ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาลาดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาลาดิน
ladin
ประเทศที่มีการพูดอิตาลี
ภูมิภาคแคว้นเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจและแคว้นเวเนโต
จำนวนผู้พูด41,129 คน  (2549[1]–2554)[2][3]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
อื่น ๆ
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบ• สำนักงานวางแผนภาษาลาดิน
• ศูนย์วัฒนธรรมลาดิน "Majon de Fascegn"
• สถาบันลาดิน "Micurà de Rü"
• สถาบันลาดินแห่งทิวเขาโดโลไมต์
รหัสภาษา
ISO 639-3lld
Linguasphere51-AAA-l

ภาษาลาดิน (ลาดิน: ladin) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งในกลุ่มโรมานซ์ไรติอา ส่วนใหญ่ใช้พูดกันในหมู่ชาวลาดินซึ่งอาศัยอยู่บริเวณทิวเขาโดโลไมต์ในจังหวัดอัลโตอาดีเจ (ซืททีโรล), จังหวัดเตรนตีโน และจังหวัดเบลลูโนทางตอนเหนือของอิตาลี ภาษานี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษารูมันช์ในสวิตเซอร์แลนด์และภาษาฟรียูลี

ขอบเขตพื้นที่ที่มีการพูดภาษาลาดินเป็นประเด็นในการถกเถียงทางวิชาการ นิยามที่แคบกว่านับเฉพาะบรรดาภาษาถิ่นแถบหุบเขารอบ ๆ มวลเขาสูงเซลลา ในขณะที่นิยามที่กว้างกว่ายังรวมบรรดาภาษาถิ่นแถบหุบเขาที่อยู่ติดกันในจังหวัดเบลลูโนและแม้กระทั่งบรรดาภาษาถิ่นที่พูดกันทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดเตรนตีโนด้วย[4][5]

วิธภาษาเขียนลาดินมาตรฐานวิธภาษาหนึ่ง (Ladin Dolomitan) ได้รับการพัฒนาโดยสำนักงานวางแผนภาษาลาดินเพื่อให้เป็นเครื่องมือสื่อสารกลางในภูมิภาคที่พูดภาษาลาดิน[6] แต่ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้พูดภาษานี้

ภาษาลาดินเป็นคนละภาษากับภาษาลาดิโน (ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่าภาษายิว-สเปน) ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์เหมือนกัน แต่ภาษาลาดิโนมีวิวัฒนาการมาจากภาษาสเปนเก่า

อ้างอิง

[แก้]
  1. Iannaccaro, Gabriele. "SURVEY LADINS. USI LINGUISTICI NELLE VALLI LADINE" (ภาษาอังกฤษ): 196. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. "South Tyrol in Figures" (PDF). Declaration of language group affiliation – Population Census 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-10-07.
  3. "15° Censimento della popolazione e delle abitazioni. Rilevazione sulla consistenza e la dislocazione territoriale degli appartenenti alle popolazioni di lingua ladina, mòchena e cimbra (dati provvisori)" (PDF). A (ภาษาอิตาลี). Autonomous Province of Trento. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-10-07.
  4. Giovan Battista Pellegrini: Ladinisch: Interne Sprachgeschichte II. Lexik. In: Lexikon der Romanistischen Linguistik, III. Tübingen, Niemeyer 1989, ISBN 3-484-50250-9, p. 667: È necessaria innanzi tutto una precisazione geografica circa l'estensione del gruppo linguistico denominato «ladino centrale», dato che le interpretazioni possono essere varie.
  5. Johannes Kramer: Ladinisch: Grammatikographie und Lexikographie. In: Lexikon der Romanistischen Linguistik, III. Tübingen, Niemeyer 1989, ISBN 3-484-50250-9, p. 757: Im folgenden sollen die Grammatiken und Wörterbücher im Zentrum stehen, die das Dolomitenladinische im engeren Sinne ([...] Gadertalisch [...], Grödnerisch, Buchensteinisch, Fassanisch [...]) behandeln, während Arbeiten zum Cadorinischen [...] und zum Nonsbergischen [...] summarisch behandelt werden.
  6. "The office for Ladin language planning". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2007. สืบค้นเมื่อ 10 August 2005.