พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล)
คุณพระ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) | |
---|---|
เกิด | เปรื่อง สุจริตกุล 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 บ้านปากคลองด่าน จังหวัดธนบุรี |
เสียชีวิต | 9 มีนาคม พ.ศ. 2524 (85 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2464–2468) |
บิดามารดา | เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) ท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี |
ญาติ | สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา (น้องสาว) ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร (น้องสาว) |
พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล)[1][2] (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2524) เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี และเป็นพระเชษฐภคินีของท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร และ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 6
เปรื่องเคยถวายตัวเข้ารับใช้ในสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนางพระกำนัลของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี และ พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระคู่หมั้น และ พระนางเธอในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตามลำดับ กระทั่งวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประกอบพิธีราชาภิเษกสมรสกับเปรื่อง ถือเป็นหญิงสามัญชนคนแรกที่ได้เข้าพิธีดังกล่าว ทั้งยังเป็นหญิงคนแรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พระ" มีราชทินนาม "สุจริตสุดา" อยู่ในตำแหน่งพระสนมเอก
พระสุจริตสุดาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2524 รวมอายุ 85 ปี และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2525
ประวัติ
[แก้]ประวัติตอนต้น
[แก้]พระสุจริตสุดามีชื่อเดิมว่า เปรื่อง สุจริตกุล เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 ณ บ้านปากคลองด่าน ประตูน้ำภาษีเจริญ[3] เป็นธิดาคนโตจากบุตรจำนวน 12 คนของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) อธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม[4] กับท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี (สกุลเดิม เตชะกำพุช) มีน้องสาวที่เป็นที่รู้จักคือประไพ ที่ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมนเฑียร
บุรพชนฝั่งบิดาเป็นราชินิกุลเชื้อสายจีน[5] โดยปู่คือพระยาราชภักดี (โค สุจริตกุล) เป็นพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีของสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (นามเดิม เปี่ยม สุจริตกุล)[6] พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ส่วนบุรพชนฝ่ายมารดาคือขุนพัฒน์ (แต้หอย) ชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพเข้าสยามช่วงปี พ.ศ. 2407 ต้นสกุลเตชะกำพุช[7]
เปรื่องเป็นพี่สาวคนโตของครอบครัวที่ต้องดูแลน้อง ๆ โดยเฉพาะประไพ น้องสาวคนเล็ก ซึ่งโปรดการขี่ม้าเล่นด้วยกันเสมอ[6] ต่อมาเมื่อครั้งที่เธอจะโกนจุก ได้เข้าไปในพระบรมมหาราชวังเพื่อให้ท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมเพิ่ม ในรัชกาลที่ 5) ผู้เป็นอาแต่งตัวให้ตามประเพณี แล้วสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทอดพระเนตรเห็นเข้า ก็โปรดให้เข้าถวายตัวหลังการโกนจุก และมีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียนราชินี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แล้วลาออกจากโรงเรียน และทูลลาออกมาพำนักที่บ้าน[8]
ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ก็โปรดให้เปรื่องมาเป็นนางพระกำนัลของพระองค์เจ้าวัลลภาเทวี[8] และในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ก็ทรงแต่งตั้งให้เปรื่องเป็นนางพระกำนัลตามเสด็จพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณต่อไป[4] และได้ตามเสด็จพระราชดำเนินในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่มีการจัดตั้งกองเสือป่าหญิงขึ้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปรื่อง สุจริตกุล รับพระราชทานยศนายกกองเสือป่าหญิงรุ่นแรกด้วย[9]
ขณะที่เปรื่องมีอายุราว 18 ปี ได้อุปการะนิภา อภัยวงศ์ (ชื่อเดิม ประคอง พุ่มทองสุก) มาเป็นบุตรบุญธรรม โดยทำหน้าที่เป็นทั้งผู้เลี้ยง ผู้สอนหนังสือและการขับร้องด้วยตนเอง[10] และได้อุปการะหม่อมเจ้าสีดาดำรวง ชุมพล (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์) แต่ต่อมาได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอุปการะแทน[11]
อภิเษกสมรส
[แก้]เมื่อเปรื่องมีอายุได้ 26 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงขอเปรื่องจากเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ซึ่งบางคนกล่าวกันว่าในเวลานั้นเปรื่องมีคนรักอยู่แล้ว[12] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระราชวังพญาไท เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 และถือเป็นสุภาพสตรีสามัญชนคนแรกที่ได้เข้าพิธีดังกล่าว โดยสวมชุดเป็นเจ้าสาวแบบอังกฤษคือสวมเสื้อกระโปรงสีขาว มีผ้าโปร่งสีขาวคลุมศีรษะ ประดับดอกส้ม และถือช่อดอกไม้[9] ทรงคล้องพระกรกับเปรื่อง ทรงพระดำเนินลอดซุ้มประสานดาบ โดยมีเพลงไบรดัลคอรัสบรรเลงขณะดำเนินพิธี[4] มีการพระราชทานน้ำสังข์เป็นทางการด้วยพระกรุณาของสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น พระสุจริตสุดา[13] ตำแหน่งพระสนมเอก พร้อมทั้งพระราชทานตราจุลจอมเกล้าให้สมกับศักดิ์พระสนมเอก เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "คุณพระ"[14] หากเมื่อใดตั้งครรภ์จะสถาปนาขึ้นเป็นเจ้า แต่อย่างไรก็ตามพระสุจริตสุดามิได้มีครรภ์สมดั่งพระราชประสงค์[15]
ในเวลาต่อมาเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) มีความประสงค์ที่จะถวายตัวฉวี บุนนาค ธิดามหาอำมาตย์ตรี พระยาประภากรวงษ์ (ว่อง บุนนาค) ซึ่งเป็นหญิงนักเรียนนอกจากสกุลบุนนาคเป็นฝ่ายในเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ เพราะตระกูลบุนนาคส่งสตรีเข้าเป็นบาทบริจาริกามาตลอดทุกรัชกาล[16] แต่พระสุจริตสุดากราบบังคมทูลว่าจะถวายน้อง ๆ ของตนเองแทน[17] ด้วยเหตุนี้พระสุจริตสุดาจึงให้ประไพ ซึ่งเป็นน้องสาวไปถวายการรับใช้บ่อย ๆ ครั้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสถาปนาประไพ สุจริตกุลเป็นพระอินทรานี และต่อมาได้สถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณขึ้นเป็นพระนางเธอ ลักษมีลาวัณ และอาศัยร่วมกันในพระราชวังพญาไท ส่วนตัวพระสุจริตสุดาอาศัยที่พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์[18] หากมีพระราชพิธี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณจะเป็นผู้นำและประทับคู่กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระสุจริตสุดาและพระอินทรานีเดินตามอย่างธรรมเนียมโบราณ แต่ภายหลังพระนางเธอ ลักษมีลาวัณทรงแยกไปอยู่ในพระตำหนักในพระราชวังดุสิต[19] ส่วนพระอินทรานีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้านายเพราะตั้งพระหน่อ[20] เป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาเป็นตำแหน่งสุดท้าย[21] พระสุจริตสุดาโดยเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ต่าง ๆ พร้อมกับพระราชสวามี และสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาเสมอ[22] และพระสุจริตสุดาเป็นสตรีเพียงคนเดียวที่อยู่ในพระราชวังพญาไทคอยปรนนิบัติพัดวีพระราชสวามีตลอดรัชกาล มีบางครั้งที่พระสุจริตสุดาไม่ขึ้นเฝ้าเพราะสุขภาพไม่อำนวย แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิทรงกริ้ว หากแต่ทรงเมตตาและไว้วางพระราชหฤทัยมาตลอด[4]
พระสุจริตสุดาสนใจเรื่องดนตรีโดยเฉพาะการขับร้องซึ่งมีความชำนาญเป็นเลิศ[10] คอยถวายงานจัดเครื่องดนตรี เครื่องสายผสมบรรเลงทุกเวลาค่ำ[20] เคยเป็นต้นเสียงร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา เมื่อ พ.ศ. 2464 คราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการแสดงโขนตอนนางลอย และพระองค์ทรงพากย์ด้วยพระองค์เอง ด้วยความที่ท่านชื่นชอบดนตรีไทยเป็นชีวิตจิตใจ ช่วงเวลาดังกล่าวพระสุจริตสุดาได้รับอุปการะเด็กอายุ 10-15 ปี เพื่อมาเป็นนักดนตรี ได้แก่ นิภา อภัยวงศ์, ทองดี สุจริตกุล[23] และสุมิตรา สุจริตกุล (สกุลเดิม สิงหลกะ) ไว้คอยเล่นดนตรีแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังสิ้นการเสวยพระกระยาหาร ณ พระราชวังพญาไทเป็นประจำ[24]
หลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 6
[แก้]หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสุจริตสุดาได้พำนักอยู่ภายในวังสวนสุนันทา แล้วจึงย้ายเข้าไปอยู่ที่บ้านพระสุจริตสุดา ถนนพระราม 5 หลังโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยอันเป็นที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน[10] ทั้งรับส่วนแบ่งพระราชมฤดกของพระสวามีอีกจำนวนหนึ่ง[25]
อย่างไรก็ตามพระสุจริตสุดายังคงสนใจเรื่องเกี่ยวกับดนตรี ได้จัดตั้งวงเครื่องสายผสมเปียโนหญิงวงแรกของคณะนารีศรีสุมิตร เป็นวงดนตรีเครี่องคู่ ประกอบด้วยจะเข้, ซออู้, ซอด้วง, ฉิ่ง, โทน, รำมะนา และเปียโน โดยมีสุมิตรา สุจริตกุล เป็นผู้เล่นเปียโนและควบคุมวงดนตรี พระสุจริตสุดาสนใจในการเล่นเปียโนเป็นพิเศษ วงดนตรีคณะนี้ได้นำเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาขับร้อง เช่น เพลงตับในเรื่องวิวาหพระสมุท คือเพลงโยนดาบ, จีนหน้าเรือ, ปี่แก้ว, ตะนาวแปลง เป็นต้น[24] และยังได้แต่งคำร้องเพลง สุดาสวรรค์ โดยมีสุมิตรา สุจริตกุล เป็นผู้แต่งทำนอง[22]
ด้านการกุศลได้บริจาคทรัพย์บำรุงโรงพยาบาลต่าง ๆ อาทิ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้าง ตึกสุจริตสุดา ในโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น[22]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ในปัจฉิมวัย พระสุจริตสุดาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทั้งค่าใช้จ่ายประจำ ค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย[4] และที่พำนักในบริเวณที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซอยต้นสน ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร
จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 พระสุจริตสุดาได้ป่วยลงและเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชจนถึงอนิจกรรมเมื่อวันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2524 เวลา 22.45 น. รวมอายุได้ 85 ปี 3 เดือน 26 วัน และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2525[22]
เกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมยศของ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง) | |
---|---|
การเรียน | คุณพระ |
การแทนตน | กระผม/ดิฉัน |
การขานรับ | ครับผม/ค่ะ |
บรรดาศักดิ์
[แก้]- 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 — 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 : เปรื่อง สุจริตกุล
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 — 9 มีนาคม พ.ศ. 2524 : พระสุจริตสุดา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[26]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[27]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[28]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[29]
ยศทางเสือป่า
[แก้]นายกองตรี พระสุจริตสุดา (เปรื่อง) | |
---|---|
รับใช้ | กองเสือป่า |
ประจำการ | พ.ศ. 2464–2468 |
ชั้นยศ | นายกองตรี |
หน่วย | กรมเสือป่าม้าหลวงรักษาพระองค์ |
- 23 มกราคม พ.ศ. 2464 นายกองตรี - สังกัดกองร้อยหลวง กรมเสือป่าม้าหลวงรักษาพระองค์[30]
ตำแหน่งที่ได้รับ
[แก้]- สมาชิกกิตติมศักดิ์สภากาชาดสยาม (ชื่อในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2464 หลังพระสุจริตสุดาได้บริจาคเงินสมทบทุนสร้างสถานเสาวภา
สิ่งอันเนื่องจากบรรดาศักดิ์
[แก้]- เพลงสุดาสวรรค์เถา – เป็นเพลงเถาที่พระสุจริตสุดาแต่งเอง มีทำนองคล้ายเพลงมอญรำดาบ ใช้บทร้องจากเรื่อง ปล่อยแก่ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[31]
- ตึกพระสุจริตสุดา – อาคารภายในโรงพยาบาลศิริราช
- บ้านสุจริตเวศน์ – บ้านพักส่วนตัวของพระสุจริตสุดาที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลำดับสาแหรก
[แก้]พงศาวลีของพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชทานเพลิงศพ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล). อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) ท.จ.ว. พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2526
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0ง): 2471. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ พระสุจริตสุดา พระสนมเอกในรัชกาลที่6 (พ.ศ. 2538-2525)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 เล็ก พงษ์สมัครไทย (21 มกราคม 2562). "คุณเปรื่อง สุจริตกุล "เลดี้อินเวตติ้ง" ของร.6 สู่พระสนมเอกผู้ไม่เคยขัดพระราชหฤทัย". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับสมบูรณ์ (ภาคจบ), หน้า 305
- ↑ 6.0 6.1 พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 211
- ↑ ไกรฤกษ์ นานา. "ใครคือชาวต่างชาติหน้าใหม่ที่อพยพเข้ามายังเมืองบางกอกหลังไทยทำสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ?". ศิลปวัฒนธรรม. 37:6 เมษายน 2559, หน้า 139
- ↑ 8.0 8.1 พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 212
- ↑ 9.0 9.1 พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 213
- ↑ 10.0 10.1 10.2 สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (2544). ประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์เนื่องในวันครู 16 มกราคม พ.ศ. 2544 (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. p. 21-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-27.
- ↑ พฤทธิสาณ ชุมพล, รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ (กรกฎาคม 2559). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (PDF). พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. p. 48.
- ↑ พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่ 6), หน้า 107
- ↑ "พระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0ง): 2132. 30 ตุลาคม พ.ศ. 2464.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระสุจริตสุดา พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6[ลิงก์เสีย]
- ↑ รักในราชสำนัก, หน้า 145
- ↑ วรชาติ มีชูบท. "๑๖๕. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (๓๗)". ฝากเรื่องราวไว้กับน้อง ๆ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่ 6), หน้า 108
- ↑ "พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่ 6), หน้า 110
- ↑ 20.0 20.1 "นายใน" สมัยรัชกาลที่ 6, หน้า 9
- ↑ พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่ 6), หน้า 277
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Vajiravudh.org เก็บถาวร 2009-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พระสุจริตสุดา
- ↑ "ไปชมมหกรรมดนตรีไทย "หนึ่งทศวรรตครูทองดี ศรีแผ่นดิน"". หนังสือพิมพ์ไทยแอลเอ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 24.0 24.1 "นางสุมิตรา สุจริตกุล". ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. 9 มีนาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "(พระมรดก) "เจ้าฟ้าหญิง 4 แผ่นดิน" สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 24 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0ง): 2347. 26 พฤศจิกายน 2465.
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า 3207)
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0ง): 1904. 9 ตุลาคม 2464.
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0ง): 2567. 20 พฤศจิกายน 2470. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-23. สืบค้นเมื่อ 2015-07-08.
- ↑ "พระราชทานยศนายเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38: หน้า 3184. 29 มกราคม 2464.
- ↑ อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) ท.จ.ว. พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2526, หน้า 26
- บรรณานุกรม
- ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับสมบูรณ์ (ภาคจบ). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครหลวงฯ : รุ่งวัฒนา. 2515
- ชานันท์ ยอดหงษ์. "นายใน" ในรัชกาลที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556
- พิมาน แจ่มจรัส. รักในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2554
- พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่ 6). กรุงเทพฯ : มติชน, 2561
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่March 2022
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2438
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2524
- บาทบริจาริกา
- พระภรรยาในรัชกาลที่ 6
- สกุลสุจริตกุล
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.3
- สมาชิกกองเสือป่า
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระ
- บุคคลจากจังหวัดธนบุรี
- บุคคลจากเขตภาษีเจริญ