ข้ามไปเนื้อหา

มวลเขาสูงไอร์

พิกัด: 18°16.6′N 8°0′E / 18.2767°N 8.000°E / 18.2767; 8.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มวลเขาสูงไอร์
Aïr Massif, Ayr
The Timia Valley, in the Air Mountains
จุดสูงสุด
ยอดอิดูกัล-น์-ตาแกซ
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
2,022 เมตร (6,634 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
พื้นที่84000 ตารางกิโลเมตร
ชื่อ
ชื่อท้องถิ่นAyar, Azbin, Abzin
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
มวลเขาสูงไอร์ตั้งอยู่ในประเทศไนเจอร์
มวลเขาสูงไอร์
Map of Niger. The Aïr Mountains are located in the north-central part of the country, in the middle of the Sahara
ประเทศประเทศไนเจอร์
รัฐ/จังหวัดAgadez Region
พิกัดเทือกเขา18°16.6′N 8°0′E / 18.2767°N 8.000°E / 18.2767; 8.000

มวลเขาสูงไอร์ หรือมวลเขาสูงแอร์ (อังกฤษ: Aïr Mountains[1]) เป็นกระจุกภูเขาสูง[2] ตั้งในเขตเตเนเร ประเทศไนเจอร์ และเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายสะฮารา (หรือ เศาะหะรออ์) มีความสูงเฉลี่ย 500 — 900 เมตร และเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกมากกว่าทะเลทรายโดยรอบ ทำให้มีสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัย โดยนับได้ถึง 430 ชนิด[3] มีสิ่งมีชีวิตแบบซาเฮล สะฮารา[4] และสิ่งมีชีวิตแบบเมดิเตอร์เรเนียน[5] จากการสำรวจในศตวรรษที่ 20[6][7][8]พบว่ามีไม้หนามจำพวกกระถินเทศ คือ Vachellia tortilis (Acacia tortilis) subsp. raddiana และพืชสปีชีส์ Balanites aegyptiaca ขึ้นระหว่างภูเขา พืชชนิดอื่นพบได้ยากเพราะบริเวณดังกล่าวแห้งแล้งมาก[9] ส่วนบริเวณแม่น้ำชั่วคราว (วาดีย์) ประกอบด้วยพืชจำพวก Acacia nilotica, Faidherbia albida, Hyphaene thebaica ขึ้นร่วมอยู่กับอินทผลัม

มวลเขามีอายุตั้งแต่บรมยุคพรีแคมเบรียนถึงมหายุคซีโนโซอิก ประกอบด้วยหินเพอร์แอลคาไลน์ และหินแกรนิต ซึ่งมีสีดำตัดกับหินแกรนิตสีอ่อน[10] ในบรรดาภูเขาที่ประกอบเป็นกระจุกภูเขาไอร์นี้ มีภูเขาอิดูกัล-น์-ตาแกซ (ความสูง 2022 เมตร) ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของประเทศไนเจอร์[11] ภูเขาตัมกัก (Tamgak) (1988 เมตร) ภูเขาเกรอบูน (1944 เมตร)[12] และภูเขาอื่น ๆ อีก มวลเขาทั้งหมดโผล่ขึ้นกลางที่ราบสูง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Aï ออกเสียงอาและอีแยกกัน ต่างจาก ai ที่ออกเสียงเป็นแอกึ่งเอ ส่วนมากนิยมเรียกแอร์มากกว่า
  2. ศัพท์บัญญัติว่า มวลเขาสูง คือภูเขาหลายลูกรวมเป็นกลุ่ม ดู พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยาของราชบัณฑิตยสภา เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Bruneau de Miré, P. & Gillet, H. 1956. Contribution à l'étude de la flore du massif de l'Aïr – Première partie. Journal d'Agronomie Tropicale et de Botanique Appliquée 3,422–438
  4. Ozenda, P., 2004. Flore du Sahara, third ed. CNRS, Paris.
  5. Poilecot in Giazzi, F., 1996. Étude initiale – la Réserve Naturelle Nationale de l'Aïr et du Ténéré (Niger) – connaissance des éléments du milieu naturel et humain dans le cadre d'orientations pour un aménagement et une conservation durables – analyse descriptive. MH/E, WWF, UICN, Gland, Suisse, 712 pages
  6. Aubréville, A (1938). "La forêt coloniale – les forêts de l'Afrique occidentale française". Ann. Acad. Sci. Coloniales. 9: 1–244.
  7. Peyre de Fabrègues, B. & Lebrun, J.P., 1976. Catalogue des Plantes Vasculaires du Niger. IEMVT, Maisons Alfort
  8. Bruneau de Miré, P. & Gillet, H. 1956. Contribution à l'étude de la flore du massif de l'Aïr – Première partie. Journal d'Agronomie Tropicale et de Botanique Appliquée 3,422–438
  9. Poilecot in Giazzi, F., 1996. Étude initiale – la Réserve Naturelle Nationale de l'Aïr et du Ténéré (Niger) – connaissance des éléments du milieu naturel et humain dans le cadre d'orientations pour un aménagement et une conservation durables – analyse descriptive. MH/E, WWF, UICN, Gland, Suisse, 712 pages
  10. [rst.gsfc.nasa.gov/Sect17/Sect17_3.html Use of Remote Sensing in Basic Science Studies], Section 17, NASA/Primary Author: Nicholas M. Short, Sr. (Site last updated: June 18, 2007).
  11. "Mont Bagzane, Niger". Peakbagger.com.: มักเรียกผิดว่า เขาบักซาน แต่บักซานเป็นชื่อที่ราบสูง นอกจากนี้ก่อนหน้าปี พ.ศ.2544 แหล่งข้อมูลทางการถือว่าเขาสูงสุดคือยอดเขาเกรอบูน
  12. "Mont Greboun, Niger". Peakbagger.com..