายละเอียดท่าเรือ

[แก้]
  • แต่ละท่าประกอบด้วยโป๊ะเหล็กและสะพานทางเดินเหล็กปรับระดับ, ท่าพรานนกมีสะพานทางเดินเชื่อมเพิ่มเติม
  • ขนาดท่า ท่าพรานนกกว้าง 6.00 เมตร ยาว 12.00 เมตร, ท่าวังหลังกว้าง 7.00 เมตร ยาว 11.00 เมตร[1]
  • สะพานทางเดิน ท่าพรานนกกว้าง 2.00 เมตร ยาว 7.00 เมตร, ท่าวังหลังกว้าง 2.50 เมตร ยาว 8.50 เมตร
  • สะพานทางเดินเชื่อมท่าพรานนกกว้าง 2.00 เมตร ยาว 6.50 เมตร
  • ท่าพรานนกรับน้ำหนักได้ 60 คน, ท่าวังหลังรับน้ำหนักได้ 80 คน[2]

เรือข้ามฟาก

[แก้]

ให้บริการโดย บริษัท สุภัทรา จำกัด ที่ท่าเรือวังหลัง อยู่ระหว่างท่าเรือด่วนเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง โดยแยกเป็นท่าด้านเหนือสำหรับผู้โดยสารลงเรือ และด้านใต้สำหรับผู้โดยสารขี้นจากเรือ ซึ่งผู้โดยสารจะต้องชำระเงินก่อนลงเรือ ท่าเรือนี้จะให้บริการเรือข้ามฟาก 3 เส้นทางหมุนเวียนกันไป ได้แก่

  • เส้นทางวังหลัง-ท่าพระจันทร์
  • เส้นทางวังหลัง-ท่าช้าง
  • เส้นทางวังหลัง-ศูนย์การค้าท่ามหาราช (ท่าวัดมหาธาตุ)

รายละเอียดท่าเรือ

[แก้]
  • มี 2 ท่า ประกอบด้วยโป๊ะเหล็ก และสะพานทางเดินเหล็ก ไม่มีหลังคา
  • ขนาดท่า กว้าง 7.00 เมตร ยาว 11.00 เมตร
  • สะพานทางเดิน กว้าง 2.00 เมตร ยาว 7.60 เมตร
  • รับน้ำหนักได้ 60 คน[3]

การเชื่อมต่อรถโดยสาร

[แก้]
  • ป้ายรถประจำทางหน้าโรงพยาบาลศิริราช ถนนอรุณอมรินทร์ สาย 57 81 91 91ก 149 208
  • รถตุ๊กตุ๊กสองแถว เส้นทางท่าน้ำศิริราช-พาณิชย์ธนบุรี, วัดดงมูลเหล็ก, วัดระฆัง-โพธิ์สามต้น
  • รถสี่ล้อสองแถว เส้นทางท่าน้ำศิริราช-พาณิชย์ธนบุรี, บางขุนศรี, บางขุนนนท์, ตลาดพลู, คลองสาน
  • รถตู้ เส้นทางท่าน้ำศิริราช-บางบัวทอง

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

[แก้]

เหตุการณ์โป๊ะล่มที่ท่าพรานนก

[แก้]

เช้าวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ผู้โดยสารหลายร้อยคนยืนรอเรือด่วนบนโป๊ะเทียบเรือที่ท่าพรานนก ซึ่งเป็นโป๊ะที่ใช้แทงก์ขนาดใหญ่ทำเป็นทุ่นลอยน้ำ มีแผ่นเหล็กเป็นพื้นรองรับ แต่เมื่อผู้โดยสารแย่งกันขึ้นเรือจนผู้โดยสารบางคนตกน้ำและเกิดการมุง ประกอบกับเรือได้กระแทกที่โป๊ะ ทำให้ตัวโป๊ะจมลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณ 10 นาทีหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและทีมแพทย์ได้เข้าช่วยเหลือ และค้นหาผู้ประสบเหตุ พบผู้เสียชีวิตที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กนักเรียนติดอยู่ใต้ตัวโป๊ะที่มีหลังคาคลุม บางส่วนถูกกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากหลังคาโป๊ะดูด จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย[4][5]

หลังเกิดเหตุการณ์ ได้มีการปรับปรุงโป๊ะตามท่าเรือเจ้าพระยาต่าง ๆ และมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น[6] ทางด้านญาติผู้เสียชีวิตได้ยื่นฟ้องบริษัท สุภัทรา จำกัด, บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานครและกรมเจ้าท่า โดยบริษัทเอกชนได้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนหนึ่งจนมีการถอนฟ้อง ในศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องกรมเจ้าท่า ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กรุงเทพมหานครต้องชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 12 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,616,241 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งเมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วเป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท โดยศาลให้เหตุผลว่ากรุงเทพมหานครกระทำการโดยประมาทจนทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว[7][8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรมเจ้าท่า. ตาราง 29 รายละเอียดท่าเทีบเรือ เรือยนต์ข้ามฟาก ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2556
  2. "ตารางรายละเอียดท่าเทียบเรือด่วนเลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปี 2551 ข้อมูลและสถิติเรือโดยสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" (PDF). กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  3. "ตารางรายละเอียดท่าเทียบเรือยนต์โดยสารข้ามฟาก ปี 2551 ข้อมูลและสถิติเรือโดยสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" (PDF). กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.
  4. "รำลึก 20 ปีโศกนาฏกรรมโป๊ะล่ม EP.1 น้ำตานองพรานนก 30 ชีวิตสังเวยความสะเพร่า". ไทยรัฐ.
  5. "เด็ดข่าวเก่า เล่าข่าวเด่น - โป๊ะเรือพรานนกล่ม". ช่อง 7.
  6. "รำลึก 20 ปีโศกนาฏกรรมโป๊ะล่ม EP.2 พรานนกอดีตที่ไม่มีวันลืม ให้บทเรียนกับสังคมแล้วหรือ?". ไทยรัฐ.
  7. "ศาลฎีกาสั่ง กทม.จ่ายญาติผู้เสียหายคดีโป๊ะล่ม 30 ล้านบาท". สนุกดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-25.
  8. "สู้ 20 ปี! กทม.แพ้คดี ศาลสั่งชดใช้เหยื่อโป๊ะล่ม กว่า 30 ล้าน". ไทยรัฐ.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′21″N 100°29′13″E / 13.755927°N 100.486834°E / 13.755927; 100.486834