ข้ามไปเนื้อหา

บิวพรีนอร์ฟีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บิวพรีนอร์ฟีน
ข้อมูลทางคลินิก
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
PubChem CID
DrugBank
ECHA InfoCard100.052.664
สารานุกรมเภสัชกรรม

บิวพรีนอร์ฟีน หรือ bupe (อังกฤษ: Buprenorphine) เป็นยาในกลุ่ม โอปิออยด์ ที่มีฤทธิ์เป็นตัวทำการ ย่อย(agonist) และปฏิปักษ์ (antagonist) บิวพรีนอร์ฟีนไฮโดรคลอไรด์นำออกทำตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980 โดยเรคกิตต์และโคลแมน (ปัจจุบันคือเรคกิตต์เบนค์กิเซอร์ (Reckitt Benckiser)) เป็นยาบรรเทาปวด ครั้งแรกใช้รักษาการติดยาในกลุ่มโอปิออยด์ จัดเป็นยาประเภท Schedule III โดยอนุสัญญาว่าด้วยสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Convention on Psychotropic Substances)[1]

ชื่อทางการค้า

[แก้]
  1. เทมเจซิก (Temgesic) เป็นชื่อทางการค้าของบิวพรีนอร์ฟีน โดยเรคกิตต์เบนค์กิเซอร์ เป็นตำรับที่ใช้อมใต้ลิ้น/ฉีด
  2. บูพรีเนกซ์ (Buprenex) เป็นชื่อทางการค้าของบิวพรีนอร์ฟีน โดยเรคกิตต์ เบนค์กิเซอร์ เป็นตำรับที่ใช้ฉีด
  3. ซูบูเทกซ์ (Subutex) เป็นชื่อทางการค้าของบิวพรีนอร์ฟีน เป็นยาอมใต้ลิ้นรสมะนาวที่มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้ 2 มก. 4 มก. และ 8 มก.
  4. ซูบอกโซน (Suboxone) เป็นชื่อทางการค้าของบิวพรีนอร์ฟีน 4 ส่วน ผสมกับนาล็อกโซน (naloxone) 1 ส่วน เป็นยาอมใต้ลิ้นรสส้มที่มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้ 2 มก. 4 มก. และ 8 มก.

เภสัชวิทยาและเภสัชจลนศาสตร์

[แก้]

บิวพรีนอร์ฟีนเป็นอนุพันธ์ของทีบาอีน ที่มีฤทธิ์บรรเทาปวดเนื่องจากมีอะโกนิสต์ ที่ μ-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ บิวพรีนอร์ฟีนเป็นแอนตาโกนิสต์ ที่ κ-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ด้วย อะโกนิสต์แอคติวิตี้บางส่วนหมายถึงการเป็น โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (นั่นคือเป็นตัวยาแก้ฤทธิ์กัน (antidote) เช่น นาโลโซนแก้ผลข้างเคียงบางส่วนของบิวพรีนอร์ฟีนได้

บิวพรีนอร์ฟีนจะถูกเมทาโบไลซ์ในตับ โดยไอโซไซม์ซีวายพี 3 เอ 4 (CYP3A4) ในระบบเอ็นไซม์ไซโตโครม พี 450 ออกซิเดส (cytochrome p450) แล้วกลายเป็นนอร์บูปรีนอร์ฟิน (norbuprenorphine)

ข้อบ่งใช้

[แก้]

ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดชนิดปานกลางและรุนแรง รักษาอาการติดยาในกลุ่มโอปิออยด์ มีช่วงเวลาออกฤทธิ์นานกว่ามอร์ฟีน โดยบิวพรีนอร์ฟีนที่เป็นยาเม็ดอมใต้ลิ้นจะออกฤทธิ์บรรเทาปวดได้นาน 6 - 8 ชม.

ผลข้างเคียง

[แก้]

บิวพรีนอร์ฟีนมีผลข้างเคียงเหมือนกับโอปิออยด์ ตัวอื่น ๆ เช่น

  1. คลื่นไส้และอาเจียน
  2. ง่วงนอนและเซื่องซึม
  3. ปวดศีรษะ
  4. คัน
  5. ปากแห้ง
  6. ความดันต่ำ
  7. ปัสสาวะน้อย
  8. ท้องผูก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2006-01-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]