พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา)
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) | |
---|---|
มิรซากุลามอุชเซ็น[1] | |
จุฬาราชมนตรี คนที่ 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2453 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) |
ถัดไป | พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) |
เจ้ากรมท่าซ้าย | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2391 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2453 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงแพ นางพิน นางแดง |
บุตร | 12 คน |
บุพการี |
|
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) กับคุณหญิงกลิ่น ธิดาพระยารามัญวงศ์ (มะโดด) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2391 บิดานำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กตั้งแต่อายุ 18 ปี เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์ มียศเป็นนายฉลองไนยนารถ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านย้ายมาเป็นขุนนางกรมท่าซ้าย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชเศรษฐี ระหว่างนี้ก็ศึกษากฎหมายด้วย
ครั้นถึงรชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชเศรษฐี และเมื่อบิดาถึงแก่กรรมจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าซ้าย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 นอกจากนั้นยังเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศในกระทรวงยุติธรรมอีกตำแหน่งหนึ่ง ท่านเป็นข้าราชการที่สนิทชิดเชิ้อกับรัชกาลที่ 5 เป็นพิเศษ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และพานทองเทียบชั้นเจ้าพระยาพานทอง เมื่อท่านเจ็บป่วยก็โปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงมาดูแลรักษา
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ป่วยเป็นฝีที่แก้มและที่ชายโครง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2453[2] รวมอายุ 65 ปี โปรดให้มีการแห่ศพทางน้ำอย่างสมเกียรติ พระราชทานไม้นิซ่านปักที่หลุมศพของท่านและทรงเป็นประธานในพิธีฝังศพด้วยพระองค์เองที่มัสยิดต้นสน
ครอบครัว
[แก้]พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) สมรสกับคุณหญิงแพ มีบุตร 4 คน คือ
- พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)
- ป๋ง (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
- เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5
- ลมุล อหะหมัดจุฬา หัวหน้าพนักงานภูษามาลา
นอกจากนี้ท่านยังมีภรรยาอีก 2 คน คือ นางพิน มีบุตร 1 คน คือ ขุนวรวาที (เล็ก อหะหมัดจุฬา) และนางแดง มีบุตร 6 คน คือ
- แม้น อหะหมัดจุฬา
- พระจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา)
- พระราชเศรษฐี (สุทธิ์ อหะหมัดจุฬา)
- สายหยุด อหะหมัดจุฬา มหาดเล็กหลวง
- หยด อหะหมัดจุฬา
- ย้อย อหะหมัดจุฬา
และมีธิดาอีกคนหนึ่งชื่อแป๊ด ภายหลังเธอออกจากครอบครัวเพราะรักกับชายชื่อปลื้ม จนเกิดคดีความเมื่อ พ.ศ. 2442[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) (เดิมเรียกว่ามหาสุราภรณ์)[4]
- พ.ศ. 2447 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 (ม.ป.ร.4)[5]
- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ภัทระ คาน. สุสานประวัติศาสตร์ 3 สมัย ใน มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชนสามสมัย. กทม. จิรรัชการพิมพ์. 2544
- เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กทม. ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย. พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน-กุลาฮูเซ็น) เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 27 มกราคม 2556
- ↑ "ข่าวฝังศพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 483. 1910-06-19. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
- ↑ ภาวิณี บุนนาค. รักนวลสงวนสิทธิ์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2563, หน้า 93-94
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๒๓, ตอน ๒๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๔๙, หน้า ๗๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
ก่อนหน้า | พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) | พระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ 10 (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 — 10 มิถุนายน พ.ศ. 2453) |
พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) |