อารามนักบุญแคเธอริน
อารามนักบุญแคเธอริน มองจากเขาซีนาย | |
ข้อมูลทั่วไป | |
---|---|
ชื่อเต็ม | อารามหลวงอิสระนักบุญแคเธอรินอันเป็นที่สักการะแห่งเขาซีนายอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งพระเป็นเจ้าเคยเสด็จผ่าน กรีก: Ιερά Αυτόνομος Βασιλική Μονή Αγίας Αικατερίνης του Αγίου και Θεοβαδίστου Όρους Σινά |
ชื่ออื่น | อารามนักบุญแคเธอริน Moni tis Agias Aikaterinis |
นิกาย | คริสต์จักรซีนาย |
Denomination | กรีกออร์โธดอกซ์ |
ตั้งขึ้นเมื่อ | ค.ศ. 565 |
บุคคลที่เกี่ยวข้อง | |
ผู้ก่อตั้ง | ยุสตีเนียนที่หนึ่ง |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เซนต์แคเธอริน รัฐซีนายใต้ ประเทศอียิปต์ |
ประเทศ | อียิปต์ |
พิกัด | 28°33′20″N 33°58′34″E / 28.55556°N 33.97611°E |
ซากที่คงเหลือ | นักบุญแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | เขตเซนต์แคเธอริน |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, iii, iv, vi |
ขึ้นเมื่อ | 2002 (26th session) |
เลขอ้างอิง | 954 |
ภาค | รัฐอาหรับ |
อารามนักบุญแคเธอริน (อาหรับ: دير القدّيسة كاترين Dayr al-Qiddīsa Katrīn; กรีก: Μονὴ τῆς Ἁγίας Αἰκατερίνης, Saint Catherine's Monastery) หรือชื่อทางการ อารามหลวงอิสระนักบุญแคเธอรินอันเป็นที่สักการะแห่งเขาซีนายอันศักดิ์สิทธิ์ที่ซึ่งพระเป็นเจ้าเคยเสด็จผ่าน (อังกฤษ: Sacred Autonomous Royal Monastery of Saint Catherine of the Holy and God-Trodden Mount Sinai) เป็นอารามในศาสนาคริสต์ ที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรซีนาย ประเทศอียิปต์ โดยตั้งอยู่ที่เชิงเขาซีนาย และสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 548 ถึง 565 ถือเป็นอารามคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง[1][2][3]
อารามนี้สร้างขึ้นตามดำริของจักรพรรดิบีแซนทีน ยุสตีเนียนที่หนึ่ง โดยสร้างขึ้นล้อมรอบจุดที่เชื่อกันว่าเป็นพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟที่โมเสสเห็นตามในพระคัมภีร์[4][5] หลายศตวรรษถัดมา ร่างของนักบุญแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรียซึ่งว่ากันว่าถูกฝังไว้ในพื้นที่แถชนี้ได้รับการเคลื่อนย้ายมายังอารามนี้ เรลิกของนักบุญแคเธอรินได้ทำให้อารามนี้กลายมาเป็นแหล่งแสวงบุญสำคัญในเวลาต่อมา
อารามนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของคริสต์จักรซีนายซึ่งเป็นคริสต์จักรอิสระ (autonomous) และเป็นส่วนหนึ่งของคริสต์จักรกรีกออร์ทอดอกซ์ ในปี 2002 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้อารามนี้เป็นแหล่งมรดกโลกเนื่องด้วยความสำคัญต่อทั้งศาสนาคริสต์, อิสลาม และ ยูดาย[6][7]
ภายในอารามยังมีหอสมุดที่ถือว่าเป็นหอสมุดที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่เปิดให้บริการโดยต่อเนื่องถึงปัจจุบัน[8] ภายในเก็บรักษาชิ้นงานสำคัญมากมาย เช่น โคเด็กซ์ซีนายตีกุส และ ซีนายตีกุสซีเรีย[9][8] นอกจากงานเขียนแล้วยังมีรูปเคารพในศาสนาคริสต์ยุคแรกซึ่งรวมถึงรูปพระเยซูที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งคือรูปพระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ
อารามล้อมรอบด้วยเขาสามลูกที่อยู่ใกล้กัน ได้แก่ เขาต้นหลิว (เป็นไปได้ว่าคือเขาโฮเรบในพระคัมภีร์), เขาเยเบลอัรเรนซีเยบ และเขาซีนาย ซึ่งเชื่อว่าคือเขาซีนายเดียวกับที่ปรากฏในพระคัมภีร์[10]
ประวัติศาสตร์
[แก้]บันทึกเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับชีวิตอารามวาสีในเขาซีนายมาจากบันทึกการเดินทางภาษาละตินของสตรีผู้แสวงบุญ นามว่าเอเกริยา (หรือ เอเธริยา, Etheria; นักบุญซิลเวียแห่งอะกีเตน) ราวปี 381/2–386[11][12]
อารามสร้างขึ้นโดยดำริของจักรพรรดิยุสตีเนียนที่หนึ่ง (ครองราชย์ 527–565) โดยสร้างขึ้นล้อมรอบโบสถ์น้อยแห่งพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟ (Chapel of the Burning Bush) (หรือ โบสถ์น้อยนักบุญเฮเลน "Saint Helen's Chapel") ซึ่งสร้างตามดำริของจักรพรรดินีเฮเลนา พระวรชายา ผู้เป็นมารดาของจักรพรรดิคอนซตันตินมหาราช ตรงจุดที่เชื่อว่าโมเสสพบพุ่มไม้ลุกเป็นไฟตามพระคัมภีร์[4][5] โครงสร้างเสาค้ำหลังคา (truss) แบบคิงโปสต์ของอารามถือเป็นเสาค้ำหลังคาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงหลงเหลือถึงปัจจุบัน[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Din, Mursi Saad El et al.. Sinai: The Site & The History: Essays. New York: New York University Press, 1998. p. 80. ISBN 0814722032
- ↑ Jules Leroy; Peter Collin (2004). Monks and Monasteries of the Near East. Gorgias Press. pp. 93–94. ISBN 978-1-59333-276-1.
- ↑ "St Catherine Monastery – The Oldest in the World". KEEP CALM and WANDER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
- ↑ 4.0 4.1 Schrope, Mark (September 6, 2012). "In the Sinai, a global team is revolutionizing the preservation of ancient manuscripts". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ July 2, 2018.
- ↑ 5.0 5.1 "Is the Burning Bush Still Burning?". Friends of Mount Sinai Monastery (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 2, 2018.
- ↑ Georgiou, Aristos (December 20, 2017). "These spectacular ancient texts were lost for centuries, and now they can be viewed online". International Business Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2018.
- ↑ "Saint Catherine Area". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
- ↑ 8.0 8.1 "Sinai Palimpsests project". sinai.library.ucla.edu.
- ↑ Sebastian P. Brock, Two Hitherto Unattested Passages of the Old Syriac Gospels in Palimpsests from St Catherie's Monastery, Sinai, Δελτίο Βιβλικῶν Μελετῶν 31A, 2016, pp. 7–18.
- ↑ "Visit Saint Catherine Monastery, Egypt". visitafrica.site (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
- ↑ John Wilkinson (2015), Egeria's travels (Oxford: Oxbow Books). ISBN 978-0-85668-710-5
- ↑ "The Pilgrimage of Egeria". www.ccel.org. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
- ↑ Feilden, Bernard M.. Conservation of historic buildings. 3rd ed. Oxford: Architectural Press, 2003. p. 51. ISBN 0750658630