ปลากรอบ
ชื่ออื่น | ปลาย่างรมควัน |
---|---|
ประเภท | วัตถุดิบ |
แหล่งกำเนิด | ประเทศกัมพูชา · ประเทศไทย |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ปลากรอบ บ้างเรียก ปลาย่างรมควัน เป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่งที่พบในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย โดยมากทำจากปลาเนื้ออ่อนตัวโต นำมาเสียบไม้จัดเรียงเป็นแพแล้วอังไฟให้แห้งและหอม ปลากรอบถือเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างชื่อให้กับกัมพูชาเมื่อกว่าครึ่งศตวรรษก่อน[1][2][3]
จากความอุดมสมบูรณ์ของโตนเลสาบ ชาวเขมรเมื่อราว 50 ปีก่อน จึงนำปลาที่มีอยู่มากไปทำเป็นปลากรอบเพื่อถนอมอาหารให้อยู่นาน ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นสุก แห้ง แต่มีกลิ่น และรสชาติพิเศษ[1] จากนั้นจึงใส่เกวียนส่งออกไปยังประเทศไทยซึ่งต้องใช้ระยะเวลาแรมเดือน เพราะขณะนั้นถนนหนทางยังไม่มีมากและสะดวกอย่างในปัจจุบัน เมื่อชาวไทยซื้อปลากรอบของชาวเขมรมา ก็จะต้องไปนึ่งหรือลวกเสียก่อนเพื่อป้องกันความสกปรกหรือมอด แล้วจึงนำไปประกอบอาหาร[4] ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตปลากรอบได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากกัมพูชาเหมือนในอดีต แต่ปลากรอบของไทยจะมีขนาดย่อมกว่าปลากรอบเขมร และในอดีตปลากรอบไทยก็มักจะขาดตลาดบ่อย ๆ เพราะคนไทยในยุคนั้นนิยมขายปลาสดมากกว่า และไม่ต้องเสียเวลาย่างให้เป็นปลากรอบแบบเขมร[4]
ในสำรับอาหารเขมรจะนำปลากรอบมายำกับมะกอก นำปลากรอบมาแกงกับฟักเขียว หรือนำปลากรอบไปตำเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกหรือป่นปลาของไทย แต่จะใส่พริกไทยดำตำพอแหลกไว้แกล้มกับผักจิ้ม[3] ขณะที่สำรับอาหารไทยจะนำปลากรอบเป็นวัตถุดิบในการทำต้มยำปลากรอบ ต้มโคล้งปลากรอบ[1] แกงขี้เหล็กใส่ปลากรอบ ปลากรอบผัดพริกแกง น้ำพริกปลากรอบ หรือนำปลากรอบมาตำให้ละเอียดเป็นเครื่องสำหรับทำแกงเลียงก็มี[4] ส่วนทายาทสกุลอภัยวงศ์ ซึ่งเป็นขุนนางไทยเชื้อสายเขมร มีอาหารประจำครอบครัว ซึ่งบางรายการมีปลากรอบเป็นส่วนประกอบด้วย เช่น แกงส้มปลากรอบ[5] และส้มตำมะระขี้นก หรือเรียกส้มตำเขมร โดยจะใส่ปลากรอบ มะระขี้นก และผักแขยงลงไปด้วย[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 สุทัศน์ ศุกลรัตนเมธี (18 มิถุนายน 2559). "ตู้กับข้าว". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชัยวัฒน์ เสาทอง (26 พฤษภาคม 2562). "มจู, ม็วน ด๊ด, ก็องแก๊บ บ๊ก ฯลฯ เมนูอร่อยในสำรับกับข้าวเขมร". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "ชวนกิน "กบย่าง" ที่เขมร เปิดตำราก่อนลิ้มอาหารกัมพูชา". Matichon Academy. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 สุธน สุขพิศิษฐ์ (9 ตุลาคม 2564). "สารพัดวิธีกินปลาของคนไทย ทั้งปลาดิบญี่ปุ่น ปลาหมักสแกนดิเนเวีย ถึงปลากรอบแบบเขมร". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อาหารตำรับเจ้าพระยาอภัยภูเบศร". เส้นทางเศรษฐี. 26 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ แม่ช้อยนางรำ (21 ธันวาคม 2552). "ร้าน "ป้าแมว" อาหารไทย "พระยาอภัยภูเบศร"". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)