ซีทีเอช
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | วิทยุโทรทัศน์ |
รูปแบบ | สื่อสารมวลชน |
ก่อตั้ง | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 |
ผู้ก่อตั้ง | สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย |
เลิกกิจการ | 1 กันยายน พ.ศ. 2559 |
สำนักงานใหญ่ | 96/1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | วิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ วัชร วัชรพล รองประธานกรรมการ กฤษณัน งามผาติพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เกษม อินทร์แก้ว กรรมการบริษัท |
ผลิตภัณฑ์ | ดูที่หัวข้อ ช่องรายการ |
เว็บไซต์ | www.cth.co.th |
บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: CTH Public Company Limited) เดิมชื่อบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Cable Thai Holding Public Company Limited) เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม สำหรับการถ่ายทอดโทรทัศน์ระบบดิจิทัลผ่านดาวเทียม ตลอดถึงการผลิต และจัดจำหน่ายเนื้อหาโทรทัศน์ เพื่อเผยแพร่ต่อถึงสมาชิกผู้รับชม ในแต่ละท้องที่ของประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]สิงหาคม พ.ศ. 2552 ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ระดับท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ซึ่งส่วนมากเป็นสมาชิกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย จำนวนมากกว่า 100 รายประชุมร่วมกัน โดยมีมติให้รวมตัวกันเป็นบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิง จำกัด ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ด้วยทุนจดทะเบียนประเดิมที่ 50 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์เนื้อหาโทรทัศน์รูปแบบต่างๆ รวมทั้งเป็นองค์กรกลางในการประกาศจัดเรียงช่องรายการ ที่บริษัทเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันในทุกช่องทางออกอากาศ ขณะเดียวกัน การมีที่มาจากผู้ประกอบการทั่วประเทศรวมตัวกัน ก็ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพ ความแข็งแกร่ง เป็นเอกภาพ ตลอดจนให้การสนับสนุนเทคโนโลยีออกอากาศ การขยายเครือข่ายและการตลาด แก่ผู้ถือหุ้นและสมาชิกด้วย[1]
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 บจก.เคเบิลไทยโฮลดิง จดทะเบียนแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,000 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับปรุงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ โดยจากเดิมที่กลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลถือหุ้นทั้งหมด ปรับลดสัดส่วนลงเหลือร้อยละ 30 มีงบลงทุนที่ 300 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งมีวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการบริหาร เครือโรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล กับยิ่งลักษณ์ วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วัชรพล จำกัด และผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เข้าร่วมลงทุนในอัตราคนละ 250 ล้านบาท หรือถือหุ้นร้อยละ 25 ต่อคน[2]
โดยวิชัยเข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และยิ่งลักษณ์มอบหมายให้วัชร วัชรพล ประธานกรรมการบริหารบริษัท เทรนด์วีจีทรี จำกัด เจ้าของธุรกิจเว็บไซต์ข่าวไทยรัฐออนไลน์ ผู้เป็นบุตรชายรับตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร[3] ต่อมาราวปลายเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน วิชัยและยิ่งลักษณ์ปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือร้อยละ 23.5 โดยมีบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เข้าถือหุ้นในส่วนที่ว่างอยู่ พร้อมทั้งส่วนที่วิชัยกับยิ่งลักษณ์ปรับลด รวมเป็นร้อยละ 23[4]
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 บจก.เคเบิลไทยโฮลดิง จัดแถลงข่าวเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) รวมทั้งตราสินค้าและเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ โดยใช้สีฟ้าเทอร์ควอยส์เป็นหลัก ตลอดถึงโครงสร้างการบริหารงานต่างๆ ใหม่ทั้งหมด[5] และในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้จัดงานแถลงข่าวใหญ่ร่วมกับซีทีเอช ซึ่งเป็นการประกาศโอนย้ายหน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็มแซตของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ให้มาอยู่ภายใต้การดูแลของซีทีเอช โดยเป็นการแลกหุ้นระหว่างสองบริษัท คือฝ่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จะจ่ายเป็นหุ้นของบริษัท จีเอ็มเอ็มบี จำกัด และจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ก็จะได้หุ้นบางส่วนของซีทีเอชกลับคืนด้วย ทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของซีทีเอชนับจากนี้ และหลังจากนี้ซีทีเอชจะเป็นผู้ดูแลด้านแพคเกจของจีเอ็มเอ็มแซต และซีทีเอชก็จะได้ทีมงานของจีเอ็มเอ็มแซตมาช่วยดูแลด้านการบริการลูกค้าอีกเช่นกัน[6]
ปัจจุบัน บริษัทได้ปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระหนี้อันมากมายไหว[7]
ช่องรายการลิขสิทธิ์
[แก้]ซีทีเอชเคยเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในช่องรายการทั้งในและต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
- เอเชียนฟูดแชนแนล (Asian Food Channel)
- แนตจีโอไวลด์ (Nat Geo Wild)
- ฟอกซ์ไครม์ (Fox Crime)
- ฟ็อกซ์สปอตส์ (Fox Sports)
- ไครม์แอนด์อินเวสติเกชันเน็ตเวิร์ก (Crime & Investigation Network)
- เดอะไบโอกราฟีแชนแนล (The Biography Channel)
- ทราเวลแชนแนล (Travel Channel)
- แอนิแมกซ์ (Animax)
- ทูนามิ (Toonami)
ช่องรายการของจีเอ็มเอ็ม-บี
[แก้]ช่องรายการที่ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม-บี
[แก้]- จีเอ็มเอ็ม ฟุตบอลเอ็กซ์ตร้า
- จีเอ็มเอ็ม ฟุตบอลพลัส
- จีเอ็มเอ็ม ฟุตบอลยูโร
- จีเอ็มเอ็ม คลับแชนแนล
- จีเอ็มเอ็ม สปอร์ตเอ็กซ์ตรีม
- จีเอ็มเอ็ม สปอร์ตพลัส
ช่องรายการลิขสิทธิ์ของจีเอ็มเอ็ม-บี
[แก้]จีเอ็มเอ็ม-บี เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในช่องรายการดังต่อไปนี้คือ
- ฟ็อกซ์สปอตส์ 1/2/3/นิวส์
- จีเอ็มเอ็ม ยูโรสปอร์ต
- ฟ็อกซ์ไครม์
- ฯลฯ
ลิขสิทธิ์เนื้อหากีฬาของจีเอ็มเอ็ม-บี
[แก้]- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (2012-2016, รอบคัดเลือก และรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี)[8]
- ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป อังกฤษ
- ฟุตบอลลีกคัพ อังกฤษ
- เจลีก ญี่ปุ่น
- แซรีอีอา บราซิล
- ปริเมราดิบิซิออน อาร์เจนตินา
- โกลด์คัพ
ช่องรายการที่ฉายในซีทีเอช
[แก้]ช่องรายการซีทีเอช [9]
ข่าวไทย และ ต่างประเทศ | วาไรตี้ | การ์ตูน | เพลง ศาสนา และ ต่างประเทศ | กีฬา | หนัง และ ซีรีส์ | สารคดี |
---|---|---|---|---|---|---|
ไทยรัฐทีวี | M CHANNEL | บูมเมอแรง | ||||
Miracle Channel | ||||||
3 HD | GMM 25 | ONE 31 | MONO 29 | |||
CH8 | ||||||
3 SD | ||||||
3 Family | การ์ตูนคลับ | 40-50 Channel | ||||
Workpoint1 | แก๊งการ์ตูน | ทีสปอร์ต | ||||
Money Channel | ||||||
MCOT HD | T Sport | |||||
PPTV | CCTV4 | |||||
Nation TV | ||||||
นาว 26 | Parliament ch | Channel News Asia | ||||
Media Channel | ||||||
M CHANNEL |
ช่องรายการลิขสิทธิ์ของซีทีเอชในอดีต
[แก้]- มายไซ (MySci) - ช่องรายการสารคดีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของบริษัท เน็กซ์สเต็ป จำกัด ผู้ผลิตสารคดีชุดสำรวจโลก
- เรียลเมโทร (Real Met)
- บิ๊กวัน (Big 1) - ช่องรายการเพลง มิวสิกวิดีโอ ข่าวสาร
- มูฟวีฮิตส์ (Movie Hits) - ช่องรายการภาพยนตร์ ของบริษัท กานต์มณีเน็ตเวิร์ก จำกัด
- ซีแชนแนล (C Channel) - ช่องรายการสถานีข่าวภูมิภาคทั่วไทย สารคดี ซีรีส์ภาษาจีนบรรยายไทย ฯลฯ
- บุษบาคาเฟ - ช่องรายการบันเทิงวัฒนธรรมพื้นบ้านสำหรับคนไทย ของบริษัท เน็กซ์สเต็ป จำกัด ผู้ผลิตสารคดีชุดสำรวจโลก
- ไอทีวีชอยส์ (itv Choice) - ช่องรายการวาไรตีและบันเทิงจากต่างประเทศ
- ทีวีช็อป (TV Shop) - ช่องรายการแนะนำสินค้า ของบริษัท ทีวีไดเร็กต์ จำกัด
- โกลทีวี 1 และ 2 (Goal TV 1/Goal TV 2) ช่องรายการถ่ายทอดสดฟุตบอล และรายการจากสโมสรฟุตบอลในทวีปยุโรป
- ไอทีวี กรานาดา (ITV Granada)
- จิมแจม (JimJam)
- ซี-ซีรีส์ (C-Series)
- ซี-สปอร์ต (C-Sport)
- เอดจ์สปอร์ตส์ (EDGE Sports)
- มูฟวีฮิตส์ (Movie Hits)
- เอาต์ดอร์แชนแนล (Outdoor Channel)
- ดี-เอเชียน (D-Asian)
- ดี-มูฟวี (D-Movie)
- คิดส์โค (KidsCo)
- การ์ตูนนิโทร (Cartoonito)
- ยูแคมปัส (U Campus) - ช่องรายการสำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ของบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน)
- กอล์ฟเวิลด์ (Golf World) - ช่องรายการกีฬากอล์ฟ
- ทีสปอร์ตส์แชนแนล (T Sports Channel) - ช่องรายการกีฬา ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และบริษัท อาดามัส อินคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)
- ยูทูเพลย์ (You2Play) - ช่องรายการเพลงอิสระ
- ดี-ไทย (D-Thai) - ช่องรายการภาพยนตร์ไทย ของบริษัท เอ็มไอซี จำกัด
- เชิญยิ้มทีวี (Chengyim Tv)
- เจเอสแอลแชนแนล (JSL Channel) - ช่องรายการวาไรตีและบันเทิง ของบริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด
- ย๊าคทีวี (Yaak TV) - ช่องรายการบันเทิงและดนตรี ของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
- มีเดียนิวส์ (Media News) - ช่องรายการข่าว ของบริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด ในเครือบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน)
- สยามกีฬาทีวี - ช่องรายการกีฬา ของบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
- วิสดอม (Wisdom)
- ช่อง 6 (CH 6)
- กรีนแชนแนล (Green Channel)
- เก้ายอด (9 Yog)
- แอ๊กซ์แชนแนล (Acts Channel)
ลิขสิทธิ์แพร่ภาพโทรทัศน์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ (ปัจจุบันสิ้นสุดสัญญาแล้ว)
[แก้]ซีทีเอชเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แพร่ภาพโทรทัศน์ การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ในเขตประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา เป็นระยะเวลา 3 ฤดูกาลคือ 2013-14 2014-15 และ 2015-16 ทั้งนี้ สมาชิกของโทรทัศน์เคเบิลท้องถิ่น ซึ่งเข้าร่วมกับซีทีเอช จะต้องติดตั้งกล่องรับสัญญาณที่ซีทีเอชผลิตขึ้นใหม่ เพื่อให้สามารถรับชมการถ่ายทอดสดทั้ง 380 นัด จากช่องรายการเฉพาะของซีทีเอชเอง นอกจากนี้ ซีทีเอชยังระดมทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี โครงข่ายการสื่อสารความเร็วสูง (Broadband) ซึ่งทางบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้สัมปทานมาเรียบร้อยแล้ว เพื่อรองรับการแพร่ภาพฟุตบอลพรีเมียร์ลีกต่อไป[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลบริษัทหน้าเว็บย้อนหลังของบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิง จำกัด (มหาชน)
- ↑ ผนึกกำลัง "ซีทีเอช-วิชัย-วัชร" สร้างปรากฏการณ์ใหม่เคเบิลทีวี, 3 เมษายน 2555, ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ "ยิ่งลักษณ์" จับมือ "วิชัย" ลุยธุรกิจทีวี "ซีทีเอช" ทุ่มลงทุน 2 หมื่นล้าน, 4 เมษายน 2555, ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ ตั้งเป้าขยายฐาน 10 ล้านราย "แกรมมี่" ลงหุ้นเสริมทัพ "ซีทีเอช", 26 พฤษภาคม 2555, ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ 'ซีทีเอช' ลุยรีแบรนด์ ก้าวอีกขั้นสู่มิติใหม่การดูทีวี, 16 พฤษภาคม 2556, ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ "แกรมมี่ ขายธุรกิจเพย์ทีวี GMM Z ให้กับ CTH ด้วยมูลค่า 1,030 ล้านบาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-07-25.
- ↑ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/709952
- ↑ http://magawn19.blogspot.com/2013/08/04-2556-gmmz-uefa-euro-2016-16-24-51.html
- ↑ http://www.cth.co.th/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/
- ↑ http://www.mcot.net/site/content?id=50a5d034150ba05450000003#.UZTsxaLwnng เก็บถาวร 2013-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "ซีทีเอช"คว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด"พรีเมียร์ลีก"อังกฤษ